เงินบริจาคของคุณจะโคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับแก้ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดให้กับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา1แห่ง
พัฒนาโคม LED พร้อมชุดขาตั้งขึ้นมา มอบให้กับหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด (NICU) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา นำไปใช้ในการรักษาและช่วยชีวิตทารกแรกเกิดต่อไป
Cerulean LED Phototherapy โคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับแก้ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ผลงานนิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับอาจารย์แพทย์ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และประสิทธิภาพในการรักษาใกล้เคียงกับเครื่องมือราคาสูง พร้อมได้รับรางวัลการันตีระดับประเทศถึง 2 รางวัล
นอกจากการประกวดแล้ว Cerulean LED Phototherapy ตัวแรกที่พัฒนาขึ้นนั้นได้ผ่าน Clinical trial phase และสามารถใช้รักษาอาการภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้จริง
ดังนั้นพวกเราจึงมีแนวคิดที่จะสร้างโคมไฟ LED ตัวที่ 2 พร้อมชุดขาตั้งขึ้นมา เพื่อมอบให้กับหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด (NICU) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา นำไปใช้ในการรักษาและช่วยชีวิตทารกแรกเกิดต่อไป และมีปณิธานที่จะทำแจกจ่ายให้กับสถานพยาบาล และโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกลต่อไปในอนาคต
Cerulean LED Phototherapy โคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับแก้ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดสามารถใช้งานร่วมกับตู้อบ (Incubator) ที่มีอยู่เดิม เพื่อเปิดไฟให้การรักษาได้ทันที ช่วยลดความเสี่ยงจากอาการแทรกซ้อน และความพิการของทารกแรกเกิดที่เกิดสภาวะตัวเหลืองได้ มีขนาดกะทัดรัดและเคลื่อนย้ายพกพาได้อย่างสะดวก โดยมีต้นทุนในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ไม่เกินหลักหมื่นบาท ทำให้โรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงเครื่องมือชิ้นนี้ได้ ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อและบำรุงรักษา และให้ประสิทธิภาพในการรักษาใกล้เคียงกับเครื่องมือราคาสูงได้ ซึ่งโคมไฟที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันมีราคาอยู่ที่ 70,000 ถึง 200,000 บาท
โดยส่วนมากภาวะตัวเหลืองเหล่านี้จะเป็นชนิด unconjugated hyperbilirubinemia ทารกแรกเกิดร้อยละ 25-50 จะพบภาวะตัวเหลืองในระยะ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเกิดจากสาเหตุและปัจจัยหลายประการ โดยที่ทารกชาวไทยและประเทศแถบเอเชียจะมีระดับบิลิรูบินสูงกว่าชาวยุโรปและอเมริกา ดังนั้นภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด จึงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยตลอดจนประเทศในแถบเอเชียทั้งหมด และภาวะตัวเหลืองที่มีค่าบิลิรูบินในเลือดสูงมาก จะส่งผลต่อสมองของทารก อาจทำให้เกิดความพิการอย่างถาวรและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ นำมาซึ่งการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศไปอย่างน่าเสียดาย
การรักษาภาวะตัวเหลืองชนิด unconjugated hyperbilirubinemia ในปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี แต่การรักษาที่ได้รับความนิยม แพร่หลาย และเกิดผลกระทบแก่ทารกน้อย คือการรักษาด้วยวิธีการส่องไฟ (Phototherapy) โดยที่เครื่องส่องไฟที่มีการใช้มากที่สุดในประเทศไทย มีต้นกำเนิดแสงมาจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งจะมีข้อด้อยอยู่หลายประการ เช่น ความร้อนที่เพิ่มมากขึ้นตามความเข้มแสง ซึ่งอาจทำให้ทารกมีไข้และขาดน้ำ หลอดไม่สามารถควบคุมการปลดปล่อยแสงที่มีความยาวคลื่นจำเพาะได้ จึงเกิดแสงช่วงคลื่นอื่นๆที่ไม่จำเป็นต่อการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงรังสีเหนือม่วง (ultraviolet) ซึ่งส่งผลเสียแก่ผิวหนังทารกได้มากมาย หลอดมีอายุการใช้งานสั้น และหากหลอดแตกจะทำให้เกิดเศษแก้วและปล่อยไอปรอทออกมาเป็นขยะมลพิษที่เป็นอันตราย
ในปัจจุบันในโรงพยาบาลได้นำเอาเครื่องส่องแสงไฟมาใช้ในการรักษาสภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ซึ่งจะมีทั้งในโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน รวมไปถึงโรงพยาบาลประจำอำเภอและในบางพื้นที่เท่านั้น แต่โรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดารขาดแคลนเครื่องมือชิ้นนี้ อันเนื่องมากจากเครื่องมือมีราคาสูง
ติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่ เพจห้องปฏิบัติการไฟฟ้าและการสื่อสารเพื่อการประดิษฐ์ (ECIL) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา http://www.facebook.com/ECILBUU
สำหรับ Cerulean LED Phototherapy โคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับแก้ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด พวกเราจะนำมอบให้กับหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด (NICU) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา นำไปใช้ในการรักษา และช่วยชีวิตทารกแรกเกิดต่อไป โดยจะมีการปรับปรุงการทำงาน และประสิทธิภาพที่ดีกว่าโคมตัวแรก ตามคำแนะนำของ อาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำหอผู้ป่วย พยาบาลผู้ดูแล เพื่อให้ได้โคมไฟที่ตรงความต้องการของผู้ใช้ และเกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน ซึ่งจะมีกำหนดการส่งมอบโคมไฟ LED อย่างเป็นทางการ ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 จำนวน 1 ตัว พร้อมชุดขาตั้ง
สำหรับท่านที่สนใจหรือต้องการพบปะกับพวกเรา พร้อมเยี่ยมชมโคมไฟ LED อย่างใกล้ชิด เรียนเชิญได้ที่ งานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016) ระหว่างวันที่ 17 – 21 สิงหาคม พ.ศ.2559 ณ โรงแรมเซ็นทราราแกรนด์ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิร์ด กรุงเทพมหานคร จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในส่วนของบูทงานวิจัยมหาวิทยาลัยบูรพา
การทดสอบการวัดความเข้มแสงเชิงสเปกตรัมที่ให้ผลสอดคล้องกับงานวิจัยทางการแพทย์ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าใช้งานได้
นิสิตประจำห้องปฏิบัติการไฟฟ้าและการสื่อสารเพื่อการประดิษฐ์ (ECIL) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา http://www.facebook.com/ECILBUU
ระดมทุนเพื่อนำมาประดิษฐ์โคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับแก้ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Cerulean LED Phototherapy) แจกจ่ายให้กับสถานพยาบาลและโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกล
ประดิษฐ์เครื่อง Cerulean LED Phototherapy โคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับแก้ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
มอบให้กับหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด (NICU) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา นำไปใช้ในการรักษาและช่วยชีวิตทารกแรกเกิดต่อไป
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ชิ้นส่วนตัวโครงสร้างพลาสติก ABS ด้วยการขึ้นรูปด้วย 3D Printer | 1ชุด | 5,000.00 |
ชุดหลอดแอลอีดีกำลังสูงแบบ 3 วัตต์ แสงสีน้ำเงินความเข้มสูง | 1ชุด | 2,000.00 |
ระบบควบคุมการทำงานโคมไฟ ตัว Hourcounter พัดลมระบายความร้อน | 1ชุด | 3,000.00 |
ชุดขาตั้ง Stainless Steel พร้อมฐานติดล้อ และขาจับยึดปรับระดับได้ | 1ชุด | 8,000.00 |
ค่าใช้จ่ายในการเขียนแบบจำลองทางวิศวกรรม และงานปฏิบัติการทางช่าง | 1ครั้ง | 2,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 20,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 2,000.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้