empty image

โครงการปลูกพืชไร้ดินอินทรีย์ ( Organics Hydroponics ) ฟื้นฟูภัยน้ำท่วม

เงินบริจาคของคุณจะให้กับ

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

1 ก.พ. 2555 - 27 ก.พ. 2556

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เกษตรกรผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นจากการเพาะปลูกพื้ชไร้ดินอินทรีย์ซึ่งมีต้นทุนต่ำและทำให้เกษตรกรสามารถมีรายได้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

โดยทั่วไปแล้วการปลูกพืชไร้ดิน ( Hydroponics ) มักจะใช้สารเคมีเข้มข้นซึ่งเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช มาละลายน้ำ และปลูกดูแลรักษาในโรงเรือนที่มีการล้อมด้วยตาข่ายสำหรับป้องกันแมลงศัตรูพืช มีการควบคุมแสงและอุณหภูมิ ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชนั้น การปลูกพืชไร้ดินโดยทั่วไปจะไม่ได้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงมักจะเรียกพืชผักที่ปลูกในระบบนี้ว่า  ผักปลอดสารพิษแต่เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้บริโภคจำนวนมากมีความวิตกกังวลอันเนื่องมาจากถึงแม้ว่าจะไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วก็ตาม แต่ปุ๋ยเคมีเองก็เป็นสารเคมีสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตราย กับร่างกายของมนุษย์ได้เช่นเดียวกันกับสารเคมีอันตรายอื่นๆ การเปลี่ยนจากการใช้สารละลายเคมีในการปลูกพืชไร้ดิน มาเป็นการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตผักในระบบนี้ และช่วยสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยในการบริโภค

ระบบการปลูกพืชไร้ดินอินทรีย์นั้น ทำให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้ทันทีที่น้ำลดลงต่ำกว่า 0.8 เมตร ( แปลงปลูกจะเป็นกระบะสูงจากพื้นดินประมาณ 80 เซนติเมตร ) โดยไม่ต้องรอฟื้นฟูดินก่อน และการปลูกผักมูลค่าสูง ทำให้เกษตรกรสามารถที่จะสามารถที่จะสร้างรายได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงแค่ 2-3 เดือน  และนอกจากนี้ยังลดต้นทุนได้เป็นอย่างมากจากการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพใช้เองจากเศษพืชผัก ผลไม้ หรือมูลสัตว์ที่หาได้รอบตัว ซึ่งทำให้การปลูกพืชไร้ดินอินทรีย์ (Organics Hydroponic) มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการปลูกพืชไร้ดินในระบบเคมีมากกว่า 3 เท่า

ประโยชน์ของโครงการ :

เกษตรกรผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นจากการเพาะปลูกพื้ชไร้ดินอินทรีย์ซึ่งมีต้นทุนต่ำและทำให้เกษตรกรสามารถมีรายได้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว โดยส่งเสริมให้ผักที่ปลูกมักเป็นผักกินใบชนิดต่างๆ ที่มีมูลค่าสูงเพื่อให้คุ่มค่ากับการลงทุน เช่น 1. ผักสลัด เรดโอ๊ค(Red Oak) Lettuce Red Oak 2.ผักสลัดเรดคอร์รอล'Red corrol' 3.ผักสลัด คอสแดง,เรดคอส Romaine Lettuce 'Cimmaron' 4.ผักสลัดกรีนคอร์รอล 'Green corrol' 5.ผักสลัดฟิลเลย์ไอซ์เบิกร์ก Leaf Lettuce 'Iceberg'

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

  1. สำรวจพื้นที่และคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
  2. ฝึกอบรมเกษตรกรและศึกษาดูงาน
  3. เกษตรกรเริ่มสร้างโรงเรือนและเพาะปลูกผัก
  4. ตรวจเยี่ยมและให้คำปรึกษาเกษตรกร
  5. จัดกิจกรรมการตลาด จำหน่ายผลผลิต
  6. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

สมาชิกภายในทีม :

นาวี นาควัชระ และเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน

ภาคี :

เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน

Cover

วิธีการแก้ปัญหา

    แผนการดำเนินงาน

      แผนการใช้เงิน

      รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
      รวมเป็นเงินทั้งหมด0.00
      ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)0.00
      ยอดระดมทุน
      0.00

      ผู้รับผิดชอบโครงการ

      เทใจ - TaejaiDotCom

      เทใจ - TaejaiDotCom

      กรุงเทพมหานคร

      เทใจดอทคอม เริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดีๆ เพื่อสังคม เทใจเป็นโครงการภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีมูลนิธิเพื่อ “คนไทย” และ สถาบัน ChangeFusion ร่วมกันสร้างพื้นที่กลางนี้ขึ้นมา เราอยากให้เทใจเป็นพื้นที่สำหรับคนที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม และให้สมาชิกของเทใจสามารถมีส่วนร่วมติดตามผลการดำเนินโครงการที่ตนบริจาคได้

      ดูโปรไฟล์

      สร้างเพจระดมทุน

      ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

      สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
      icon