cover_1

แสงไฟส่องสว่างในพื้นที่ช้างป่า 3 หมู่บ้าน 2 อำเภอ จังหวัดกาญจนบุรี

พิเชฐ นุ่นโตพิเชฐ นุ่นโต
สัตว์
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะจัดซื้ออุปกรณ์และแสงไฟส่องสว่างให้กับชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าใน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี3หมู่บ้าน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

9 พ.ย. 2564 - 31 ส.ค. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

บ้านภูเตย ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี 71180บ้านสะพานลาว ต.สหกรณ์นิคม อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี 71180บ้านปากเหมือง ต.ด่านแม่แฉลบ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี 71250

เป้าหมาย SDGs

LIFE ON LAND

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เกษตรกร
100คน
เครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าชุมชน
30คน
ชุมชน/หมู่บ้าน
3แห่ง

เครือข่ายเสียงคนเสียงช้างระดมทุนเพื่อสนับสนุนแสงไฟและอุปกรณ์สำหรับเฝ้าระวังช้างป่าใน 3 หมู่บ้าน ของ อ. ทองผาภูมิและศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสียหายจากความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าทั้งทางร่างกายและทรัพย์สินของชุมชนในพื้นที่เกษตรกรรมที่ชิดกับแนวป่า

ไฟส่องสว่างนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นระหว่างที่ชาวบ้านเดินทางออกไปเฝ้าไร่ พร้อมกับที่เครือข่ายทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชนจะสามารถรับข่าวสารการพบเจอช้างป่าและเข้าไปผลักดันช้างโดยมีระยะที่มองเห็นช้างป่าในไร่ตอนกลางคืนที่ไกลขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้นทั้งคนและช้าง

ปัญหาสังคม

 

ปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่ 

    ปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่หนึ่งในนั้นก็มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของช้าง กินอาหารหลากหลายมากขึ้น ขยายพื้นที่หากินมากขึ้นโดยเฉพาะพืชไร่และพืชสวนของชุมชน ซึ่งเป็นอาหารกลุ่มใหม่ของช้างป่า  ในด้านของช้าง ช้างอาจมีความเสี่ยงรับสารพิษจากยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีจากการกินมันสำปะหลังหรือข้าวโพดในพื้นที่เกษตรกรรม และเสี่ยงอันตรายจากการตอบโต้แบบใช้ความรุนแรงของเกษตรกรบางกลุ่ม  ในส่วนของชุมชน เกษตรกรได้รับความเสียหายทั้งทางเกษตรและทรัพย์สิน เกิดผลกระทบด้านวิถีความเป็นอยู่และส่งผลต่อสุขภาพจิต เช่น การไปเฝ้าไร่ในเวลากลางคืน ต้องอดนอน ทำให้ช่วงเวลากลางวันไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและสุขภาพทรุดโทรม การเปลี่ยนเวลากรีดยางเป็นช่วงกลางวันทำให้ได้ปริมาณยางน้อยกว่าการกรีดยางในช่วงเย็นหรือกลางคืน ส่งผลถึงรายได้ที่ควรจะได้รับ กลับได้น้อยลงหรือในบางราย รายได้ขาดหายไปเนื่องจากไม่กล้าเข้าไปกรีดยาง

    ปัจจุบัน จากการสำรวจของทีมงานในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่ามีอย่างน้อย 3 หมู่บ้านในอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่เกษตกรรมมากกว่า 7,000 ไร่  พบความเสียหายของพืชเกษตรทั้งหมด 84 ครั้ง เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด และข้าว มีทรัพย์สินเสียหายถึง 18 ครั้ง เช่น ถังน้ำและท่อประปา  พืชเกษตรบางส่วนได้รับการเยียวยาจากทางภาครัฐแล้ว แต่การเยียวยาที่ได้มาก็ไม่เพียงพอสำหรับชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ได้รับผลกระทบ และการดูแลดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้ความเสียหายจากช้างป่าลดน้อยลงแต่อย่างใด  ดังนั้น หากให้ไล่เรียงปัญหาที่พบซึ่งเป็นที่มาของโครงการระดมทุนครั้งนี้จะรายการดังต่อไปนี้

1. ช้างป่าออกนอกป่ามาหากินพืชไร่พืชสวนในพื้นที่ชุมชน สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางเกษตรกรและทรัพย์สินของชุมชน
2. การอยู่ในพื้นที่ที่มีช้างป่าสร้างความกลัวและความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิต
3. พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีแสงไฟส่องสว่างระหว่างหมู่บ้านไปยังพื้นที่เกษตรกรรม
4. ปัญหาความปลอดภัยของเส้นทางช้างป่าและเส้นทางชุมชน (พื้นที่หากินของช้างป่าอยู่ใกล้โรงเรียน ใกล้ศูนย์เด็กเล็ก)
5. ชุมชนและเกษตรกรไม่ทราบวิธีการที่จะปกป้องชีวิตและทรัพย์สินหรือวิธีการผลักดันช้างป่าอย่างปลอดภัยเมื่อเจอช้างป่า
6. ระบบเยียวยาความเสียหายของภาครัฐจากช้างป่าที่ยังไม่ประสิทธิภาพ และตอบสนองได้ตรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
7. ระบบการเฝ้าระวังช้างป่าของภาครัฐที่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ไม่สามารถให้การสนับสนุนการเฝ้าระวังช้างป่าของชุมชนให้เกิดขึ้นได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ กำลังคนและระยะทางในการดำเนินการ

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. วิธีการแก้ไขปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่     แนวทางการเฝ้าระวังและผลักดันช้างควรอยู่ในแนวทาง "คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย ไม่ใช้ความรุนแรง" ตามเกณฑ์งานวิจัยเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าอย่างสันติ version 1.0 ของเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง โดยการเพิ่มแสงสว่างในพื้นที่เกษตรกรรม จุดเฝ้าระวัง ตามรอยต่อระหว่างป่าและชุมชน  ให้มีการติดตั้งไฟโซล่าเซลล์เพื่อป้องกันช้างป่าเข้าพื้นที่เบื้องต้น และใช้สำหรับเพิ่มทัศนวิสัยให้กับเกษตรกรที่เฝ้าระวังช้างบริเวณไร่ของตน ทำให้ทราบจำนวนช้างหรือมองเห็นช้างได้ระยะไกลขึ้น ชัดเจนขึ้น และลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างคนกับช้าง จากนั้นจึงแจ้งเตือนไปยังเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชนเพื่อมาทำการผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรกรรม     อีกส่วนหนึ่งคือ "การจัดตั้งทีมเฝ้าระวังของแต่ละชุมชน" และใช้วิธีการคืนช้างสู่ป่าอย่างสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง โดยการรักษาระยะห่างระหว่างทีมกับช้างป่า เพิ่มความสว่างให้กับทีม และพาหนะที่ใช้ในการผลักดัน เน้นการใช้แสงไฟเป็นหลัก ประกอบกับเสียงคนในการผลักดันช้างป่า ส่งผลให้ช้างป่าเดินทางไปในทิศทางที่กำหนดได้  การเฝ้าระวังผลักดันช้างด้วยวิธีนี้จะช่วยให้คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย คืนช้างสู่ป่าได้อย่างสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง แต่กลุ่มเฝ้าระวังผลักดันช้างป่าก็จำเป็นที่จะต้องมีประสบการณ์หรือเรียนรู้หลักการเฝ้าระวังช้างก่อนปฏิบัติการ และระหว่างปฏิบัติการก็ต้องรอบคอบ มีสติและไม่ประมาทด้วยเช่นกัน

  2. ระดมทุนเพื่อ จัดซื้ออุปกรณ์และแสงไฟส่องสว่างเพื่อช่วยเหลือชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อุปกรณ์ที่จะระดมทุนสำหรับการเฝ้าระวังช้างป่า อุปกรณ์เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังช้างป่าอย่างสันติวิธีอ้างอิงจากประสบการณ์การใช้งานเฝ้าระวังของชาวบ้านที่ได้เฝ้าระวังช้างป่าอยู่ในพื้นที่ และได้ทำการผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรของตนอย่างสำเร็จ ทางเครือข่ายมีความจำเป็นต้องขอระดมทุนสนับสนุนอุปกรณ์โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. สำหรับเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยช้างป่าจำนวน 100 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้านภูเตย หมู่บ้านสะพานลาว อำเภอทองผาภูมิ และหมู่บ้านปากเหมือง อำเภอศรีสวัสดิ์      1.1 ไฟฉายเทอร์โบไลท์ (Turbo-light) รุ่น S-240-Big W590 P70.2 20w ไฟฉายแรงสูงแบบพกพา ส่องไฟได้สว่างมากกว่า 500 เมตร ชาร์จไฟผ่าน USB จำนวน 100 ชุด เพื่อให้แสงสว่างเวลาเดินทางและระหว่างการผลักดันช้างป่า     1.2 ไฟโซล่าร์เซลล์ติดไร่ JD Solar light 400w ติดตั้งแผงไฟโซล่าเซลล์ ขนาด 400 วัตต์ จำนวน 100 ชุด ในพื้นที่รอยต่อระหว่างป่าและชุมชน เพื่อเสริมทัศนคติในระหว่างการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าเข้าพื้นที่ และลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างคนกับช้าง     1.3 ไฟแผงติดรถ 100 ชุด Super LED Bar 300w 12V สำหรับติดไถของเกษตรกรที่เดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยงในเวลากลางคืน 100 ชุด 2. สำหรับทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน ทีมหลัก ทีมละ 3 คน ของ 3 หมู่บ้าน จำนวน 5 ทีม ได้แก่ ทีมสะพานลาว ทีมดงเล็ก ทีมภูเตย ทีมทุ่งเกษตร และทีมเขาพระอินทร์  อุปกรณ์ของทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชนจะใช้จากที่ระดมทุนสำหรับเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยจะใช้อุปกรณ์ดังต่อไปนี้     2.1 ไฟแผงติดรถ Super LED Bar 300w 12V ติดตั้งบนยานพาหนะที่ใช้ในการเฝ้าระวัง เพื่อความปลอดภัยระหว่างเดินทางและปฏิบัติงานเฝ้าระวังในตอนกลางคืน     2.2 ไฟฉายเทอร์โบไลท์ รุ่น S-240-Big W590 P70.2 20w สำหรับการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรกรรม     2.3 วิทยุสื่อสารจำนวน 30 เครื่อง Spender D2452 Plus เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านนั้นไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ วิทยุสื่อสารจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานสื่อสารระหว่างทีมเฝ้าระวังกับชุมชน     2.4 ค่าน้ำมันและเสบียงสำหรับทีมเฝ้าระวังช้างป่าทั้งหมด 15 คนจาก 5 ทีม 3 หมู่บ้าน

แผนการดำเนินงาน

  1. จัดซื้ออุปกรณ์และแสงไฟส่องสว่างเพื่อช่วยเหลือชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

  2. การบรรเทาปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่ใน 3 หมู่บ้าน 2 อำเภอ จังหวัดกาญจนบุรีจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน  1. การสนับสนุนอุปกรณ์เฝ้าระวังช้างป่าให้กับเกษตรกรและหาแนวร่วม/เครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน 1.1 ประชาสัมพันธ์กับผู้นำหมู่บ้านและลูกบ้านถึงที่มาและความสำคัญ และแนวทางการทำงานของโครงการใน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านภูเตย บ้านสะพานลาวในอำเภอทองผาภูมิ และบ้านปากเหมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจในการใช้ชีวิตร่วมกับช้างป่าโดยเน้นไปที่สันติวิธี คือ "ไม่ใช้ความรุนแรง และปลอดภัยทั้งคนและช้าง" 1.2 รวบรวมข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า เพื่อระบุพื้นที่เกษตรกรรมเป้าหมายสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ และหาบุคคลที่จะเป็นแนวร่วมในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน 1.3 อบรมวิธีการติดตั้งและใช้งานแสงไฟโซล่าร์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังช้างป่า พร้อมไปกับการระบุจุดเฝ้าระวังช้างป่า ตั้งช่องทางการสื่อสารการพบเจอช้างป่าผ่านวิทยุสื่อสารและแอพพลิเคชั่น LINE และมอบอุปกรณ์ส่องสว่างให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า 2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อบรรเทาปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่โดยกลุ่มเฝ้าระวังชุมชน 2.1 หลังจากที่ได้ระบุบุคคลหรือกลุ่มที่จะเข้ามาเป็นกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่าแล้วในทั้ง 3 หมู่บ้านแล้ว กลุ่มเฝ้าระวังจะออกปฏิบัติการผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรกรรมให้กลับเข้าป่าหรือพื้นที่อนุรักษ์หลังจากที่ได้รับแจ้งจากชุมชนหรือเกษตรกรที่เฝ้าระวังอยู่ในภายในไร่ของตนผ่านวิทยุสื่อสาร ช่องทาง LINE หรือโทรศัพท์สายตรง 2.2 กลุ่มเฝ้าระวังไปพื้นที่ตามที่ได้รับแจ้งช่าว และทำการผลักดันช้างออกจากพื้นที่เกษตรกรรมโดยรักษาระยะห่างระหว่างคนกับช้าง ไม่ใช้ความรุนแรงในที่นี้คือไม่ใช้อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อทั้งคนและช้าง 2.3 เครือข่ายกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่า 3 หมู่บ้านสรุปผลการดำเนินงานเฝ้าระวังช้างป่าในช่วงปลายโครงการเพื่อถอดบทเรียนการดำเนินการและวางแผนการจัดการปัญหาช้างป่าในระยะถัดไป

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ไฟฉายเทอร์โบไลท์ (Turbo-light) รุ่น S-240-Big W590 P70.2 20w

ส่องไฟได้สว่างมากกว่า 500 เมตร ชาร์จไฟผ่าน USB และได้รับการยอมรับจากชาวบ้านที่เฝ้าระวังช้างป่าว่าสามารถทำให้ช้างออกจากไร่ได้ ชิ้นละ 700 บาท

100ชิ้น70,000.00
ไฟแผงสำหรับติดไร่ JD Solar light 400w

สำหรับเกษตรกรที่ต้องอยู่เฝ้าไร่ในตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการเฝ้าระวัง ชุดละ 1,090 บาท

100ชิ้น109,000.00
ไฟแผงสำหรับติดรถ Super LED Bar 300w 12V

มี 2 แผง สำหรับติดรถไถหรือรถกระบะของเกษตรกรระหว่างการเดินทางเข้าไร่ในตอนกลางคืนและทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน ชุดละ 600 บาท

100ชิ้น60,000.00
วิทยุสื่อสาร Spender D2452 Plus

สำหรับการสื่อสารระหว่างการเฝ้าระวังช้างป่า เครื่องละ 1,990 บาท

30เครื่อง59,700.00
ค่าน้ำมันและเสบียงสำหรับการเฝ้าระวังช้างป่า

สำหรับทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน 5 ทีม 3 หมู่บ้าน เป็นเวลา 90 วัน เฉลี่ยวันละ 450 บาท

15คน40,500.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด339,200.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)33,920.00
ยอดระดมทุน
373,120.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

พิเชฐ นุ่นโต

พิเชฐ นุ่นโต

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon