cover_1

สนับสนุนกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นให้กับหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรังกลับคืนสู่ธรรมชาติ200ตัว

project in progress
กำลังดำเนินกิจกรรม
24 เม.ย. 2568

รายงานปิดโครงการดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ ปี 2567

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

1 ม.ค. 2567 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ที่ทำกิจกรรม

หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200ดูแผนที่

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

สัตว์
750ตัว
เด็กและเยาวชน
450คน
ผู้สูงอายุ
30คน
อื่นๆ
100คน

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่ วันที่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรม
1 กรกฎาคม 2566 - มกราคม 2567 อาจารย์และนักศึกษา
คณะสัตวแพทยศาสตร์
กิจกรรมภาคสนาม-ปฏิบัติการในกระบวนวิชา 651234 พฤติกรรมและการจับบังคับสัตว์สำหรับสัตวแพทย์ ศึกษาพฤติกรรมสัตว์ปีกและงู รวมทั้งการจับบังคับและการตรวจร่างกาย
2 กรกฎาคม 2566 - กุมภาพันธ์ 2567

นักศึกษาพยาบาลสัตวแพทย์ และนักศึกษาสัตวแพทย์และอาจารย์

กิจกรรมภาคสนาม-ปฏิบัติการในกระบวนวิชา 654104 การจับบังคับสัตว์สำหรับพยาบาลสัตว์ ศึกษาการจับบังคับนกป่าเพื่อให้การช่วยเหลือและการทำหัตถการทางคลินิก เช่นการเก็บตัวอย่างเลือด

 

การับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือในปี 2567

ลำดับที่ เดือน จำนวนนกที่รับเข้า (ตัว) จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ (ตัว)
1 มกราคม 17 2
2 กุมภาพันธ์ 15 4
3 มีนาคม 19 6
4 เมษายน 55 20
5 พฤษภาคม 55 1
6 มิถุนายน 38 9
7 กรกฎาคม 14 3
8 สิงหาคม 3 0
9 กันยายน 6 15
10 ตุลาคม 13 15
11 พฤศจิกายน 23 5
12 ธันวาคม 27 11
  รวม 285 91

 

จำนวนนกที่ได้รับการช่วยเหลือของปี 2565-2567

 

สัดส่วนหลังการรักษานกจนสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ของปี 2565-2567

 

บอกเล่าความประทับใจ

They do amazing work rehabilitating injured birds. An injured bird hopped into our home this morning. This place is doing great work. They will clean and care for the bird until it’s healed and can fly again. Many thanks to this org- I will be donating to them.

Anonymous foreigners (Visitor)

รู้สึกประทับใจมากกับการทำงานของผู้ดูแลนก มีความรู้ลึกซึ้งการดูแลและอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความทุ่มเทและความใส่ใจในทุกๆ รายละเอียด ตั้งแต่การดูแลสุขภาพของนกไปจนถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้นกที่บาดเจ็บสามารถฟื้นตัวและกลับคืนธรรมชาติ

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม (ผู้เยี่ยมชม)

Chan was extremely knowledgeable about the most up to date rehabilitation and long-term care methods- very impressed with his expertise! I think local residents would love to know more about this amazing facility.

Anonymous foreigners (Visitor)

Social media (Facebook) account is well run - great knowledge sharing regarding birds rescue and rehab. I hope there will be even more funding to support the various and increasing need to care for these birds. Love the idea of letting public observe bird release.

Anonymous foreigners (Visitor)

รายงานการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
กองทุนรักษา ดูแล ฟื้นฟู นกป่าล้านนา

1กองทุน509,738.90
รวมเป็นเงินทั้งหมด509,738.90
27 มี.ค. 2567

อัปเดตโครงการดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ ปี 2565-66

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

27 มี.ค. 2567 - 27 มี.ค. 2567

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่ วันที่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรม
1 มิถุนายน 2566 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานวิจัยปัญหาพิเศษ หัวข้อการสำรวจปรสิตในนกป่าที่ได้รับการช่วยเหลือ 
2 15 กรกฎาคม 2566 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาการปรับสภาพนกในกรงเลี้ยงและการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในสัตว์ปีก
3 28 กรกฎาคม 2566 บุคคลทั่วไปและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Bird walk & Open house เยี่ยมชมกระบวนการฟื้นฟูนกป่าภายในหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ตั้งแต่การรับนกจนถึงการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ
4 3 สิงหาคม 2566 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาและติดตามอาการนกกลุ่มนกเค้า
5 กรกฎาคม - ธันวาคม 2566 อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลสัตวแพทย์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

กิจกรรมภาคสนาม-ปฏิบัติการในกระบวนวิชา

  • ทักษะปฏิบัติทางคลินิกช้างและสัตว์ป่า เพื่อฝึกฝนทักษะปฏิบัติการทางคลินิกและการแก้ปัญหาสุขภาพนกป่า
  • ปัญหาคลินิกปฏิบัติช้างและสัตว์ป่า ศึกษาการจัดเลี้ยงนกป่าที่ได้รับการฟื้นฟู การวินิจฉัยและการสังเกตพฤติกรรมนกป่า ขั้นตอนการฟื้นฟูนกป่า และการจัดการนกธรรมชาติในภาคเหนือ
  • พฤติกรรมและการจับบังคับสัตว์สำหรับสัตวแพทย์ ศึกษาพฤติกรรมสัตว์ปีกและงู รวมทั้งการจับบังคับและการตรวจร่างกาย
  • การจับบังคับสัตว์สำหรับพยาบาลสัตว์ ศึกษาการจับบังคับนกป่าเพื่อให้การช่วยเหลือและการทำหัตถการทางคลินิก เช่น การเก็บตัวอย่างเลือด

 

การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือในปี 2566

ลำดับที่ เดือน จำนวนนกที่รับเข้า (ตัว) จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ (ตัว)
1 มกราคม 18 1
2 กุมภาพันธ์ 10 4
3 มีนาคม 14 1
4 เมษายน 28 1
5 พฤษภาคม 38 4
6 มิถุนายน 34 4
7 กรกฎาคม 33 4
8 สิงหาคม 16 16
9 กันยายน 11 2
10 ตุลาคม 20 0
11 พฤศจิกายน 17 5
12 ธันวาคม 7 12
รวม   246 54

 

จำนวนนกที่ได้รับการช่วยเหลือของปี 2565-2566 

 

สัดส่วนหลังการรักษานกจนสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ของปี 2565-2566 

5 ม.ค. 2567

อัปเดตโครงการดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

1 มิ.ย. 2565 - 23 เม.ย. 2566

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่ วันที่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรม
1 มิ.ย. - ก.ค. 65 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1 คน ฝึกงานระยะสั้นในการปฏิบัติการการจัดจำแนกชนิดนก การจับบังคับ การวินิจฉัย การดูแล การเลี้ยงดู และการรักษา รวมถึงการออกภาคสนามเพื่อฝึกจำแนกชนิดนกป่า และการปล่อยนกกลับคืนสู่ธรรมชาติ
2 24 ต.ค. – 2 พ.ย. 65 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 1 คน ฝึกงานระยะสั้นในการปฏิบัติการการจัดจำแนกชนิดนก การจับบังคับ การวินิจฉัย การดูแล การเลี้ยงดู และการรักษา รวมถึงการออกภาคสนามเพื่อฝึกจำแนกชนิดนกป่า และการปล่อยนกกลับคืนสู่ธรรมชาติ
3 17 ธ.ค. 65 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 4คน ฝึกจับบังคับนกและทำการเก็บตัวอย่างโลหิตเพื่อทำการศึกษาและ
การจำแนกเพศ และนำไปใช้ในรายวิชาเรียน
4 11 ก.พ. 66 นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 60 คน ศึกษาดูงานการดูแลนกป่าเพื่อฟื้นฟูก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ฝึกจับบังคับและการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น การให้ความรู้ในการช่วยเหลือ เลี้ยงดูและปฐมพยาบาลนกป่าเบื้องต้น
5 22 – 23 เม.ย. 66 นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 6 คน กิจกรรมฝึกสตัฟฟ์นกเพื่อเป็นตัวอย่างการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงเป็นตัวต้นแบบสำหรับเลี้ยงดูลูกนกเพื่อป้องกันการฝังใจต่อมนุษย์

การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือ

ลำดับที่ เดือน จำนวนนกที่รับเข้า(ตัว) จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ(ตัว)
1 2565 195 49 (14%)
2 มกราคม 18 2
3 กุมภาพันธ์ 12 3
4 มีนาคม 14 0
5 เมษายน 28 1

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

พีรณัฐ วินิจมโนกุล นักศึกษาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาสาสมัครของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา

“ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือนกป่าเบื้องต้น การดูแลนกป่า รวมถึงการจับบังคับนก การตรวจสุขภาพและวินิจฉัยโรคในนกเบื้องต้น ซึ่งเป็นความรู้และทักษะที่เพิ่มเติมมาจากการเรียนในมหาวิทยาลัย เนื่องจากได้ฝึกปฏิบัติจริงกับนกป่า และยังได้เป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือนกร่วมกับทางกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา และร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ สิ่งที่ประทับใจคือ ทางกองทุนฟื้นฟูนกป่าเปิดกว้างในการให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อเข้าไปขอฝึกงานหรือเรียนรู้ได้ตลอด ซึ่งทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหรือช่วยเหลือนกป่าได้อย่างถูกต้อง ”

พรกนก ธัญลักษณากุล นักศึกษาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาสาสมัครของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา

“ หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา เป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือนกในธรรมชาติที่บาดเจ็บและพลัดหลงมา อีกทั้งยังช่วยให้ประชาชนคนทั่วไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการฟื้นฟูนกตลอดจนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติอย่างต่อเนื่องผ่านการนำเสนอข้อมูลผ่านเพจกองทุนฯ อย่างเต็มที่ด้วยบุคลากรที่ใส่ใจในการอนุรักษ์และฟื้นฟูนกในพื้นที่และมีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน เมื่อมีการพบเจอนกบาดเจ็บหรือพลัดหลง การติดต่อเพื่อประสานการนำนกเข้ากระบวนการรักษาและฟื้นฟูก็เป็นไปด้วยดีและรวดเร็ว ”

ยศวดี กาญจนจิตต์ นักศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และตัวแทนชมรมเพื่อนสัตว์ป่า คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ได้มาฝึกงานที่นี่ก็ได้ฝึกหลาย ๆ อย่างค่ะ ตั้งแต่ฝึกจับบังคับนก ได้รู้จักธรรมชาติของนกแต่ละชนิด ทั้งนิสัย อาหารที่กิน วิธีการดูแลก่อนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ”