cover_1

สนับสนุนกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นให้กับหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรังกลับคืนสู่ธรรมชาติ200ตัว

project in progress
กำลังดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาระดมทุน

5 ก.ย. 2565 - 15 ธ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200

เป้าหมาย SDGs

PARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

สัตว์
200ตัว
เด็กและเยาวชน
50คน

การดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บหรือตกรังมีข้อจำกัดอย่างมาก อาทิขาดแคลนโรงพยาบาลสัตว์ที่สามารถดูแลรักษานกป่าได้

เพราะส่วนมากคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์มักจะไม่ค่อยรับนกป่ามารักษา ต้องอาศัยทักษะการดูแลที่เฉพาะเจาะจง แตกต่างไปจากสัตว์กลุ่มอื่น เช่น แมว หรือสุนัข

ประชาชนที่พบเจอนกป่าที่บาดเจ็บหรือตกรังจึงขาดพื้นที่เพื่อส่งรักษา ประกอบกับการนำนกป่าไปรักษาในคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ทั่วไปยังสร้างค่าใช้จ่ายแก่ผู้ที่พบนกอีกด้วย

บ่อยครั้งทำให้ผู้พบนกเลือกที่จะไม่ส่งรักษา  จึงทำให้นกที่บาดเจ็บจึงไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที เป็นผลทำให้นกป่าตายมากขึ้น

 

ปัญหาสังคม

หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาเล็งเห็นถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของนกป่าจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงฤดูทำรังที่มักมีผู้พบเจอลูกนกตกรังอยู่เป็นประจำ จึงได้เปิดพื้นที่ขึ้นเพื่อรับนกป่ามาดูแลรักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

โดยมีสัตวแพทย์และสัตวบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลนกป่าโดยเฉพาะเป็นผู้ดูแลรักษา และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปล่อยนกที่ได้รับมากลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง ให้นกเหล่านั้นได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างอิสระและเติมเต็มหน้าที่ในระบบนิเวศ

ก่อนหน้านี้มีเพียงคลินิกสัตว์ป่า ภายใต้การดูแลของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่สามารถรับดูแลนกป่าในจังหวัดเชียงใหม่ได้ ทำให้ยังไม่สามารถดูแลรักษานกป่าได้อย่างทั่วถึง การดำเนินงานของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาจึงเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานของคลินิกสัตว์ป่าในด้านการดูแลรักษานกป่าที่นำส่งโดยประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง

ค่าใช้จ่ายในการรักษนกบาดเจ็บและลูกนกตกรัง

  • ค่ารักษานกบาดเจ็บ เฉลี่ย 3,000 บาท/ตัว
  • ลูกนกขนาดใหญ่ & เหยี่ยว ตกรัง เฉลี่ย 3,000 บาท/ตัว
  • ลูกนกขนาดเล็ก ตกรัง เฉลี้ย 2,000 บาท/ตัว

วิธีการแก้ปัญหา

  1. สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรัง เพื่อให้มีโอกาสได้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง

แผนการดำเนินงาน

  1. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่พบเจอนกป่าบาดเจ็บหรือตกรังผ่านทางเพจ Facebook รวมถึงผลิตสื่อความรู้เพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับการดูแลรักษานกป่า

  2. ในกรณีที่ผู้พบนกไม่สามารถดูแลนกตัวดังกล่าวได้เอง สามารถนำนกมาส่งให้กับหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้น  นกที่พิการถาวร ไม่มีโอกาสในการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และนกพิราบ (Feral Pigeon) ซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการกระจายโรคสู่นกตัวอื่นภายในหน่วยฟื้นฟู

  3. นกทุกตัวที่เข้ามาในหน่วยฟื้นฟูจะได้รับการลงทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐานด้านการรักษา รวมถึงหลักฐานทางกฎหมายเพื่อแสดงต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

  4. สัตวแพทย์และสัตวบาลทำหน้าที่ดูแลรักษานกทุกตัวอย่างดีที่สุดเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้อีกครั้ง

  5. นำนกที่พร้อมปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปปล่อยในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของนกชนิดนั้นๆ

  6. เปิดพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกงานของนักศึกษาสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  7. จัดกิจกรรมด้านการศึกษา อาทิ กิจกรรม open house เปิดพื้นที่หน่วยฟื้นฟูให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชมการดำเนินงาน และกิจกรรมออนไลน์ เช่น งานเสวนาเกี่ยวกับการดูแลนกป่าผ่านทาง Facebook ของหน่วยฟื้นฟู และชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่ารักษาพยาบาล

12เดือน50,000.00
ค่ายา

12เดือน10,000.00
ค่าอาหารนก

12เดือน30,000.00
ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก

12เดือน5,000.00
ค่าตอบแทนสัตวแพทย์ รายปี

1คน60,000.00
ค่าตอบแทนสัตวบาล รายปี

1คน180,000.00
ค่าตอบแทนผู้จัดการหน่วยฟื้นฟูฯ

1คน60,000.00
ค่าเดินทาง สำหรับรับนก (ค่าน้ำมัน)

12เดือน15,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด410,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)41,000.00
ยอดระดมทุน
451,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

กองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา (Lanna Wild Bird Rescue) และชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ได้รับการก่อตั้งโดยนายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ (หมอหม่อง) อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ผู้ออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสื่อสารเรื่องธรรมชาติมาเป็นเวลานาน โดยกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนาถือเป็นหน่วยงานภายใต้ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ที่เน้นบทบาทด้านการช่วยเหลือนกป่าที่บาดเจ็บ ลูกนกตกรัง รวมถึงปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่นำนกป่ามาส่งปัจจุบัน "หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา" ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์สงเคราะห์สัตว์ โดยกรมปศุสัตว์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 และมีความร่วมมือกับคลินิกสัตว์ป่า ภายใต้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในด้านการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรังซึ่งถูกนำส่งโดยประชาชนทั่วไป รวมถึงคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในด้านการรักษาพยาบาล และเป็นสถานที่เรียนรู้ฝึกงานของนักศึกษาสัตวแพทย์

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon