cover_1
ใกล้เวลาปิด

ซ่อมสร้าง-บ้านเพื่อกลุ่มเปราะบาง

บริษัท เออเบิน สตั้ดดี้ส์ แล็บ จำกัดบริษัท เออเบิน สตั้ดดี้ส์ แล็บ จำกัด
ผู้สูงอายุ
คนชายขอบ/คนไร้สัญชาติ

เงินบริจาคของคุณจะช่วยซ่อมแซมครัวเรือนที่ชำรุดเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับกลุ่มเปราะบาง2ครัวเรือน

ระยะเวลาระดมทุน

9 ก.ค. 2567 - 30 ก.ย. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ชุมชนจักพรรดิพงษ์ แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จ.กรุงเทพมหานคร 10100ชุมชนบ้านบาตร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จ.กรุงเทพมหานคร 10100ชุมชนวัดโสมนัส แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จ.กรุงเทพมหานคร 10100

เป้าหมาย SDGs

SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ประชากรกลุ่มเปราะบาง
2ครัวเรือน

“บ้าน” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 พื้นฐาน ของการดำรงชีวิตสำหรับทุกคน และ ยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาในสังคมขนาดใหญ่ในสังคมที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบางที่อาศัยในเมือง ซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหา บ้านโทรม บ้านพัง ที่ก่อให้เกิด รายจ่ายเพิ่มเติม หรือยอมเป็นหนี้ในการซ่อมแซมบ้าน เพื่อทำให้บ้านเหล่านั้นยังคงสถานะของที่พักอาศัยต่อไปให้ได้

“โครงการซ่อมสร้าง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ไขปัญหาครัวเรือนชำรุด ในกลุ่มเปราะบาง ผ่านการร่วมกันช่วยซ่อมแซมบริเวณที่มีการชำรุด และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้ผู้อยู่อาศัย

ปัญหาสังคม

 

รู้หรือไม่? พื้นที่เล็กๆ ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร….

  • 70% ครัวเรือน มี รายจ่าย มากกว่า รายได้
  • สภาพบ้านทรุดโทรม ไม่แข็งแรงถึง 63%
  • สมาชิกครอบครัวไม่ทำงาน 52% ในขณะที่ทำงาน 44%
  • กลุ่มเป้าหมายประมาณ 500 คนระบุว่าไม่ได้รับสวัสดิการสังคม คิดเป็น 25%

ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำและขาดคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม โดยมีความจำเป็นในการเตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและความเปราะบางในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องที่อยู่อาศัย 

บ้าน เป็น 1 ปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของทุกคน

ในปัจจุบันประเด็นปัญหาเรื่องบ้าน มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยในเมือง เช่น

  • ไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยในราคาที่เอื้อมถึง
  • ค่าแรงการก่อสร้างที่สูงขึ้น ส่งผลให้การสร้าง/ซ่อมแซม มีสูงขึ้น
  • โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบางในเมืองที่เผชิญกับปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย จึงมีแนวโน้มที่จะยอมเป็นหนี้ เพื่อมาซ่อมแซมบ้านเพิ่มขึ้น

จากการสำรวจพบว่าการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เพียงพอ ทั้งด้านระยะเวลาในช่วยเหลือ ความครอบคลุม มาตราฐานเกณฑ์และความเร่งด่วนของครัวเรือน จึงทำให้หลายครัวเรือนยังไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือได้

  • กระบวนการให้ความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยที่ใช้ระยะเวลาที่นานเกินไป
  • งบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐที่มีเงื่อนไข และให้การช่วยเหลือที่ไม่ครอบคลุม
  • ระบบการจัดการเคส และการประเมินความเร่งด่วนของแต่ละเคสที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การช่วยเหลือไปไม่ถึงผู้ที่ต้องการ
  • มาตรฐานในการให้ความช่วยเหลือที่ไม่ชัดเจนว่าครัวเรือนไหนควรได้ความช่วยเหลือด้านใด

กลุ่มเป้าหมายของโครงการซ่อมสร้าง กลุ่มเปราะบาง ผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้มีภาวะพึ่งพิง

จากโครงการซ่อมสร้าง ร่วมกับ พอช. เราสามารถลดหนี้ต่อครัวเรือนจากการกู้ยืมเงินมาซ่อมแซม ได้ถึง 60,000 - 150,000 บาท จากการใช้งบประมาณครัวเรือนละ 20,000 บาทเพื่อซ่อมแซมบริเวณสำคัญของบ้าน จากการสำรวจพบว่าการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เพียงพอ ทั้งด้านระยะเวลาในช่วยเหลือ ความครอบคลุม มาตราฐานเกณฑ์และความเร่งด่วนของครัวเรือน จึงทำให้หลายครัวเรือนยังไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือได้

“ซ่อมสร้าง” โดย ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) จึงเสนอ 4 แนวทางดังต่อไปนี้

1.สร้างระบบการจัดเก็บฐานข้อมูล ครัวเรือนเปราะบาง

2.ออกแบบเกณฑ์มาตราฐานการช่วยเหลือ

3.ประสานร่วมมือกับองค์กรเอกชน เพื่อสร้าง ความร่วมมือเชิงสังคม

4.สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ในชุมชน

 

รายละเอียดบ้านที่เข้าร่วมในการระดมทุนของโครงการซ่อมสร้าง

1. บ้านลุงมี (ชุมชนบ้านบาตร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย)

บ้านสองชั้นหลังนี้เป็นที่พักพิงของคนกว่า 10 คน รวมถึงผู้สูงอายุและผู้มีรายได้น้อย พวกเขาอาศัยอยู่ในบ้านที่เคยแข็งแรงมั่นคง แต่ปัจจุบันสภาพพื้นและโครงสร้างบ้านได้เสื่อมสภาพลงอย่างน่าเป็นห่วง

ห้องของผู้สูงอายุที่ตั้งอยู่ในชั้นแรกของบ้าน (ภาพที่ 1) ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างมากเนื่องจากพื้นของชั้นสองที่อยู่เหนือห้องนี้มีการพุพัง หากเกิดการถล่มอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ สภาพในส่วนอื่นๆของบ้านอย่างเช่นเพดานและฝ้าก็มีหลายจุดที่ก็มีปัญหา รวมไปถึงโครงสร้างบ้านบางส่วนที่ไม่มั่นคงและมีรอยร้าวที่น่ากลัว

การอยู่ในบ้านที่ไม่ปลอดภัยทำให้ครอบครัวนี้ต้องใช้ชีวิตด้วยความเสี่ยงทุกวัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่แข็งแรง ที่ต้องเผชิญกับสภาวะเสี่ยงทั้งในด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยและความเสี่ยงด้านสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามครัวเรือนนี้ไม่ได้มีทางเลือกมากนักเนื่องจากรายได้ที่จำกัด การซ่อมแซมบ้านให้กลับมาแข็งแรงเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่ด้วยภาระที่มากมาย ทำให้ฝันนี้ยังคงอยู่ห่างไกล

บ้านที่ควรจะเป็นที่พักพิงและที่ปลอดภัยกลับกลายเป็นหนึ่งในความกังวลในการดำรงชีวิตของพวกเขา ด้วยความหวังเล็กๆ พวกเขายังคงหวังจะได้อยู่ในบ้านที่มั่นคงและปลอดภัย

 

โครงสร้างบ้าน ระดับสภาพบ้าน รายละเอียด
หลังคา เสี่ยง หลังคาผุ /รั่ว มากกว่า 3 จุด โครงสร้างไม่มั่งคง  
ผนัง ดี  ผนังไม่มีรอยแตก วัสดุคงทน  
พื้น เสี่ยง  พื้นผุพัง มีรอยแตกร้าว มากกว่า 5 จุด  
บันได พออยู่ได้ บันไดผุพัง 1-3 จุด แต่โครงสร้างยังแข็งแรง  
ห้องน้ำ พออยู่ได้  สุขภัณฑ์เหมาะสม วัสดุคงทน แต่มีชิ้นส่วนหักพังไม่สมประกอบ มีระบบระบายน้ำ ระบบประปา พื้นทำจากวัสดุไม่คงทน/ลื่น มีการติดตั้งราวกันตก
สรุปโครงสร้างบ้าน เสี่ยง พื้น โครงสร้างคานและเสาผุพัง
ลักษณะครัวเรือน

ลักษณะครัวเรือน รายละเอียด
การพึ่งพิง แย่  มีกลุ่มเปราะบางในครัวเรือนในสัดส่วน 50% ขึ้นไปจากสมาชิกครัวเรือน
สุขภาพ พออยู่ได้  สัดส่วนสมาชิกครัวเรือนมีปัญหาสุขภาพ 1-50% จากสมาชิกครัวเรือน
รายได้ พออยู่ได้  สมาชิกครัวเรือนมีรายได้ประจำบางคน และเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
หนี้สิน แย่  มีรายได้ไม่เพียงพอชำระหนี้สิน
การครอบครองที่อยู่อาศัย พออยู่ได้  เช่าที่ดิน / ที่ดินรัฐ / อาศัยที่ผู้อื่น (มีความมั่นคง) 2
สรุปลักษณะครัวเรือน แย่ มีสัดส่วนผู้สูงอายุ และผู้มีรายได้น้อยในครัวเรือนสูง 12

 

2. บ้านป้าอ้อย ชุมชนจักรพรรดิพงษ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

 
บ้านหลังนี้เป็นที่พักพิงให้กับผู้คู่สามีภรรยาสูงอายุ โดยผู้เป็นสามีนั้นมีปัญหาด้านสุขภาพและการมองเห็น จึงประกอบอาชีพรับจ้างบ้างเป็นยาวครั้งคราวและอาศัยเบี้ยผู้สูงอายุในการใช้จ่าย ส่วนผู้ที่เป็นภรรยานั้นประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เช่น การรับจ้างเย็บผ้า โดยบ้านที่พวกเขาอาศัยอยู่ในปัจจุบันเป็นอาคารที่มีอายุมาก ซึ่งเพดานและฝ้าต่างๆนั้นได้มีการพุพังลงตามกาลเวลา ทำให้พื้นที่หลายส่วนของบ้านไม่สามารถอยู่อาศัยหรือใช้การได้ ประกอบกับโครงสร้างของบ้านเช่นเสา หรือผนังต่างๆที่มีการทรุดโทรม และเสี่ยงต่อการอยู่อาศัย
 
โครงสร้างบ้าน ระดับสภาพบ้าน รายละเอียด
หลังคา เสี่ยง หลังคาผุ /รั่ว มากกว่า 3 จุด โครงสร้างไม่มั่งคง  
ผนัง เสี่ยง ผนังผุ มีรอยแตกมากกว่า 3 จุด หลุดร่อน มีเชื้อรา 
พื้น เสี่ยง พื้นผุพัง มีรอยแตกร้าว มากกว่า 5 จุด 
บันได ดี  บันไดโครงสร้างแข็งแรง วัสดุคงทน  
ห้องน้ำ ดี ติดตั้งสุขภัณฑ์เหมาะสม วัสดุคงทน ใช้งานได้ดี มีระบบระบายน้ำ ระบบประปา พื้นทำจากวัสดุคงทน ไม่ลื่น มีการติดตั้งราวกันตก
สรุปโครงสร้างบ้าน ทรุดโทรม หลังคา ผนัง และเสาพุพัง โดยผนังมีการทรุดตัวแล้วในบางห้อง
ลักษณะครัวเรือน ลักษณะครัวเรือน รายละเอียด
การพึ่งพิง แย่  มีกลุ่มเปราะบางในครัวเรือนในสัดส่วน 50% ขึ้นไปจากสมาชิกครัวเรือน
สุขภาพ แย่  แย่ สัดส่วนสมาชิกครัวเรือนมีปัญหาสุขภาพมากกว่า50% จากสมาชิกครัวเรือน
รายได้ พออยู่ได้  สมาชิกครัวเรือนมีรายได้ประจำบางคน และเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
หนี้สิน พออยู่ได้  มีรายได้เพียงพอชำระหนี้สิน
การครอบครองที่อยู่อาศัย พออยู่ได้  เช่าที่ดิน / ที่ดินรัฐ / อาศัยที่ผู้อื่น (มีความมั่นคง)
สรุปลักษณะครัวเรือน แย่  ครัวเรือนมีผู้สูงอายุ และผู้มีปัญหาทางสุขภาพ รวมไปถึงเป็นมีรายได้น้อยในครัวเรือน มีอัตาการพึ่งพิงสูง

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ประเมินความต้องการ จากการสำรวจและลงพื้นที่ และการสัมภาษณ์ และการใช้ฐานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ฐานข้อมูล

  2. หาความร่วมมือ จากภาครัฐภาคเอกชน (เช่นหากพบมีผู้ป่วยติดเตียงอาจจะต้องประสานหน่วยงานอื่นๆเข้ามาช่วยดูแล)

  3. จัดสรรทรัพยากร เมื่อได้ทรัพยากร เช่น ทุน วัสดุ และแรงงาน โดยจะจัดสรรตามการประเมินความเร่งด่วน เพื่อนำไปจัดสรรความช่วยเหลือที่เหมาะสมเพื่อประสานการเข้าช่วยเหลือต่อไป โดยเรียงลำดับความเร่งด่วนจากมากไปน้อย

  4. เข้าให้ความช่วยเหลือ

  5. ประเมินผลการดำเนินโครงการ

แผนการดำเนินงาน

  1. บ้านหลังที่ 1 บ้านลุงมี ชุมชนบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย • ประเมินรายการที่ต้องซ่อม • จัดเตรียมวัสดุ และแรงงาน รวมไปถึงอาสาสมัครซ่อมสร้าง • รายการซ่อม - หลังคาผุ /รั่ว มากกว่า 3 จุด โครงสร้างไม่มั่งคง - พื้นผุพัง มีรอยแตกร้าว มากกว่า 5 จุด

  2. บ้านหลังที่ 2 บ้านป้าอ้อย ชุมชนจักรพรรดิพงษ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย • ประเมินรายการที่ต้องซ่อม • จัดเตรียมวัสดุ และแรงงาน รวมไปถึงอาสาสมัครซ่อมสร้าง • รายการซ่อม - หลังคาผุ /รั่ว มากกว่า 3 จุด โครงสร้างไม่มั่งคง - ผนังผุ มีรอยแตกมากกว่า 3 จุด หลุดร่อน มีเชื้อรา - พื้นผุพัง มีรอยแตกร้าว มากกว่า 5 จุด

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าวัสดุซ่อมบ้าน เช่น ฝ้า ผนัง หลังคา พื้น หน้าต่าง

2หลัง50,000.00
ค่าแรงช่างซ่อมบ้าน 2,000 บาท ต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน

2หลัง20,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด70,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)7,000.00
ยอดระดมทุน
77,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

บริษัท เออเบิน สตั้ดดี้ส์ แล็บ จำกัด

บริษัท เออเบิน สตั้ดดี้ส์ แล็บ จำกัด

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon