cover_1

Happy meal for Happy Granny : เติมรัก ปันอิ่ม ปี 2

ผู้สูงอายุ

เงินบริจาคของคุณจะมอบชุดอาหารเพื่อเพิ่มโภชนาการและตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาสที่ใช้ชีวิตตามลำพัง จำนวน100คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

19 เม.ย. 2566 - 30 เม.ย. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์

เป้าหมาย SDGs

ZERO HUNGER

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้สูงอายุ
77คน
ผู้พิการ
23คน

เติมรัก ปันอิ่ม ให้ผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตตามลำพัง อยู่อาศัยในบ้านเรือนที่มีสภาพทรุดโทรม ได้รับการดูแลโภชนาการด้านอาหาร

มีคนไปเยี่ยมเยียนให้ช่วยคลายเหงาลงได้ เจ้าหน้าที่โคเออร์พื้นที่สนาม จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ จะนำถุงเติมรักไปให้และพูดคุยทุกเดือน

ปัญหาสังคม

สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เป็นปัญหาที่ทุกชาติทั่วโลกจะต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับประเทศไทยในปีที่ผ่านมามีประชากรผู้สูงอายุสูงถึง 12.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.94 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้สูงอายุในขณะที่จำนวนคนวัยทำงานและวัยเด็กแรกเกิดลดลง ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

แม้ว่าภาครัฐจะแก้ไขปัญหาด้านค่าของชีพของผู้สูงอายุด้วยการจ่ายเบี้ยยังชีพให้ทุกเดือน แต่จำนวนเงินที่ได้รับยังคงไม่เพียงพอในการใช้ดำรงชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุที่มีฐานะขัดสนและมีสภาพครอบครัวแหว่งกลาง ครัวเรือนที่ประกอบด้วยคน 2 รุ่น คือ รุ่นปู่ย่า ตายาย และรุ่นหลาน ส่วนรุ่นพ่อแม่นั้นขาดหายไปเนื่องจากการละถิ่นฐานเพื่อไปทำงานไกลบ้าน และจำต้องทิ้งลูกไว้ให้พ่อแม่ที่ชราเลี้ยงดู ส่งผลให้ผู้สูงอายุนอกจากจะต้องใช้จ่ายเพื่อตัวเองแล้วพวกเขายังต้องใช้จ่ายเพื่อลูกหลานที่ต้องดูแลอีกด้วย

การต้องอยู่คนเดียวในภาวะยากลำบาก แก่ชราและมีหลายโรครุมเร้า ย่อมเป็นการดีกว่าอย่างแน่นอนหากผู้สูงอายุเหล่านี้จะมีใครสักคนไปมาหาสู่ หยิบยื่นความช่วยเหลือ ได้บอกเล่าเรื่องราวความทุกข์ยากหรือแม้แต่ความสุขให้ผู้อื่นได้ฟังอย่างน้อยก็จะได้ช่วยคลายเหงาลงได้ ทั้งยังจะสงผลดีต่อจิตใจ ทำให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักว่ายังมีความสำคัญ ไม่ได้เป็นภาระของผู้อื่น แม้ว่าหลายท่านจะได้จากไปแล้วอย่างสงบ แต่พวกเราคณะทำงานยังคงจดจำรอยยิ้ม และคำให้ศีลให้พรของท่านทุกครั้งที่ไปเยี่ยมเยียนได้อย่างแม่นยำ

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. โครงการมอบชุดอาหารของมูลนิธิโคเออร์เป็นโครงการต่อเนื่องนับแต่ปี 2529 ถึงปัจจุบัน  โดยเจ้าหน้าที่โคเออร์ หรืออาสาสมัครได้ทำการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ใช้ชีวิตตามลำพังไม่มีลูกหลานส่งเสียเลี้ยงดู  อาศัยอยู่ในบ้านเรือนทรุดโทรมและขาดโภชนาการที่ดี เพื่อให้การช่วยเหลือด้านอาหารและสิ่งจำเป็น  โดยมอบชุดอาหาร และตรวจสุขภาพเบื้องต้น หากพบสิ่งผิดปกติในเบื้องต้นจะทำการส่งตัวผู้สูงอายุไปยัง รพสต. และอาจมีการส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาลประจำอำเภอแล้วแต่กรณีต่อไป

แผนการดำเนินงาน

  1. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ อ.ตาพระยา อ.วัฒนานคร อ.วังสมบูรณ์ และ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และ อ.พนมดงรัก อ.บัวเชด อ.สังขะ และ อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์

  2. พิจารณาข้อมูลเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุเข้าโครงการ จำนวน 100 คน ทั้งนี้ หากผู้สูงอายุในโครงการเสียชีวิตหรือญาติพร้อมที่จะดูแลแล้ว จะทำการพิจารณาคัดเลือกทดแทน

  3. ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ ดังนี้ 1.ส่งมอบชุดอาหารเพื่อเพิ่มโภชนาการให้แก่ผู้สูงอายุ 2.ตรวจสุขภาพเบื้องต้น โดยอาสาสมัครโคเออร์ที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุ

  4. เจ้าหน้าที่โคเออร์ และอาสาสมัคร ลงพื้นที่พูดคุยสอบถามทุกข์สุข และให้กำลังใจ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าอาหารแห้ง ตลอด 1 ปี

ข้าวสาร 10 กิโลกรัม ไข่ไก่ กุนเชียง ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมกล่อง UHT ปลากระป๋อง ชุดละ 350 บาท/เดือน

100คน420,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด420,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)42,000.00
ยอดระดมทุน
462,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิโคเออร์

มูลนิธิโคเออร์

กรุงเทพมหานคร

มูลนิธิโคเออร์ เดิมที่ชื่อ สำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2521 และได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 รวมเวลาตั้งแต่ก่อตั้งถึงปัจจุบันคือ 46 ปี โคเออร์เป็นหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรดำเนินงานภายใต้สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยธรรมชาติและให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย รวมทั้งราษฎรไทย ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อันสืบเนื่องมาจากผู้ลี้ภัย และราษฎรไทยยากไร้และด้อยโอกาส ทั้งนี้ ด้วยการยึดหลักความรัก เมตตาธรรมและมนุษยธรรม เป็นพื้นฐานในการดำเนินการช่วยเหลือ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือลัทธิการเมืองแต่อย่างใด ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติเป็นการบรรเทาทุกข์ด้านอาหารและสิ่งของยังชีพ การให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรีและราชบุรีด้วยการมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ และให้ความรู้ด้านเกษตรกรรมเพื่อจะพึ่งพาตนเองได้เมื่อกลับสู่มาตุภูมิ และการช่วยเหลือราษฎรไทยยากไร้ ในจังหวัดสระแก้วและสุรินทร์ด้วยการบรรเทาทุกข์ด้านอาหาร

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon