cover_1

Free Form School : ห้องเรียนนอกกรอบเพื่อให้เด็กมีทักษะการทำงานและวุฒิการศึกษา

เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะการทำงานและมอบวุฒิการศึกษาระดับชั้นมัธยมต้น-ปลายให้กับเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการศึกษาและเศรษฐกิจจนหลุดจากระบบการศึกษา100คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

26 ส.ค. 2565 - 31 มี.ค. 2566

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

QUALITY EDUCATION

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
100คน

ห้องเรียนนอกกรอบ : การศึกษาทางเลือกที่จะช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการศึกษาและเศรษฐกิจจำนวน 100 คนจนต้องหลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าห้องเรียนที่จะพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะการทำงานและได้รับวุฒิการศึกษาในระดับชั้นมัธยมต้น-ปลาย

ปัญหาสังคม

Music Sharing เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชุมชนคลองเตยและชุมชนชุมชนแออัดอื่น ๆ

 
 

และจากการทำงานด้านเด็กและเยาวชนในชุมชนคลองเตยตลอด 9 ปี พบว่า เด็ก เยาวชนมีแนวโน้มที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสูงขึ้น โดยผลการติดตามเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการของคลองเตยดีจัง จำนวน 50 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 มีเด็ก เยาวชน ที่สามารถศึกษาต่อได้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวนทั้งหมด 12 คน จบการศึกษาและมีแนวโน้มจะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยเพียง 2 คน คิดเป็นเพียง 1% ของจำนวนเด็กในโครงการทั้งหมด

ทางโครงการฯจึงพยายายามพัฒนากลไกสนับสนุนและออกแบบการจัดการศึกษาแนวใหม่ ซึ่งเป็นการศึกษาทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับพื้นที่และผู้เรียน เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ตอบโจทย์ปัญหาชีวิต และความสนใจของกลุ่มเด็กและเยาวชนที่กำลังเผชิญกับวิกฤติทางการศึกษา โดยใช้แนวทางการเรียนแบบ  “On The Job Learning” คือ   การบูรณาการการศึกษาให้สามารถเรียนวิชาการ การพัฒนาทักษะชีวิต  เรียนรู้ผ่านทำโครงงาน พร้อมกับการสร้างรายได้ในขณะที่เรียน  ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะที่สำคัญของกลุ่มเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและเป็นรากฐานในการประกอบอาชีพในอนาคต 

 

ผลลัพธ์ของโครงการ Free Form School 

    1. ตลอดหลักสูตรเด็ก 100 คน ได้รับการพัฒนาทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และนำไปประกอบอาชีพได้

    2. ทำให้เด็กที่ออกจากระบบการศึกษา กลับเข้ามาสู่การศึกษาที่ออกแบบตามความเหมาะสม และได้วุฒิศึกษาในระดับชั้น ม.ต้น และ ม.ปลาย

    3. ระหว่างที่เรียนมีรายได้ จากการทำงานผ่านกิจกรรม On The Job Learning

 

 

Targets

ประเภท จำนวน รายละเอียด เปลี่ยนแปลง
เด็กและเยาวชน 100 คน

1. ครอบครัวยากจนฉับพลันในช่วงการระบาดโควิด ทำให้ค้างค่าเทอมโรงเรียนหลายเทอม

2. หลักสูตรการเรียนที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของเด็กและเยาวชน 

3. การเรียนออนไลน์ ไม่มีโทรศัพท์ เรียนไม่เข้าใจและตามไม่ทัน จึงทำให้เข้าเรียนไม่ต่อเนื่องบวกกับทางโรงเรียนไม่มีระบบติดตาม ทำให้เด็กและเยาวชนค่อยๆหลุดออกจากระบบการศึกษา

1. เด็กได้รับการพัฒนาทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และนำไปประกอบอาชีพได้

2. เด็กที่ออกจากระบบการศึกษา มีทางเลือกในการศึกษาตามความเหมาะสม และได้วุฒิศึกษาในระดับชั้น ม.ต้น และ ม.ปลาย

3. ระหว่างที่เรียนมีรายได้ จากการทำงานผ่านกิจกรรม On The Job Learning

วิธีการแก้ปัญหา

  1. พัฒนากลไกสนับสนุนและออกแบบการจัดการศึกษาแนวใหม่ ซึ่งเป็นการศึกษาทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับพื้นที่และผู้เรียน

แผนการดำเนินงาน

  1. เตรียมพร้อมของเด็กและเยาวชน
 ขั้นตอนที่ 1 : การรับสมัคร คัดกรองเด็กและเยาวชน โดยทีมงานร่วมกันประเมินความพร้อมของเด็ก เยาวชนในการเข้าร่วมโครงการ และออกแบบเครื่องมือ (Pre-Test Post-test) เพื่อใช้ประเมินทักษะและความเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนที่ 2 : ออกแบบ วางแผนการเรียน การทำงานรายสัปดาห์ร่วมกัน ระหว่างเด็ก เยาวชนและพี่เลี้ยง (Case Manager) เพื่อจัดทำแผนพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพเป็นรายคน และนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนพัฒนาทุก ๆ 3 เดือน

  2. เตรียมความพร้อมของ Case Manager และอาสาสมัคร เพื่อวางกรอบการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานหลักและ Case manager

  3. เตรียมหลักสูตร : พัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองทั้งด้านทักษะ ความรู้ คุณค่า ทัศนคติ พฤติกรรมและคุณสมบัติที่พึงมีในการทำงานและจัดกระบวนการประเมินหลักสูตรทุก 3 เดือน เพื่อสะท้อนการทำงานภาพรวมของการดำเนินโครงการ

  4. เตรียมกลไกเพื่อหนุนเสริม : ค้นหาภาคีหุ้นส่วน (Boundary Partners) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งหน่วยงาน องค์กรภาครัฐเพื่อให้สามารถดำเนินตามกรอบของระบบการศึกษาได้ และยังคงออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการตามกรอบคิดของโครงการได้ ทำให้เด็กและเยาวชนมีทางเลือกการศึกษาที่ตอบโจทย์ปัญหาชีวิตและความสนใจ และ การเชื่อมโยงทรัพยากรจากภาคธุรกิจ เอกชน เพื่อเข้ามาหนุนเสริมการดำเนินกิจกรรมหรือการดำเนินโครงการ

  5. สังเคราะห์ความรู้/ถอดบทเรียนการทำงาน เพื่อวางแนวทางการขยายงานไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มมากขึ้น

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ทุนการศึกษาห้องเรียนนอกกรอบ คนละ 19,000 บาท

หลักสูตรประกอบด้วย - การพัฒนา Life skill 1 คอร์ส - การพัฒนา Working Skill 1 คอร์ส - การฝึกอาชีพและรายได้ระหว่างเรียน (On the job learning) - ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (Individual Support) จำนวน 4,000 บาท ตลอดโครงการ - เรียนรู้ทักษะวิชาการ ทั้งหมดเพื่อให้สามารถสอบเทียบเข้าจนได้วุฒิการศึกษา ม.ต้น หรือ ม.ปลาย

100คน1,900,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด1,900,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)190,000.00
ยอดระดมทุน
2,090,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คลองเตยดีจัง

คลองเตยดีจัง

กรุงเทพมหานคร

กลุ่มครูดนตรีอาสาที่ทำงานพัฒนาสังคมในพื้นที่คลองเตยมากว่า 7 ปี และเป็นผู้ผลักดันให้งานคลองเตยดีจังเกิดขึ้น

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon