เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนค่าอาหารและค่าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ที่จำเป็นให้กับแม่และเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว5ครอบครัว
ทาง FRP ได้ระดมทุนผ่านทางเทใจตั้งวันที่ 15 สิงหาคม 2565 เป็นต้นมา โดยทาง FRP ได้เบิกเงินรอบที่สองเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ไปจำนวนทั้งหมด 58,552 บาท โดยเงินที่เบิกไปเราได้นำไปซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคและของใช้จำเป็นส่วนตัวอื่นๆ เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอก สบู่ ผ้าอนามัย เสื้อชั้นใน กางเกงใน ผ้าอ้อมเด็กและนม เป็นต้น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2566 มีผู้ได้รับผลประโยชน์ทั้งหมดโดยเฉลี่ยแม่ 7-8 คน และเด็กๆ 19-20 คนต่อเดือน
แม่ๆ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทาง FRP จัดไว้ เช่น การพูดคุยเป็นรายบุคคลรายสัปดาห์ การประเมินความเครียด การทำ care paln เพื่อตั้งเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับแต่ละคน การทำกิจกรรม peer support group ที่ละคนได้มีโอกาสเสริมพลังซึ่งกันและกัน มีโอกาสได้ระบายและรับฟังเพื่อนสมาชิกคนอื่นที่ประสบกับเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว มีโอกาสปลูกผักกินเอง เลี้ยงไก่ไข่ ไก่บ้าน นอกจากนั้นแม่ๆ ก็ได้เรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับการสร้างวินัยเชิงบวกในการเลี้ยงลูกเพื่อให้แม่ๆ นำไปปรับใช้
สุดท้ายนี้ ทาง FRP สนใจที่จะเข้าร่วมในการระดมทุนกับทางเทใจต่อไป ไม่ว่าจะเป็นสำหรับค่าอาหารหรือค่าเช่าของ Shelter ขอรบกวนให้เทใจเป็นคนกลาง เป็นกระบอกเสียงให้อีกหลายๆคนมามีส่วนร่วม ในการแบ่งความช่วยเหลือให้กับแม่ๆและเด็กๆ ที่อยู่ในshelter ของ FRP เพื่อให้เขารู้ว่าเขาไม่ได้เผชิญปัญหาความรุนแรงนี้เพียงลำพัง ยังมีคนอีกหลายคนที่คอยเป็นกำลังใจ และเอาใจช่วยแม่ๆและเด็กๆ ให้ผ่านพ้นเหตุการณ์รุนแรงที่เขาเผชิญ และให้เขาสามารถพึ่งตัวเองและดูแลตัวเองและลูกๆ ได้ต่อไป
“ ตอนที่ฉันยังอยู่กับสามี ฉันรู้สึกกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าจะทำอาหารอะไรหรือพอทำแล้วกลัวจะไม่ถูกปากสามีและอาจถูกด่าหรือถูกตี หลายครั้งพอทำอาหารเสร็จฉันกับลูกก็ไม่มีโอกาสได้กินเพราะต้องหนีสามี ไปหลบที่บ้านเพื่อนบ้าน การใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมแบบนั้นทำให้ฉันรู้สึกตัวเล็ก รู้สึกไร้ค่า ไร้ความมั่นใจในตนเอง แต่หลังจาก ฉันกับลูกๆ ได้มาอยู่ที่ shelter ของ FRP ฉันได้รับการสนับสนุนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกินที่ฉันสามารถเลือกที่จะกินอะไรก็ได้ที่ฉันและลูกต้องการจะกิน รวมไปถึงความปลอดภัยทางร่างกายและทางอารมณ์ที่ได้รับการดูแล ฉันรู้สึกปลอดภัย มีความสุข และสามารถนอนหลับได้อย่างไม่รู้สึกกลัว เมื่อเทียบกับการอยู่กับสามี ความมั่นใจของฉันก็เพิ่มสูงขึ้น ฉันไม่ต้องแบกรับความกังวล ความกลัว หรือความเครียดที่เกี่ยวข้องกับอาหารและสิ่งของจำเป็นอื่นๆ อีกต่อไป และที่สำคัญลูกๆ ของฉันทั้งสองคนได้ไปโรงเรียนด้วย ” คุณแม่ลูกสอง
“ ตอนที่ได้ยินคำว่า shelter ฉันคิดว่า ฉันจะต้องอยู่ร่วมกับผู้หญิงและเด็กๆ อีกหลายๆคน และคิดว่าที่ shelter อาจจะมีอาหารไม่พอ หรือไม่ก็กินแต่ข้าวต้มทุกวันแน่ แต่พอได้มาอยู่จริงๆแล้ว ฉันมีบ้านหลังเล็กๆ และห้องครัวของฉันเอง ฉันทำอาหารอะไรก็ได้ที่ฉันและลูกอยากกิน มีอาหารครบทั้งสามมื้อ ที่สำคัญฉันได้เจอผู้หญิงคนอื่นๆ ที่ประสบกับความรุนแรงจากสามีเหมือนฉัน ฉันไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป ” คุณแม่ลูกหนึ่ง
“ ฉันตัดสินใจหนีสามีมาอยู่ที่ shelter ของ FRP ตอนที่ฉันกำลังท้องได้เจ็ดเดือน ก่อนคลอดฉันเครียดและกังวลมากว่าจะดูแลลูกแฝดทั้งสองคนของฉันอย่างไร เพราะฉันไม่มีเงินเลย แต่ที่ shelter เจ้าหน้าที่และเพื่อนๆ คนอื่นๆ ที่อยู่ shelter ดูแลเอาใจใส่ฉันและลูกฝาแฝดทั้งสองอย่างดีมาก ฉันรู้สึกว่าที่นี่คือบ้านของฉัน คนที่นี่คือครอบครัวของฉัน ” คุณแม่น้องแฝด
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
เด็กและเยาวชน | เด็กที่ติดตามมาพร้อมกับคุณแม่ที่มาพักที่ shelter ของ FRP เด็กที่ติดตามแม่ๆ มามีตั้งแรกคลอด ถึง 16 ปี | 15 คน |
|
กลุ่มคนเปราะบาง | ผู้หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงที่ต้องการที่พักที่ปลอดภัยในอำเภอแม่สอด | 8 คน |
|
ทีมงาน FRP ได้เปิดระดมทุนผ่านทางเทใจตั้งวันที่ 15 สิงหาคม 2565 เป็นต้นมา โดยทาง FRP ได้เบิกเงินรอบแรก ในเดือนธันวาคม 2565 ไปจำนวนทั้งหมด 76,142 บาท โดยเงินที่เบิกไปเราได้นำไปซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคและของใช้จำเป็นส่วนตัวอื่นๆ เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอก สบู่ ผ้าอนามัย เสื้อชั้นใน กางเกงใน ผ้าอ้อมเด็กและนม เป็นต้น ทำให้บ้าน FRP ได้รับการสนับสนุนดูแลผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 21 คน แบ่งเป็นแม่ๆทั้งหมด 7 คนลูกๆ 14 คน ของเดือนธันวาคม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์
นอกจากนี้ บ้านพัก FRP ได้ฝึกให้แม่ๆได้ทำกิจกรรมต่างๆที่ทาง FRP จัดไว้ เช่น การพูดคุยเป็นรายบุคคลรายสัปดาห์ การประเมินความเครียด การทำ care paln เพื่อตั้งเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับแต่ละคน การทำกิจกรรมpeer support group ที่ละคนได้มีโอกาสเสริมพลังซึ่งกันและกัน มีโอกาสได้ระบายและรับฟังเพื่อนสมาชิกคนอื่นที่ประสบกับเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว มีโอกาสปลูกผักกินเอง เลี้ยงไก่ไข่ ไก่บ้าน นอกจากนั้นแม่ๆก็ได้เรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับการสร้างวินัยเชิงบวกในการเลี้ยงลูกเพื่อให้แม่ๆนำไปปรับใช้ เป็นต้น
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกตและจากการสอบถามแม่ๆ ทุกคนจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้รับประทานอาหารครบทั้งสามมื้อ อยู่บ้านพักFRP ไม่ต้องอดมื้อกินมื้อเหมือนตอนที่อยู่กับสามี ได้กินอาหารที่ตนเองชอบ มีประโยชน์และหลากหลาย มีของใช้ที่จำเป็น เวลาเจ็บป่วยมียารับประทานและได้ไปหาหมอ นอกจากกาารดูแลทางร่างกายแล้ว การดูแลทำให้แม่ๆและลูกๆมีความรู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกายและอารมณ์ สภาพจิตใจที่ย่ำแย่ ค่อยๆเริ่มดีขึ้น ความวิตกกังวลเริ่มน้อยลง ความมั่นใจและการเห็นคุณค่าในตัวเองเริ่มมีมากขึ้น
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | จำนวน | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
เด็กที่ติดตามมาพร้อมกับคุณแม่ที่มาพักที่ shelter ของ FRP อายุ 7 เดือนถึง 12 ปี | 14 คน | - เด็กๆมีอาหารครบห้าหมู่ - เด็กที่ถึงเกณฑ์เข้าโรงเรียนได้ไปโรงเรียนทั้งหมด 4 คน - เข้าถึงการรักษาพยาบาลต่างๆ - เด็กๆได้ทำกิจกรรมประจำวันที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูประบายสี การเล่นบำบัด หรือการพาไปทำกิจกรรมข้างนอกเช่น การไปว่ายน้ำ เป็นต้น |
ผู้หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงที่ต้องการที่พักที่ปลอดภัยในอำเภอแม่สอด มาใช้บริการบ้านพักของ FRP | 7 คน |
- มีอาหารทาน |