cover_1

Free Pad Free Pride ผ้าอนามัยฟรีเพื่อน้องชาติพันธุ์

เงินบริจาคของคุณจะจัดหาผ้าอนามัยให้กับน้องชาติพันธุ์หญิงในน้องชาติพันธุ์หญิงใน100คน

project in progress
กำลังดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาระดมทุน

26 มิ.ย. 2567 - 30 ส.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

โรงเรียนบ้านพญาไพร , โรงเรียนบ้านจะตี , โรงเรียนบ้านแม่หม้อ , โรงเรียนแม่มอญวิทยา , โรงเรียนบ้านห้วยแม่เลี่ยม (จ.เชียงราย) จ.เชียงราย

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGGENDER EQUALITY

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
100คน

โครงการ FREE PADS FREE PRIDE มุ่งช่วยเหลือน้องชาติพันธุ์หญิงในเขตพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย

จากการสัมภาษณ์พบว่า น้อง ๆ กว่า 70% เปลี่ยนผ้าอนามัยเพียง 1 ครั้งต่อวัน และบางครั้งต้องใช้วัสดุอื่นแทน เช่น ผ้าหรือทิชชู่ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

คุณเองก็สามารถช่วยให้น้อง ๆ มีสุขอนามัยที่ดีและมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้นได้ โดยบริจาคเพียง 100 บาท จะช่วยให้น้อง 1 คน มีผ้าอนามัยใช้ฟรีตลอดเดือน

ปัญหาสังคม

ปัญหาการเข้าถึงผ้าอนามัยที่มีคุณภาพ เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจและมีความตระหนักถึงความสำคัญมากขึ้นในสังคมช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีการเข้าถึงผ้าอนามัยอย่างเหมาะสมยังคงเป็นปัญหาที่ต้องการการสนับสนุน

น้อง ๆ ชาติพันธ์ุบนพื้นที่สูง ในจังหวัดเชียงราย ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการหาซื้อผ้าอนามัยที่มีคุณภาพในราคาที่จับต้องได้ ด้วยข้อจำกัดทางการเงินและทางเลือกที่มีอยู่อย่างจำกัด ปัญหานี้สะท้อนถึงช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างชัดเจน ความยากจนในช่วงมีประจำเดือน หรือ "Period Poverty" คือ ปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงผ้าอนามัยที่ดีและมีคุณภาพเนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพและการมีคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง

รายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า 1 ใน 10 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ในประเทศกำลังพัฒนา ไม่สามารถเข้าถึงผ้าอนามัยที่มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละเดือนได้ นอกจากนี้จากการสำรวจนักเรียนหญิงในวัยที่มีประจำเดือนบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทยพบว่ากว่า 30% ใช้ผ้าอนามัยต่อแผ่นนานเกินมาตรฐาน 

นอกจากความยากจนแล้ว ประเด็นสำคัญอีกประการก็ คือ ความเขินอายเมื่อต้องพูดถึงเรื่องผ้าอนามัยหรือประจำเดือนกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ผู้ขายที่ร้านค้า หรือแม้กระทั่งเพื่อนในห้องเรียน บ่อยครั้งที่ประจำเดือนมีปริมาณเยอะ จนล้นเลอะกระโปรง สร้างความรู้สึกอับอาย ทำให้วันนั้นกลายเป็นวันที่แย่ไปทั้งวัน และทำให้สมาธิในการจดจ่อกับการเรียนลดลง เพราะกังวลว่าจะโดนเพื่อนล้อเรื่องประจำเดือน

"ไม่มีเงินจะซื้อผ้าอนามัย ต้องโกหกพ่อว่าเอาเงินไปซื้อขนมเพราะอายพ่อที่ต้องพูดถึงประจำเดือน 🩸" 

หนึ่งในคำบอกเล่าของน้องสะท้อนถึงความลำบากใจที่ต้องปกปิดปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัย เพราะความอายที่จะต้องพูดคุยเรื่องนี้กับพ่อ เพราะในบางครอบครัว เด็กอาศัยอยู่กับพ่อเพียงลำพังเนื่องจากพ่อและแม่แยกทาง ทั้งนี้ ในบางหมู่บ้าน การซื้อผ้าอนามัยในร้านขายของชำก็เป็นเรื่องน่าอายอีกด้วย ปัญหาทางวัฒนธรรมและวิถีปฎิบัติทางสังคมบางอย่างยิ่งเพิ่มอุปสรรคให้กับการเข้าถึงผ้าอนามัย

 

เป้าหมายของเรา คือ มอบผ้าอนามัยให้น้อง 100 คน มีผ้าอนามัยใช้ตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการประหยัด หรือเขินอายเมื่อต้องการใช้ผ้าอนามัย ทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้

🫰โดยบริจาคเพียง 100 บาท เพื่อให้น้อง 1 คน มีผ้าอนามัยใช้ตลอด 1 เดือน 💖

เราทุกคน คือ ผู้สานต่อหนทางสู่สุขภาวะที่ดีของน้องๆ มาร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยการให้บริจาคในวันนี้ เพื่ออนาคตของน้อง ๆ ที่ดีกว่า

วิธีการแก้ปัญหา

  1. วางแผนและสำรวจและพื้นที่ (พ.ค. - มิ.ย. 67) เลือกโรงเรียนเป้าหมาย โดยคัดเลือกจากโรงเรียนที่มีนักเรียนหญิงในระดับชั้นมันธยมต้นในเครือข่ายที่มูลนิธิ ฯ มีความร่วมือเรื่องการพัฒนาสภาพแวดล้อมผู้เรียนร่วมกับทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จ.เชียงราย  จากนั้นประสานไปยังโรงเรียนเป้าหมายเพื่อขอสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลสถานการณ์การขาดแคลนผ้าอนามัย เพื่อระบุปัญหาเชิงลึก รวมถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และประเมินความต้องการและศักยภาพในการช่วยเหลือ

  2. ระดมทุนและหาผู้สนับสนุน (ก.ค. - ต.ค.67) จัดทำแผนการระดมทุนและประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ เทใจและจัดทำแคมเปนจ์ให้ความรู้เรื่องผ้าอนามัยบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของทางมูลนิธิ ฯ เพื่อระดมทุนเพื่อจัดหาผ้าอนามัยให้กับกลุ่มเป้าหมาย

แผนการดำเนินงาน

  1. จัดหาผ้าอนามัย (ก.ย. - ต.ค. 67) ติดต่อ และจัดซื้อผ้าอนามัยจากผู้ผลิต เพื่อจัดหาผ้าอนามัยที่มีคุณภาพเพียงพอตามจำนวนที่ต้องการในราคาที่เหมาะสม

  2. การจัดส่งและแจกจ่ายผ้าอนามัย (พ.ย. 67) ประสานงานกับผู้ประสานงานโรงเรียน รวมถึงจัดกิจกรรมแจกจ่ายผ้าอนามัยพร้อมให้ความรู้เรื่องสุขอนามัยที่ดี เพื่อให้น้องชาติพันธุ์หญิง 100 คน ได้รับผ้าอนามัยและมีความรู้เรื่องการมีสุขอนามัยที่ดี

  3. การติดตามและประเมินผล (1, 6 และ 12 เดือน หลังแจกจ่าย) ติดตามผลการใช้งานผ้าอนามัยและความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผ้าอนามัยเพื่อประเมินผลสำเร็จของโครงการและเก็บข้อมูลเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต

  4. รายงานและประชาสัมพันธ์ (1, 6 และ 12 เดือน หลังประเมินผล) จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ขององค์กรเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและขอบคุณผู้สนับสนุนและสร้างความโปร่งใสและเสริมสร้างความเชื่อมั่นในองค์กร พร้อมทั้งกระตุ้นการสนับสนุนในโครงการต่อไป

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าผ้าอนามัย เดือนละ 100 บาท เป็นเวลา 12 เดือน

คิดเฉลี่ยแผ่นละ 5 บาท (20 แผ่น/เดือน)

100คน120,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด120,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)12,000.00
ยอดระดมทุน
132,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ เป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมและการพัฒนาระดับนานาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 และได้จดทะเบียนก่อตั้งในประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) เมื่อปี พ.ศ. 2558 ดำเนินการเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองเด็กและสนับสนุนการศึกษาในประเทศไทย ทำงานในเขตพื้นที่ดอยสูงจังหวัดเชียงรายมาตั้งแต่ปี 2558 โดยทำงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 และเขต 3 มีเป้าหมายหลักในการช่วยเหลือและสร้างโอกาสให้กับเด็กชาติพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล  ในขณะนี้มีโรงเรียนภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิ ทั้งหมด 14 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนใน  จ.เชียงราย เขต 1 จำนวน 8 โรงเรียน และเขต 3 จำนวน 7 โรงเรียน กิจกรรมหลักของโครงการ การสนับสนุนการจัดการศึกษาแนวทางพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน โดยรจัดสรรผู้ช่วยครูสองภาษาและพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยครูสองภาษา ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเหล่านี้สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเต็มที่ ลดอุปสรรคทางภาษาและเสริมสร้างความเข้าใจในบทเรียน พัฒนาทักษะการสอนผู้ช่วยครู นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงอาคาร เช่น ห้องสมุด หอพัก และห้องน้ำให้ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ ทำให้นักเรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจในการเรียนรู้และพัฒนาอย่างเต็มที่ โครงการนี้จึงไม่เพียงแต่ช่วยให้นักเรียนชาติพันธุ์ได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น ประสบการณ์และผลงานขององค์กรผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโครงการที่ผ่านมา จากการวัดผลผ่านแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีคะแนนการใช้ทักษะภาษาไทยดีขึ้นในแบบทดสอบหลังเรียน นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการ ครูในโรงเรียนและผู้ช่วยครู ต่างให้ความเห็นว่าหลังจากดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ทางโรงเรียนเห็นผลของพัฒนาการอย่างมีนัยสัมคัญ นักเรียนมีความสนใจและมาเข้าเรียนมากขึ้น มีความกล้าแสดงออกและกล้าสื่อสารมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครูและโรงเรียนมากขึ้น เมื่อเทียบกับนักเรียนที่ยังไม่เคยเรียนในห้องเรียนที่มีผู้ช่วยครูสองภาษา

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon