cover_1
โครงการใหม่

ฟื้นฟูสังคม ระบบนิเวศ และสุขภาพ พื้นที่เหมืองทองคำจังหวัดเลย

เงินบริจาคของคุณจะจัดกิจกรรมฟื้นฟูระบบนิเวศสังคมสุขภาพให้กับหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย6หมู่บ้าน

ระยะเวลาระดมทุน

10 มี.ค. 2568 - 30 ธ.ค. 2568

พื้นที่ดำเนินโครงการ

อ.วังสะพุง จ.เลย

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYZERO HUNGERGOOD HEALTH AND WELL-BEINGDECENT WORK AND ECONOMIC GROWTHREDUCED INEQUALITIESRESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTIONCLIMATE ACTIONLIFE BELOW WATERLIFE ON LANDPEACE, JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONSPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ชุมชน/หมู่บ้าน
6แห่ง

โครงการเสริมสร้างความร่วมมือการฟื้นฟูประเทศไทย (Building Restorative Culture Coalition Thailand หรือ RCCT) ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นโดย The Equity Initiative Fellows ปี 2022, ประเทศไทย มีเป้าหมายเพื่อประสานความร่วมมือในการพัฒนาความรู้ และปฏิบัติการการฟื้นฟูระบบนิเวศ สังคม และสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ระบบนิเวศเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อสังคมและสุขภาพประชาชน เพื่อมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมการฟื้นฟู (Restorative Culture) ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ   ดังนั้นเพื่อพัฒนากระบวนทัศน์จากความรู้ที่หลากหลายเรื่องการฟื้นฟู โครงการฯ จึงได้ร่วมกับชุมชนในพื้นที่เหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย จัด “ฟื้นฟูสังคม ระบบนิเวศ และสุขภาพ พื้นที่เหมืองทองคำจังหวัดเลย  ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย” ขึ้นเพื่อเชิญผู้ที่มีความรู้เรื่องการฟื้นฟูสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ มาพบร่วมกับประชาชนในพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษ พัฒนาแผนการฟื้นฟูและดำเนินการกิจกรรมการฟื้นฟูระบบนิเวศ สังคม และสุขภาพของคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ แสวงหาความร่วมมือในการทำงานให้เกิดการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนในชุมชนโดยเร็ว

ปัญหาสังคม

ปัจจุบันเกิดการปนเปื้อนมลพิษอย่างกว้างขวางในพื้นที่เหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย ซึ่งเป็นเหมืองทองคำแบบเปิดที่ทิ้งร้าง บริษัทผู้ทำเหมืองล้มละลายตามกฎหมาย ประชาชนได้รับผลกระทบจากมลพิษโลหะหนัก เช่น สารหนู แคดเมี่ยม แมงกานิส ไซยาไนด์ ฯลฯ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในหลายชุมชน แต่ยังไม่มีการจัดการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษดังกล่าว จึงทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงมากขึ้น ที่ผ่านมาประชาชนรอบเหมืองฯ ในนาม กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้านจำนวน 165 คน ได้ยื่นฟ้อง บริษัทเอกชนในฐานความผิด ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ พ.ร.บ.การสาธารณสุข  เรียกร้องให้ดำเนินการฟื้นฟูการปนเปื้อนซึ่ง ศาลจังหวัดเลย มีคำพิพากษาเมื่อปี 2561ให้ดำเนินการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กลับสู่สภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ราชการกำหนด ทั้งน้ำและดิน โดยให้ประชาชนเข้าร่วมในการทำแผนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วย

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ร่วมกับชุมชนในพื้นที่เหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย จัด “ฟื้นฟูสังคม ระบบนิเวศ และสุขภาพ พื้นที่เหมืองทองคำจังหวัดเลย ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย” ขึ้นเพื่อเชิญผู้ที่มีความรู้เรื่องการฟื้นฟูสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ มาพบร่วมกับประชาชนในพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษ พัฒนาแผนการฟื้นฟูและดำเนินการกิจกรรมการฟื้นฟูระบบนิเวศ สังคม และสุขภาพของคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ แสวงหาความร่วมมือในการทำงานให้เกิดการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนในชุมชนโดยเร็ว

แผนการดำเนินงาน

  1. ม.ค. - ก.พ. 2568

    ประชุมปฏิบัติการสนับสนุนชุมชนจัดทำและพัฒนาแผนฟื้นฟูชุมชน 6 หมู่บ้าน

  2. มี.ค. - พ.ค. 2568

    ประชุมปฏิบัติการสนับสนุนชุมชนจัดทำและพัฒนาแผนฟื้นฟูชุมชน 6 หมู่บ้าน

  3. มิ.ย. 2568

    3.ฝึกอบรม public narrative การนำเสนอแผนฟื้นฟูให้แกนนำชุมชน 6 หมู่บ้าน

  4. ก.ค. 2568

    ชุมชนนำเสนอ (ร่าง) แผนฟื้นฟูของชุมชนต่อสาธารณะ จัดทำสื่อ

  5. ส.ค. 2568

    5.ประชุมคณะทำงานเพื่อปรับปรุงแผนฟื้นฟูของชุมชน

  6. ส.ค. 2568

    นำเสนอและสื่อสารแผนฟื้นฟูฉบับสมบูรณ์ต่อสาธารณะ

  7. มิ.ย. - ส.ค. 2568

    ริเริ่มกิจกรรมฟื้นฟูป่าไม้ร่วมกับชุมชน

  8. ก.ย. 2568

    นำเสนอแผนฟื้นฟูฉบับสมบูรณ์ต่อคณะกรรมการฟื้นฟูฯ

  9. ม.ค. - ธ.ค. 2568

    สนับกิจกรรมฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนส่งเสริมโรงเรียนทอผ้าสืบสานความรู้ทอผ้าชุมชนและประสานงานกับ สปก.

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
แนะนำโครงการกับผู้มีส่วนได้เสีย

6หมู่บ้าน3,000.00
ประชุมปฏิบัติการสนับสนุนชุมชนจัดทำและพัฒนาแผนฟื้นฟูชุมชน 6 หมู่บ้าน

6หมู่บ้าน60,000.00
ฝึกอบรม public narrative การนำเสนอแผนฟื้นฟูให้แกนนำชุมชน 6 หมู่บ้าน

6หมู่บ้าน57,000.00
ชุมชนนำเสนอ (ร่าง) แผนฟื้นฟูของชุมชนต่อสาธารณะ จัดทำสื่อ

6หมู่บ้าน50,000.00
ประชุมคณะทำงานเพื่อปรับปรุงแผนฟื้นฟูของชุมชน

1ครั้ง30,000.00
นำเสนอและสื่อสารแผนฟื้นฟูฉบับสมบูรณ์ต่อสาธารณะและคณะกรรมการฟื้นฟู

3ครั้ง50,000.00
กิจกรรมฟื้นฟูป่าไม้และสวยฝ้ายอินทรีย์ผสมผสาน

5ครั้ง100,000.00
สนับกิจกรรมฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนส่งเสริมโรงเรียนทอผ้าสืบสานความรู้ทอผ้าชุมชนและประสานงานกับ สปก.

5ครั้ง150,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด500,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)50,000.00
ยอดระดมทุน
550,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

โครงการ Building Restorative Culture Coalition Thailand (RCCT) ริเริ่มขึ้นโดยคณะบุคคลผู้ซึ่งทำงานด้านความเป็นธรรมทางสุขภาพในนาม The Equity Initiative Fellows ปี 2022, ประเทศไทย มีเป้าหมายเพื่อประสานความร่วมมือในการพัฒนาความรู้ และปฏิบัติการให้เกิดการฟื้นฟูระบบนิเวศ สังคม และสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ระบบนิเวศเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อสังคมและสุขภาพประชาชน เพื่อมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมการฟื้นฟู (Restorative Culture) ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ เพราะปัจจุบันมีสถานการณ์การปนเปื้อนมลพิษอย่างกว้างขวางในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษเหมืองแร่ ที่ทำให้ประชาชนหลายหมื่นคนมีความเสี่ยง ภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเฝ้าระวังปัญหา เยียวยา ชดเชย รักษา ติดตาม นอกจากนี้ยังมีต้นทุนทางสังคมอื่น ๆ ชุมชนประสบปัญหาความขัดแย้งและบาดแผลในจิตใจจากการดิ้นรนต่อสู้อย่างยาวนา หลายชุมชนชนะในชั้นศาลแต่ไม่สามารถดำเนินการฟื้นฟูได้จริง หรือในกรณีที่มีการดำเนินการการฟื้นฟูมลพิษจากเหมืองแร่ก็มักจำกัดขอบเขตการฟื้นฟูอยู่ที่เทคนิคในการกำจัดสารพิษ แหล่งกำเนิดมลพิษในเขตประทานบัตรเหมืองแร่เท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และสุขภาพ RCCT ทำงานเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษจากอุตสาหกรรมเหมือง และเกษตรเชิงเดี่ยวที่ให้ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพเสื่อมโทรม โดยการนำแนวคิดกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศสังคมมาใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน โดยเสนอแนวทางการปฏิบัติเรื่องการฟื้นฟูการฟื้นคืนระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม โดยสร้างกระบวนการฟื้นฟูทั้งสังคมและระบบนิเวศขึ้นมาใหม่ เป็นระบบนิเวศที่ดีเอื้อต่อสุขภาพหรือความเป็นอยู่ที่ดีของคน

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon