โครงการ Building Restorative Culture Coalition Thailand (RCCT) ริเริ่มขึ้นโดยคณะบุคคลผู้ซึ่งทำงานด้านความเป็นธรรมทางสุขภาพในนาม The Equity Initiative Fellows ปี 2022, ประเทศไทย มีเป้าหมายเพื่อประสานความร่วมมือในการพัฒนาความรู้ และปฏิบัติการให้เกิดการฟื้นฟูระบบนิเวศ สังคม และสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ระบบนิเวศเสื่อมโทรมส่งผลกระทบต่อสังคมและสุขภาพประชาชน เพื่อมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมการฟื้นฟู (Restorative Culture) ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ เพราะปัจจุบันมีสถานการณ์การปนเปื้อนมลพิษอย่างกว้างขวางในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษเหมืองแร่ ที่ทำให้ประชาชนหลายหมื่นคนมีความเสี่ยง ภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเฝ้าระวังปัญหา เยียวยา ชดเชย รักษา ติดตาม นอกจากนี้ยังมีต้นทุนทางสังคมอื่น ๆ ชุมชนประสบปัญหาความขัดแย้งและบาดแผลในจิตใจจากการดิ้นรนต่อสู้อย่างยาวนา หลายชุมชนชนะในชั้นศาลแต่ไม่สามารถดำเนินการฟื้นฟูได้จริง หรือในกรณีที่มีการดำเนินการการฟื้นฟูมลพิษจากเหมืองแร่ก็มักจำกัดขอบเขตการฟื้นฟูอยู่ที่เทคนิคในการกำจัดสารพิษ แหล่งกำเนิดมลพิษในเขตประทานบัตรเหมืองแร่เท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และสุขภาพ RCCT ทำงานเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษจากอุตสาหกรรมเหมือง และเกษตรเชิงเดี่ยวที่ให้ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพเสื่อมโทรม โดยการนำแนวคิดกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศสังคมมาใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน โดยเสนอแนวทางการปฏิบัติเรื่องการฟื้นฟูการฟื้นคืนระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม โดยสร้างกระบวนการฟื้นฟูทั้งสังคมและระบบนิเวศขึ้นมาใหม่ เป็นระบบนิเวศที่ดีเอื้อต่อสุขภาพหรือความเป็นอยู่ที่ดีของคน
สนับสนุนความริเริ่มของชุมชนในการปลูกป่าฟื้นฟูภูเขาที่เสื่อมโทรมจากการทำเหมืองแร่ทองคำจังหวดัเลย อีกทั้งสามารถประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรมฟื้นฟูภูเขาเป็นปีแรก
สนับสนุนชุมชนริเริ่มกิจกรรมปลูกป่าฟื้นฟูภูเขาที่ถูกทำลายหลังการทำเหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย เป็นครั้งแรก สมาชิกในชุมชนมีความร่วมมือในการทำงานฟื้นฟูภูเขาทั้งการเพาะกล้าพันธุ์ไม้ ปลูกต้นไม้ และร่วมกันออกแบบภูเขาที่พวกเขาอยากเห็นร่วมกัน
18 หมู่ 4 ต.อุ่มจาน อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร 47230