cover_1
โครงการใหม่

รถพุ่มพวง กินดี ส่งต่อผลผลิตเกษตรอินทรีย์จากเกษตรกรสูงวัยสู่ผู้บริโภคคนเมือง

ผู้สูงอายุ
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ
ผู้ประสบภัยพิบัติ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปจัดซื้อรถสามล้อเครื่องนำมาทำรถพุ่มพวงกินดี เพื่อใช้ขนส่งผักอินทรีย์ให้กับเพื่อทำตลาดผักอินทรีย์ของเกษตรกร50ครัวเรือน

ระยะเวลาระดมทุน

14 ก.ค. 2568 - 30 ก.ย. 2568

พื้นที่ดำเนินโครงการ

อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานีอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ต.โนนโหนน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี 34360อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี 34190อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี ต.สำโรง อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี 34330อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี ต.โพนเมือง อ.เหล่าเสือโก้ก จ.อุบลราชธานี 34000

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYZERO HUNGERGOOD HEALTH AND WELL-BEINGCLEAN WATER AND SANITATIONDECENT WORK AND ECONOMIC GROWTHREDUCED INEQUALITIESRESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTIONCLIMATE ACTIONLIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เกษตรกร
50คน
ชุมชน/หมู่บ้าน
5แห่ง
ผู้บริโภค
150คน

เกษตรกรสูงวัยในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ปลูกผักไร้สารพิษ แต่ขาดช่องทางการจำหน่าย  น้องใหม่ และน้องทิพย์ ผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่  ได้ทำหน้าที่รับผักอินทรีย์จากชุมชนเกษตรกรสูงวัย มาส่งต่อสู่ผู้บริโภค ต่อยอดจากโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี งานวิจัยจบลง ทำให้มีผู้บริโภครับรู้ และเข้ามาอุดหนุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเดิมใช้รถจักรยานยนต์ในการขนส่งผัก ทั้งรับจากเกษตรกรในชุมชน และนำส่งต่อให้ผู้บริโภคเนื่องจากสินค้าทางการเกษตรที่ไม่ได้มีกำไรมากนัก จึงยังขยายธุรกิจ จัดซื้อรถยนต์ไม่ได้  เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสูงวัยในชุมชนยังคงอาชีพปลูกผักอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับกระบวนตรวจรับรองมาตรฐาน ไม่ใช้สารเคมี ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  และช่วยให้คนรุ่นใหม่มีงานทำเราจึงระดมทุนเพื่อจัดซื้อ รถพุ่มพวงกินดี เพื่อทำให้ผลผลิต มีพื้นที่ขายมากขึ้น

ปัญหาสังคม

เกษตรกรสูงวัยในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ปลูกผักไร้สารพิษ หรือผักอินทรีย์ แต่ขาดทักษะการขับรถ รวมทั้งไม่มีรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ส่วนตัวเพื่อขนส่งผักมาขายในตลาด  หากจะขายในชุมชนทุกครัวเรือนก็ปลูกกินเอง

ดร.กฤตยา อุทโธ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ทดลองเปิดแผงขายผักอินทรีย์ในแผงตลาดสดทั่วไป เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงผักอินทรีย์ง่ายขึ้น โดยทดลองนำร่องที่ ตลาดก้านเหลือง ชื่อแผงผักกินดี หลังจากงานวิจัยจบลงเมื่อปี 2565  ค้นพบว่า การอุดช่องว่างด้านการตลาด ทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจ ผลิตแล้วมีตลาดรองรับสินค้า จึงมุ่งมั่นเพาะปลูกดูแลพืชผักมากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคก็เข้าถึงผักอินทรีย์ได้ง่ายขึ้น ควรมีการดำเนินการที่ต่อเนื่องในรูปแบบผู้ประกอบการกลางสำหรับการเชื่อมโยงผลผลิตเกษตรอินทรีย์

เพื่อต่อยอดโมเดลจากงานวิจัย จึงได้ชวนนักศึกษาที่พึ่งเรียนจบ คือนางสาวสุภกร จรลี หรือน้องทิพย์ และนางสาวปนัดดา เบิดสูง หรือน้องใหม่ ได้เข้ามาทำหน้าที่ “ผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่” เชื่อมโยงสู่ผักอินทรีย์สู่ผู้บริโภค โดยไม่มีงบประมาณจากหน่วยงานใดมาสนับสนุน ยังคงเปิดจำหน่ายที่แผงผักร้านกินดี ทุกวัน เวลา 14.00-20.00 น. โดยตลาดก้านเหลือง ได้สนับสนุนพื้นที่ในการเปิดแผงผักอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้บริโภครับรู้ และเข้ามาอุดหนุนอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรในชุมชนต่างมีความหวัง ผลิตแล้วมีที่ขาย จึงบอกต่อกัน ทำให้มีเกษตรกร หันมาทำเกษตรอินทรีย์กันมากขึ้น ผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ ก็สนุกกับการขายผักช่วยเกษตรกร แต่พบอุปสรรคคือ ไม่มีรถยนต์ในการขนส่งผัก ปัจจุบันใช้รถมอเตอร์ไซด์ขับเข้าไปรับผักจากสวนเกษตรกร ไปวางจำหน่ายที่ร้านกินดี และนำส่งต่อให้ลูกค้า ทั้งนี้การจำหน่ายผักอินทรีย์ เป็นสินค้าทางการเกษตรที่ไม่ได้มีกำไรมากนัก เนื่องจากผักราคาไม่สูงมาก จึงยังจัดซื้อรถยนต์ไม่ได้ แต่ความสุขที่ได้จากการทำงาน คือ การได้ขายผักของคุณยาย คุณป้า คุณลุงที่ปลูกอย่างใส่ใจ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า หรือสารกำจัดวัชพืชใดๆ อีกทั้งยังผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น PGS กินสบายใจ โดยมูลนิธิสื่อสร้างสุข ที่เข้ามาสนับสนุนกระบวนการรับรองมาตรฐานอีกด้วย

เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสูงวัยในชุมชนยังคงอาชีพปลูกผักอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับกระบวนตรวจรับรองมาตรฐาน ไม่ใช้สารเคมี ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  และช่วยให้คนรุ่นใหม่มีงานทำ ขณะคนกิน ก็ได้บริโภคสิ่งที่ดี และหาซื้อได้ง่าย อุดช่องว่างผู้บริโภคต้องการความสะดวกและการเข้าถึงสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยไร้สารพิษ จึงพัฒนาโครงการ รถพุ่มพวง กินดี ส่งต่อผลผลิตเกษตรอินทรีย์จากเกษตรกรสูงวัยสู่ผู้บริโภคคนเมือง  ดำเนินการทดลองขยายตลาดใหม่ๆ โดยการนำรถสามล้อเครื่องที่มีขนาดเล็ก เข้าออกทุกซอยได้โดยง่าย จอดง่าย รับผักจากชุมชน ไปส่งผัก กระจายต่อสู่ผู้บริโภคคนเมือง เป็นจุดเชื่อมโยงของการสร้างระบบอาหารใหม่ที่มีความยั่งยืน จากการส่งเสริมการตลาด ย้อนกลับไปส่งเสริมการเพิ่มฐานการผลิตของเกษตรกรสูงวัย ให้สามารถปลูก และการกระจายสู่ผู้บริโภคต่อ เกิดเป็นโมเดลกิจการเล็กๆของผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ ที่เป็นข้อต่อสำคัญของงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์

วิธีการดำเนินงาน มีการประชุมเครือข่ายกินดี ประกอบไปด้วยผู้ผลิต ผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ และตัวแทนผู้บริโภคเพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน 1 ครั้ง จากนั้นจัดซื้อรถสามล้อ เพื่อทำรถพุ่มพวง กินดี และตกแต่งรถ เพื่อสื่อสารถึงเป้าหมายของการกินดีให้เกิดการรับรู้ให้มากขึ้น จัดทำแผนการตลาดแบบเคลื่อนที่เข้าหาคนซื้อ เพื่อให้ผักอินทรีย์เข้าถึงผู้บริโภคคนเมืองมากขึ้น จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ หมู่บ้านจัดสรร,สำนักงานของส่วนราชการ,สำนักงานของเอกชน,พื้นที่ที่มีงาน Event ของภาคส่วนต่างๆ,ตลาดนัดในชุมชน ดำเนินการทดลองเส้นทางและรูปแบบการตลาด โดยรับผักจากเกษตรกรสูงวัยในชุมชน ไปส่ง-กระจายต่อสู่ผู้บริโภคตามจุดต่างๆที่กำหนดขึ้น มีการสรุปงานร่วมกันทุกเดือน

กลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรผู้ผลิตที่เพาะปลูก ข้าว ผัก ผลไม้ เห็ดที่ไร้สารพิษ เกษตรอินทรีย์ มีการรับรองมาตรฐาน PGS ในพื้นที่ 6 อำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี  ผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ร้านกินดี แผงผักอินทรีย์ในตลาดก้านเหลือง และเครือข่ายผู้บริโภค

วิธีการแก้ปัญหา

  1. การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่อาหาร โดยมีการส่งเสริมการผลิต การรับรองมาตรฐาน การสร้างกลไกการตลาดทางเลือก และการรณรงค์สร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภค คือหลักการของการสร้างระบบอาหารใหม่ ที่มีความยั่งยืน หัวใจของการเปลี่ยนแปลงคือ การเปลี่ยนอาชีพของเกษตรกร ด้วยพลังซื้อของผู้บริโภคให้ได้ จึงจะเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน แต่เนื่องจากหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการดำเนินการของมูลนิธิสื่อสร้างสุขที่ผ่านมา ให้การสนับสนุนด้านการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายให้มีความรู้ และสร้างความร่วมมือในระดับหน่วยงานให้เกิดกลไกการสนับสนุน เช่น ตรวจรับรองมาตรฐานร่วมกัน แต่ไม่สามารถสนับสนุน ทุนสำหรับการประกอบธุรกิจ ตลอดจนการจัดซื้อคุรุภัณฑ์ เช่น รถสามล้อเครื่องเพื่อทดลองโมเดล ผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจ ที่ต้องทำงานเชิงรุก และอุดช่องว่างของระบบเกษตร คือ มีการรับซื้อผลผลิตเกษตรกร มีการทำตลาดกับผู้บริโภค และอำนวยความสะดวกด้านการรับผลผลิต เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่สูงวัย ไม่สะดวกในการเดินทางมาส่งสินค้าหรือการนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายสินค้าในเมือง ต้องมีตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค

แผนการดำเนินงาน

  1. ส.ค. 2568

    ประชุมเครือข่ายกินดี ประกอบไปด้วยผู้ผลิต ผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ และตัวแทนผู้บริโภคเพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน 1 ครั้ง

  2. ก.ย. - ต.ค. 2568

    จัดซื้อรถสามล้อ เพื่อทำรถพุ่มพวง กินดี

  3. ก.ย. - ต.ค. 2568

    ตกแต่งรถเพื่อสื่อสารถึงเป้าหมายของการกินดี

  4. ต.ค. 2568

    จัดทำแผนการตลาดแบบเคลื่อนที่เข้าหาคนซื้อ เพื่อให้ผักอินทรีย์เข้าถึงผู้บริโภคคนเมืองมากขึ้น จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ หมู่บ้านจัดสรร,สำนักงานของส่วนราชการ,สำนักงานของเอกชน,พื้นที่ที่มีงาน Event ของภาคส่วนต่างๆ,ตลาดนัดในชุมชน เป็นต้น

  5. ต.ค. - ธ.ค. 2568

    ค่าน้ำมัน (กม.ละ 4 บาท) เพื่อทดลองตลาด โดยนำรถไปรับผักจากเกษตรกรสูงวัยในชุมชนต่างๆ แล้วนำไปส่ง-กระจายต่อสู่ผู้บริโภคตามจุดต่างๆที่กำหนดขึ้นในข้อ 4. โดยดำเนินการในระยะเวลา 3 เดือน ได้แก่ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน-ธันวาคม

  6. ธ.ค. 2568

    สรุปงานร่วมกัน

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
จัดซื้อรถสามล้อ รถพ่วง กินดี

1คัน99,000.00
ตกแต่งรถพุ่มพวง

1คัน3,000.00
ดำเนินการทดลองเส้นทางและรูปแบบการตลาด

5เส้นทาง15,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด117,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)11,700.00
ยอดระดมทุน
128,700.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิสื่อสร้างสุข เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนทำงานสื่อในจังหวัดอุบลราชธานีในปี 2546 โดยรวมตัวกันในนามศูนย์ข่าวประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้มูลนิธิประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี โดยการนำของนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เพื่อทำงานสื่อมัลติมีเดีย วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เว็บไซด์ท้องถิ่น สร้างสังคมสุขภาวะให้แก่คนอุบลราชธานี โดยก่อตั้งองค์กรในปี 2551 จดทะเบียนมูลนิธิในปี 2556 มีเป้าหมาย หรือพันธกิจ คือ การทำหน้าที่ของสื่อสร้างสุขภาวะ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีภารกิจสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1.งานพัฒนระบบอาหารยั่งยืน sustainable Food System หรือที่รู้จักในชื่อ โครงการกินสบายใจ มีนางสาวคนึงนุช วงศ์เย็น เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีภารกิจคือ การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ตลอดห่วงโซ่อาหาร เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบอาหารที่ยั่งยืน และสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติได้ 2. งานรู้เท่าทันสื่อ หรือ Media Literacy มีนายกมล หอมกลิ่น เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีภารกิจคือ สร้างทักษะให้ประชาชนเฝ้าระวังสื่อและข้อมูลข่าวสาร/พัฒนานักสื่อสาร และศูนย์ตอบโต้ข่าวลวงผ่านแพลตฟอร์ม mojo esan เพื่อให้ทุกคนเข้ามาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ 3.งานสื่อสารสาธารณะเพื่อสุขภาวะ มุ่ง SDGs มีนายสุวาทิต กุลทิต เป็นผู้รับผิดชอบงาน มีเป้าหมายเพื่อสื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น หนุนเสริมกระบวนการทำงานของภาคประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างรัฐและประชาชนในการพัฒนาสังคมอุบลราชธานีสู่สุขภาวะ และยกระดับสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 4.งาน Green Economy ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ นำเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม มีนายเอกลักษณ์ นพรัตน์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่า ด้วยการเชื่อมโยงความร่วมมือการดำเนินงานตาม MOU คนอุบล 1.9 ล้านคน ปลูกต้นไม้ 1.9 ล้านต้น มุ่งสู่ Green economy carbon credit มูลนิธิสื่อสร้างสุข ตั้งอยู่เลขที่ 330/5 หมู่ 17 ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ มือถือ 087-3786955 เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมของเราได้ที่ Page ค้นคำว่า“สื่อสร้างสุข”

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon