cover_1
โครงการใหม่
+1

ด่วน !! พลังน้ำใจสู่ผู้ประสบภัยใต้ 2567

เงินบริจาคของคุณจะนำไปซื้อถุงยังชีพให้กับในพื้นที่ประสบภัยพิบัติสามจังหวัดชายแดนใต้3จังหวัด

ระยะเวลาระดมทุน

2 ธ.ค. 2567 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

ZERO HUNGERGOOD HEALTH AND WELL-BEINGCLIMATE ACTION

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้ประสบภัยพิบัติ
15,000คน

จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2567 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนในพื้นที่ภาคใต้  อาทิ ปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาส โดยมีประชาชนได้รับผลกระทบหลายแสนครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิต 12 ราย สภาพน้ำท่วมในบางพื้นที่แม้ระดับน้ำจะลดลงแล้ว แต่ประชาชนยังคงต้องเผชิญกับความเสียหาย  เราจึงต้องจัดทำ "ถุงน้ำใจ" อาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรค และอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตเพื่อแจกจ่ายผู้ประสบภัย 5,000 ชุด

ปัญหาสังคม

จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2567 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนในพื้นที่ภาคใต้รวม 7 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สตูล, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาส โดยมีประชาชนได้รับผลกระทบจำนวน 617,386 ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิต 12 ราย สภาพน้ำท่วมในบางพื้นที่แม้ระดับน้ำจะลดลงแล้ว แต่ประชาชนยังคงต้องเผชิญกับความเสียหายต่อทรัพย์สิน การขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และความยากลำบากในการฟื้นฟูชีวิตประจำวัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงสิ่งของจำเป็นได้อย่างรวดเร็ว
  2. พื้นที่ชุมชนที่ได้รับความเสียหายได้รับการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สร้างความร่วมมือและความสามัคคีในสังคมผ่านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

เป้าหมาย

  • แจกจ่ายสิ่งของช่วยเหลืออย่างน้อย 5,000 ชุด
  • ฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนและสิ่งของจำเป็นสำหรับการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

  2. สนับสนุนการฟื้นฟูชีวิตและพื้นที่ชุมชนให้กลับมามีความมั่นคงและปลอดภัย

  3. สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคมในการระดมการช่วยเหลือ

แผนการดำเนินงาน

  1. การจัดหาสิ่งของจำเป็น จัดซื้ออาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรค และอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต จัดทำ "ถุงน้ำใจ" แจกจ่ายผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ

  2. การจัดทีมช่วยเหลือในพื้นที่ ส่งทีมอาสาสมัครเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยเพื่อแจกจ่ายสิ่งของ ช่วยฟื้นฟูพื้นที่ชุมชน เช่น ทำความสะอาดบ้านเรือน โรงเรียน และสถานที่สาธารณะ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
อาหารแห้ง และสิ่งของจำเป็น

5,000ถุง500,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด500,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)50,000.00
ยอดระดมทุน
550,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เหตุการณ์ภัยพิบัติในจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต และมักจะปรากฎเป็นมหันตภัยขนาดใหญ่ทุกรอบ 10 ปี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุการณ์ ‘คลื่นพายุซัดฝั่ง’ (storm surge) และกระทบกับชาวประมงรอบอ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี จำนวนกว่า 300 ครัวเรือน บ้านบางหลังถูกพายุหอบหายไปทั้งหลัง เช่นเดียวกับการเกิดความเสียหายต่อเครื่องมือประมง เช่น เรือ อวน ตามสถิติพบว่า เด็กผู้หญิง เด็กผู้ชาย และผู้หญิง เสียชีวิตในสถานการณ์ภัยพิบัติสูงกว่าผู้ชาย 14 เท่า แต่ผู้หญิงกลับขาดการพัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ สถานการณ์ภัยพิบัติดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้น เมื่อปี พ.ศ. 2562 ในการก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายผู้หญิงกับภัยพิบัติจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ คือ 1. เพื่อร่วมมือและประสานงานกับรัฐและองค์กรเอกชนอื่นๆ ในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ คุณภาพชีวิต และสิทธิของผู้หญิงและคนกลุ่มเปราะบางในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 2. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 3. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในการจัดตั้งกลุ่มยังอยู่บนฐานการศึกษาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 จากแบบสอบถาม 39 คน ผู้หญิง 35 คน ผู้ชาย 4 คน จาก 9 หมู่บ้าน ได้แต่ ราตาปันยัง ยามู บ้านกลาง ตาเชร บราโหม บางปู แหลมโพธิ์ ตะโล๊ะกาโปร์ และตันหยงลูโล๊ะ พบว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านทุกคนได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ แต่จำนวนกว่า 92% ไม่เคยได้รับการอบรมเรื่องการป้องกันภัยพิบัติเลย

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon