cover_1

รวมพลังสู้ไม่ถอย... สนับสนุนแพทย์จุฬาฯ สร้างแอนติบอดีต้านโควิด-19

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนโครงการวิจัยยาแอนติบอดี สำหรับโรคโควิด-19ให้กับทีมวิจัยและพัฒนาแอนติบอดี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ10คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
14 ต.ค. 2565

อัปเดตโครงการแอนติบอดีต้นแบบสามารถยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของไวรัสSARS-CoV-2 กับโปรตีน ACE-2 ของมนุษย์ได้ 80 - 95%

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

14 ต.ค. 2565 - 14 ต.ค. 2565

ส่วนของกระบวนการทดสอบคุณสมบัติของแอนติบอดีต้นแบบ จำนวน 12 ชนิด ในการยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของเชื้อไวรัสกับโปรตีน ACE-2 ในหลอดทดลองโดยวิธี ELISA (enzyme-linked immunosorbent assay) โดยการทดสอบดังกล่าวจะนำเอาแอนติบอดีต้นแบบมาทำการเจือจางที่ความเข้มข้นต่าง ๆ จากนั้นนำไปบ่มร่วมกับโปรตีน RBD ของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่ที่ติดฉลากด้วยเอนไซม์ HRP (RBD-labeled horseradish peroxidase) อยู่ จากนั้นนำไปใส่ในหลุมทดสอบที่มีโปรตีน ACE-2 บ่มที่อุณหภูมิ 37°C เพื่อให้เกิดการจับหรือยับยั้งระหว่างโปรตีน RBD กับ ACE-2 ในหลุมทดสอบ ต่อมาหลังจากทำการล้างโปรตีนที่ไม่ถูกจับในหลุมทดสอบออกไปแล้ว จะใส่สารตั้งต้น (substrate) เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาที่มีสีขึ้น จากนั้นวัดค่าดูดกลืนแสงของแต่ละหลุมทดสอบและรายงานออกมาเป็น %การยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของไวรัสกับโปรตีน ACE-2 ของมนุษย์ ดังแสดงในรูป

กลไกการทดสอบการยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของเชื้อไวรัสกับโปรตีน ACE-2 ในหลอดทดลองโดยวิธี ELISA

โดยสรุป แอนติบอดีต้นแบบที่ได้ สามารถจับกับโปรตีนของไวรัสได้เป็นอย่างดี และสามารถยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของไวรัสกับโปรตีน ACE-2 ของมนุษย์ได้ วิเคราะห์ด้วย ELISA โดยมีค่า %การยับยั้งอยู่ในช่วง 80 - 95% ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้วางแผนนำแอนติบอดีต้นแบบที่ได้ ไปทดสอบความสามารถในการยับยั้งไวรัสจำลอง (pseudovirus) หรือไวรัสจริง (live virus) ต่อไป

 

ความประทับใจจากทีมนักวิจัย





24 มิ.ย. 2565

อัปเดตโครงการทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการคัดเลือกเซลล์ที่ผลิตแอนติบอดีต้นแบบประสิทธิภาพสูงเพื่อพัฒนาเป็นยาแอนติบอดีและชุดตรวจเชื้อ SARS-CoV-2

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

24 มิ.ย. 2565 - 24 มิ.ย. 2565

จากการระดมทุนจากเทใจ เพื่อสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ทำให้โครงการสามารถนำเงินที่ได้ไปใช้ในกระบวนการคัดเลือกหาผู้ป่วยที่หายดีจากโรคโควิด-19 แล้ว ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สูง ตามที่ต้องการ จากนั้นนำเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยมาสร้างเซลล์ไฮบริโดมาด้วยเทคนิคการหลอมรวมเซลล์ด้วยกระแสไฟฟ้า พบว่าทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการคัดเลือกเซลล์ที่ผลิตแอนติบอดีประสิทธิภาพสูงที่สามารถจับและยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ต่าง ๆ ในหลอดทดลอง จำนวน 15 ชนิด โดยสามารถยับยั้งเชื้อสายพันธุ์เดลต้า (Delta) ได้มากกว่า 90% และในจำนวนดังกล่าวมีแอนติบอดี 9 ชนิด ที่สามารถยับยั้งเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้มากกว่า 80% อีกด้วย ซึ่งแอนติบอดีเหล่านี้สามารถนำไปเป็นแอนติบอดีต้นแบบเพื่อผลิตเป็นยารักษาหรือป้องกันโรคโควิด-19 ได้

 

นอกจากนี้ทีมวิจัยยังประสบความสำเร็จในการคัดเลือกเซลล์ที่สามารถผลิตแอนติบอดีที่มีประสิทธิภาพสูงต่อโปรตีน Nucleocapsid ของเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ทั้งหมด 12 ชนิด ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแอนติบอดีต้นแบบในการผลิตเป็นชุดตรวจเชื้อ SARS-CoV-2 ได้

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 

ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ จำนวน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้เปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอนาคต   ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถใช้แอนติบอดีในการป้องกันการติดเชื้อได้
ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในอนาคต   ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่จำเพาะ และมีประสิทธิภาพจากการใช้ยาแอนติบอดี
นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9 คน มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างแอนติบอดีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้นำไปประยุกต์ใช้กับการสร้างแอนติบอดีต่อโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น