cover_1

รวมพลังสู้ไม่ถอย... สนับสนุนแพทย์จุฬาฯ สร้างแอนติบอดีต้านโควิด-19

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนโครงการวิจัยยาแอนติบอดี สำหรับโรคโควิด-19ให้กับทีมวิจัยและพัฒนาแอนติบอดี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ10คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

27 ธ.ค. 2564 - 31 ธ.ค. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATIONINDUSTRY, INNOVATION AND INFRASTRUCTURE

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
10คน

โครงการวิจัยยาแอนติบอดี สำหรับโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นความหวังใหม่ในการรักษาโรคนี้ในขณะที่สถานการณ์วัคซีนยังไม่แน่นอน ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างกำลังคัดเลือกผู้ป่วยที่หายดีแล้วจากโรคโควิด-19 เข้าร่วมโครงการวิจัย โดยทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันในเลือดต่อเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 เพื่อส่งต่อพัฒนาแอนติบอดีให้สำเร็จ

ปัญหาสังคม

โรคโควิด-19 เป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขและเศรษฐกิจ โดยปัจจุบันมีหลักฐานชัดเจนว่าการติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 นั้นเพิ่มขึ้นและรุนแรงมากขึ้นในกลุ่มวัยผู้ใหญ่

ในขณะที่วัคซีนยังมีข้อจำกัด และมาตรฐานกำหนดที่ไม่ชัดเจน แต่โรคนั้นไม่เคยรอใคร... ขณะนี้ เฉพาะในไทยเอง ก็มีผู้ติดเชื้อรวมแล้ว 2,037,224 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 20,199 ราย (ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564)

ซึ่งตัวเลขนี้ ยังเพิ่มขึ้นทุกวันอย่างต่อเนื่อง... ความหวังใหม่ คือ “ยาแอนติบอดี”

 

ทางออกสู้โควิด-19

รู้จักกับแอนติบอดี...

ทั่วโลกได้พัฒนาวิธีรักษาในหลายรูปแบบนอกจากวัคซีน เพื่อเร่งบรรเทาความรุนแรงของโรคโควิด-19 และ 1 ในนั้น คือการรักษาด้วยยาแอนติบอดี (monoclonal antibody) ที่มีผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ยืนยันทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองว่าช่วยยับยั้งการติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ได้จริง และมียาแอนติบอดีบางชนิดที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการใช้เพื่อรักษาโรคโควิด-19 แล้ว

 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ดังนั้น ทีมวิจัยและพัฒนาแอนติบอดี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนายาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ด้วยวิธีการดังนี้ 1. คัดแยกแอนติบอดีจากเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้ว 2. ทีมวิจัยใช้เทคโนโลยีสร้างตัวยาแอนติบอดี (monoclonal antibody) ด้วยเทคโนโลยีไฮบริโดมา (hybridoma technology) ซึ่งเป็นเทคนิคการหลอมรวมเซลล์ด้วยกระแสไฟฟ้า (electrofusion technique) และทำการคัดเลือกเซลล์ที่มีคุณสมบัติในการผลิตแอนติบอดีต่อไวรัส SAR-CoV-2 3. ทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 สายพันธุ์ต่าง ๆ ในหลอดทดลอง

แผนการดำเนินงาน

  1. สร้างเซลล์ไฮบริโดมาจากเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยที่หายดีแล้วจากโรคโควิด 19

  2. คัดเลือกเซลล์ไฮบริโดมาที่สามารถผลิตแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส SAR-CoV-2

  3. ทดสอบคุณสมบัติของแอนติบอดีในการยังยั้งเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ในหลอดทดลอง

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
กระบวนการวิจัยและสร้างเซลล์ไฮบริโดมาจากเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยที่หายดีแล้วจากโรคโควิด-19

10คน200,000.00
กระบวนการคัดเลือกเซลล์ไฮบริโดมาที่สามารถผลิตแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส SAR-CoV-2

1ชุด300,000.00
กระบวนการทดสอบคุณสมบัติของแอนติบอดีในการยังยั้งเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ในหลอดทดลอง

1ชุด500,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด1,000,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)100,000.00
ยอดระดมทุน
1,100,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon