cover_1
รายเดือน

Freeform School by คลองเตยดีจัง

เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะนำไปทำระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นให้กับเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบได้จบการศึกษาระดับ ม.ต้นและม.ปลาย100คน

บริจาคให้โครงการนี้

บริจาค

เงินบริจาคของคุณจะนำไปทำระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นให้กับเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบได้จบการศึกษาระดับ ม.ต้นและม.ปลาย100คน

บริจาค

เทใจรองรับ e-Donation ลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า

19 ก.พ. 2568

อัปเดตโครงการเส้นทางการศึกษาแบบฉบับ FreeForm School เพื่อฝัน โอกาส ชีวิตใหม่ ปี 2567

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

15 ก.ย. 2567 - 31 ธ.ค. 2567

จากการเปิดรับสมัครกลุ่มเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษากระแสหลัก (Drop Out) ในช่วง เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แนวโน้มการหลุดออกจากระบบการศึกษานั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งสภาพสังคม เศรษฐกิจ ครอบครัว หรือ แม้กระทั่งจังหวะชีวิตของนักเรียนเอง ซึ่งบางคนก็ปล่อยละเลยมานานจนไม่สามารถกลับเข้าไปเรียนนั่งเรียนในโรงเรียนระบบปกติได้  หรือ บางคนก็อยู่ในช่วงที่อายุยังน้อย ไม่สามารถเริ่มทำงานได้ และไม่สามารถกลับไปเรียนได้ ไม่รู้ตัวเองว่าชีวิตควรเดินไปใน ทิศทางใด ด้วยเหตุปัญหาปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ อาจเป็นอีกชิ้นส่วนเล็กๆของสังคม แต่เมื่อเริ่มมีจำนวนมากขึ้นทวีตามกาลเวลาที่ยาวนาน หากพวกเราไม่มีช่องทางหรือแนวทางใหม่ๆในการช่วยกันแก้ไข รับมือกับ ปัญหาเหล่านี้ปัญหาทางด้านการศึกษาอาจส่งผลกระทบถึงสังคมในภาพใหญ่ของประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตและการศึกษาของเด็กและเยาวชนคนไทย ที่จะต้องเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า  ซึ่งในรอบปีการศึกษา 2567นี้ มีผู้สนใจสมัครเข้ามาเริ่มต้นเรียนใหม่ กับฟรีฟอร์มสคูล จำนวนมากถึง 60 คน

ผลการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ยังเป็นไปตามแผนการดำเนินงานปกติ ไม่มีปัญหาการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับ นโยบายหลักจากภาคการศึกษาของรัฐ หรือ การออกแบบหลักสูตรไปให้ไปตามที่ สพฐ. กำหนดเพื่อให้ผู้ที่เข้าเรียนมีความรู้ พื้นฐานเหมือนสิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เด็กควรได้รับ เช่นการทำใบงานกลุ่มวิชาสาระต่างๆ การทำโครงงานเพื่อสอบจบ การเข้าร่วมกิจกรรม Workshop เสริมทักษะชีวิต เพื่อให้ตอบโจทย์กับ การใช้ชีวิตจริง ของนักเรียน รวมไปถึงการติดตามเด็กในบริบทต่างๆ ทั้งในโรงเรียน และนอกโรงเรียน เหมือนเป็นที่ปลอดภัยทางใจของเด็กอีกแห่ง ที่มีพี่เลี้ยง มีครูอาสา คอยช่วยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือที่พักพิงยามเกิดเหตุฉุกเฉิน แม้จะว่ามีเด็กบางคนไม่สามารถเรียนต่อได้จนจบทันรอบปีการศึกษา ตามที่กระทรวงกำหนด เนื่องจากสภาวะปัญหา ปัจจัยต่างๆ ของนักเรียนเอง ที่ทำให้ยังไม่พร้อม แต่ก็ยังมีเด็กและเยาวชนอีกหลายคน ที่สามารถนำพาตนเอง บรรลุเป้าหมายทางด้านการศึกษาไปได้อีกขั้น สามารถเรียนจบตามช่วงเวลาที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้ได้ ซึ่งระยะเวลาเรียน จะมีระยะเวลาอยู่ที่ 6 ถึง 8 เดือน สำหรับผู้ที่ที่อายุ เกิน18 ปี เพื่อให้นักเรียน  ข้ามชั้นปีการศึกษาเรียนได้ ก็จะมีการทำข้อสอบวัดระดับความรู้ ในแต่ละชั้นปีที่นักเรียน ยังไม่ได้เรียน  เพื่อให้สามารถออกวุฒิได้เร็ว แต่นักเรียนก็ต้องแลก มากับการเข้าร่วมกิจกรรม ทำเอกสารใบงาน บททดสอบต่างๆ รวมถึงการสอบจบ เพื่อประเมินศักยภาพในการเรียนรายบุคคล อีกด้วย  หากเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อายุตามเกณฑ์การศึกษาก็จะต้องเรียนตามระดับชั้นปี ตามอายุตนเอง ไม่สามารถสอบข้ามชั้นปีการศึกษาได้ โดยมีการเรียนปกติเพื่อ ข้ามชั้น เทอม1 เทอม2 ทั้งระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย

ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2567 เป็นช่วงคาบเกี่ยว ระหว่างการติดตามเอกสารใบงานการบ้านจากเด็กๆ และพาเด็กเข้าร่วมWorkshop เสริมทักษะ เช่น การออกไปทดลองทำงาน ทำกิจกรรมนอกสถานที่ การส่งรูปเล่มใบงาน เอกสารวัดความรู้ การสอบจบผ่านการทำโครงงานทั้งรูปแบบค้นคว้าหาข้อมูล  และ รูปแบบลงมือปฏิบัติ การติดตามนักเรียนของครูพี่เลี้ยง เพื่อให้นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนและ เตรียมจบการศึกษา เตรียมออกวุฒิบัตรการศึกษาสำหรับ นักเรียนฟรีฟอร์มสคูลรุ่นที่1 ประจำปีการศึกษา 2567

และเป็นช่วงเดียวกันกับที่ทางโครงการเปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนรุ่นที่ 2 กลุ่มใหม่ เพื่อเข้าสู่การเรียนการศึกษาในรอบต่อไป ประจำปีการศึกษา2568 ซึ่งเริ่มเปิดรับสมัคร ตั้งแต่ในเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน 2567 ผ่านการสมัครออนไลน์ และการนำส่งต่อ จากประธานชุมชนในพื้นที่คลองเตยที่ช่วยกันค้นหากลุ่มเด็กเปราะบางที่หลุดออกจากระบบการศึกษา หรือกลุ่มเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา ด้วยปัจจัยต่างๆ เพื่อให้เด็กและเยาวชนเหล่าๆกลับเข้าสู่เส้นทางการศึกษาอีกครั้ง

นอกจากพื้นที่ในคลองเตยแล้ว ยังมีเด็กจากพื้นที่อื่นๆ ในกทม. อีกด้วยที่สมัครเรียนด้วยตนเอง จากการสมัครออนไลน์ เช่นเด็กๆจากพื้นที่ บางนา รามคำแหง หนอกจอก ปทุมธานี สมุทรปราการ ธนบุรี  และในพื้นที่ต่างจังหวัดเอง ก็ได้รับการส่งต่อ จากกลุ่มภาคีเครือข่ายงานด้านการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ที่ค้นพบกลุ่มเด็กนอกระบบการศึกษา ก็ให้การช่วยเหลือ และส่งต่อเรื่องการศึกษาทางเลือก ให้เข้าร่วมเรียนกับ Freeform School (ฟรีฟอร์มสคูล) เช่นกัน

ในช่วงเดือน กันยายน-ธันวาคม 2567 ลำดับ Timeline กิจกรรมใหญ่ๆ มีดังนี้

1.กิจกรรมตรวจใบงาน ตรวจการบ้าน ทำงานเอกสารที่ค้างให้สำเร็จ และ นัดรวมตัวเพื่อเจอกันภายในโรงเรียนพร้อมหน้าพร้อมตา พบปะพูดคุยให้กำลังใจกัน สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่กันละกัน เพื่อเป็นอีกแรงกระตุ้นให้ทุกคน สามารถเรียนจบลุล่วงไปด้วยกันกับเพื่อนๆ และเป็นการ เตรียมตัว เตรียมความรู้เข้าสู่ขั้นสุดท้ายของการเรียน คือการทำโครงงานเพื่อสอบจบการศึกษา สำหรับเด็กแต่ละคน ซึ่งโครงงานดั่งกล่าวมีสองรูปแบบให้เลือกทำ คือ โครงงานค้นคว้าหาข้อมูล และ โครงการลงมือปฏิบัติ ปิดท้ายกิจกรรมนี้ ด้วยการรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน วงธรรมชาติ พูดคุยบอกเล่าเรื่องราว ปรึกษาปัญหาชีวิต ล้อมวงเล่นดนตรี ร้องเพลงด้วยกัน

รูปแบบกิจกรรมคือ ใช้สถานที่ สำนักงานคลองเตยดีจัง ในการพบเจอ

กระบวนการภายในมีลำดับดังนี้

  1. เช็คอิน/ทักทาย พูดคุย/วงเกมส์การ์ดไพ่บอกความรู้สึก บอกเล่าสิ่งที่นักเรียนรู้สึก หลังจากได้หยิบการ์ดใบที่มีความหมายที่เหมาะกับตนเอง
  2. เล่าเป้าหมายกิจกรรมของวันนี้ ว่ามีสิ่งใดที่นักเรียนต้องทำให้สำเร็จ 
  3. เริ่มกิจกรรมทำการบ้าน ร่วมกัน โดยใช้วิธีแบ่งกลุ่ม ไปตามครูพี่เลี้ยงของตนเอง เฉลี่ย 1 กลุ่ม จะมีเด็ก 8-10 คน ต่อพี่เลี้ยง1หนึ่ง
  4. ตรวจการบ้าน เมื่อนักเรียนเริ่มทำเสร็จแล้ว มั่นใจว่าทำครบทุกใบงานแล้ว ก็นำมาส่งที่พี่เลี้ยง โดยพี่เลี้ยงจะเริ่มตรวจความเรียบร้อยในแต่ละหน้า และเช็คลิสต์สิ่งที่นักเรียนต้องทำลำดับต่อไป เพื่อนัดหมายกิจกรรมรอบถัดไป ให้กับนักเรียน
  5. สำหรับผู้ที่ทำใบงานเอกสาร ต่างๆครบแล้ว จะต้องเริ่มฝึกการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำโครงงาน สำหรับเตรียมการสอบจบการศึกษา
  6. กิจกรรม รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ผ่านการทำเมนู หมูกระทะ โดยจะแบ่งกลุ่มให้มี ฝ่ายเตรียมพื้นที่รับประทาน ฝ่ายครัวที่ทำหน้าที่หั่นหมู ล้างผัก ตัดแบ่งและหมัก ต่างๆ มีฝ่ายสวัสดิการที่จะคอย ซื้อวัตถุดิบ เครื่องปรุง ในการประกอบอาหาร  และฝ่ายสันทนาการด้วยการเล่นดนตรี เป็นวงดนตรีเล็กๆร้องเพลงให้เพื่อนๆฟัง
  7. วงธรรมชาติ พูดคุย รับฟัง เล่าปัญหาชีวิต ของเด็กนักเรียน ที่อยากหาพื้นที่ระบาย
  8. กิจกรรม เริ่มช่วงเวลา 9.00 ถึง 20.00 น. มีนักเรียนเข้าร่วมทั้งสิ้น 50 คน ครูพี่เลี้ยงอาสา 8 คน

2.กิจกรรมเสริมทักษะผ่านการลงมือทำจริง เช่น การรวมวงฝึกซ้อมวงดนตรีในห้องซ้อม การเรียนวิชาปฏิบัติดนตรีส่วนบุคคล ระดับขั้นกลาง โดยครูดนตรีอาสา ในการให้แนวทางฝึกฝนผีมือเพื่อให้สามารถเล่นเทคเพลงที่วงกำหนดเพื่อการแสดงได้, การออกพาวงไปแสดงดนตรี ในงาน BKK เรนเจอร์ หน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ,การไปเป็นอาสาช่วยทำงาน BKKเรนเจอร์ในตำแหน่งต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่สต๊าฟเวที สต๊าฟสถานที่ เจ้าหน้าที่ดูแลห้องพักนักแสดง เจ้าหน้าช่วยประสานงานและเซ็ตติ้งบูธกิจกรรมพื้นที่ในงาน ในช่วงวันที่ 25-26 กันยายน 2567  และ กิจกรรมแสดงดนตรีในงาน “Connect Fest 3 : Power Together - Power to Future รวมพลังองค์กรนวัตกรรมเปลี่ยนสังคม” ช่วงวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. 67 ณ สสส. นอกจากตัววงดนตรีได้ไปแสดงดนตรีแล้ว เด็กๆในโรงเรียนได้เข้าร่วมเรียนรู้ กับกิจกรรม Workshop ต่างๆภายในงานอีกด้วย

รูปแบบการเรียนรู้ในกิจกรรมมีดังนี้

  1. การเรียนดนตรี สำหรับนักเรียนของฟรีฟอร์มสคูลที่ชอบและสนใจในการเล่นดนตรี เพื่อสร้างให้เป็นวงดนตรีที่พร้อมแสดงดนตรีในต่าๆภายนอกโรงเรียน โดยมีครูอาสาที่มาช่วยสอนให้ความรู้ ฝึกฝนทักษะให้คมชัดขึ้นจากเดิมที่นักเรียนหลายคนมีพื้นฐานในการเล่นดนตรีอยู่แล้ว โดยการเรียนวิชาดนตรีจะเรียน สัปดาร์ละ 3 วัน 5 ชั่วโมงต่อวัน ต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ในหมวดนี้มีเด็กๆสนใจ เข้าร่วม 12 คน นักเรียนจะต้องเรียนรู้การเล่นเครื่องดนตรี การเล่นเพลงที่กำหนด ให้คุณภาพตามที่วงกำหนด การคิดโชว์ การฝึกซ้อมคิวเพื่อให้บทเพลงสมบูรณ์มากขึ้น การวางสคริปพูดระหว่าวงโชว์ การปรับแต่งเสียงEffect ต่างๆ เพื่อให้เกิดความไพเราะ และการทำงานเป็นทีม
  2. ฝึกทำงาน สำหรับผู้ที่สนใจอาชีพเสริม การหารายได้ และอยากลองทำงานในรูปแบบใหม่ ในครั้งนี้ได้รับโอกาสจาก ครูอาสาที่มีส่วนร่วมในการจัดงาน อย่างงาน BKKเรนเจอร์ และงานคอนเน็ตเฟส3 โดยมีเด็กๆจากฟรีฟอร์มสคูลเข้าร่วม ลองฝึกทำงาน จำนวน 15 คน ทั้งในตำแหน่ง สต๊าฟจัดการสถานที่ , ดูแลห้องพักศิลปิน/นักแสดง , เป็นสต๊าฟพื้นที่บูทกิจกรรม ,หรือจัดทำบูทกิจกรรมจากกลุ่มชุมชนของนักเรียนเรียนเอง , ในที่นี้เด็กๆ ได้ฝึกในเรื่องการสื่อสาร การวางแผนงานแบ่งหน้าที่ การรับผิดชอบส่วนที่ตนเองดูแล การทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยงานเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นงานฐานกาย ทำให้เหมาะกับนักเรียน แต่ก็มีนักเรียนหลายคนที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว จนต่อยอดทักษะนำพาไปทำงานด้วย ใน Even อื่นๆได้ และเรียนรู้การทำงานที่ยากขึ้น ซับซ้อนขึ้น เช่น งานแบ๊คสเตจ เวที ที่ต้องใช้ความรู้ในเรื่องอุปกรณ์ดนตรี หรือ ความรู้ในภาษา ในการจดจำลำดับพิธีการ คิวเวที 
  3. หลังจบกิจกรรมทุกครั้ง จะมีกระบวน สะท้อนความรู้สึก เพื่อให้นักเรียน ได้รีเช็คความรู้สึก ความผิดพลาดตนเอง ว่ามีสิ่งไหนที่นักเรียนทำได้ดี สิ่งไหนที่นักเรียนยังต้องฝึกฝน และยังทำให้ครูพี่เลี้ยงได้ วิเคราะห์เด็กๆแต่ละคน ว่าแต่ละคนมีทักษะฐานกาย ฐานคิดอย่างไร เพื่อที่ส่งเสริมให้นักเรียน ค้นพบศักยภาพในตนเองให้ได้ตรงจุด ตามที่ตนถนัด

3.ส่งเสริมการตามหาความฝันของเด็กๆ เช่น ในเรื่องทักษะฟุตบอล ครูพี่เลี้ยงพาเด็กสมัครเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกนักเตะฟุตบอลประจำโมสรการท่าเรือ ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ทุกปีเป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่เด็กๆในโรงเรียนฟรีฟอร์มสคูล ของเราอยากจะไปสัมผัส ไปลองคัดตัวสักครั้ง แต่ที่ผ่านมาติดปัญหาตรงที่ไม่มีผู้ปกครองและทุนทรัพย์ในการพาไปเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ โดยกิจกรรมครั้งนี้ แม้ตัวน้องเองจะไม่ผ่านการคัดเลือก แต่ก็ทำให้เค้าได้เห็นโลกได้เห็นบรรยากาศของ เพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน ที่เค้ามีความพร้อม ทั้งทักษะ อุปกรณ์ความตั้งใจ ความจริงจัง ในการคัดตัว เป็นแรงใจในการขับเคลื่อนพัฒนาตัวเองต่อไป

          รูปแบบการเรียนรู้ในกิจกรรมมีดังนี้

  1. กิจกรรมนี้สำหรับเด็ก ระดับชั้น มัธยมต้น อายุระหว่าง 12-15 ปี ซึ่งในรอบนี้มีนักเรียนของฟรีฟอร์มสคูล 5 คน ที่สนใจในกิจกรรม โดยตัวนักเรียนเองมีความชอบความสนใจการเล่นกีฬาฟุตบอล ชอบดูสโมสรที่ตนเองรัก อย่างสโมสรการท่าเรือ ในครั้งนี้เป็นการเปิดรับสมัครคัดเลือกตัวนักเตะ รุ่นเยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี ที่จัดขึ้นในสนามกีฬาท่าเรือ เหล่าครูพี่เลี้ยงจึงคิดเห็นว่าควรพานักเรียนไปลองทดสอบฝีมือ ค้นหาความสามารถตนเองสักครั้ง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์จริง ว่าถ้าหากอยากเป็นนักฟุตบอลแบบจริงจัง ต้องพัฒนาตนเองในเรื่องใดบ้าง
  2. ช่วงระหว่างการสอบคัดเลือกนักเตะ จะเป็นกระบวนที่จัดทำโดยโค๊ชของสโมสร ที่จะมีการทดสอบนักเตะ ในด่านตั้งๆ เริ่มตั้งแต่การวิ่งแบบต่างๆ การเลี้ยงฟุตบอล การส่งลูก การรับลูก ฯลฯ ซึ่งบรรยากาศระหว่างกันคัดตัว เป็นบรรยากาศที่คึกคักและกดดันมาก ซึ่งนักเรียนก็พยายามเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การคัดตัว จะมีเป็นรอบๆ ซึ่งการผ่านเข้าสู่รอบการสอบที่สูงขึ้น บททดสอบก็จะยากขึ้นตามลำดับ ถึงแม้นักเรียนทั้ง 5 คน ของฟรีฟอร์มจะไม่ผ่านการคัดเลือก แต่ก็ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ค้นพบวิธีฝึกฝนเพื่อนำไปพัฒนาตนเอง ได้เจอเพื่อนใหม่ๆรุ่นอายุใกล้เคียงกัน ที่มาจากที่ต่างๆทั่วประเทศ

4.กิจกรรม Workshop ผู้ประกอบการ เป็นกิจกรรมฝึกชวนเด็กๆคิด และวางแผนบนกระดาษ ลองคำนวน ต้นทุนกำไร ศึกษารูปแบบวิธีการตลาด หากวันหนึ่งอยากขายของจะต้องทำอะไรบ้าง มีขั้นตอนวิธีการคิด วางแผนอย่างไร เพื่อเป็นทักษะการคิดต่อยอด ด้วยตนเอง ในอนาคต ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยากเป็นผู้ประกอบการ แต่ถ้ามีทักษะในการคิดวิเคราะห์คำนวนความคุ้มค่าจดบันทึก วางแผนเป็น เรื่องพื้นฐานเหล่านี้ก็สามารถประยุกต์ใช้ในมิติอื่นๆของชีวิตได้  ซึ่งหลังจากจบ Workshop นี้เด็กบางคนก็มีแนวคิด มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น กล้าที่จะขอทดลองลงมือปฏิบัติผ่านรูปแบบโครงงานปฏิบัติ  ซึ่งเด็กๆในโรงเรียนที่เลือกโครงงานในรูปแบบปฏิบัตินี้ จะได้รับทุนสนับสนุน โครงงานละ 5,000 บาท และถือว่าเป็นการสอบจบอีกด้วย ซึ่งมีเด็กๆ สนใจทำโครงงานปฏิบัติ อยู่ 8 คน ได้แก่

       กระบวนการกิจกรรม มีลำดับดังนี้

  1. ฟังบรรยายประกอบภาพสไลด์ องค์ประกอบในการเริ่มเป็นผู้ประกอบว่าจะต้องมีองค์ประกอบในการคิด องค์ประกอบขั้นตอนลงมือทำอย่างไรบ้าง
  2. แจกเอกสาร เพื่อให้นักเรียนทดลองร่าง รูปแบบค้าขายในแบบที่ตนเองถนัด เช่น ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายอุปกรณ์กีฬา,ตกเบ็ด ร้านขายอาหาร ฯลฯ
  3. ชวนนักเรียนวิเคราะห์ รายละเอียดต่างๆ ในแต่ละหัวข้อ เช่น แหล่งวัตถุดิบ,การเดินทางไปรับ,การหาพื้นที่ทำเลค้าขาย,กลุ่มเป้าหมาย,การทำบันทึกรับจ่าย, ฯลฯ และจดลงใบงาน
  4. บทสรุปความเป็นไปได้ ว่าจุดคืนทุน จุดได้กำไร จุดขาดทุน ของโครงงานเด็กแต่ละคน จะมีรูปร่าง ลักษณะอย่างไรบ้าง โดยจะตรวจชิ้นงานจากที่นักเรียนเขียน ตรวจเป็นรายบุคคล จากครูพี่เลี้ยง
  5. สรุปเลือกโครงงาน ว่านักเรียนอยากทำโครงงานเพื่อสอบจบ ประเภทลงมือ ปฏิบัติ หรือ รูปแบบค้นคว้า

       กลุ่มนักเรียนที่สนใจ อยากทดลองทำโครงงานปฎิบัติ

  1. (นายนนท์วัฒน์ โตมา) โครงงานปฏิบัติเรื่อง การขายปลาหมึกย่าง ชื่อร้านว่า "นนท์หนวด หมึกย่างเตาถ่าน" 
  2. (นายอนัตต์ ศรีบุญเรือง) โครงงานปฏิบัติเรื่อง : การท่องเที่ยวในชุมชน ชื่อว่า "ดงมะไฟทริป 2 วัน 1 คืน"
  3. (นายอนูวา หมีนหวัง) โครงงานปฏิบัติเรื่อง : การท่องเที่ยวในชุมชน ชื่อว่า "1เดย์ทริป ชมธรรมชาติดงมะไฟ"
  4. (นายพงศกร สนทอง) : โครงงานปฏิบัติเรื่อง ร้านลูกชิ้นทอดหน้าบ้าน
  5. (เด็กหญิง กัญญพัชร ศรีสุขดี) : โครงงานปฏิบัติเรื่อง ร้านทำเล็บเจล
  6. (นายภัทรพงษ์ ปานนิล) : Content Creator Guitar Cover Solo ผ่านคลิป Reels
  7. (นายธนโชค สมแก้ว) : โครงงานปฏิบัติ เรื่อง การขายเสื้อออกแบบเอง ชื่อร้านว่า "Jury Moon Shop"
  8. (นายพงศกร แก้วเกื้อญาติ) : โครงงานปฏิบัติ เรื่อง Content Creator Music Cover ชื่อช่องว่า "Best DvD  Best VdV"

โดยเด็กๆที่เลือกทำโครงงานปฏิบัติ จะมีครูพี่เลี้ยงติดตามผล ช่วยสนับสนุนความคิดเห็น แนะแนวทาง และช่วยแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆพาน้องๆทดลองทำ เรียนรู้ผิดถูกไปด้วยกัน เพื่อให้เด็กๆเกิดทักษะ เกิดประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในชีวิตของตนเอง หลังจบโครงงานทดลองปฏิบัติก็จะมีประชุมสรุปผลกับครูพี่เลี้ยง เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจที่ตัวเด็กๆเองได้ทำชิ้นงานนั้นๆไป ซึ่งหลายโครงงาน แม้จะลุล่วงเลยเวลาสำหรับการเรียนไปแล้ว แต่เด็กๆก็ยังคงทำโครงงานอยู่ โดยมีครูอาสาพี่เลี้ยงในคลองเตยดีจัง ค่อยให้คำปรึษา ให้กำลังใจ ช่วยผลักดันต่อไปให้ได้นานที่สุด โดยกำหนดระยะเวลาในการทำ จะมีระยะทดลองทำ ทั้งสิ้น 1 ถึง 3 เดือน ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงงานแต่ละประเภท 

ในรูปแบบโครงงานรูปแบบค้นคว้า จะเป็นรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นคว้า หาข้อมูลเรื่องต่างๆที่ตนเองสนใจ เพื่อเรียบเรียงนำเสนอออกมาสื่อสารให้น่าสนใจ มีภาพประกอบเข้าใจง่าย สำหรับ ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจได้ความรู้ โดยทักษะที่เด็กๆจะได้จากการทำโครงงานนี้ คือการศึกษาในเรื่องราวที่ตนเองชอบหรือสิ่งใจ ลึกขึ้น รู้จักการใช้เครื่องค้นหาข้อมูล หาแหล่งอ้างอิงจากเว็ปไซต์ การใช้โปรแกรม MS Office การใช้คำสั่งต่างๆภายในโปรแกรม เพื่อจัดทำรายงานฉบับนี้ให้สมบูรณ์ตามแบบฟอร์มที่กำหนด โดยเมื่อทำเสร็จแล้วเด็กๆต้องนำเรื่องราวมานำเสนอ พรีเซ้นต์ ให้ครูพี่เลี้ยงที่ปรึกษารับฟัง ซักถามข้อสงสัยต่างๆ เพื่อพิสูจน์ว่าตัวเด็กๆเองได้ศึกษา ได้หาข้อมูลมาได้ครบถ้วนและมีความเข้าใจในเรื่องที่ตนเองทำมาจริงๆขนาดไหน

5.กิจกรรมติดตาม ผลการดำเนินโครงงานปฏิบัติ ของเด็กๆเพื่อส่งเสริมโครงงานให้สำฤิทธิ์ผล ได้แก่ ลงพื้นที่ไปเยี่ยมที่หน้าร้าน, การพาไปศึกษาพื้นฐานกับผู้รู้หรือแนวทางการหาข้อมูลศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง,การทดลองฝีมือด้วยกันทำชิ้นงาน ให้ครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนดูคุณภาพก่อนไปที่จะเปิดร้านให้บริการจริงๆกับคนภายนอกทั่วไปในชุมชน, การสนับสุนคอนเท้นต์ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์, สนับสนุนพื้นที่สำหรับการทำโครงงาน, สนับสนุนอุปกรณ์โปรแกรมต่างๆ เช่นโปรแกรมทำเพลง โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Effect เครื่องดนตรี สำหรับใช้งานกิจกรรมภายในโครงงานต่างๆ ของเด็กๆ

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม คือ

  1. ลงพื้นที่ติดตาม ตัวต่อตัวกับเด็ก ตั้งแต่ขั้นตอน ลงมือแรกเริ่ม ได้แก่ การพาไปซื้อของ การช่วยหาข้อมูลสินค้าที่มีคุณภาพ หรือการหาผู้ชำนาญในด้านนั้นๆมาสอน เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจในพื้นฐานงานที่ตนเองจะทำมากขึ้น
  2. ติดตามระหว่างทาง ในช่วงที่อยู่ในการเตรียมตัว การศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม การนัดซ้อมนัดฝึกฝนเพื่อทดลองให้บริการ ก่อนออกไปเปิดร้านทำการจริงๆ
  3. การช่วยสื่อสารไปยัง ผู้ปกครองของนักเรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ รับทราบสถานการณ์ ในสิ่งที่บุตรหลานตนเองกำลังทำ เพื่อให้ช่วยกันเสริมสร้างกำลังใจให้นักเรียน
  4. ติดตามระหว่างการปฏิบัติจริง เช่นการไปเยี่ยมชมร้าน ไปชมการทำงาน การสนับสนุนอุปกรณ์หรือพื้นที่ในการสร้างชิ้นงาน การส่งเสริมการขาย ด้วยการพาเพื่อนๆ คนรู้จักไปอุดหนุนร้านค้าของนักเรียน 
  5. สรุปผลการดำเนินโครงงาน หากนักเรียนสามารถเริ่มดำเนินโครงงานลงมือทำจริง จนครบ 1 เดือน แล้ว จะมีการสรุปผล การสัมภาษณ์ให้รายละเอียดต่างๆ ว่ามีสิ่งไหนที่นักเรียนทำได้ สิ่งไหนยังทำไม่ได้ดี อะไรเป็นปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินโครงงานบ้าง 

6.การติดตามเด็กๆให้ส่งใบงานรายวิชาต่างๆ และติดตามแก้ไขงานที่ทำผิดพลาด ที่ค้างให้เสร็จก่อนที่จะ สรุปจบผลคะแนนแต่ละรายลายวิชาประจำปีการศึกษา โดยกำหนดสิ้นสุดหมดเขตการทำงานอยู่ที่วันที่ 31 ตุลาคม 2567 เพื่อเตรียมการรวบรวมส่งเอกสารใบคะแนนวิชาต่างๆทำเอกสาร ส่งเรื่องขอการออกวุฒิบัตรการศึกษา จาก ศูนย์การเรียน CYF

รูปแบบกระบวนการ คือ

  1. นัดส่งเอกสารใบงาน ที่สำนักงานคลองเตยดีจัง โดยจะมีการสนับสนุนค่าเดิน ให้แก่ นักเรียน ผู้ที่มา ในกิจกรรมนี้ จัดติดตาม สองรอบ ในช่วงวันที่ 5 ตุลาคม และ 21 ตุลาคม 2567
  2. ตรวจใบงาน และ ลิสใบงานที่นักเรียนต้องทำส่ง ว่าใครขาดเอกสารตัวไหน หรือ สิ่งใดที่นักเรียนยังทำไม่เสร็จ ก็จะให้รีบทำส่งในวันดั่งกล่าวที่นัดหมาย
  3. เมื่อครูพี่เลี้ยงได้รับเอกสาร ใบงานต่างๆที่นักเรียนทำแล้ว ก็จะทำการตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งมีเกณฑ์ในการตรวจชัดเจน เพื่อทำสรุปผลคะแนนในแต่ละรายวิชา ว่านักเรียนแต่ละคนสามารถทำใบงานได้สำเร็จ และมีผลคะแนนเท่าไหร่ เมื่อได้ผลตัวเลขแล้ว จะนำไปกรอกเข้าแบบฟอร์มการให้คะแนน ของศูนย์การเรียน CYF ที่เป็นต้นสังกัด ในการดำเนินงานในส่วนงานราชการต่อกระทรวงศึกษาธิการ
  4. จัดเตรียมเอกสาร หลักฐานการเรียน หลักฐานการสมัครเรียน ของนักเรียนแต่ละคน เพื่อนำส่งเอกสารตัวจริงไปยัง ต้นสังกัด เพื่อดำเนินการทำใบรับรองผลการศึกษา ของนักเรียน

 

7.การส่งมอบวุฒิการศึกษา สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา นักเรียน ฟรีฟอร์มสคูลรุ่นที่ 1 ประจำปี 2567 (ช่วงวันที่ 15-30 พย. 2567)

หลักจากการส่งผลการศึกษา เกรดต่างๆ ไปยังต้นสังกัด ศูนย์การเรียน CYF แล้ว ก็จะต้องรอบตรวจสอบและรับรองเอกสารหลักฐานต่างๆ เป็นเวลา10-14 วัน ก่อนที่ทางต้นสังกัดจะส่งมอบใบวุฒิการศึกษา กลับมายังฟรีฟอร์มสคูล เพื่อที่จะได้ทำการส่งมอบใบวุฒิบัตรนี้ให้แก่นักเรียน ในการดูแลของฟรีฟอร์มสคูลต่อไป ซึ่งในรอบปีการศึกษา 2567 นี้ มีนักเรียนที่ยังคงสภาพนักเรียนทั้งสิ้น 58 คน สามารถดำเนินการศึกษาจนสำเร็จ ได้รับวุฒิการศึกษา ทั้งในระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย จำนวน 25 คน มีผู้สามารถสำเร็จการศึกษาเลื่อนลำดับชั้น ตามเกณฑ์อายุ จำนวน 9 คน  รวมทั้งสิ้น 34 คน โดยการส่งใบวุฒิบัตรให้นักเรียนเป็นการจัดส่งแบบปกติไม่ได้มีกำหนดการหรือพิธีการในการมอบวุฒิการศึกษา เนื่องจากนักเรียนหลายคนก็ติดกิจกรรมในการทำงาน บางคนก็อยู่ไกล อยู่ต่างจังหวัด การส่งมอบวุฒิบัตรให้นักเรียนที่อยู่ไกล ทางฟรีฟอร์มสคูลก็จะจัดส่งผ่านระบบไปรษณีย์ หากนักเรียนอยู่ในพื้นที่คลองเตย นักเรียนก็จะเข้ามารับใบวุฒิบัตร ณ ที่สำนักงานคลองเตยดีจัง สุขุมวิท50 

 

8.เปิดรับสมัครนักเรียน ทางระบบออนไลน์ ผ่านการประชาสัมพันธ์ใน Fb. Freeform School โดยมีโปรเตอร์แนะนำโครงการและ Qr โค๊ดสำหรับการเข้าสู่ลิงค์ใบสมัครออนไลน์ และ ประชาสัมพันธ์ผ่านไปยังผู้นำชุมชนในพื้นที่คลองเตย และเครือข่ายพันธมิตรต่างๆด้านงานเด็กและเยาวชน ถึงการเปิดรับสมัครเด็กๆในรอบใหม่นี้ โดยใช้ระยะเวลาเปิดรับสมัคร 2-3 เดือนซึ่งมีเด็กให้การสมัคร สนใจติดต่อเข้ามาสอบถามและสมัครเรียนมากกว่า 50 คน

รูปแบบการดำเนินกิจกรรมคือ

  1. การประชาสัมพันธ์ออนไลน์ โดยตรง บน Platform Face Book โดยมีลิงค์ รายละเอียดต่างๆ เงื่อนไขในการสมัคร และคิวอาร์โค๊ด เพื่อให้สมัครเรียนง่ายมากขึ้น
  2. การออกบูทประชาสัมพันธ์ การศึกษาทางเลือก ในพื้นที่คลองเตย โดยภายในงานนี้จัดขึ้นโดย กสศ. ที่เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมเสวนาเรื่อง การศึกษาทางเลือก โมบายสคูล ทำให้ภายในงานมี ศูนย์การเรียนต่างๆ มาออกบูทกิจกรรม นำนักเรียนมาสาธิต มาแนะนำศูนย์การเรียนตนเอง ในงานนี้ได้รับเสียงตอบรับจาก ผู้นำชุมชนในคลองเตย และชาวบ้านทั่วไปจำนวนมาก ในการเข้าร่วมเพื่อหาช่องทาง ในการส่งเสริมลูกหลานตนเองในชุมชนให้กลับมาเรียน มีวุฒิการศึกษาอีกครั้ง  ทำให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ ศูนย์การเรียนฟรีฟอร์มสคูลของเราได้เป็นที่รูปจักมากขึ้น ในพื้นที่คลองเตย 
  3. การส่งต่อเคส กลุ่มเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา จากผู้นำชุมชน และ เหล่าภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน จากที่ต่างๆ เช่น เครือข่ายสลัม4ภาค เครือข่าย SYSI เครือข่ายนครผาดงมะไฟไม่ไปไม่รู้ ฯลฯ
  4. เมื่อได้รับการแจ้งจาก เครือข่ายต่างๆ ทางฟรีฟอร์มสคูลก็จะ ส่งคิวอาร์โค๊ดเพื่อให้นักเรียนกรอกข้อมูลเพื่อสมัครเรียน และจากนั้น3-7วัน จะทำการติดต่อกลับหานักเรียนที่สมัครเข้ามา

9.ช่วงประสานงานติดต่อกลับถึงเด็กๆที่สมัครเรียน จากที่นักเรียนลงข้อมูลสนใจในการศึกษา ผ่านช่องทางต่างๆมา ไม่ว่าจะเป็นทางระบบออนไลน์ หรือการโทรเข้ามาสอบถามสมัครเรียนโดยตรง หลังจากครูพี่เลี้ยงได้รับข้อมูล ภายใน3-7วัน ก็จะมีติดต่อกลับ เพื่อชี้แจงรายละเอียด วิธีการเรียน รูปแบบการเรียน ของฟรีฟอร์มสคูล เงื่อนไขที่เด็กๆจำเป็นต้องรับทราบในการเข้าเรียน และเอกสารประกอบการสมัครเรียน ที่ต้องจัดส่งมีอะไรบ้าง สอนวิธีการใช้โปรแกรมzoom การสมัครใช้งานสำหรับ ผู้ใช้ระบบมือถือแอนดรอย์ และ IOS พร้อม Add Contact Online อย่างบัญชีของ Facebook , Line เพื่อความสะดวกในการติดต่อ และให้เด็กๆเข้ากลุ่มออนไลน์ของโรงเรียน พร้อมทั้งนัดหมายกำหนดการต่างๆล่วงหน้า เช่น การปฐมนิเทศ,กิจกรรมอาสา,นัดหมายพบเจอครั้งแรก

10.ปฐมนิเทศเด็กนักเรียนใหม่รุ่นที่2 ในรอบปีการศึกษา 2567 ในเสาร์ วันที่ 7 ธันวาคม (ครั้งที่1) และวันอาทิตย์ที่ 15 ธันวานคม (ครั้งที่2) ผ่านระบบโปรแกรม Zoom ในรุ่นที่ 2 รอบการศึกษา 2568 นี้ มีผู้สนใจสมัครจำนวนยอด 60 คน 

ในหัวข้อการการดำเนินกิจกรรมมีดังนี้

  1. นักเรียนจะได้รับ ลิงค์ประชุม ผ่านโปรแกรม Zoom ก่อน 7 วัน และครูพี่เลี้ยงจะพานักเรียนทดลองใช้โปรแกรม Zoom ผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อเช็คให้แน่ใจว่า นักเรียนสามารถเข้าใช้โปรแกรมประชุมออนไลน์ได้ถูกต้อง
  2. เมื่อถึงกำหนดวันปฐมนิเทศ นักเรียนจะได้รับการโทรแจ้งเตือนก่อนเริ่มกิจกรรม 1ชั่วโมง โดยที่ห้องประชุมจะเริ่มเปิดล่วงหน้า 1ชั่วโมง 
  3. หัวข้อในการแนะนำฟรีฟอร์มสคูล เริ่มตั้งแต่ เราเป็นใคร อยู่ในหมวดหมู่การศึกษาตาม พรบ.มาตราไหน ระบบการเรียนเป็นอย่างไร เอกสารที่นักเรียนต้องมี คืออะไรบ้าง
  4. ในกิจกรรมนี้ จะใช้เวลาปฐมนิเทศอยู่ที่ 1-1.30ชั่วโมง หลังจากนั้นจะเป็นการ ดึงรายชื่อรายเด็กๆ บัญชีใน Face Book เข้าสู่กลุ่มปิด ของฟรีฟอร์มสคูล เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับแจ้งข่าวสาร และทำใบงานวิชา บันทึกการเรียนรู้ รวมไปถึงกลุ่มแชต ของนักเรียนที่จะใช้ติดต่อ กับครูพี่เลี้ยงและเพื่อนๆในโรงเรียน
  5. กิจกรรมสุดท้ายคือ กำหนดโจทย์ให้นักเรียนไปโพสต์ แนะนำตนเอง ในกลุ่มเฟสบุ๊ค และถ่ายรูปรวมกันในโปรแกรม Zoom ก่อนปิดโปรแกรม ในรอบนี้มีเด็กๆเข้าฟังประชุม 45 คน      

11.แจกใบงาน ชิ้นที่ 1

"วิชาบันทึกการเรียนรู้" โดยมีหัวข้อทั้งหมด 4 วิชา ได้แก่  1.วิชาศิลปะในการดำรงค์ชีวิต  2.วิชาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น  3.วิชาการแนะแนวอาชีพ  4.วิชาการจัดการความเครียด โดยทั้ง4วิชานี้ จะให้เด็กๆทำโพสต์บันทึกการเรียนรู้ วิชาละ 10 โพสต์ โดยนักเรียนใน ระดับชั้น มัธยมศึกษาต้น จะทำ 2 วิชา = 20 โพสต์  ระดับชั้นมัธยมปลาย จะทำ 4วิชา = 40 โพสต์  ซึ่งวิธีการทำใบงานชิ้นนี้จะ จะมีแบบฟอร์มที่กำหนด ให้เด็กๆใส่ข้อมูล เขียนเนื้อหาให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนน จะดูตั้งแต่ ภาษาที่เขียน การใช้เครื่องในการหาข้อมูล เนื้อหาใจความที่ใช้สื่อสาร ว่าสามารถอธิบายบอกเล่า สื่อสารได้ในระดับใด โดยเด็กๆสามารถหาข้อมูลจาก อินเตอร์เน็ตได้ การใส่รูปภาพประกอบ ใส่ลิงค์ข้อมูลอ้างอิง ซึ่งจะการมีโต้ตอบ ตั้งคำถามผ่าน คอมเม้นต์ใต้โพสต์โดยครูพี่เลี้ยง เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนให้เด็กๆ หาคำตอบมาอธิบาย

วิชานี้เป็นวิชาที่ล้อ กับการเรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตจริงของนักเรียน เนื้อหาบางเรื่องก็มาจากประสบการณ์จริงของตนเอง การฟังคำบอกเล่าจากพ่อแม่ ตายายในหมู่บ้านตนเอง ทำให้วิชานี้ค่อนข้างหลากหลายในด้านการโพสต์เพื่อแสดงถึง ศักยภายในการสื่อสาร การนำเสนอ การหาข้อมูลอ้างอิงต่างๆของนักเรียน นักเรียนบางคนก็เก่งในด้านคอมพิวเตอร์ การใช้เครื่องมือ AI ในการหาข้อมูล ทำให้วิชานี้มีความหลายหลากเรื่องราว โดยจะมีเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อใช้วัดความรู้และการได้คะแนน ได้แก่ 1.รูปแบบการโพสต์ 2.เนื้อหาข้อความมีความถูกต้อง สื่อสารได้ตรงประเด็นที่นำเสนอ 3.การแสดงความเห็น ทัศนคติของผู้เรียน(ส่วนที่คะแนนเยอะที่สุด) 4.การใส่หลักฐานอ้างอิง ในการหาข้อมูล และรูปภาพประกอบ ซึ่งแต่ละโพสต์นั้นคะแนนจะเต็ม 10 คะแนน ในแต่ละรายวิชานักเรียนต้อง โพสต์ให้ได้วิชาละ 10 เรื่อง

ในการโพสต์ของวิชาจะ ถูกโพสต์ไว้ในเฟสบุ๊คกลุ่มปิด ของโรงเรียนฟรีฟอร์มสคูล จะมีแค่นักเรียนและครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนเท่านั้นที่เห็น และตรวจสอบชิ้นงานต่างๆได้ ตามโปรไฟล์เฟสบุ๊คของนักเรียน ตัวนักเรียนสามารถเริ่มทำได้เลย ในโทรศัพท์ตนเอง นักเรียนสามารถทำเวลาได้ก็ได้ โดยจะมีครูพี่เลี้ยงคอยตรวจ หรือในคำปรึกษาตลอด ผ่านวิธีออนไลน์ เพื่อให้นร.สามารถหาข้อมูล หรือ เขียนเรื่องราวจากประสบการณ์ตัวเอง ที่ได้ประสพพบเจอ เกิดการเรียนรู้ต่างๆ เรียบเรียงจนเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์  ในงานนี้จะเป็นชิ้นแรกที่เริ่มขึ้นในเดือน ธันวาคม 2567 จนถึงเดือน มีนาคม 2568  เมื่อเข้าสู่เดือน มกราคม 2568 จะเริ่มมีใบงานที่เป็นรูปเล่มเอกสาร กิจกรรม Workshop แฟ้มสะสมผลงาน โครงงานสอบจบ ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่า นักเรียนจะต้องเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง ตามหลักสูตรแกนกลางที่ ทางหน่วยงานราชการกำหนด

12.กิจกรรมวิชาเสริม ประจำเดือน ธันวาคม ส่งท้ายปี 2567

"วิชาสิ่งแวดล้อมกับความยั่งยืน" จำนวนกิจกรรม 2 ครั้ง คือวันที่ 21-22 ธันวาคม ณ ชุมชนล้อเหล็ก และ วันที่ 28 ธันวาคม ณ ชุมชนริมคลองวัดสะพาน ซึ่งอยู่ในพื้นที่คลองเตย กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเสริมทักษะ สำหรับนักเรียนของฟรีฟอร์มสคูลผ่านการลงมือปฏิบัติจริง หรือเข้าร่วม Workshop ต่างๆ ตามลักษณะของแต่ละรายวิชาเสริมต่างๆ ในรอบนี้เป็นการพานักเรียน ไปร่วมกิจกรรมในชุมชนในเรื่องการจัดการขยะ การจัดการสิ่งแวดล้อม ช่วยปรับภูมิทัศน์ในชุมชนคลองเตยให้สะอาดและสวยงาม โดยมีประชุมชนในคลองเตยเป็นผู้นำหลักกิจกรรม เด็กๆในชุนชนได้ลองทำกิจกรรมทำงานอาสา พัฒนาชุนชนตนเอง ได้เรียนรู้วิธีการคัดแยะขยะ การป้องกันขยะ ไม่ให้เกิดปัญหาขยะทับถม แบบที่ผ่านมาอีก อีกทั่งเป็นการเรียนรู้วิธีการทำงาน ร่วมกับอาสาคนอื่นๆ หน่วยงานอื่นๆอีกด้วย มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตนเอง และเข้าใจวิธีการคัดแยกขยะชนิดต่างๆ

รูปแบบกิจกรรมคือ 

  1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคคลทั่วไปภาย ผ่านช่องทางออนไลน์ และ เชิญชวนเด็กๆในฟรีฟอร์มสคูลเข้าร่วม ซึ่งในรอบนี้มีนักเรียนเข้าร่วม 30 คน ต่อกิจกรรม2วันดำเนินการ
  2. มีการชี้แจง แผนการทำงานจากชุมชน ว่าจะทำอะไรบ้าง เป้าหมายในครั้งนี้วันนี้คืออะไร
  3. การลงมือปฏิบัติของนักเรียน และ ครูพี่เลี้ยงในการช่วยกันจัดการขยะหน้างานให้สำเร็จ เช่น การเก็บขยะ การคัดแยะขยะแต่ละประเภท การรื้อถอนสิ่งสกปรกในพื้นที่ การป้องกันขยะลงสู่แม่น้ำ การร่วมมือร่วมใจเป็นตัวอย่างให้กับ เด็กๆที่อายุน้อยในชุมชนให้เห็นถึงตัวอย่างของพี่ๆในชุมชน ที่ออกมาช่วยกันเก็บขยะ ในชุมชน
  4. การพูดคุย สะท้อนความรู้สึกหลังจบกิจกรรม เพื่อชวนนักเรียนคิด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองในชุมชน ในด้านการทิ้งขยะ และการแยกขยะ สร้างเข้าใจใหม่ในการแยกขยะ และกล้าที่จะบอกพี่น้อง ครอบครัวตนเองถึงเรื่องการทิ้งขยะ ให้ถูกที่ 
  5. กิจกรรมการเก็บขยะนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ชุมชนคลองเตยทำกันเป็นประจำ ทุกเดือน และมีชุมชนที่เค้าร่วมแคมเปญ การแยกขยะแบบจริงจัง4ชุมชน ทำให้กิจกรรมเสริมวิชาสิ่งแวดล้อม เหล่านักเรียนจากฟรีฟอร์มสคูลจะต้องเข้าร่วม กิจกรรมทุกเดือน เพื่อช่วยเสริมสร้างนิสัย และการพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัยตนเอง

สามารถกดติดตาม ดูการเคลื่อนของกิจกรรมในโรงเรียน ในที่  https://www.facebook.com/freeformschool.th