cover_1
รายเดือน

Freeform School by คลองเตยดีจัง

เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะนำไปทำระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นให้กับเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบได้จบการศึกษาระดับ ม.ต้นและม.ปลาย100คน

ระยะเวลาระดมทุน

24 ส.ค. 2567 - 31 มี.ค. 2568

พื้นที่ดำเนินโครงการ

กรุงเทพ (หลัก) และพื้นที่อื่นๆ จ.กรุงเทพมหานคร

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATIONREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
100คน
ชุมชน/หมู่บ้าน
25แห่ง

คลองเตยดีจัง ออกแบบโครงการ Freeform School เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุน ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ให้กลับมาจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลาย โดยตั้งเป้าจะมีเด็กอายุ 13-25 ปี จำนวน 100 คน ระยะเวลา 1 ปี ได้วุฒิการศึกษาภายใน 1 ปี(ตามเกณฑ์อายุ)

สำหรับโปรแกรมการเรียนจะถูกออกแบบมาอย่างพิเศษที่เข้ากับเด็กแต่ละคน โดยเราจัดให้มี case manager ให้ความช่วยเหลือเด็กตามความต้องการ ผ่านช่องทางการสื่อสาร ระบบการจัดเก็บข้อมูล  ซึ่งเรามั่นใจว่าโปรแกรมการเรียนรู้และการศึกษาในศูนย์การเรียนรู้ถือเป็นต้นแบบหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

 

ปัญหาสังคม

ปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชุมชนคลองเตยและกรุงเทพมหานครต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา และมีเป็นจำนวนมากที่หลุดออกจากระบบการศึกษาแล้ว เกิดจากหลายสาเหตุปัจจัยที่แตกต่างกันไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือการที่สังคมจะต้องแบกรับภาระของเด็กและเยาวชนเหล่านี้ ไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อม รวมไปถึงตัวของเด็กก็เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมา ส่งผลต่อไปยังปัญหาด้านอาชญากรรม ปัญหาด้านยาเสพติด ปัญหาด้านสุขภาพ กระทบต่อกันอย่างต่อเนื่อง

การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนเหล่านี้ ไม่อาจแก้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง หากแต่ต้องใช้ออกแบบและใช้ระบบความช่วยเหลือ เชื่อมโยงความช่วยเหลือจากคนในสังคมที่มีทรัพยากรด้านต่างๆ มายังผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ รวมไปถึงการสนับสนุนทางด้านปัจจัยการเงิน ค่าใช้จ่าย การศึกษาและการกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อเป็นบันไดขั้นหนึ่งในการลดปัญหาที่ซับซ้อนนี้ลง

คลองเตยดีจัง ออกแบบโครงการ Freeform School เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงหรือหลุดออกจากระบบการศึกษาเพื่อใช้ในการประสานงาน ออกแบบวางแผน และดำเนินการให้ความช่วยเหลือได้ตามความต้องการของเด็ก ผ่านช่องทางการสื่อสาร ระบบการจัดเก็บข้อมูล โปรแกรมการเรียนรู้และการศึกษาในศูนย์การเรียรนเพื่อรับวุฒิการศึกษา ถือเป็นต้นแบบหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

วิธีการแก้ปัญหา

  1. พัฒนากลไกค้นหา ติดตาม สนับสนุนและออกแบบการจัดการศึกษา พัฒนาหลักสูตรการศึกษา และโปรแกรมการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับเด็กเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา

  2. พัฒนา Platform ในการบริหารจัดการนักเรียนและระบบติดตามสนับสนุนเด็กเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา

แผนการดำเนินงาน

  1. แนวทางการศึกษาสำหรับเด็กที่หลุดออกจากระบบ หลักสูตร เพื่อออกวุฒิการศึกษาระดับชั้น ม.ต้น หรือ ม.ปลาย 1. การพัฒนาทักษะชีวิต (Life skill) - จัดค่ายเพื่อให้ Case ได้ฝึกตั้งเป้าหมายในอนาคตและแลกเปลี่ยนการวางแผนชีวิต - บันทึกการเรียนรู้ เพื่อถอดบทเรียนชีวิตประจำวัน 2. การพัฒนาทักษะอาชีพ (Working Skill) - จัด Workshop การฝึกอาชีพและสร้างรายได้ 3. เรียนรู้ทักษะวิชาการ เชื่อมกับ 8 วิชาสาระของ สพฐ. - ทำแบบฝึกหัดการเรียนรู้ 8 วิชาสาระ - ทำการสอบเทียบโอนทั้ง 8 วิชาสาระ 4. ทุนในการจัดทำโครงงานที่สนใจ - บันทึก Learning Contact เพื่อวางแผนการทำโครงงาน - เขียนรูปเล่มโครงงาน - นำเสนอโครงงาน

  2. การทำงานของ Case Manager (CM) - ประชุม Case Conference เพื่อประเมิน Case วางแผนการช่วยเหลือรายบุคคล - ติดตามช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ในเรื่องการเรียนรวมถึงการใช้ชีวิต - ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน Case อย่างน้อย 2 ครั้ง - ประสานงานเรื่องการเรียนควบคู่ระหว่างเด็กและครอบครัว - บันทึกรายงาน เพื่อวางแผนการช่วยเหลือเบื้องต้น และบันทึกการติดตามเป็นระยะ

  3. การทำงานของทีมกลาง - ทำฐานข้อมูล Case - ติดตามและประเมินการทำงานของ Case Manager - ประชุม Case Conference เพื่อประเมิน Case ร่วมกับ Case Manager - ประสานงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อช่วยเหลือ Case

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
แนวทางการศึกษาสำหรับเด็กที่หลุดออกจากระบบ คนละ 20,000 บาท

หลักสูตร เพื่อออกวุฒิการศึกษาระดับชั้น ม.ต้น หรือ ม.ปลาย - การพัฒนาทักษะชีวิต (Life skill) - การพัฒนาทักษะอาชีพ (Working Skill) - เรียนรู้ทักษะวิชาการ เชื่อมกับ 8 วิชาสาระของ สพฐ. - ทุนในการจัดทำโครงงานที่สนใจ

100คน2,000,000.00
พัฒนาระบบติดตามสนับสนุน

- ค่าตอบแทน Case Manager ในการติดตาม เดือนละ 7,000 บาท (Case Manager 1 คน ต่อ เด็ก 15 คน) - ค่าเดินทางติดตามเยี่ยมบ้าน อย่างน้อย 2 ครั้ง 500 บาท/ครั้ง x 12 เดือน รวม 100,000 บาท - ค่าตอบแทนประชุม Case Conference เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 5,000 บาท x 12 เดือน รวม 60,000 บาท

4คน496,000.00
งานออกแบบระบบกลไกการค้นหา ติดตาม สนับสนุน

เจ้าหน้าที่บริหารจัดการเคส (Case Manager) เดือนละ 18,000 บาท x 12 เดือน

1คน216,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด2,712,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)271,200.00
ยอดระดมทุน
2,983,200.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คลองเตยดีจัง

คลองเตยดีจัง

กรุงเทพมหานคร

กลุ่มครูดนตรีอาสาที่ทำงานพัฒนาสังคมในพื้นที่คลองเตยมากว่า 7 ปี และเป็นผู้ผลักดันให้งานคลองเตยดีจังเกิดขึ้น

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon