cover_1

100 liveschallenge

เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะนำไปเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน122คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
21 ธ.ค. 2560

อัปเดตโครงการ100liveschallenge Scholarship Recipients (Academic Year 2017/2560)

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

21 ธ.ค. 2560 - 21 ธ.ค. 2560

Dear all the kind souls,

Last year, we collectively support 122 disadvantaged students in Mae Hong Son, Chiang Rai and Chiang Mai – the bottom three provinces in term of average household income per month (NSO, 2016) - to continue their secondary school education. There are 84 female and 38 male students, where 38 students in Chiang Mai, 32 in Chiang Rai and 52 in Mae Hong Son, enrolling in 40 schools across 35 districts. The full list of students, the schools they enroll and their hometowns is provided as an appendix of this letter ka ☺

In parallel to the fundraising activity in December 2016, our partner Yuvabadhana Foundation reached out to their networks of teachers, schools and education divisions at the local government bodies in our target three provinces to identify the students that fit with our selection criteria. After the fundraising stage ended on 31st December 2016 and we knew the exact number of scholarships we can offer to the students, the selection process then began in January 2017. First, the average household income per head per month has to be equal to or below 3,000 baht which is the same income criteria used by the Ministry of Education to identify “poor” kid in the system. Additionally, the selection team reads through students’ essay where they told us about their socio-economic background as well as the reasons(s) they need the scholarship; and selected the scholarship recipients based on their need and their motivation for further education. Yuvabadhana Foundation announced the names of students awarded the scholarships in mid February 2017, the last month of their primary schooling. This allowed the students and their families to know months before hand that they secure financial support for the next three years which helped them to make an informed decision on their further education. 

Students need to enroll in the secondary school and send Yuvabadhana Foundation two documents (1) a letter from the secondary school confirming their enrollment and their student status, and (2) a bank account under the student’s name. For most of our scholarship recipients, this is the first time they have a bank account under their names. Once they send the school letter and a copy of their bank book’s first page (with account name and number), Yuvabadhana Foundation will process the first scholarship installment of 3,500 Baht for one semester to their bank account. Their withdrawal activities and expenses are monitored by their teacher advisers who will keep Yuvabadhana Foundation posted on the matter. For the Academic Year 2017, the semester 1 in public schools started in mid May and ended in September. This process was on-going during May to August.

For the following semesters, students need to mail their transcript showing the academic performance of the previous semester and a school letter confirming their student status in the current semester to Yuvabadhana Foundation, before processing the fund transfer to the students. We do not have minimum academic performance that students need to achieve. The requested documents help us ensure that they stay in school and inform us, at least, their academic well-being. Throughout the processes, students get the support from their teacher advisers who help them get the documents needed, give them advice during the school terms, and contact Yuvabadhana Foundation if there is any other special circumstance. The semester-installment system ensures that students have sufficient funding to cover education-related costs for each semester and prevent any abuse of funding by the students and other stakeholders.

In addition to the reporting system of Yuvabadhana Foundation, there were 6 TYPNers who visited our students, their schools and teachers (both primary schools who nominated them and secondary schools they currently enroll) and their families in Chiang Mai and Chiang Rai over the past four months. All the students we have met look diligent and motivated to learn and stay in school as long as they can. Most of them have bigger dreams in the sense that they envision themselves doing certain career/job in the future. They spent the scholarship money on travel expenses (quite a big portion to many students as the secondary school is further away from their house compared with their primary school), lunch (was subsidized by the government in primary school, but not in secondary school), school uniform, daily per-dium and books, etc. Some still keep the money in their bank account to be used in the case of emergency or spend in the next semester where there is additional educational expenses from the school (English teachers / school activities which are mostly concentrated in Semester 2 for the schools in the Northern Thailand).

In term of their livelihood and environment, their parents (some live with father, mother, other relatives and/or grandparents) seem to be keen to support their educational attainment. Teachers mentioned that most parents would do everything to ensure that their children are in school at least until finishing Mathayom 3 as required by Thai law. Not many students will get to continue further education afterward, and tertiary education is an exception in the communities. 

Both the information we get and insight from the field visit made us rethink our approach and support to the underprivileged students. Ultimately, we don’t just want them to complete lower secondary education but make this opportunity a good start for their better well-being. With that goal in mind, financial support alone doesn’t seem sufficient. As a result, we revise our approach quite a bit and formally introduce two additional interventions that we think are critical to ensure the achievement of our goal – life mentorship and career/further education counseling; and that’s when we began to work on the Life Hero campaign (lifeherothailand.com #lifeherothailand) which is a development from #100liveschallenge advocating for reducing inequalities by providing “life-changing” education opportunity to underprivileged children. Additionally, we also work more closely with a few organizational partners which enable us to potentially access poor student database that will make our target group identification much more accurate and empower our ability to reach even more disadvantaged families than the previous years.

All in all, if you believe that we can make our Thai society more just and equitable by giving educational opportunities to children from the least privileged families in Thailand, please join our Life Hero movement. Transforming a nation takes decades, and there is no better time to start than NOW! ☺ Join us at lifeherothailand.com #lifeherothailand

Meanwhile, please check back on this page to get more updates on our students. Currently, students are submitting their transcript and a school letter to Yuvabadhana Foundation in order to secure the second scholarship installment for Semester 2. We expect to get all the transcripts as well as notes from the students by April 2018, and will keep you informed of our students’ academic performance and their well-beings.

Thank you for being a part of this movement. It is not yet a big systemic change, but definitely a good beginning; at least, 122 students are now in school with your kind support, and in a few more years will become Life Heroes to support their families!

Merry Christmas and Happy 2018 to you all ☺

Best,

Life Hero team (100liveschallenge team)

 

List of #100liveschallenge Scholarship Recipients (Academic Year 2017/2560)

Chiang Mai

There are 38 students, 27 female and 11 male in 14 districts and 24 schools as followed:

Chiang Rai

There are 32 students, 24 female and 8 male, in 13 districts and 18 schools as followed:

Mae Hong Son

There are 52 students, 33 female and 19 male, in 8 districts and 18 schools as followed:

Education inequality in Thailand

  • About 1.8 Million of children aged 6 -14 years old are at risk of dropping out of school due to poverty
  • Poverty is identified as the major root cause of access to education and school drop-out, including the delayed school enrollment, in Thailand where 99% of disadvantaged students are from the poor families. The disadvantaged children population Is account for 40& of children in the education system
  • There is a major gap in educational spending between the top 10% and bottom 10% families at 12 times difference. The educational spending is account for the big portion of household income for the poor families, as high as 30 – 50% which has been a big burden for the family to keep their children in school for 12 – 15 years as required by law
  • Currently, educational spending gets the largest portion of the government’s annual budget at 22% (more than 500,000 Milliion Baht a year).Even with the 15-year education policy, the subsidy is still not enough to cover actual spending. There are other hidden and/or additional costs such as travel expense, food, school uniform and educational tools, etc.
  • The current government budget allocates 2,900 Million baht (about 0.5% of total educational budget) to support underprivileged kids which is equivalent to 5 baht/day/person subsidy
  • Only 5% of students from the bottom 20% families get to complete tertiary education, compared with national average at 35% and 100% for children from the top 40% families 

Source: Ministry of Interior and Ministry of Education

21 ธ.ค. 2560

อัปเดตโครงการนักเรียนที่ได้รับทุนจาก 100 lives challenge

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

21 ธ.ค. 2560 - 21 ธ.ค. 2560

สวัสดีค่ะ Life Heroes ทุกท่าน

เมื่อปีที่แล้ว พวกเรารวมกันกว่า 400 ชีวิต/ครอบครัว/องค์กร ได้ร่วมกันส่งน้องๆทั้งหมด 122 คน (จากตอนต้นที่ตั้งเป้าไว้ที่ 100 คน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อแคมเปญ #100liveschallenge) จากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นสามจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนต่ำที่สุดในประเทศไทย (ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2558) ให้ได้ทุนการศึกษาเพื่อเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นเวลา 3 ปี (ม. 1 – ม.3) โดยนักเรียนทุน 122 คน แบ่งเป็นนักเรียนหญิงจำนวน 84 คน และนักเรียนชายจำนวน 38 คน โดยรายชื่อนักเรียน โรงเรียน และอำเภอที่น้องๆเรียนอยู่จะอยู่ตอนท้ายของจดหมายแจ้งข่าวนี้ค่ะ

เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน
  • 38 คน (หญิง 27 คน และชาย 11 คน)
  • 14 อำเภอ 24 โรงเรียน
  • 32 คน (หญิง 24 คน และชาย 8 คน)
  • 13 อำเภอ 18 โรงเรียน
  • 52 คน (หญิง 33 คน และชาย 19 คน)
  • 8 อำเภอ 18 โรงเรียน

ทาง TYPN ได้ร่วมมือกับมูลนิธิยุวพัฒน์ที่ช่วยพวกเราตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกไปจนถึงการติดตามดูแลนักเรียนตลอดช่วงการให้ทุนค่ะ โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ได้อ้างอิงเกณฑ์รายได้จากกระบวนการคัดกรองปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกำหนดให้รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนไม่เกิน 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน และพิจารณาเพิ่มเติมจากความเห็นของคุณครูโรงเรียนประถมศึกษา และเรียงความขอทุนของนักเรียน โดยกระจายข่าวผ่านโรงเรียนประถมศึกษา และสำนักงานเขตการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดเป้าหมายของโครงการค่ะ หลังจากปิดการระดมทุนเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ทางมูลนิธิยุวพัฒน์ได้พิจารณาคัดเลือกนักเรียนทุนในเดือนมกราคม 2560 แล้วประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับทุนบนเว็บไซท์ของมูลนิธิฯ รวมทั้งกระจายข่าวเพื่อให้นักเรียนทราบผ่านคุณครู โรงเรียน และสำนักงานเขตการศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 และสอบปลายภาคของนักเรียนรุ่นนี้ค่ะ 

นักเรียนจะยืนยันสิทธิ์รับทุนได้ก็ต่อเมื่อส่งหลักฐานการเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา และส่งเอกสารหน้าบัญชีธนาคารซึ่งเป็นชื่อของนักเรียนมาที่มูลนิธิยุวพัฒน์ค่ะ ซึ่งกระบวนการนี้เริ่มต้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นการเปิดภาคเรียนเทอม 1 ของปีการศึกษา 2560 (นักเรียนทุนของพวกเราเริ่มเข้าเรียน ม. 1) และต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2560 ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการดำเนินการออกเอกสารรับรองสถานะการเป็นนักเรียน และการที่ผู้ปกครอง/อาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์แนะแนวในโรงเรียนมัธยมฯ ช่วยดำเนินการเปิดบัญชีธนาคารให้กับเด็กและส่งเอกสารมาที่มูลนิธิยุวพัฒน์ค่ะ โดยนักเรียนส่วนใหญ่มีบัญชีธนาคารในชื่อตัวเองเป็นครั้งแรกตอนได้รับทุนนี้ค่ะ หลังจากที่มูลนิธิยุวพัฒน์ได้รับเอกสารครบแล้ว จะดำเนินการโอนเงินทุนจำนวน 3,500 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับหนึ่งภาคเรียนให้กับนักเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์แนะแนวในโรงเรียนมัธยมช่วยตรวจสอบบัญชีรายจ่ายของนักเรียนให้ระหว่างเทอมค่ะ นักเรียนจะได้รับเงินทุนเป็นรายเทอม โดยหลังจากจบภาคเรียนแล้ว นักเรียนจะต้องส่งผลการเรียน (transcript) และเอกสารยืนยันสถานะการเป็นนักเรียนจากโรงเรียนมาที่มูลนิธิยุวพัฒน์ (รวมทั้งจดหมายเล่าเรื่องชีวิตความเป็นไป – optional) ก่อนจะได้รับการโอนเงินสำหรับภาคเรียนต่อไปเข้ามาในบัญชีของเด็กค่ะ ทั้งนี้ นักเรียนทุนทุกคนได้รับเงินสำหรับภาคเรียนที่ 1 ทั้งหมดแล้วค่ะ

ปัจจุบัน ณ เดือนธันวาคม 2560 นักเรียนเพิ่งเปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 เมื่อตอนต้นเดือนค่ะ เด็กๆได้ทยอยส่งจดหมายรายงานความก้าวหน้า และผลการเรียนจากเทอมที่ 1 (ม.1 เทอม 1) ทางมูลนิธิยุวพัฒน์ได้ทยอยโอนเงินสำหรับภาคเรียนที่ 2 ให้กับนักเรียนที่ส่งเอกสารเข้ามาแล้ว และจะติดตามนักเรียนส่วนที่เหลือให้ส่งหลักฐานและดำเนินการโอนเงินภาคเรียนที่ 2 ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2561 ค่ะ และหลังจากที่มูลนิธิยุวพัฒน์ได้รับผลการเรียนและจดหมายครบแล้ว (คาดว่าน่าจะประมาณเดือนเมษายน 2561) ทางเราจะมารายงานให้ทุกท่านทราบอีกทีนะคะ ว่าน้องๆเรียนกันเป็นยังไงบ้าง

นอกจากการติดตามผ่านกลไกและกระบวนการทำงานของมูลนิธิยุวพัฒน์แล้ว ทีม TYPN ประมาณ 6 คน ได้สลับกันลงพื้นที่ในช่วงเดือนสิงหาคม – เดือนพฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมาเพื่อเจอนักเรียนทุน คุณครูโรงเรียนประถม อาจารย์ที่ปรึกษา/อาจารย์แนะแนวในโรงเรียนมัธยม และพบผู้ปกครองของนักเรียนทุน ในจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ ซึ่งเด็กๆที่เราได้ไปเจอทุกคนมีความใฝ่ดี อยากเรียนให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และครอบครัว (ไม่ว่าจะอยู่กับพ่อ แม่ และ/หรือปู่ย่าตายาย) ก็สนับสนุนอยากให้ลูกหลานได้มีโอกาสเรียนหนังสือ น้องๆได้นำเงินทุนที่ได้ไปใช้สำหรับรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น ค่าชุดลูกเสือ/เนตรนารี ค่าเดินทางไปโรงเรียน ค่าอาหารกลางวัน ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมให้โรงเรียนเพื่อจ้างครูสอนภาษาอังกฤษชาวต่างชาติ เป็นต้น และมีน้องๆส่วนหนึ่งที่ยังเก็บเงินทุนไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉินของครอบครัว คุณครูพูดค่อนข้างตรงกันว่าเด็กส่วนใหญ่จะได้เรียนจนจบ ม.3 เพราะทุกครอบครัวก็อยากให้ลูกหลานได้มีวิชาความรู้ และการเรียนจนจบ ม. 3 ก็เป็นข้อกำหนดพื้นฐานตามกฏหมายซึ่งครอบครัวในต่างจังหวัดคิดว่าจำเป็นต้องปฏิบัติตาม ต่อให้ต้องกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อส่งเรียนก็ต้องให้เด็กๆได้เรียนจนจบ ม. 3 เด็กๆส่วนใหญ่ ถ้าครอบครัวค่อนข้างจนมากจะเรียนต่อจนจบ ม.3 แล้วต้องออกมาหางานทำ ถ้ามีโอกาสมากกว่าหน่อยจะได้เรียนต่อยอดจนจบ ปวช.หรือ ม.6 หรือบางคนมีโอกาสไปต่อถึงระดับอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า) แต่ในหลายกรณีมักจะเป็นการเรียนสลับกับหยุดทำงานเป็นบางปี หรือเรียนคู่ไปกับการทำงานหลังจากจบ ม. 3

การได้ลงพื้นที่ทำให้ทีมกลับมาตั้งโจทย์ใหม่ว่าสิ่งที่เราสนับสนุนในปัจจุบันจะช่วยต่อยอดอนาคตให้เด็กๆได้จริงมากน้อยแค่ไหน นำมาสู่การหาข้อมูลเพิ่มเติม และขอข้อมูลเชิงลึก (insight) จากภาคีของ TYPN เพื่อพัฒนางานต่อ รวมทั้งสร้างฐานความรู้/ข้อมูลที่จะทำให้งานในปีต่อไปเข้าถึงกลุ่มเด็กและครอบครัวที่ขาดโอกาสที่สุดในสังคมไทย จึงเป็นที่มาของโครงการ Life Hero ที่เราอยากจะชวนเพื่อนๆกลุ่มใหญ่ขึ้นที่มีความสนใจตรงกันที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำในประเทศมาร่วมลงแรงลงความถนัด เป็นฮีโร่เปลี่ยนชีวิตน้องๆด้วยกัน เพื่อสร้าง the next generation of life heroes ให้กับสังคมไทย โดยโครงการในปีนี้มีการพัฒนาเครื่องมือเพิ่มเติมควบคู่ไปกับการให้ทุนการศึกษาปีที่แล้ว คือ การเพิ่มเรื่องการวางแผนชีวิตและระบบพี่เลี้ยง และการทำแนะแนวเรื่องการเรียนต่อหลังจบ ม. 3 และอาชีพ เพื่อให้เด็กๆที่เราสนับสนุนได้มีโอกาสพัฒนาทุนชีวิต สร้างอนาคตให้กับตนเองและครอบครัวได้ต่อไป

ถ้าพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ สนใจที่จะลดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยด้วยการให้โอกาสการศึกษากับครอบครัวที่ด้อยโอกาสในประเทศไทยต่อไปกับพวกเรา อยากขอเชิญทุกท่านมาร่วมแคมเปญกับพวกเราต่อได้ที่ lifeherothailand.com ซึ่งกำลังระดมเงินเพื่อทำงานต่อในปีการศึกษา 2561 เพื่อสนับสนุนนักเรียน 200 คน (และกลับไปสร้างระบบพี่เลี้ยงและแนะแนวอาชีพให้อีก 122 คนจากปีที่แล้ว) ในระยะที่ 1 (Phase 1) จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2561 นี้ค่ะ (ถ้าท่านต้องการนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีสำหรับปีบัญชี 2560 ต้องบริจาคภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560 นะคะ โดยการบริจาคผ่าน Life Hero จะสามารถลดหย่อนภาษีได้หนึ่งเท่าค่ะ) และในระหว่างนี้ถ้าท่านต้องการรับทราบความเป็นไปเพิ่มเติม หรือติดตามว่าจะมีการพบปะ/การลงพื้นที่/กิจกรรมต่อเนื่องจาก #100liveschallenge มาเป็น Life Hero สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/lifeherothailand/

ขอบคุณมากค่ะที่มาร่วมเปลี่ยน 122 ชีวิตไปด้วยกัน หวังว่าทุกท่านจะมาร่วมกันต่อเพื่อสร้างโอกาสให้อีก 200 ครอบครัวมีโอกาสสร้างชีวิตที่ดีกว่ากับเราในปีนี้ค่ะ และนี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่คนรุ่นพวกเราจะรวมพลังกันเพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียมและเป็นธรรมให้เกิดขึ้นภายในช่วงชีวิตของเรา

ขอบคุณมากค่ะ

ทีม Life Hero (#100liveschallenge)

 

รายชื่อนักเรียนทุน #100liveschallenge ปีการศึกษา 2560

จังหวัดเชียงใหม่

พวกเรามีนักเรียนทุนอยู่จังหวัดเชียงรายทั้งหมด 38 คน แบ่งเป็นนักเรียนหญิง 27 คน และนักเรียนชาย 11 คน กระจายอยู่ใน 14 อำเภอ (อำเภอเชียงดาว 6 คน ดอยสะเก็ด 2 คน ดอยหล่อ 3 คน พร้าว 1 คน เมืองเชียงใหม่ 5 คน แม่แจ่ม 1 คน แม่แตง 2 คน แม่ริม 1 คน สันกำแพง 1 คน สันทราย 3 คน สันป่าตอง 3 คน หางดง 1 คน อมก๋อย 2 คน และฮอด 7 คน) และ 24 โรงเรียนทั่วจังหวัด ดังรายชื่อต่อไปนี้ค่ะ

จังหวัดเชียงราย

พวกเรามีนักเรียนทุนอยู่จังหวัดเชียงรายทั้งหมด 32 คน แบ่งเป็นนักเรียนหญิง 24 คน และนักเรียนชาย 8 คน กระจายอยู่ใน 13 อำเภอ (อำเภอเชียงของ 1 คน เชียงแสน 1 คน ดอยหลวง 5 คน เทิง 1 คน พาน 4 คน เมืองเชียงราย 2 คน แม่จัน 5 คน แม่ฟ้าหลวง 2 คน แม่สรวย 6 คน แม่สาย 1 คน เวียงชัย 2 คน เวียงเชียงรุ้ง 1 คน และเวียงป่าเป้า 1 คน) และ 18 โรงเรียนทั่วจังหวัด ดังรายชื่อต่อไปนี้ค่ะ

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

พวกเรามีนักเรียนทุนอยู่จังหวัดแม่ฮ่องทั้งหมด 52 คน แบ่งเป็นนักเรียนหญิง 33 คน และนักเรียนชาย 19 คน กระจายอยู่ใน 8 อำเภอ (อำเภอขุนยวม 3 คน ปางมะผ้า 6 คน ปาย 6 คน เมืองแม่ฮ่องสอน 8 คน แม่ลาน้อย 9 คน แม่สะเรียง 16 คน สบเมย 4 คน และพาน 1 คน) และ 18 โรงเรียนทั่วจังหวัด ดังรายชื่อต่อไปนี้ค่ะ

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย

  • เด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปีประมาณ 1.8 ล้านคนมีความเสี่ยงจะหลุดออกจากระบบก่อนจบ ม.3 เนื่องจากสถานะความยากจนของครอบครัว
  • ปัญหาความยากจนขาดแคลนทุนทรัพย์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของความด้อยโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนในระบบการศึกษาของไทย (99% ของนักเรียนด้อยโอกาสซึ่งมีจำนวนกว่าร้อยละ 40 ของนักเรียนทั้งหมดในระบบการศึกษาระบุว่าครอบครัวมีปัญหาความยากจน) และเป็นสาเหตุหลักของการหลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับและขั้นพื้นฐาน รวมถึงการเข้าเรียนล่าช้า
  • รายจ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือน มีความเหลื่อมล้ำอยู่ในระดับสูงมาก ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำสุดดที่ร้อยละ 10 แรกของประเทศ (bottom 10%) และครอบครัวที่มีรายได้สูงที่สุดร้อยละ 10 แรกของประเทศ (top 10%) มีรายจ่ายด้านการศึกษาแตกต่างกันถึง 12 เท่า และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครอบครัวที่มีรายได้ต่ำถือเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าร้อยละ 30-50 ของรายได้ครัวเรือน ซึ่งถือเป็นภาระอันหนักอึ้งของครอบครัวยากจนในการสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานตลอด 12 - 15 ปีในระบบการศึกษา
  • ปัจจุบันงบประมาณด้านการศึกษาคิดเป็น 22% ของงบประมาณแผ่นดิน (มากกว่า 500,000 ล้านบาท) ซึ่งถือเป็นรายจ่ายอันดับ 1 ของประเทศทุกปี แม้รัฐจะจัดสรรงบประมาณเหล่านี้ผ่านโครงการเรียนฟรี 15 ปี แต่ยังคงไม่เพียงพอต่อสภาพความเป็นจริง โดยเฉพาะสำหรับครอบครัวยากจนที่ยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มด้านการศึกษา เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง ค่าอาหารเช้า/อาหารกลางวัน และค่าวัสดุอุปกรณ์การเรียน ตำรา และค่าเครื่องแบบ
  • ระบบการศึกษาไทยจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อนักเรียนยากจนเพียง 2,900 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.5 ของงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาทั้งหมดของประเทศ (มากกว่า 500,000 ล้านบาท) หรือเท่ากับ 5 บาทต่อคนต่อวัน
  • 5% ของเยาวชนจากครัวเรือน bottom 20% มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศที่ 35% และ 100% สำหรับเยาวชนจากครอบครัว top 40% (ความเหลื่อมล้ำในโอกาสสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่ 7 เท่า)
  • ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังแรงงานที่มีทักษะขั้นสูง (High-skilled labor) ต่ำกว่า 20% ในขณะที่การพัฒนาประเทศออกจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle income trap) ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จำเป็นต้องใช้แรงงานทักษะขั้นสูงมากกว่า 50% ของแรงงานทั้งหมดในประเทศ

ที่มา : ฐานข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และฐานข้อมูลสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ประมวลข้อมูลโดย คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.)