เทใจให้ผู้สูงวัย ผ่านโควิดไปด้วยกัน

ช่วยครอบครัวผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางที่ตกงานและขาดรายได้ 200 ครอบครัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้สามารถรักษาระยะห่างป้องกันโรคระบาด (social distancing) ด้วยอาหาร ยาและหน้ากากผ้าที่จำเป็นในช่วงหนึ่งเดือนนี้
ระยะเวลาโครงการ 1 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ เชียงใหม่
ยอดบริจาคขณะนี้
465,467 บาทเป้าหมาย
462,000 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
แจกถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้และครอบครัว เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 200 ครอบครัว ครั้งที่ 2
เทใจให้ผู้สูงวัย ผ่านโควิดไปด้วยกัน มีระยะเวลา 1 เดือน คือ ช่วงระหว่าง 1 - 31 เมษายน 2563 เพื่อช่วยผู้สูงอายุและครอบครัวซึ่งตกงานและขาดรายได้จำนวนกว่า 200 ครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากการการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กอปรกับมีการรณรงค์ให้ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" แม้จะส่งผลดีต่อการยับยั้งโรคระบาด แต่ก็ทำให้ผู้สูงอายุและครอบครัวต้องประสบกับภาวะขาดรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มรับจ้าง หาเช้ากินค่ำในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ที่คุณภาพชีวิตอยู่บนเส้นความยากจนอยู่แล้ว จึงยิ่งเหมือนซ้ำเติม ความลำบาก จึงเกิดแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้วยการจัดทำ "ถุงยังชีพที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต 14 วัน" ของที่บรรจุในถุง ทางมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุได้เลือกใช้สินค้าจากชุมชน เช่น กระเทียม หอมแดง ปลาทู หอม กะปิ ข้าวสาร และ หน้ากากอนามัยผ้ามัสลิน เพื่อคืนรายได้กลับสู่ชุมชนอีกทางหนึ่ง
การแจกถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้และครอบครัว เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 200 ครอบครัว ครั้งที่ 2 วันที่ 20 เมษายน 2563
1. การแจกถุงยังชีพ รอบ 2 จำนวน 200 ราย โดยการแจกถุงยังชีพแต่ละครั้งมีมาตรการในการแจกอย่างเคร่งคัด เพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุและครอบครัว ไม่ว่าการจัดเตรียมสถานที่ให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างกัน การตรวจวัดอุณหภูมิที่จุดคัดกรอง และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์
2. ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักป้องกันไวรัสโควิด-19 ด้วยการกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย และออกกำลังกาย
3. แนะนำให้ผู้สูงอายุทานอาหารที่มีโภชนาการเหมาะสมกับวัย เลือกทานอาหารให้เป็นยา เช่น หอมแดง กระเทียมซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และอาจเพิ่มผักและผลไม้ เนื่องจากในผักผลไม่จะมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้สามารถต่อสู้กับไวรัส
4. แม้จะห่างกายตามนโยบาย Social Distancing แต่ไม่จำเป็นต้องห่างกัน ทีมงานจึงมีการเยี่ยมบ้าน เพื่อถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ (ต่างคนต่างใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างกัน) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ลดความวิตกกังวล และได้มีพื้นที่ที่สามารถระบายออกมาได้บ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจช่วยให้มีความหวังและเกิดกำลังใจที่จะเดินหน้าร่วมสู้ไปด้วยกัน พลังของการพูด การหัวเราะ การให้กำลังใจเป็นยาสำคัญที่ทุกคนต้องการอย่างมากที่สุดในช่วงนี้
ขณะนี้เราทุกคนบนโลกใบนี้ต้องมีระยะห่างป้องกันโรคระบาด (social distancing)
เพื่อบรรเทาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้นการอยู่กับบ้าน หรืออยู่กับที่ เราทุกคนจึงจะปลอดภัยมากที่สุด
แต่กลุ่มเปราะบาง อย่างคนหาเช้ากินค่ำที่เป็นกำลังหลักของครอบครัว ไม่สามารถทำได้ เพราะพวกเขาถือเป็นเสาหลักของครอบครัว ที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงวัยและเด็กในครอบครัว
"บั๊ดดี้โฮมแคร์" ดำเนินงานโดยเป็นส่วนหนึ่งของมูลพัฒนางานผู้สูงอายุ FOPDEV ที่ผู้สูงอายุในชุมชนแออัดเขตเทศบาลนครเชียงใหม่กว่า 200 ครอบครัวได้สำรวจสภาพปัญหาพบว่า ครอบครัวผู้สูงอายุที่ยากไร้ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 200 ครอบครัวประสบปัญหาขาดรายได้จากการไม่มีงานทำในช่วงประกาศปิดสถานบริการและสถานที่ชุมชนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และให้ประชาชนอยู่อาศัยภายในบ้าน ไม่ออกไปเสี่ยงรับเชื้อจากภายนอก
แต่ละบ้านเฉลี่ยมีสมาชิกในครอบครัว 3 คน 3 วัย ได้แก่ วัยสูงอายุ วัยเด็ก และวัยแรงงานที่กำลังตกงาน พวกเขาอยู่ในสภาพที่ยากลำบาก
โครงการ "เทใจให้ผู้สูงวัย ผ่านโควิดไปด้วยกัน" จะดำเนินการช่วงเดือน เมษายน 2563 ระยะเวลา 1 เดือน เพื่อระดมทุนผ่านแพลทฟอร์มเทใจในการจัดเตรียม "ถุงยังชีพสู้ภัยโควิด" ไปช่วยเหลือครอบครัวผู้สูงอายุที่ยากไร้ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 200 ครอบครัว
ถุงยังชีพสู้ภัยโควิดนี้ ประกอบด้วย
อาหารสด/แห้ง ที่มีประโยชน์ ถูกหลักโภชนาการ ทั้งปรุงสุกพร้อมรับประทาน และเก็บไปปรุงเองได้ในระยะเวลา 30 วัน (แบ่งจัดส่งให้ 2 ครั้ง สำหรับแต่ละครอบครัว ครั้งละ 15 วัน)
- ยาตามแพทย์สั่งสำหรับโรคประจำตัว และยาสามัญประจำบ้าน ตามความจำเป็น
- หน้ากากผ้าฝ้ายมัสลิน ที่สามารถใช้ซ้ำได้ คนละ 2 ชิ้น
- กลไกการนำถุงยังชีพสู้ภัยโควิดไปมอบให้ครอบครัวผู้สูงอายุจะดำเนินการ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายนนี้
ประโยชน์ของโครงการ
ผู้สูงอายุยากไร้ที่มีชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก จำนวน 200 ครอบครัวสามารถรักษาระยะห่างป้องกันโรคระบาด (social distancing)
ครอบครัวผู้สูงอายุมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป
เจ้าของโครงการ

สมาชิกภายในทีม
นายเจนวิทย์ วิโสจสงคราม มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ
นายทศวรรษ บุญมา มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ
ช่วยเหลือครอบครัวผู้สูงอายุที่ยากไร้ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 200 ครอบครัว ครั้งที่ 1
ถึงกายห่าง (เท)ใจยังห่วง
ทีมงานบั๊ดดี้โฮมแคร์ ร่วมกับ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เขตเมือง เชียงใหม่ (ช.อ.บ.) นำ "ถุงยังชีพสู้ภัยโควิด" ที่จัดอาหารแห้งเพียงพอสำหรับ 14 วัน ยาสามัญประจำบ้าน และหน้ากากผ้า ไปช่วยเหลือครอบครัวผู้สูงอายุที่ยากไร้ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 200 ครอบครัว ครั้งที่ 1 ระหว่าง 8-10 เมษายน 2563
ความปลอดภัยในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 สำคัญที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยง บั๊ดดี้โฮมแคร์จึงดำเนินการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงสัมผัสโรคดังนี้
1. ใช้การสั่งซื้อของด้วยระบบออนไลน์ และใช้บริการจัดส่งตรงไปยังชุมชน เพื่อลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น และลดการสัมผัสระหว่างการส่งของ หลีกเลี่ยงการสัมผัสมือโดยตรงกับผู้ส่งของ โดยให้วางของในบริเวณที่จัดเตรียมไว้
2. เลือกอาสาสมัครในชุมชน ที่ไม่มีประวัติเสี่ยงสัมผัสโรค และไม่ได้เดินทางออกจากชุมชนในช่วงเฝ้าระวัง มาทำหน้าที่จัดเตรียมของลงถุง สวมหน้ากากอนามัย ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า 70% เพื่อให้ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อใน 30 วินาที จัดสถานที่เว้นระยะห่างของบุคคล กำหนดจุดเข้าคิว จุดคัดกรอง และจุดรับของ แต่ละจุดห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร
3. เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่กัน ผู้สูงอายุอาจจะนำเก้าอี้ หรือโต๊ะวางไว้หน้าบ้าน เพื่อเป็นจุดรับของ หรือให้อาสาสมัครแขวนไว้หน้ารั้ว งดเว้นการเข้าใกล้ชิดกัน . หลังจากการมอบสิ่งของจำเป็นครั้งแรก ก็จะเว้นระยะไป 14 วัน แล้วจึงดำเนินการอีกครั้งเพื่อให้มีอาหารแห้งเพียงพอไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน
ภาพที่เรานำถุงยังชีพไปให้ผู้สูงวัยกันค่ะ
แจกถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้และครอบครัว เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 200 ครอบครัว ครั้งที่ 2
เทใจให้ผู้สูงวัย ผ่านโควิดไปด้วยกัน มีระยะเวลา 1 เดือน คือ ช่วงระหว่าง 1 - 31 เมษายน 2563 เพื่อช่วยผู้สูงอายุและครอบครัวซึ่งตกงานและขาดรายได้จำนวนกว่า 200 ครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากการการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กอปรกับมีการรณรงค์ให้ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" แม้จะส่งผลดีต่อการยับยั้งโรคระบาด แต่ก็ทำให้ผู้สูงอายุและครอบครัวต้องประสบกับภาวะขาดรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มรับจ้าง หาเช้ากินค่ำในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ที่คุณภาพชีวิตอยู่บนเส้นความยากจนอยู่แล้ว จึงยิ่งเหมือนซ้ำเติม ความลำบาก จึงเกิดแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้วยการจัดทำ "ถุงยังชีพที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต 14 วัน" ของที่บรรจุในถุง ทางมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุได้เลือกใช้สินค้าจากชุมชน เช่น กระเทียม หอมแดง ปลาทู หอม กะปิ ข้าวสาร และ หน้ากากอนามัยผ้ามัสลิน เพื่อคืนรายได้กลับสู่ชุมชนอีกทางหนึ่ง
การแจกถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้และครอบครัว เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 200 ครอบครัว ครั้งที่ 2 วันที่ 20 เมษายน 2563
1. การแจกถุงยังชีพ รอบ 2 จำนวน 200 ราย โดยการแจกถุงยังชีพแต่ละครั้งมีมาตรการในการแจกอย่างเคร่งคัด เพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุและครอบครัว ไม่ว่าการจัดเตรียมสถานที่ให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างกัน การตรวจวัดอุณหภูมิที่จุดคัดกรอง และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์
2. ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักป้องกันไวรัสโควิด-19 ด้วยการกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย และออกกำลังกาย
3. แนะนำให้ผู้สูงอายุทานอาหารที่มีโภชนาการเหมาะสมกับวัย เลือกทานอาหารให้เป็นยา เช่น หอมแดง กระเทียมซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และอาจเพิ่มผักและผลไม้ เนื่องจากในผักผลไม่จะมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้สามารถต่อสู้กับไวรัส
4. แม้จะห่างกายตามนโยบาย Social Distancing แต่ไม่จำเป็นต้องห่างกัน ทีมงานจึงมีการเยี่ยมบ้าน เพื่อถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ (ต่างคนต่างใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างกัน) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ลดความวิตกกังวล และได้มีพื้นที่ที่สามารถระบายออกมาได้บ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจช่วยให้มีความหวังและเกิดกำลังใจที่จะเดินหน้าร่วมสู้ไปด้วยกัน พลังของการพูด การหัวเราะ การให้กำลังใจเป็นยาสำคัญที่ทุกคนต้องการอย่างมากที่สุดในช่วงนี้
แผนการใช้เงิน
รายการ | หน่วย | จำนวนเงิน | หมายเหตุ |
1.อาหารสด/แห้ง ที่มีประโยชน์ ถูกหลักโภชนาการ ทั้งปรุงสุกพร้อมรับประทาน และเก็บไปปรุงเองได้ในระยะเวลา 30 วัน 1.1 อาหารปรุงสุก 600 ชุด จัดส่งให้ 2 ครั้งในวันที่มอบถุงยังชีพ 1.2 อาหารสด/แห้ง ประกอบด้วย - ข้าวสาร - เมล็ดธัญพืช - ปลาแห้ง - ไข่ไก่ - นมสดแพ็ค 6 กล่อง 4 แพ็ค | 200 ครัวเรือน | 224,000 | 200 ชุด แบ่งนำส่ง 2 ครั้ง |
2.ยาตามแพทย์สั่งสำหรับโรคประจำตัว และยาสามัญประจำบ้าน ตามความจำเป็น 2.1 สำรองค่าใช้จ่ายกรณียาตามแพทย์สั่ง ครอบครัวละ 500 บาท 2.2 ชุดยาตำราหลวง (ยาสามัญประจำบ้าน)ขององค์การเภสัชกรรม 1 ชุด ประกอบด้วย ยาสามัญประจำบ้าน ตามนี้ : - ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก. 10 เม็ด ผงน้ำตาลเกลือแร่ (แก้ท้องร่วง) 1 ซอง ยาเม็ดแก้แพ้ลดน้ำมูกคลอร์เฟนิรามีน 10 เม็ด ยาธาตุน้ำแดง 180 มล. 1 ขวด - น้ำยาโพวิโดน ไอโอดีน 15 มล. 1 ขวด พลาสเตอร์ยา 2 ชิ้น สำลี 5 กรัม 1 ห่อ * เพิ่ม ถุงมือยาง 45 บาท แอลกอฮอล์ 70% ขวดเล็ก 50 บาท สบู่ล้างมือ | 200 ครัวเรือน | 140,000 | |
3.หน้ากากผ้าฝ้ายมัสลิน ที่สามารถใช้ซ้ำได้ คนละ 2 ชิ้น | 1200 ชิ้น | 36,000 | |
4.สนับสนุนค่าเดินทาง เยี่ยมบ้าน มอบของและให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น แก่อาสาสมัคร ช.อ.บ. หรือ พนักงานบั๊ดดี้โฮมแคร์ 2 คน | 20,000 | ||
5.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10% (ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า) | 42,000 | ||
462,000 |