project เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ

ดนตรีพลังบวก วงเด็กของเด็กและคนชราให้ปล่อยแก่

มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข มุ่งสร้างพลังบวกให้กับ กลุ่มเด็ก และคนชรา เพราะดนตรีจะเป็นสื่อสาร การเชื่อมโยงสังคมที่มีความหลากหลายในทุกมิติเข้าหากัน ร่วมการให้คนเหล่านี้เข้าถึงพลังบวกดี ๆ กันเถอะ

ระยะเวลาโครงการ 01 มิ.ย. 2566 ถึง 01 มิ.ย. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

4,610,976 บาท

เป้าหมาย

4,796,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 96%
จำนวนผู้บริจาค 33

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

กิจกรรมดนตรีพลังบวก วงปล่อยแก่ และวงเด็กภูมิดี

18 เมษายน 2024

โครงการดนตรีพลังบวก วงปล่อยแก่

  1. โครงการวงปล่อยแก่บ้านคา จังหวัดราชบุรี
  2. โครงการวงปล่อยแก่บ้านเกาะลอย จังหวัดราชบุรี
  3. โครงการวงปล่อยแก่เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  4. โครงการวงปล่อยแก่ยะลา จังหวัดยะลา
  5. โครงการวงปล่อยแก่บุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  6. โครงการวงปล่อยแก่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
  7. โครงการวงปล่อยแก่เชียงราย จังหวัดเชียงราย
  8. โครงการปล่อยแก่สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  9. โครงการปล่อยแก่ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
  10. โครงการปล่อยแก่โคราช จังหวัดนครราชสีมา
  • พัฒนาต่อยอดให้เกิดวงปล่อยแก่สำหรับชุมชน
  • ดำเนินการสอนและดำเนินแผนบูรณาการให้เข้ากับบริบทในแต่ละพื้นที่
  • สร้างความเข้าใจ โดยจัดประชุมในพื้นที่โครงการที่มีศักยภาพโดยให้ชุมชน/ภาครัฐ/ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย เปิดพื้นที่สำหรับวงปล่อยแก่เป็นที่รู้จัก และจัดกิจกรรมดนตรีในพื้นที่
  • การดำเนินการสอนให้เป็นไปตามบริบทพื้นที่จัดให้มีการเป็นการประชุมร่วมระหว่าง ผู้เรียน (ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่) (ครูเจ้าหน้าที่/ผู้นำชุมชน) ครูผู้สอน (วิทยากรโดยมูลนิธิฯ)
  • กิจกรรมการถอดบทเรียน

โครงการดนตรีพลังบวก วงเด็กภูมิดี

โรงเรียนวัดสุวรรณาราม จังหวัดนครปฐม
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเมโลเดียน
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล จนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนวัดลาดทราย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และวงเครื่องสาย
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวงเครื่องสาย เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การสร้างพื้นฐานอาชีพดนตรีไทย ให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ โดยอาศัยพื้นที่วัดลาดทรายเป็นศูนย์กลางในการแสดงดนตรีไทยของชุมชน
โรงเรียนวัดกุฏิประสิทธิ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และวงอังกะลุง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวงอังกะลุง เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การสร้างพัฒนาผู้เรียนให้สามารถประกวดแข่งขันดนตรีไทย
โรงเรียนวัดพระยอม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และกลองยาว
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวกลองยาว เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การสร้างพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
โรงเรียนบ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเครื่องสายตะวันตก
  • ระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัมธยมศึกษาตอนต้น จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงเครื่องสายตะวันตกจนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก โรงเรียน
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนบ้านห้วยอื่น จังหวัดเชียงราย
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเมโลเดียน
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล จนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนอนุบาลยะลา จังหวัดยะลา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านคา จังหวัดราชบุรี
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 35 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนโรงเรียนโป่งเจ็ด จังหวัดราชบุรี
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 35 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

เสียงสะท้อนจากวงปล่อยแก่

สิ่งที่รู้สึกชอบมาก คือ รู้สึกมีความสุขมากขึ้น ตั้งแต่เริ่มเข้าโครงการมา มีสุขภาพจิตดีมากขึ้น เชื่อว่า การร้องเพลงเป็นวิธีคลายเครียดวิธีหนึ่ง มีเพื่อนได้พูดคุย ไม่เหงา มีเป้าหมาย ตารางเวลาและภาระหน้าที่ให้ต้องปฏิบัติ ไม่รู้สึกว่างเปล่าไร้ประโยชน์เหมือนในอดีต

สิ่งที่รู้สึกภาคภูมิใจมาก คือ การพัฒนาความสามารถในด้านร้องเพลงของตัวเอง จากเริ่มต้นที่คิดว่าการเรียนตัวโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะเป็นเรื่องยาก เป็นตัวถ่วงของกลุ่มแต่ในที่สุดสามารถทำได้แม้ว่าอาสาสมัครบางคนอ่านหนังสือไม่ออก การได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบทเพลงในงานต่างๆ หรือการได้ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นในกลุ่มที่มีปัญหา เช่น การช่วยอ่านหนังสือ อ่านตัวโน้ต การช่วยประสานงาน ช่วยเหลือเพื่อให้เดินทางมาฝึกซ้อมและจัดแสดง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น

สิ่งที่รู้สึกว่ายากในการเรียนการสอน คือ การอ่านโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะ การออกเสียงให้ถูกต้อง การหายใจให้ถูกจังหวะ การเข้าใจอารมณ์ของเพลง และเมื่อร้องรวมกัน ยังสามารถออกเสียงตนเองได้ถูกต้อง

เป้าหมายสำคัญที่เข้าร่วมโครงการ คือ ความอยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวงปล่อยแก่ อยากมีเพื่อน อยากมาพูดคุยกับเพื่อนช่วยให้หายเหงาได้เยอะมาก อยากมีความสามารถในทักษะการร้องเพลงประสานเสียงมาขึ้น อยากแสดงบนเวทีเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ สร้างเป้าหมายใหม่ๆ ร่วมกัน

อยากมีเวทีให้แสดงบ่อยๆ เพื่อจะได้ฝึกฝนทักษะมากขึ้น สร้างความมั่นใจมากขึ้น อยากให้ชุมชนในพื้นที่ภาคภูมิใจในวงปล่อยแก่ ให้เป็นที่ประจักษ์ว่า ผู้สูงวัย ก็ยังมีประโยชน์ สามารถช่วยสังคมด้วยการสร้างความสุขให้ผู้คน ดูแลสุขภาพ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นสังคมสุขภาวะที่ไม่ต้องพึ่งพิงลูกหลาน

ผลการประเมินความมีชีวิตชีวา

  • แสดงให้เห็นว่า เมื่อแยกระดับความมีชีวิตชีวาตามด้านต่างๆ จะพบว่าสิ่งที่ได้เพิ่มเข้ามาอย่างเห็นได้ชัดคือส่วนของสุขภาพจิต ที่ระดับความมีชีวิตชีวาด้านจิตใจเพิ่มขึ้น ในภาพรวมทั้ง 6 กลุ่ม สอดคล้องกับผลการถอดบทเรียนที่พบว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุดของแต่ละบุคคลคือการที่รู้สึกมีความสุขมากขึ้น สุขภาพจิตดีมากขึ้น โดยให้เหตุผลประกอบว่า การร้องเพลงเป็นวิธีคลายเครียดวิธีหนึ่ง การรู้สึกภาคภูมิใจกับการพัฒนาความสามารถในด้านร้องเพลงของตัวเอง จากเริ่มต้นที่คิดว่าการเรียนตัวโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะเป็นเรื่องยาก เป็นตัวถ่วงของกลุ่มแต่ในที่สุดสามารถทำได้แม้ว่าอาสาสมัครบางคนอ่านหนังสือไม่ออก การได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบทเพลงในงานต่างๆ หรือการได้ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นในกลุ่มที่มีปัญหา เช่น การช่วยอ่านหนังสือ อ่านตัวโน้ต การช่วยประสานงาน ช่วยเหลือเพื่อให้เดินทางมาฝึกซ้อมและจัดแสดง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น รองลงมาจากด้านสุขภาพจิตคือเรื่องของการเข้าสังคม นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงวัยที่มักเก็บตัวอยู่บ้านหรือรู้สึกโดดเดี่ยว ได้มีกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่นมากขึ้นแล้วยังมีเรื่องของการปรับตัวเมื่อต้องอยู่ในคนหมู่มาก นับได้ว่าเป็นทักษะอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน และถือเป็นเรื่องยากมากสำหรับผู้สูงวัยแล้ว
  • วงปล่อยแก่เป็นวงขับร้องเพื่อสร้างพลังผู้สูงอายุให้สามารถช่วยตัวเองได้มากที่สุด เมื่อกำลังเริ่มถดถอยก็ต้องสร้างพลังจากภายในให้เข้มแข็ง เวลาร้องเพลงเลือดลมได้สูบฉีดทั่วร่างกาย ได้ปลดปล่อยความเจ็บปวดที่มีอยู่ภายในให้ออกไปและจะช่วยเติมความสุขเข้ามาแทน การเปล่งเสียงจึงเป็นการออกกำลังกายของคนแก่
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ355 คนเกิดวงดนตรีต้นแบบนำร่องเพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับโรงเรียนอื่น ๆ ที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน 
ผู้สูงอายุผู้สูงอายุในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ480 คน
  • ลดภาวะซึมเศร้า ลดภาวะความหดหู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ
  • มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดีขึ้น
  • ทำให้ภาระการดูแลของลูกหลานลดลง
  • มีกลุ่มผู้สูงอายุที่สุขภาพที่ดี แข็งแรง
  • เกิดวงขับร้องปล่อยแก่ ขึ้นในชุมชน
  • เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย / ผู้เกี่ยวข้อง ในรูปแบบการสนับสนุนในหลายมิติ
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม













อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข มุ่งสร้างพลักบวกให้กับ กลุ่มเด็ก และคนชรา เพราะดนตรีจะเป็นสื่อการ การเชื่อมโยงสังคมที่มีความหลากหลายในทุกมิติเข้าหากัน ร่วมการให้คนเหล่านี้เข้าถึงพลังบวกดี ๆ กันเถอะ

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ดนตรีช่วยผู้สูงอายุอย่างไร

1.  ดนตรีทำให้ผู้สูงอายุมีเพื่อน มีสังคม ลดความเหงา เห็นคุณค่าของตนเอง

2.  ดนตรีลดภาระการดูแลของครอบครัว เพลงจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีเพื่อน บทเพลงจะช่วยให้รักษาความจำ รักษาโรคเหงา รักษาโรคหลง หรือโรคซึมเศร้า

3. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นกลุ่มตัวอย่างให้กับผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ในเรื่องของคุณค่าของผู้สูงอายุ แก่แล้ว ไม่แก่เลย สามารถทำประโยชน์ให้กับลูกหลาน และสังคมได้

ดนตรีช่วยพัฒนาสมองเด็ก อย่างไร

1. ดนตรีเป็นเรื่องของเสียง เสียงเป็นพลังงาน เมื่อเสียงดนตรีเข้าไปในร่างกายเด็กผ่านการเล่นดนตรีหรือการร้องเพลง  ทำให้เด็กเกิดความเคลื่อนไหว เมื่อพลังงานเสียงเคลื่อนไหวความเคลื่อนไหวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการพัฒนา ทั้งร่างกาย จิตใจ สมอง อารมณ์ และสังคม การพัฒนาด้านต่าง ๆ ของเด็กทำให้เกิดการเรียนรู้และเกิดความเจริญขึ้น หากมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดความเจริญอย่างต่อเนื่องขึ้นในตัวเด็ก เสียงดนตรีจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ สมอง อารมณ์ และสังคมของเด็กได้  

2. ดนตรีช่วยให้เด็กสนุกสนานร่าเริงอย่างเด็ก ดนตรีจะช่วยให้เด็กด้อยโอกาสเข้าถึงความสนุกสนาน ร่าเริงอย่างที่เด็กควรจะเป็น เมื่อเด็กได้เล่นดนตรีเสียงดนตรี ทำนองเพลง จังหวะของดนตรี จะทำให้เด็กมีความสนุกสนาน มีความเพลิดเพลิน และมีโอกาสสร้างความร่าเริงให้กับเด็ก เด็กมีโอกาสที่จะพัฒนาพฤติกรรมได้อย่างเด็ก ความสนุกสนาน ความร่าเริง เป็นขนมของชีวิตเด็ก เด็กต้องมีโอกาสได้ความสนุกสนานและร่าเริง

3. ดนตรีพัฒนาศักยภาพความเป็นเลิศ การเรียนดนตรีและเล่นดนตรี เป็นการเปิดโอกาสและสร้างโอกาสให้เด็กได้ค้นหาความสามารถของตัวเอง ดนตรีจะช่วยให้เด็กด้อยโอกาสได้พัฒนาศักยภาพความเป็นเลิศด้านดนตรี เมื่อเด็กได้เรียนรู้ดนตรี ได้ฝึกซ้อมดนตรี ได้เล่นเครื่องดนตรี ซึ่งดนตรีสามารถที่จะเรียนรู้ สามารถฝึกซ้อมเพื่อใช้ดนตรีเป็นอาชีพได้ ศักยภาพความเป็นเลิศทางดนตรีสามารถจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กด้อยโอกาสให้มีโอกาสได้หรืออย่างน้อย 

มูลนิธิอาจารย์ เจริญสุข จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่างทางสังคม โดยการนำกิจกรรมดนตรีให้เข้าถึง กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ  ที่ขาดโอกาสเพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมทางดนตรีซึ่งจะสามารถสร้างการพัฒนาศักยภาพ สุขภาพ และสุนทรียภาพ 

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. พัฒนาต่อยอดชุมชน/โรงเรียนต้นแบบ
2. ดำเนินแผนบูรณาการสร้างความเข้าใจ โดยจัดประชุมในพื้นที่โครงการใหม่ ที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่ตัวแทน โดยเริ่มทำก่อนมีการดำเนินการสอน ในที่นี้เป็นการประชุมร่วมระหว่าง ผู้เรียน (เด็ก/ ผู้สูงอายุ/เด็กที่อยู่ในสถานพินิจ) ผู้ดูแลพื้นที่ (ครู/เจ้าหน้าที่/ผู้นำชุมชน) ครูผู้สอน (วิทยากรโดยมูลนิธิ)
3. ดำเนินการสอน โดยวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านดนตรีโดยเฉพาะ
4. การติดตามผลการพัฒนาต่อยอดชุมชน/โรงเรียนต้นแบบ 
5. รับสมัครและงานเปิดตัวพื้นที่โครงการใหม่ เพื่อขยายผลความสำเร็จ
6. ดำเนินการสอน / ทำแผนบูรณาการจัดทำเครื่องมือสอนให้สอดคล้องกับพื้นที่ ตามอัตลักษณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่ ครอบคลุม จัดทำโน้ตเพลง จัดหาพื้นที่และอุปกรณ์การสอนและ เรียบเรียงเนื้อหาการสอน
7. ติดตามผล และการพัฒนาต่อยอดชุมชน/โรงเรียนต้นแบบ
8. จัดการแสดง/ถอดบทเรียน

ผลลัพท์ของโครงการ

ระยะสั้น (ระยะเเรก)
-ความรู้/การเรียนรู้ -ความตระหนัก -ทักษะ -แรงบันดาลใจ/แรงจูงใจ -ความตั้งใจจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1. สร้างการเรียนรู้ดนตรีขั้นพื้นฐาน (ดนตรีสากล, ดนตรีไทย) เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาดนตรีอย่างถูกต้อง
2. สร้างแรงบันดาลใจรวมถึงสร้างทัศนคติที่ดีต่อดนตรี (ดนตรีสากล, ดนตรีไทย)  เพิ่มเเรงจูงใจในการเรียนรู้ 
3. สร้างวินัย ความอดทน และการเข้าร่วมสังคมในปัจจุบัน โดยอาศัยดนตรีเป็นสื่อ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ 

ระยะกลาง (ระยะสอง)
-พฤติกรรมเปลี่ยน มีความเป็นระเบียบวินัย รักใคร่กลมเกลียว -เปลี่ยนแปลงระบบปฏิบัติหรือกลไก มีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน -เปลี่ยนแปลงนโยบาย นโยบายมีความชัดเจน
1. สร้างพฤติกรรมที่ดี เพิ่มความมีระเบียบวินัย ทั้งรูปแบบการซ้อมส่วนตัว และรวมวง 
2. สร้างระบบที่ดี ในการจัดกิจกรรมดนตรี (ดนตรีสากล, ดนตรีไทย)  
3. สร้างพื้นที่ทางดนตรี (ดนตรีสากล, ดนตรีไทย) ให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงสร้างการยอมรับในกลุ่มที่เข้าร่วม ในชุมชนที่เข้าร่วม ในภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วม

ระยะยาว (ระยะสาม)
-เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ มีสุขภาพกายและใจดี -ผลกระทบต่อสังคม มีสังคมที่น่าอยู่
-เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ มีเศรษฐกิจในครัวเรือนดีขึ้น -ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีสิ่งแวดล้อมในชุมชนดี
1. สร้างสุขภาวะที่ดีในอนาคต ให้เกิดความสุข ทั้งกาย ใจ สติปัญญา 
2. สร้างสภาพแวดล้อมดนตรี (ดนตรีสากล, ดนตรีไทย) ที่ดี เพื่อให้เกิดสังคมที่น่าอยู่

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ทีมเจ้าหน้าที่โครงการ

  1. นางสุพินดา มโนมัยพิบูลย์ ผู้จัดการมูลนิธิ
  2. นายสินิทธิ์ ทองเจริญลาภ นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่มูลนิธิ
  3. นายจักรกฤษ เจริญสุข นักดนตรี/ครูสอนเครื่องสายตะวันตก
  4. นายอัครพล รัตนวงศากุล วิทยากร/นักกิจกรรม/เจ้าหน้าที่มูลนิธิ
  5. นางสาวทยารัตน์ โสภณพงษ์ นักดนตรี/ครูสอนเครื่องเคาะ
  6. นายปฏิภาณ ทะสุใจ นักดนตรี/ครูสอนกีต้าร์
  7. นายกิติภพ ใจตาบ นักดนตรี/ครูสอนขับร้อง
  8. นายธีรุฒน์ ยังเขียวสด นักดนตรี/ครูสอนขับร้อง
  9. นายชยพล สุขดี วิทยากร/ครูสอนขับร้อง
  10. นางสาวถิรพร ทรงดอน วิทยากร/ครูสอนขับร้อง
  11. นางสาวณัฐชยา ราชวงศ์ วิทยากร/ครูสอนขับร้อง
  12. นายภควัต เจียรสุวรรณ นักดนตรี/ครูสอนเครื่องเคาะ
  13. นางสาวชัญญา เจริญสุข นักดนตรี/ครูสอนเครื่องสายตะวันตก
  14. นางสาวอัญชลี   เฆมวิบูลย์ นักดนตรี/ครูสอนขับร้อง
  15. นายอนุศิษย์ เกตุหอม นักดนตรี/ครูสอนขับร้อง
  16. ผศ.วีระศักดิ์ อักษรถึง นักดนตรี/ครูสอนขับร้อง
  17. นายศุภฤกษ์ หงอสกุล นักดนตรี/ครูสอนขับร้อง
  18. นายพีระพล ปลิวมา วิทยากร/ครูสอนดนตรีไทย
  19. นางสาวอัญญาภ์ แสงเทียน วิทยากร/ครูสอนดนตรีไทย
  20. นายณัฐรัชต์ จิระพลพนิต นักประมวลผล
  21. นางสาวชลาสินธุ์ มโนมัยพิบูลย์ เลขานุการงานกิจกรรมมูลนิธิ

กิจกรรมดนตรีพลังบวก วงปล่อยแก่ และวงเด็กภูมิดี

18 เมษายน 2024

โครงการดนตรีพลังบวก วงปล่อยแก่

  1. โครงการวงปล่อยแก่บ้านคา จังหวัดราชบุรี
  2. โครงการวงปล่อยแก่บ้านเกาะลอย จังหวัดราชบุรี
  3. โครงการวงปล่อยแก่เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  4. โครงการวงปล่อยแก่ยะลา จังหวัดยะลา
  5. โครงการวงปล่อยแก่บุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  6. โครงการวงปล่อยแก่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
  7. โครงการวงปล่อยแก่เชียงราย จังหวัดเชียงราย
  8. โครงการปล่อยแก่สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  9. โครงการปล่อยแก่ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
  10. โครงการปล่อยแก่โคราช จังหวัดนครราชสีมา
  • พัฒนาต่อยอดให้เกิดวงปล่อยแก่สำหรับชุมชน
  • ดำเนินการสอนและดำเนินแผนบูรณาการให้เข้ากับบริบทในแต่ละพื้นที่
  • สร้างความเข้าใจ โดยจัดประชุมในพื้นที่โครงการที่มีศักยภาพโดยให้ชุมชน/ภาครัฐ/ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย เปิดพื้นที่สำหรับวงปล่อยแก่เป็นที่รู้จัก และจัดกิจกรรมดนตรีในพื้นที่
  • การดำเนินการสอนให้เป็นไปตามบริบทพื้นที่จัดให้มีการเป็นการประชุมร่วมระหว่าง ผู้เรียน (ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่) (ครูเจ้าหน้าที่/ผู้นำชุมชน) ครูผู้สอน (วิทยากรโดยมูลนิธิฯ)
  • กิจกรรมการถอดบทเรียน

โครงการดนตรีพลังบวก วงเด็กภูมิดี

โรงเรียนวัดสุวรรณาราม จังหวัดนครปฐม
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเมโลเดียน
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล จนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนวัดลาดทราย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และวงเครื่องสาย
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวงเครื่องสาย เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การสร้างพื้นฐานอาชีพดนตรีไทย ให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ โดยอาศัยพื้นที่วัดลาดทรายเป็นศูนย์กลางในการแสดงดนตรีไทยของชุมชน
โรงเรียนวัดกุฏิประสิทธิ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และวงอังกะลุง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวงอังกะลุง เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การสร้างพัฒนาผู้เรียนให้สามารถประกวดแข่งขันดนตรีไทย
โรงเรียนวัดพระยอม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และกลองยาว
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวกลองยาว เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การสร้างพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
โรงเรียนบ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเครื่องสายตะวันตก
  • ระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัมธยมศึกษาตอนต้น จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงเครื่องสายตะวันตกจนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก โรงเรียน
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนบ้านห้วยอื่น จังหวัดเชียงราย
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเมโลเดียน
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล จนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนอนุบาลยะลา จังหวัดยะลา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านคา จังหวัดราชบุรี
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 35 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนโรงเรียนโป่งเจ็ด จังหวัดราชบุรี
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 35 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

เสียงสะท้อนจากวงปล่อยแก่

สิ่งที่รู้สึกชอบมาก คือ รู้สึกมีความสุขมากขึ้น ตั้งแต่เริ่มเข้าโครงการมา มีสุขภาพจิตดีมากขึ้น เชื่อว่า การร้องเพลงเป็นวิธีคลายเครียดวิธีหนึ่ง มีเพื่อนได้พูดคุย ไม่เหงา มีเป้าหมาย ตารางเวลาและภาระหน้าที่ให้ต้องปฏิบัติ ไม่รู้สึกว่างเปล่าไร้ประโยชน์เหมือนในอดีต

สิ่งที่รู้สึกภาคภูมิใจมาก คือ การพัฒนาความสามารถในด้านร้องเพลงของตัวเอง จากเริ่มต้นที่คิดว่าการเรียนตัวโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะเป็นเรื่องยาก เป็นตัวถ่วงของกลุ่มแต่ในที่สุดสามารถทำได้แม้ว่าอาสาสมัครบางคนอ่านหนังสือไม่ออก การได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบทเพลงในงานต่างๆ หรือการได้ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นในกลุ่มที่มีปัญหา เช่น การช่วยอ่านหนังสือ อ่านตัวโน้ต การช่วยประสานงาน ช่วยเหลือเพื่อให้เดินทางมาฝึกซ้อมและจัดแสดง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น

สิ่งที่รู้สึกว่ายากในการเรียนการสอน คือ การอ่านโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะ การออกเสียงให้ถูกต้อง การหายใจให้ถูกจังหวะ การเข้าใจอารมณ์ของเพลง และเมื่อร้องรวมกัน ยังสามารถออกเสียงตนเองได้ถูกต้อง

เป้าหมายสำคัญที่เข้าร่วมโครงการ คือ ความอยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวงปล่อยแก่ อยากมีเพื่อน อยากมาพูดคุยกับเพื่อนช่วยให้หายเหงาได้เยอะมาก อยากมีความสามารถในทักษะการร้องเพลงประสานเสียงมาขึ้น อยากแสดงบนเวทีเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ สร้างเป้าหมายใหม่ๆ ร่วมกัน

อยากมีเวทีให้แสดงบ่อยๆ เพื่อจะได้ฝึกฝนทักษะมากขึ้น สร้างความมั่นใจมากขึ้น อยากให้ชุมชนในพื้นที่ภาคภูมิใจในวงปล่อยแก่ ให้เป็นที่ประจักษ์ว่า ผู้สูงวัย ก็ยังมีประโยชน์ สามารถช่วยสังคมด้วยการสร้างความสุขให้ผู้คน ดูแลสุขภาพ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นสังคมสุขภาวะที่ไม่ต้องพึ่งพิงลูกหลาน

ผลการประเมินความมีชีวิตชีวา

  • แสดงให้เห็นว่า เมื่อแยกระดับความมีชีวิตชีวาตามด้านต่างๆ จะพบว่าสิ่งที่ได้เพิ่มเข้ามาอย่างเห็นได้ชัดคือส่วนของสุขภาพจิต ที่ระดับความมีชีวิตชีวาด้านจิตใจเพิ่มขึ้น ในภาพรวมทั้ง 6 กลุ่ม สอดคล้องกับผลการถอดบทเรียนที่พบว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุดของแต่ละบุคคลคือการที่รู้สึกมีความสุขมากขึ้น สุขภาพจิตดีมากขึ้น โดยให้เหตุผลประกอบว่า การร้องเพลงเป็นวิธีคลายเครียดวิธีหนึ่ง การรู้สึกภาคภูมิใจกับการพัฒนาความสามารถในด้านร้องเพลงของตัวเอง จากเริ่มต้นที่คิดว่าการเรียนตัวโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะเป็นเรื่องยาก เป็นตัวถ่วงของกลุ่มแต่ในที่สุดสามารถทำได้แม้ว่าอาสาสมัครบางคนอ่านหนังสือไม่ออก การได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบทเพลงในงานต่างๆ หรือการได้ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นในกลุ่มที่มีปัญหา เช่น การช่วยอ่านหนังสือ อ่านตัวโน้ต การช่วยประสานงาน ช่วยเหลือเพื่อให้เดินทางมาฝึกซ้อมและจัดแสดง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น รองลงมาจากด้านสุขภาพจิตคือเรื่องของการเข้าสังคม นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงวัยที่มักเก็บตัวอยู่บ้านหรือรู้สึกโดดเดี่ยว ได้มีกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่นมากขึ้นแล้วยังมีเรื่องของการปรับตัวเมื่อต้องอยู่ในคนหมู่มาก นับได้ว่าเป็นทักษะอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน และถือเป็นเรื่องยากมากสำหรับผู้สูงวัยแล้ว
  • วงปล่อยแก่เป็นวงขับร้องเพื่อสร้างพลังผู้สูงอายุให้สามารถช่วยตัวเองได้มากที่สุด เมื่อกำลังเริ่มถดถอยก็ต้องสร้างพลังจากภายในให้เข้มแข็ง เวลาร้องเพลงเลือดลมได้สูบฉีดทั่วร่างกาย ได้ปลดปล่อยความเจ็บปวดที่มีอยู่ภายในให้ออกไปและจะช่วยเติมความสุขเข้ามาแทน การเปล่งเสียงจึงเป็นการออกกำลังกายของคนแก่
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ355 คนเกิดวงดนตรีต้นแบบนำร่องเพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับโรงเรียนอื่น ๆ ที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน 
ผู้สูงอายุผู้สูงอายุในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ480 คน
  • ลดภาวะซึมเศร้า ลดภาวะความหดหู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ
  • มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดีขึ้น
  • ทำให้ภาระการดูแลของลูกหลานลดลง
  • มีกลุ่มผู้สูงอายุที่สุขภาพที่ดี แข็งแรง
  • เกิดวงขับร้องปล่อยแก่ ขึ้นในชุมชน
  • เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย / ผู้เกี่ยวข้อง ในรูปแบบการสนับสนุนในหลายมิติ
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม













แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 โครงการเด็กภูมิดี พื้นที่เก่า 7 พื้นที่ละ 100,000 ประกอบด้วย : โรงเรียนวัดสุวรรณาราม จังหวัดนครปฐม, โรงเรียนวัดลาดทราย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, โรงเรียนวัดกุฏิประสิทธิ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, โรงเรียนวัดพระยอม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, โรงเรียนบ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย, รงเรียนบ้านห้วยอื่น จังหวัดเชียงราย และรงเรียนอนุบาลยะลา จังหวัดยะลา 7 พื้นที่ 700,000.00
2 โครงการวงปล่อยแก่ พื้นที่เก่า 6 พื้นที่ละ 100,000 ประกอบด้วย : กลุ่มผู้สูงอายุ บ้านคา จังหวัดราชบุรี,กลุ่มผู้สูงอายุ บ้านเกาะลอย จังหวัดราชบุรี, กลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลบ้านป่าตันจังหวัดเชียงใหม่, กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา, กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลนคร นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 6 พื้นที่ 600,000.00
3 โครงการวงเด็กภูมิดี พื้นที่ใหม่ 2 พื้นที่ละ 400,000 บาท ประกอบด้วย : โรงเรียนอนุบาลบ้านคา และโรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด จังหวัดราชบุรี 2 พื้นที่ 800,000.00
4 เปิดพื้นที่การแสดงดนตรี โครงการวงปล่อยแก่ พื้นที่ใหม่ 4 พื้นที่ละ 400,000 บาท ประกอบด้วย : จังหวัดเชียงราย, จังหวัดสุราษฎร์ธานี, จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดภูเก็ต พื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตลายของดนตรีแต่ละพื้นที่ ของโครงการดนตรีพลังบวก วงเด็กภูมิดี และวงปล่อยแก่ ในรูปแบกิจกรรมการแสดงดนตรี โดยดึงจุดเด่นของดนตรีในแต่ละพื้นที่มาผสมผสานผ่านการร้องเพลง การบรรเลงดนตรีจาก โครงการดนตรีพลังบวกในแต่ละพื้นที่ โดยมีนัยยะเพื่อกระตุ้นให้เกิด “เทศกาลดนตรีพลังบวก” 4 พื้นที่ 1,600,000.00
5 เทศกาลดนตรีพลังบวก 1 ครั้ง 480,000.00
6 ค่าเจ้าหน้าที่ประสานงาน 15,000 บาทต่อเดือน 1ปี 180,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
4,360,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
436,000.00

ยอดระดมทุน
4,796,000.00