project ผู้พิการและผู้ป่วย

การจ้างงานผู้พิการเพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลและคอฟฟี่ชอฟ

เปิดโอกาสให้ผู้พิการได้ทำงานในออฟฟิศ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่แอดมินและจัดการเอกสารดิจิตัลและตำแหน่งพนักงานคอฟฟี่ชอปภายใต้สเตปส์ ตลอดระยะเวลา 1 ปี

ระยะเวลาโครงการ 03 ม.ค. 2565 ถึง 03 ม.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: กรุงเทพฯ (สำนักงานใหญ่ของบริษัท สเตปส์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด)

ยอดบริจาคขณะนี้

79,419 บาท

เป้าหมาย

350,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 23%
จำนวนผู้บริจาค 122

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

จัดซื้อคอมพิวเตอร์ และจ้างงานผู้พิการเพื่อปฏิบัติงานจัดการเอกสารดิจิตัล

2 สิงหาคม 2023

หลังจากที่การระดมทุนโครงการการจ้างงานผู้พิการเพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลและคอฟฟี่ชอฟได้สิ้นสุดลง  สเตปส์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ขอปรับแผนการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับการจ้างงาน จากเงินที่ได้รับ จำนวน 71,477 บาท มาดำเนินการตามแผน โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ขณะนี้ บริษัทสเตปส์ฯ สามารถสรรหาผู้ที่มีความหลากหลายทางการรับรู้เข้ามาทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลได้ 1 คน (พนักงานประจำ) โดยได้รับค่าจ้าง 12,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลา 4 เดือน รวมเป็นเงิน 48,000 บาท ซึ่งสอดคล้องกับแผนการที่เคยวางไว้ โดยเริ่มงานในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา
  2. ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทสเตปส์ฯ ได้จัดซื้อคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 21,421 บาท เพื่ออำนวยความสะดวกและเสริมสร้างทักษะการทำงานของเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลที่เข้ามาทำงาน
  3. ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทสเตปส์ฯ ได้จัดเบี้ยเลี้ยงให้กับผู้ฝึกงานผู้พิการ จำนวน 1 คน เป็นเงิน 9,000 บาท หรือ 4,500 บาทต่อเดือน โดยมีเป้าหมายที่จะจัดเบี้ยเลี้ยงนี้ให้กับผู้ฝึกงานผู้พิการเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 4 เดือน รวมเป็นเงิน 18,000 บาท

ดังนั้น จึงคิดเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 87,421 บาท หมายความว่า มีส่วนต่างที่ทางบริษัทสเตปส์ฯ จะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง จำนวน 15,944 บาท

จากแผนการเดิม ระยะเวลาดำเนินการโครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2566 แต่เนื่องจากทางบริษัทเพิ่งสรรหาเจ้าหน้าที่ได้และเพิ่งเริ่มทำงานในเดือนกรกฏาคม จึงจำเป็นต้องขยายเวลาสิ้นสุดโครงการออกไปเป็นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับเงินครบระยะเวลา 4 เดือนที่กำหนดไว้

โดยสิ่งที่ต้องทำต่อหลังจากนี้ คือ ดำเนินการจ้างงานเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลและจัดเบี้ยเลี้ยงให้กับผู้ฝึกงานผู้พิการต่อไป และเมื่อเจ้าหน้าที่ทำงานไปได้ระยะหนึ่ง ทางบริษัทสเตปส์ฯ จะดำเนินการสัมภาษณ์ความรู้สึก ความประทับใจ หรือสิ่งที่ได้รับจากการเข้ามาทำงานของเจ้าหน้าที่กับผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลผู้ที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ที่ได้รับการว่าจ้างให้มาทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัล1 คน
  • ได้พัฒนาทักษะการทำงานประเภทงานสำนักงาน
  • ได้พัฒนาทักษะการเข้าสังคมผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัว หน้างาน
  • สามารถพึ่งพาตนเองได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากต้องเดินทางมาทำงานและบริหารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วยตนเอง
  • เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเองเมื่อพบว่าตนเองสามารถทำงานและมีรายได้ที่มั่นคงได้
ครอบครัวของเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลสมาชิกในครอบครัวของผู้ที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ที่ได้รับการว่าจ้างให้มาทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัล1 ครอบครัว
  • รายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ได้รับการจ้างงาน
  • สมาชิกในครอบครัวมีความภาคภูมิใจและตระหนักในศักยภาพของผู้ที่มีความหลากหลายทางการรับรู้
ธุรกิจที่ใช้บริการศูนย์ให้บริการด้านงานเอกสารของสเตปส์ (BSC)ธุรกิจที่มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทยที่ใช้บริการศูนย์ให้บริการด้านงานเอกสารของสเตปส์ (BSC)2 แห่ง
  • มีความเข้าใจถึงศักยภาพของพนักงานที่มีความหลากหลายทางการรับรู้มากขึ้น
  • เห็นศักยภาพในการทำงานและโอกาสในการเสริมสร้างความเข้าใจทางด้านความเสมอภาคและความไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงานมากขึ้น
  • มีความรู้และความเข้าใจต่อการจ้างงานมาตรา 33 และ 35 ต่อผู้พิการและผู้ที่มีความหลากหลายด้านการรับรู้เพิ่มขึ้น
รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : โค้ชฝึกอาชีพ (Job Coach) ของศูนย์ให้บริการด้านงานเอกสารกำลังสอนงานเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลในวันแรกที่เริ่มงาน

 ภาพ : เจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลกำลังฝึกสแกนบาร์โค้ดด้วยตัวเองหลังจากเรียนรู้งานจากโค้ชฝึกอาชีพ (Job Coach) ของศูนย์ให้บริการงานด้านเอกสาร

 ภาพ : บรรยากาศการทำงานโดยทั่วไปที่ศูนย์ให้บริการด้านงานเอกสาร ผู้ที่มีความหลากหลายทางการรับรู้แต่ละคนกำลังทำงานที่ตัวเองได้รับมอบหมา

 ภาพ : ผู้ฝึกงานผู้พิการที่ได้รับเบี้ยเลี้ยง 4,500 บาทต่อเดือนกำลังนั่งทำงานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย

 ภาพ : คอมพิวเตอร์ที่ได้จัดซื้อ เป็นเงิน 21,421 บาท เพื่ออำนวยความสะดวกและเสริมสร้างทักษะการทำงานของเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลที่เข้ามาทำงาน

วิดีโอกิจกรรม



อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

จากปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาและทัศนคติเชิงลบของสังคมที่ทำให้ผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้ไม่ได้รับการจ้างงาน การเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้ได้รับการฝึกสอนในรูปแบบและในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ฝึกสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน นำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ตลอดจนเปลี่ยนทัศนคติเชิงลบในสังคมที่มีต่อผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้และผู้พิการ

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือ ผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้ที่ผ่านการฝึกอบรมทักษะด้านการทำงานในออฟฟฟิศและการจัดการเอกสารดิจิตัลและทักษะด้านการทำงานภายในร้านกาแฟภายใต้โครงการทุนการศึกษาที่สเตปส์ร่วมมือกับบริษัทพันธมิตร จำนวน 6 คน เพื่อทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่แอดมินและจัดการเอกสารดิจิตัลและตำแหน่งพนักงานคอฟฟี่ชอปภายใต้สเตปส์ ตลอดระยะเวลา 1 ปี

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงการจ้างงานของผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้และผู้พิการเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่

  1. การไม่สามารถเข้าถึงรูปแบบการศึกษาและหลักสูตรการฝึกอบรมทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานที่เหมาะสม
  2. นายจ้างประสบปัญหาในการสรรหาผู้พิการที่มีคุณสมบัติและทักษะที่เหมาะสมต่อการจ้างงาน รวมถึงความไม่สามารถในการสร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อการจ้างงานบุคคลกลุ่มนี้
  3. การขาดความตระหนักรู้เกี่ยวกับผู้พิการ ซึ่งรวมถึงผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้
  4. ทัศนคติของสังคมที่มองว่าผู้พิการ รวมถึงผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้เป็นผู้ไร้ความสามารถ ไม่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้เท่าเทียมกับบุคคลอื่นๆ ทั่วไป และเป็นผู้ที่ต้องได้รับความสงเคราะห์ช่วยเหลือซึ่งสาเหตุข้างต้น ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่

ซึ่งสาเหตุข้างต้น ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่

  1. ผู้พิการ รวมถึงผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าในสังคม ไม่สามารถมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้กับสังคม และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นๆ ทั่วไปในตลาดแรงงาน
  2. นายจ้างหรือบริษัทต่างๆ ที่ต้องจ้างงานผู้พิการตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด (พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รับผู้พิการซึ่งสามารถทำงานได้ในอัตราส่วนลูกจ้างที่ไม่ใช่ผู้พิการทุก 100 คนต่อผู้พิการ 1 คน) ไม่มีความเข้าใจและขาดความสามารถในการจ้างงานผู้พิการ ส่งผลให้บริษัทส่วนใหญ่เลือกที่จะจ่ายเงินค่าปรับเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแทน ซึ่งไม่ทำให้เกิดสังคมการจ้างงานที่ยอมรับและเคารพในความแตกต่างที่แท้จริง ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดจากกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการ กว่า 62% ของผู้พิการในวัยทำงาน (กว่า 527,000 คน) พร้อมที่จะทำงานแต่ไม่มีงานทำ
  3. การไม่สามารถสร้างสังคมที่ยอมรับความแตกต่าง (inclusive society) ได้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการสร้างสังคมที่เคารพและให้เกียรติในคุณค่าของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันผู้พิการ รวมถึงผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าในสังคม ไม่สามารถมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้กับสังคม และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นๆ ทั่วไปในตลาดแรงงาน

จุดเด่นของโครงการนี้ คือการสร้างงานให้กับผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้อย่างยั่งยืน โดยการจ้างงานผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้ภายใต้โครงการทุนการศึกษาสำหรับผู้ฝึกที่ครอบครัวขาดแคลนทุนทรัพย์หรือเข้าไม่ถึงโอกาส ได้ผ่านการฝึกทักษะอาชีพในสายงานโดยตรงที่มีความพร้อมและศักยภาพในระดับหนึ่ง จะเป็นการสร้างเส้นทางอาชีพที่มั่นคงสำหรับผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้ที่รับทุนดังกล่าว โดยเมื่อเรียนจบโครงการทุนการศึกษาแล้ว จะได้รับการจ้างงานต่อทันทีจากบริษัทสเตปส์ ภายใต้ที่มีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เป็นมิตรต่อผู้พิการและมีทีมโค้ชฝึกอาชีพที่คอยฝึกสอนงานระหว่างการทำงานจริง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฝึกสามารถเรียนรู้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและการจ้างงานประสบความสำเร็จและยั่งยืน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. สเตปส์คัดเลือกผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้หรือผู้พิการและผูภายใต้โครงการทุนการศึกษาที่มีความพร้อมและทีคุณสมบัติเหมาะสมต่อตำแหน่งงานที่เปิดรับ
  2. เมื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้และผู้พิการที่เหมาะสมแล้ว สเตปส์จะเริ่มการจ้างงานและฝึกสอนงานไปพร้อมๆ กับการทำงาน (on the job training) เพื่อให้ผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้สามารถเรียนรู้ได้จากการทำงานจริง
  3. มีการสื่อสารกับบริษัทพันธมิตรที่เป็นผู้มอบทุนการศึกษาตลอดจนสาธารณชนถึงการสร้างเส้นทางอาชีพให้ผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้และผู้พิการที่ได้รับทุนอย่างครบวงจร (ตั้งแต่มอบทุนเพื่อเข้าร่วมฝึกอบรมทักษะไปจนถึงการได้รับการจ้างงานจริง) และยั่งยืน

ผู้พิการและผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้

ไม่สามารถเข้าถึงการจ้างงาน หรือได้รับการจ้างงานแต่ไม่ยั่งยืน เนื่องจากนายจ้างการขาดความเข้าใจในการแนวทางการสอนงานหรือขาดสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้และผู้พิการ

ผู้ที่มีความแตกต่างด้านการเรียนรู้และผู้พิการได้รับการฝึกสอนงานและทำงานในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม นำไปสู่การจ้างงานและรายได้ที่ยั่งยืน

ผู้รับผิดชอบโครงการ

น.ส. ธีตา โหตระกิตย์ - กรรมการ
น.ส. ศศิภา มีนชัยนันท์ - หัวหน้าศูนย์ฝึกทักษะอาชีพ

แผนการดำเนินงานจ้างผู้พิการมาทำงานในออฟฟิศ

11 เมษายน 2023

จากการระดมทุนที่โครงการได้รับจำนวนเงิน 71,477 บาท ไม่สามารถครอบคลุมการจ้างงานตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้ ทางสเตปส์จึงมีการจัดแผนดำเนินการใหม่ที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่ได้รับเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีแผนดังต่อไปนี้

  • มีการจ้างเหมาบริการผู้พิการ จำนวน 1 อัตราเป็นระยะเวลา 4 เดือน เป็นเงิน 9,500 บาท ต่อเดือน รวมเป็นเงิน 38,000 บาท ตลอดระยะเวลา 4 เดือน
  • จัดเบี้ยเลี้ยงให้กับผู้ฝึกงานพิการ จำนวน 1 อัตราเป็นระยะเวลา 4 เดือน เป็นเงิน 3,246 บาทต่อเดือน รวมเป็นเงิน 12,984 บาท ตลอดระยะเวลา 4 เดือน
  • สืบเนื่องจากการเติบโตของสเตปส์ เงินจำนวน 20,490 บาทจะนำไปจัดซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในการทำงานให้กับผู้ฝึกของสเตปส์ในการใช้อบรมทักษะการทำงานในออฟฟิศและการจัดการเอกสารดิจิตัล

โดยมีแผนที่จะเริ่มดำเนินทั้งหมดตามระยะเวลานับตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 - สิงหาคม พ.ศ. 2566

จัดซื้อคอมพิวเตอร์ และจ้างงานผู้พิการเพื่อปฏิบัติงานจัดการเอกสารดิจิตัล

2 สิงหาคม 2023

หลังจากที่การระดมทุนโครงการการจ้างงานผู้พิการเพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลและคอฟฟี่ชอฟได้สิ้นสุดลง  สเตปส์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ขอปรับแผนการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับการจ้างงาน จากเงินที่ได้รับ จำนวน 71,477 บาท มาดำเนินการตามแผน โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ขณะนี้ บริษัทสเตปส์ฯ สามารถสรรหาผู้ที่มีความหลากหลายทางการรับรู้เข้ามาทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลได้ 1 คน (พนักงานประจำ) โดยได้รับค่าจ้าง 12,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลา 4 เดือน รวมเป็นเงิน 48,000 บาท ซึ่งสอดคล้องกับแผนการที่เคยวางไว้ โดยเริ่มงานในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา
  2. ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทสเตปส์ฯ ได้จัดซื้อคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 21,421 บาท เพื่ออำนวยความสะดวกและเสริมสร้างทักษะการทำงานของเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลที่เข้ามาทำงาน
  3. ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทสเตปส์ฯ ได้จัดเบี้ยเลี้ยงให้กับผู้ฝึกงานผู้พิการ จำนวน 1 คน เป็นเงิน 9,000 บาท หรือ 4,500 บาทต่อเดือน โดยมีเป้าหมายที่จะจัดเบี้ยเลี้ยงนี้ให้กับผู้ฝึกงานผู้พิการเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 4 เดือน รวมเป็นเงิน 18,000 บาท

ดังนั้น จึงคิดเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 87,421 บาท หมายความว่า มีส่วนต่างที่ทางบริษัทสเตปส์ฯ จะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง จำนวน 15,944 บาท

จากแผนการเดิม ระยะเวลาดำเนินการโครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2566 แต่เนื่องจากทางบริษัทเพิ่งสรรหาเจ้าหน้าที่ได้และเพิ่งเริ่มทำงานในเดือนกรกฏาคม จึงจำเป็นต้องขยายเวลาสิ้นสุดโครงการออกไปเป็นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับเงินครบระยะเวลา 4 เดือนที่กำหนดไว้

โดยสิ่งที่ต้องทำต่อหลังจากนี้ คือ ดำเนินการจ้างงานเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลและจัดเบี้ยเลี้ยงให้กับผู้ฝึกงานผู้พิการต่อไป และเมื่อเจ้าหน้าที่ทำงานไปได้ระยะหนึ่ง ทางบริษัทสเตปส์ฯ จะดำเนินการสัมภาษณ์ความรู้สึก ความประทับใจ หรือสิ่งที่ได้รับจากการเข้ามาทำงานของเจ้าหน้าที่กับผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลผู้ที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ที่ได้รับการว่าจ้างให้มาทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัล1 คน
  • ได้พัฒนาทักษะการทำงานประเภทงานสำนักงาน
  • ได้พัฒนาทักษะการเข้าสังคมผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัว หน้างาน
  • สามารถพึ่งพาตนเองได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากต้องเดินทางมาทำงานและบริหารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วยตนเอง
  • เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเองเมื่อพบว่าตนเองสามารถทำงานและมีรายได้ที่มั่นคงได้
ครอบครัวของเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลสมาชิกในครอบครัวของผู้ที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ที่ได้รับการว่าจ้างให้มาทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัล1 ครอบครัว
  • รายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวที่มีความหลากหลายทางการรับรู้ได้รับการจ้างงาน
  • สมาชิกในครอบครัวมีความภาคภูมิใจและตระหนักในศักยภาพของผู้ที่มีความหลากหลายทางการรับรู้
ธุรกิจที่ใช้บริการศูนย์ให้บริการด้านงานเอกสารของสเตปส์ (BSC)ธุรกิจที่มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทยที่ใช้บริการศูนย์ให้บริการด้านงานเอกสารของสเตปส์ (BSC)2 แห่ง
  • มีความเข้าใจถึงศักยภาพของพนักงานที่มีความหลากหลายทางการรับรู้มากขึ้น
  • เห็นศักยภาพในการทำงานและโอกาสในการเสริมสร้างความเข้าใจทางด้านความเสมอภาคและความไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงานมากขึ้น
  • มีความรู้และความเข้าใจต่อการจ้างงานมาตรา 33 และ 35 ต่อผู้พิการและผู้ที่มีความหลากหลายด้านการรับรู้เพิ่มขึ้น
รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : โค้ชฝึกอาชีพ (Job Coach) ของศูนย์ให้บริการด้านงานเอกสารกำลังสอนงานเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลในวันแรกที่เริ่มงาน

 ภาพ : เจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลกำลังฝึกสแกนบาร์โค้ดด้วยตัวเองหลังจากเรียนรู้งานจากโค้ชฝึกอาชีพ (Job Coach) ของศูนย์ให้บริการงานด้านเอกสาร

 ภาพ : บรรยากาศการทำงานโดยทั่วไปที่ศูนย์ให้บริการด้านงานเอกสาร ผู้ที่มีความหลากหลายทางการรับรู้แต่ละคนกำลังทำงานที่ตัวเองได้รับมอบหมา

 ภาพ : ผู้ฝึกงานผู้พิการที่ได้รับเบี้ยเลี้ยง 4,500 บาทต่อเดือนกำลังนั่งทำงานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย

 ภาพ : คอมพิวเตอร์ที่ได้จัดซื้อ เป็นเงิน 21,421 บาท เพื่ออำนวยความสะดวกและเสริมสร้างทักษะการทำงานของเจ้าหน้าที่จัดการเอกสารดิจิตัลที่เข้ามาทำงาน

วิดีโอกิจกรรม



แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 เงินเดือนผู้พิการ แบ่งออกเป็น พนักงานประจำ 1 อัตรา พนักงาน Part-time 5 อัตรา จำนวน 12 เดือน ( 1 ปี ) 6 คน 318,181.82
รวมเป็นเงินทั้งหมด
318,181.82
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
31,818.18

ยอดระดมทุน
350,000.00