project อื่นๆ

พ่อบ้านแม่บ้านพลังบวก

“พ่อบ้าน-แม่บ้าน” คือ ส่วนสำคัญที่ดูแลเด็กๆ ในสถานพินิจจนถึงวันที่พวกเขาถูกปล่อยตัว แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากพวกเขายังขาดประสบการณ์และขาดทักษะในการสื่อสารเชิงบวกเพื่อรับมือและดูแลเด็กๆ เหล่านี้ ที่ในวันหนึ่งพวกเขาจะได้ออกไปใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมอีกครั้ง เพราะด้วยงบประมาณที่จำกัดของรัฐ และงบส่วนใหญ่มุ่งไปที่การพัฒนาเด็กและเป็นการเรียนรู้จากคู่มือเพียงเท่านั้น เราจึงอยากให้คุณเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพ่อบ้าน-แม่บ้านที่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงานให้มีพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับพ่อบ้าน-แม่บ้านด้วยกัน ในการจัดอบรมให้กับพ่อบ้าน 120 คน ซึ่งพวกเขาจะได้เรียนรู้ทักษะการสื่อสารเชิงบวก ผ่านรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่ม เพื่อให้พวกเขามีพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ และได้ฝึกปฏิบัติจริง โดยพ่อบ้าน-แม่บ้าน 1 คน จะต้องดูแลเด็กถึง 50 คน ดังนั้นทุกการบริจาคเงิน 3,750 บาทของคุณ จะสามารถช่วยพ่อบ้าน-แม่บ้าน 1 คน ให้ได้เรียนรู้และปรับวิธีการสื่อสารในการดูแลเด็กๆ ได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

ระยะเวลาโครงการ 15 พ.ย. 2565 ถึง 15 พ.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

100,770 บาท

เป้าหมาย

495,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 20%
จำนวนผู้บริจาค 15

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

เสริมทักษะการสื่อสารเชิงบวกให้กับพ่อบ้านแม่บ้านและเจ้าหน้าที่

25 สิงหาคม 2023

โครงการ พ่อบ้านแม่บ้านพลังบวก พื้นที่การเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการสื่อสารเชิงบวกให้กับพ่อบ้านแม่บ้านและเจ้าหน้าที่ ผ่านรูปแบบการแบ่งปันจากประสบการณ์จริง ดำเนินการโดย บริษัท ทูลมอโร จำกัด

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ธรรมชาติพัฒนาการของเด็ก พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก และแนวคิดเรื่องการสื่อสารเชิงบวก ปัจจัยพื้นฐานในการปรับพฤติกรรมเด็ก หลักการปรับพฤติกรรมเด็กตามช่วงวัย
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารของพ่อบ้านแม่บ้านในการช่วยปรับพฤติกรรมและส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี (เสริมแรงทางบวก) ของเด็กที่ดูแล เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดี
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีพื้นที่ในการพูดคุย ระบายทุกข์สุข แลกเปลี่ยนประสบการณ์

กลุ่มเป้าหมาย : พ่อบ้านแม่บ้าน ของสถานพินิจ และศูนย์ฝึกฯ นำร่อง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก จํานวน 33 คน

เป้าหมาย : ผู้เข้าอบรมที่ผ่านกระบวนการทำกลุ่มเรียนรู้ออนไลน์ มีความเข้าใจในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเด็ก นำวิธีการสื่อสารเชิงบวกไปใช้ในการดูแลเด็ก

รูปแบบการอบรม : กระบวนการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และฝึกปฏิบัติ ในรูปแบบ online group sharing ผ่านโปรแกรม zoom

ระยะเวลาในการจัดอบรม : เรียน 4 สัปดาห์ๆ ละ 2 วัน โดยแบ่งการเรียนเป็น 2 รอบ และติดตามผลต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

  • รอบวันอังคาร และ วันพุธ เวลา 13.00 – 15.00 น. เริ่มวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566
  • รอบวันพฤหัส และ วันศุกร์ เวลา 9.00 – 11.00 น. เริ่มวันพฤหัสที่ 13 กรกฎาคม 2566

จำนวนผู้เรียนทั้งสิ้น 33 คน แบ่งการเรียนเป็น 2 รอบ

  • การทำกลุ่มเรียนรู้รอบวันอังคาร และ วันพุธ จำนวนผู้เรียน 15 คน
    เริ่มเรียนวันที่ 11 ก.ค - 2 ส.ค. เวลา 13.00 - 15.00
  • การทำกลุ่มเรียนรู้รอบวันพฤหัส และ วันศุกร์ จำนวนผู้เรียน 18 คน
    เริ่มเรียนวันที่ 13 ก.ค - 4 ส.ค. เวลา 09.00 - 12.00

หัวข้อการเรียน

  • ครั้งที่ 1 เปิดกลุ่มเตรียมความพร้อม
  • ครั้งที่ 2 มีสติกับการพูดและการฟัง โดยใช้ I Message
  • ครั้งที่ 3 เรียนรู้วิธีการจัดการอารมณ์
  • ครั้งที่ 4 การให้คำชม
  • ครั้งที่ 5 การวางกติกา การสร้างการมีส่วนร่วม
  • ครั้งที่ 6 การให้รางวัล/การลงโทษ/ข้อจำกัดความยากในการปรับใช้กับเด็กจำนวนมาก
  • ครั้งที่ 7 สะท้อนการเรียนรู้และวางแผนการนำไปใช้

ตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนและหลังทำกิจกรรม จากผู้เรียนที่เข้าเรียนต่อเนื่อง

 

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพ

ผู้เรียนส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเอง และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับเด็กๆที่ดูแล โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ดังนี้

  • การจัดการอารมณ์ตัวเอง เป็นคนใจเย็นอยู่แล้วแต่เด็กๆก็ทักว่าวันนี้พ่ออารมณ์ดี
  • ได้ฝึกคำชม และฝึกสังเกตเด็กที่ละคน มีความละเอียดมากขึ้น
  • การฟังแบบไม่ตัดสินเด็ก ๆ
  • มีสติในการพูด คิดก่อนพูด
  • การเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ทำให้รู้สึกได้เติมพลังชีวิต
  • ใช้ภาษาฉัน การสื่อสารถึงความรู้สึก บอกความต้องการ ดีมากเลย และได้สังเกตตัวเอง จากสัตว์ 4 ทิศ จะลองใช้เทคนิคกาสร้างกติกา และปรับการลงโทษ ให้ไม่รุนแรงและไม่ใช้อารมณ์

ปัญหา อุปสรรค

  • ผู้เรียนเข้าสายเนื่องจากติดภารกิจ
  • ผู้เรียนฟังอย่างเดียว เข้ามาแล้วไม่สะดวกเปิดกล้อง เปิดไมค์ เพื่อแลกเปลี่ยน
  • ระหว่างเรียนต้องทำงานไปด้วย ทำให้การแลกเปลี่ยนไม่ต่อเนื่อง และขาดสมาธิในการเรียน

ข้อเสนอแนะ

  • ทางกรมแจ้งต้นสังกัดของพ่อบ้านเรื่องการอบรม เพื่อให้สามารถเข้าอบรมได้อย่างเต็มที่และมีสมาธิ
  • มีพื้นที่ให้พ่อบ้าน เพื่อนร่วมงานได้พูดคุยแลกเปลี่ยน
  • อยากเรียนรู้ วิธีการรับมือกับเด็กที่มีอารมณ์รุนแรง อารมณ์แปรปรวน ในเชิงจิตวิทยา
  • ควรมีคู่มือ ความรู้สำหรับการสื่อสารกับเด็กที่อยู่ในศูนย์ฝึก
  • มีการนัดพูดคุยติดตามผลการนำไปปรับใช้ทุกเดือน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

     

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและศูนย์ฝึก ที่พ่อบ้านแม่บ้านดูแล1,000 คนเด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับพ่อบ้านแม่บ้าน นำไปสู่การมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น และมีทัศนคติเชิงบวก
พ่อบ้านแม่บ้านพ่อบ้านแม่บ้านที่ดูแลเด็กในสถานพินิจ และศูนย์ฝึก ทั่วประเทศ33 คนพ่อบ้านแม่บ้านที่เข้าอบรมอย่างต่อเนื่องตลอดหลักสูตรสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการมีความพึงพอใจในชีวิต มีความสุขกับการทำงานมากขึ้น ส่งผลให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กที่ดูแล โดยเฉพาะในด้านความใกล้ชิดผูกพันระหว่างพ่อบ้านแม่บ้านกับเด็ก การมีกิจกรรมทำร่วมกันกับเด็กมากขึ้น และการสร้างกติการร่วมกัน เพื่อเป็นข้อตกลงของบ้าน
รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : ประชุมหารือแนวทางการจัดกิจกรรมร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

 ภาพ : ประชุมเตรียมความพร้อมทีมผู้สอน

 ภาพ : ระบบหลังบ้านในการจัดการข้อมูล

 ภาพ : ภาพบรรยากาศการเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom วันอังคาร-พุธ

 ภาพ : ภาพบรรยากาศการเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom วัน พฤหัสบดี-ศุกร์

 ภาพ : ประชุมนำเสนอผลการดำเนินโครงการกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

“พ่อบ้าน-แม่บ้าน” คือ ส่วนสำคัญที่ดูแลเด็กๆ ในสถานพินิจจนวันที่พวกเขาถูกปล่อยตัว แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากพวกเขายังขาดประสบการณ์และขาดทักษะในการสื่อสารเชิงบวกเพื่อรับมือและดูแลเด็กๆ ที่ในวันหนึ่งพวกเขาจะได้ออกไปใช้ชีวิตร่วมกับคนสังคมอีกครั้ง ด้วยงบประมาณที่จำกัดของรัฐ และงบส่วนใหญ่มุ่งไปที่การพัฒนาเด็กและเป็นการเรียนรู้จากคู่มือ เราอยากให้คุณเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพ่อบ้าน-แม่บ้านที่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงานและพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับพ่อบ้าน-แม่บ้านด้วยกัน ในการจัดอบรมให้กับพ่อบ้าน 120 คน ได้เรียนรู้ทักษะการสื่อสารเชิงบวก ผ่านรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่ม เพื่อให้เขามีพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ และฝึกปฏิบัติจริง

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

“พ่อบ้าน-แม่บ้าน” เป็นส่วนสำคัญที่ดูแลเด็กๆ ในสถานพินิจจนวันที่พวกเขาถูกปล่อยตัว ในขณะที่พ่อบ้าน-แม่บ้านจำนวนมากยังขาดประสบการณ์และขาดทักษะในการสื่อสารเชิงบวก เช่น การใช้คำพูดและการกระทำที่รุนแรงกับเด็กเหล่านี้

คำถาม คือ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น?! ถ้าวันหนึ่งเด็กที่ถูกแวดล้อมด้วยความรุนแรงจะได้ออกไปใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมอีกครั้ง

ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับพ่อบ้าน-แม่บ้าน แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดของรัฐ และงบส่วนใหญ่มุ่งไปที่การพัฒนาเด็กและเป็นการเรียนรู้จากคู่มือ เราจึงอยากเชิญชวนให้คุณ ร่วมระดมทุนกับโครงการพ่อบ้านแม่บ้านพลังบวก ในการจัดอบรมให้กับพ่อบ้าน 120 คน ทั่วประเทศได้เรียนรู้ทักษะการสื่อสารเชิงบวก ผ่านรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่ม เพื่อให้เขามีพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ และฝึกปฏิบัติจริง เพราะกระบวนการการเรียนรู้นี้จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้พ่อบ้านแม่บ้าน ทำงานง่ายขึ้น หากพ่อบ้านแม่บ้านมีทักษะความรู้ที่พร้อม

สิ่งนี้จะช่วยพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารของพ่อบ้านในการดูแลเด็กมากกว่า 6,000 คน ได้ดีขึ้น เพราะถ้าพวกเขาอยู่ใกล้ชิดกับเด็กด้วยความรัก ความเข้าใจ และการให้โอกาส เด็กๆ ก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติอีกครั้ง

ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการเข้าถึงพ่อบ้านทั่วประเทศจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และฝึกปฏิบัติ ในรูปแบบ online group sharing โดยมีกระบวนกรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการสื่อสารเชิงบวก ช่วยนำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านโปรแกรมซูม (Zoom) และโปรแกรมไลน์ (Line) ที่ง่ายและสะดวก เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ได้จริงและมีการติดตามผลเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาว ด้วยการให้พ่อบ้านแม่บ้านที่ผ่านการอบรมแล้ว ได้กลับมาเป็นอาสาช่วยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และคำแนะนำ กับคนอื่นๆต่อไป 

โดยโครงการนี้จะเป็นการนำร่อง เพื่อสร้างสถานพินิจต้นแบบ และพ่อบ้านแม่บ้านพลังบวก ที่จะไปช่วยส่งต่อและขยายผลสู่พ่อบ้านแม่บ้านที่ดูแลเด็กและเยาวชนในสถานพินิจทั่วประเทศ


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.พูดคุย ประสานงานกับทางกรมพินิจ และสถานพินิจที่สนใจเข้าร่วม ในการประชาสัมพันธ์ รับสมัครพ่อบ้านแม่บ้านและเจ้าหน้าที่ในสถานฯ

2.เตรียมความพร้อมทีมผู้สอน และกำหนดวันในการเรียนรู้ร่วมกัน

3.เปิดกลุ่มเรียนรู้ทั้ง 2 รอบ ผ่านระบบ zoom  รอบละ 60 คน แบ่งกลุ่มย่อยละ 5-6 คน รองรับผู้เรียนทั้งสิ้น จำนวน 120 คน

4.ติดตามผลผู้เรียน และถอดบทเรียนร่วมกัน

5.พัฒนาผู้เรียนที่มีศักยภาพให้เป็น พ่อบ้านแม่บ้านอาสา

6.สรุปผลประเมินโครงการ และแนวทางการขยายผลสู่พ่อบ้านแม่บ้านที่ดูแลเด็กและเยาวชนในสถานพินิจทั่วประเทศ

7.นำเสนอผลการดำเนินโครงการ ผ่านคลิปวิดีโอผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงของพ่อบ้านแม่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ดำเนินโครงการโดย  บริษัททูลมอโร จำกัด 

เสริมทักษะการสื่อสารเชิงบวกให้กับพ่อบ้านแม่บ้านและเจ้าหน้าที่

25 สิงหาคม 2023

โครงการ พ่อบ้านแม่บ้านพลังบวก พื้นที่การเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการสื่อสารเชิงบวกให้กับพ่อบ้านแม่บ้านและเจ้าหน้าที่ ผ่านรูปแบบการแบ่งปันจากประสบการณ์จริง ดำเนินการโดย บริษัท ทูลมอโร จำกัด

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ธรรมชาติพัฒนาการของเด็ก พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก และแนวคิดเรื่องการสื่อสารเชิงบวก ปัจจัยพื้นฐานในการปรับพฤติกรรมเด็ก หลักการปรับพฤติกรรมเด็กตามช่วงวัย
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารของพ่อบ้านแม่บ้านในการช่วยปรับพฤติกรรมและส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี (เสริมแรงทางบวก) ของเด็กที่ดูแล เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดี
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีพื้นที่ในการพูดคุย ระบายทุกข์สุข แลกเปลี่ยนประสบการณ์

กลุ่มเป้าหมาย : พ่อบ้านแม่บ้าน ของสถานพินิจ และศูนย์ฝึกฯ นำร่อง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก จํานวน 33 คน

เป้าหมาย : ผู้เข้าอบรมที่ผ่านกระบวนการทำกลุ่มเรียนรู้ออนไลน์ มีความเข้าใจในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเด็ก นำวิธีการสื่อสารเชิงบวกไปใช้ในการดูแลเด็ก

รูปแบบการอบรม : กระบวนการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และฝึกปฏิบัติ ในรูปแบบ online group sharing ผ่านโปรแกรม zoom

ระยะเวลาในการจัดอบรม : เรียน 4 สัปดาห์ๆ ละ 2 วัน โดยแบ่งการเรียนเป็น 2 รอบ และติดตามผลต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

  • รอบวันอังคาร และ วันพุธ เวลา 13.00 – 15.00 น. เริ่มวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566
  • รอบวันพฤหัส และ วันศุกร์ เวลา 9.00 – 11.00 น. เริ่มวันพฤหัสที่ 13 กรกฎาคม 2566

จำนวนผู้เรียนทั้งสิ้น 33 คน แบ่งการเรียนเป็น 2 รอบ

  • การทำกลุ่มเรียนรู้รอบวันอังคาร และ วันพุธ จำนวนผู้เรียน 15 คน
    เริ่มเรียนวันที่ 11 ก.ค - 2 ส.ค. เวลา 13.00 - 15.00
  • การทำกลุ่มเรียนรู้รอบวันพฤหัส และ วันศุกร์ จำนวนผู้เรียน 18 คน
    เริ่มเรียนวันที่ 13 ก.ค - 4 ส.ค. เวลา 09.00 - 12.00

หัวข้อการเรียน

  • ครั้งที่ 1 เปิดกลุ่มเตรียมความพร้อม
  • ครั้งที่ 2 มีสติกับการพูดและการฟัง โดยใช้ I Message
  • ครั้งที่ 3 เรียนรู้วิธีการจัดการอารมณ์
  • ครั้งที่ 4 การให้คำชม
  • ครั้งที่ 5 การวางกติกา การสร้างการมีส่วนร่วม
  • ครั้งที่ 6 การให้รางวัล/การลงโทษ/ข้อจำกัดความยากในการปรับใช้กับเด็กจำนวนมาก
  • ครั้งที่ 7 สะท้อนการเรียนรู้และวางแผนการนำไปใช้

ตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนและหลังทำกิจกรรม จากผู้เรียนที่เข้าเรียนต่อเนื่อง

 

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพ

ผู้เรียนส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเอง และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับเด็กๆที่ดูแล โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ดังนี้

  • การจัดการอารมณ์ตัวเอง เป็นคนใจเย็นอยู่แล้วแต่เด็กๆก็ทักว่าวันนี้พ่ออารมณ์ดี
  • ได้ฝึกคำชม และฝึกสังเกตเด็กที่ละคน มีความละเอียดมากขึ้น
  • การฟังแบบไม่ตัดสินเด็ก ๆ
  • มีสติในการพูด คิดก่อนพูด
  • การเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ทำให้รู้สึกได้เติมพลังชีวิต
  • ใช้ภาษาฉัน การสื่อสารถึงความรู้สึก บอกความต้องการ ดีมากเลย และได้สังเกตตัวเอง จากสัตว์ 4 ทิศ จะลองใช้เทคนิคกาสร้างกติกา และปรับการลงโทษ ให้ไม่รุนแรงและไม่ใช้อารมณ์

ปัญหา อุปสรรค

  • ผู้เรียนเข้าสายเนื่องจากติดภารกิจ
  • ผู้เรียนฟังอย่างเดียว เข้ามาแล้วไม่สะดวกเปิดกล้อง เปิดไมค์ เพื่อแลกเปลี่ยน
  • ระหว่างเรียนต้องทำงานไปด้วย ทำให้การแลกเปลี่ยนไม่ต่อเนื่อง และขาดสมาธิในการเรียน

ข้อเสนอแนะ

  • ทางกรมแจ้งต้นสังกัดของพ่อบ้านเรื่องการอบรม เพื่อให้สามารถเข้าอบรมได้อย่างเต็มที่และมีสมาธิ
  • มีพื้นที่ให้พ่อบ้าน เพื่อนร่วมงานได้พูดคุยแลกเปลี่ยน
  • อยากเรียนรู้ วิธีการรับมือกับเด็กที่มีอารมณ์รุนแรง อารมณ์แปรปรวน ในเชิงจิตวิทยา
  • ควรมีคู่มือ ความรู้สำหรับการสื่อสารกับเด็กที่อยู่ในศูนย์ฝึก
  • มีการนัดพูดคุยติดตามผลการนำไปปรับใช้ทุกเดือน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

     

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและศูนย์ฝึก ที่พ่อบ้านแม่บ้านดูแล1,000 คนเด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับพ่อบ้านแม่บ้าน นำไปสู่การมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น และมีทัศนคติเชิงบวก
พ่อบ้านแม่บ้านพ่อบ้านแม่บ้านที่ดูแลเด็กในสถานพินิจ และศูนย์ฝึก ทั่วประเทศ33 คนพ่อบ้านแม่บ้านที่เข้าอบรมอย่างต่อเนื่องตลอดหลักสูตรสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการมีความพึงพอใจในชีวิต มีความสุขกับการทำงานมากขึ้น ส่งผลให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กที่ดูแล โดยเฉพาะในด้านความใกล้ชิดผูกพันระหว่างพ่อบ้านแม่บ้านกับเด็ก การมีกิจกรรมทำร่วมกันกับเด็กมากขึ้น และการสร้างกติการร่วมกัน เพื่อเป็นข้อตกลงของบ้าน
รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : ประชุมหารือแนวทางการจัดกิจกรรมร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

 ภาพ : ประชุมเตรียมความพร้อมทีมผู้สอน

 ภาพ : ระบบหลังบ้านในการจัดการข้อมูล

 ภาพ : ภาพบรรยากาศการเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom วันอังคาร-พุธ

 ภาพ : ภาพบรรยากาศการเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom วัน พฤหัสบดี-ศุกร์

 ภาพ : ประชุมนำเสนอผลการดำเนินโครงการกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 จัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการรูปแบบออนไลน์ตลอดหลักสูตร 7 ครั้ง สำหรับเสริมสร้างความรู้ และพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารเชิงบวกและการสร้างวินัยเชิงบวก ให้กับพ่อบ้านแม่บ้าน เพื่อใช้ในการดูแลเด็กในสถานพินิจ ค่าใช้จ่ายคนละ 3,750 บาท 120 450,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
450,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
45,000.00

ยอดระดมทุน
495,000.00