project สัตว์

สนับสนุนกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรัง เพื่อให้มีโอกาสได้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง

ระยะเวลาโครงการ ปัจจุบัน ถึง 29 ก.พ. 68 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา)

ยอดบริจาคขณะนี้

367,911 บาท

เป้าหมาย

451,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 82%
234 วัน จำนวนผู้บริจาค 598

ความคืบหน้าโครงการ

ดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ ปี 2565-66

27 มีนาคม 2024

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่วันที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม
1มิถุนายน 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานวิจัยปัญหาพิเศษ หัวข้อการสำรวจปรสิตในนกป่าที่ได้รับการช่วยเหลือ 
215 กรกฎาคม 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาการปรับสภาพนกในกรงเลี้ยงและการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในสัตว์ปีก
328 กรกฎาคม 2566บุคคลทั่วไปและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่Bird walk & Open house เยี่ยมชมกระบวนการฟื้นฟูนกป่าภายในหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ตั้งแต่การรับนกจนถึงการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ
43 สิงหาคม 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาและติดตามอาการนกกลุ่มนกเค้า
5กรกฎาคม - ธันวาคม 2566อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลสัตวแพทย์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

กิจกรรมภาคสนาม-ปฏิบัติการในกระบวนวิชา

  • ทักษะปฏิบัติทางคลินิกช้างและสัตว์ป่า เพื่อฝึกฝนทักษะปฏิบัติการทางคลินิกและการแก้ปัญหาสุขภาพนกป่า
  • ปัญหาคลินิกปฏิบัติช้างและสัตว์ป่า ศึกษาการจัดเลี้ยงนกป่าที่ได้รับการฟื้นฟู การวินิจฉัยและการสังเกตพฤติกรรมนกป่า ขั้นตอนการฟื้นฟูนกป่า และการจัดการนกธรรมชาติในภาคเหนือ
  • พฤติกรรมและการจับบังคับสัตว์สำหรับสัตวแพทย์ ศึกษาพฤติกรรมสัตว์ปีกและงู รวมทั้งการจับบังคับและการตรวจร่างกาย
  • การจับบังคับสัตว์สำหรับพยาบาลสัตว์ ศึกษาการจับบังคับนกป่าเพื่อให้การช่วยเหลือและการทำหัตถการทางคลินิก เช่น การเก็บตัวอย่างเลือด

การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือในปี 2566

ลำดับที่เดือนจำนวนนกที่รับเข้า (ตัว)จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ (ตัว)
1มกราคม181
2กุมภาพันธ์104
3มีนาคม141
4เมษายน281
5พฤษภาคม384
6มิถุนายน344
7กรกฎาคม334
8สิงหาคม1616
9กันยายน112
10ตุลาคม200
11พฤศจิกายน175
12ธันวาคม712
รวม
24654
จำนวนนกที่ได้รับการช่วยเหลือของปี 2565-2566 

สัดส่วนหลังการรักษานกจนสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ของปี 2565-2566 

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม


















อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรัง เพื่อให้มีโอกาสได้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัจจุบัน การดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บหรือตกรังมีข้อจำกัดอย่างมาก อาทิขาดแคลนโรงพยาบาลสัตว์ที่สามารถดูแลรักษานกป่าได้ เพราะส่วนมาก คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์มักจะไม่ค่อยรับนกป่ามารักษา เพราะต้องอาศัยทักษะการดูแลที่เฉพาะเจาะจง แตกต่างไปจากสัตว์กลุ่มอื่น เช่น แมว หรือสุนัข

ประชาชนที่พบเจอนกป่าที่บาดเจ็บหรือตกรังจึงขาดพื้นที่เพื่อส่งรักษา ประกอบกับการนำนกป่าไปรักษาในคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ทั่วไปยังสร้างค่าใช้จ่ายแก่ผู้ที่พบนกอีกด้วย บ่อยครั้งทำให้ผู้พบนกเลือกที่จะไม่ส่งรักษา  จึงทำให้นกที่บาดเจ็บจึงไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที เป็นผลทำให้นกป่าตายมากขึ้น

หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาเล็งเห็นถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของนกป่าจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงฤดูทำรังที่มักมีผู้พบเจอลูกนกตกรังอยู่เป็นประจำ จึงได้เปิดพื้นที่ขึ้นเพื่อรับนกป่ามาดูแลรักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย  โดยมีสัตวแพทย์และสัตวบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลนกป่าโดยเฉพาะเป็นผู้ดูแลรักษา และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปล่อยนกที่ได้รับมากลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง ให้นกเหล่านั้นได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างอิสระและเติมเต็มหน้าที่ในระบบนิเวศ

ก่อนหน้านี้มีเพียงคลินิกสัตว์ป่า ภายใต้การดูแลของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่สามารถรับดูแลนกป่าในจังหวัดเชียงใหม่ได้ ทำให้ยังไม่สามารถดูแลรักษานกป่าได้อย่างทั่วถึง การดำเนินงานของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาจึงเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานของคลินิกสัตว์ป่าในด้านการดูแลรักษานกป่าที่นำส่งโดยประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

เนื่องจากการดำเนินงานของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนามีลักษณะการดำเนินงานในระยะยาวตลอดทั้งปี จึงมีลักษณะการดำเนินงานดังนี้

1. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่พบเจอนกป่าบาดเจ็บหรือตกรังผ่านทางเพจ Facebook รวมถึงผลิตสื่อความรู้เพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับการดูแลรักษานกป่า

2. ในกรณีที่ผู้พบนกไม่สามารถดูแลนกตัวดังกล่าวได้เอง สามารถนำนกมาส่งให้กับหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้น  นกที่พิการถาวร ไม่มีโอกาสในการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และนกพิราบ (Feral Pigeon) ซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการกระจายโรคสู่นกตัวอื่นภายในหน่วยฟื้นฟู

3. นกทุกตัวที่เข้ามาในหน่วยฟื้นฟูจะได้รับการลงทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐานด้านการรักษา รวมถึงหลักฐานทางกฎหมายเพื่อแสดงต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

4. สัตวแพทย์และสัตวบาลทำหน้าที่ดูแลรักษานกทุกตัวอย่างดีที่สุดเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้อีกครั้ง

5. นำนกที่พร้อมปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปปล่อยในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของนกชนิดนั้นๆ

6. เปิดพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกงานของนักศึกษาสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

7. จัดกิจกรรมด้านการศึกษา อาทิ กิจกรรม open house เปิดพื้นที่หน่วยฟื้นฟูให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชมการดำเนินงาน และกิจกรรมออนไลน์ เช่น งานเสวนาเกี่ยวกับการดูแลนกป่าผ่านทาง Facebook ของหน่วยฟื้นฟู และชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา

ค่าใช้จ่ายในการรักษนกบาดเจ็บและลูกนกตกรัง

  • ค่ารักษานกบาดเจ็บ เฉลี่ย 3,000 บาท/ตัว
  • ลูกนกขนาดใหญ่ & เหยี่ยว ตกรัง เฉลี่ย 3,000 บาท/ตัว
  • ลูกนกขนาดเล็ก ตกรัง เฉลี้ย 2,000 บาท/ตัว

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะทำงาน กองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

นพ. รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ - ประธาน

พ.ญ. สุภารัชต์ กาญจนะวณิชย์ - รองประธาน

นายอายุวัต เจียรวัฒนกนก -  เลขาธิการ

นายธนา ศิริสัมพันธ์ -   รองเลขาธิการ

นางสาวสุฐิตา วรรณประภา -  รองเลขาธิการและบัญชี

สพ.ญ. ปิติกาญจน์ บำเพ็ญผล - กรรมการและสัตวแพทย์ประจำหน่วย

นายฌาน โทสินธิติ -   กรรมการและสัตวบาล

นายกฤษณศักดิ์ สิงห์คำ -  กรรมการ

นายพชร จันทร์ขจรชัย -  กรรมการ

นายวรพจน์ บุญความดี -  กรรมการ

นายพีรณัฐ วินิจมโนกุล -  กรรมการ

พ.ญ. สิริมนต์ ริ้วตระกูล -  กรรมการ

ดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ

5 กรกฎาคม 2023

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่วันที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม
1มิ.ย. - ก.ค. 65นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1 คน
ฝึกงานระยะสั้นในการปฏิบัติการการจัดจำแนกชนิดนก การจับบังคับ การวินิจฉัย การดูแล การเลี้ยงดู และการรักษา รวมถึงการออกภาคสนามเพื่อฝึกจำแนกชนิดนกป่า และการปล่อยนกกลับคืนสู่ธรรมชาติ
224 ต.ค. – 2 พ.ย. 65
นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 1 คน
ฝึกงานระยะสั้นในการปฏิบัติการการจัดจำแนกชนิดนก การจับบังคับ การวินิจฉัย การดูแล การเลี้ยงดู และการรักษา รวมถึงการออกภาคสนามเพื่อฝึกจำแนกชนิดนกป่า และการปล่อยนกกลับคืนสู่ธรรมชาติ
317 ธ.ค. 65นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 4คน
ฝึกจับบังคับนกและทำการเก็บตัวอย่างโลหิตเพื่อทำการศึกษาและ
การจำแนกเพศ และนำไปใช้ในรายวิชาเรียน
411 ก.พ. 66นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 60 คน
ศึกษาดูงานการดูแลนกป่าเพื่อฟื้นฟูก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ฝึกจับบังคับและการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น การให้ความรู้ในการช่วยเหลือ เลี้ยงดูและปฐมพยาบาลนกป่าเบื้องต้น
522 – 23 เม.ย. 66นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 6 คนกิจกรรมฝึกสตัฟฟ์นกเพื่อเป็นตัวอย่างการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงเป็นตัวต้นแบบสำหรับเลี้ยงดูลูกนกเพื่อป้องกันการฝังใจต่อมนุษย์

การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือ

ลำดับที่เดือนจำนวนนกที่รับเข้า(ตัว)จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ(ตัว)
1ปี 256519549 (14%)
2มกราคม 66182
3กุมภาพันธ์ 66123
4มีนาคม 66140
5เมษายน 66281

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

พีรณัฐ วินิจมโนกุล นักศึกษาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาสาสมัครของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา
“ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือนกป่าเบื้องต้น การดูแลนกป่า รวมถึงการจับบังคับนก การตรวจสุขภาพและวินิจฉัยโรคในนกเบื้องต้น ซึ่งเป็นความรู้และทักษะที่เพิ่มเติมมาจากการเรียนในมหาวิทยาลัย เนื่องจากได้ฝึกปฏิบัติจริงกับนกป่า และยังได้เป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือนกร่วมกับทางกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา และร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ สิ่งที่ประทับใจคือ ทางกองทุนฟื้นฟูนกป่าเปิดกว้างในการให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อเข้าไปขอฝึกงานหรือเรียนรู้ได้ตลอด ซึ่งทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหรือช่วยเหลือนกป่าได้อย่างถูกต้อง ”

พรกนก ธัญลักษณากุล นักศึกษาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาสาสมัครของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา
“ หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา เป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือนกในธรรมชาติที่บาดเจ็บและพลัดหลงมา อีกทั้งยังช่วยให้ประชาชนคนทั่วไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการฟื้นฟูนกตลอดจนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติอย่างต่อเนื่องผ่านการนำเสนอข้อมูลผ่านเพจกองทุนฯ อย่างเต็มที่ด้วยบุคลากรที่ใส่ใจในการอนุรักษ์และฟื้นฟูนกในพื้นที่และมีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน เมื่อมีการพบเจอนกบาดเจ็บหรือพลัดหลง การติดต่อเพื่อประสานการนำนกเข้ากระบวนการรักษาและฟื้นฟูก็เป็นไปด้วยดีและรวดเร็ว ”

ยศวดี กาญจนจิตต์ นักศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และตัวแทนชมรมเพื่อนสัตว์ป่า คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
“ ได้มาฝึกงานที่นี่ก็ได้ฝึกหลาย ๆ อย่างค่ะ ตั้งแต่ฝึกจับบังคับนก ได้รู้จักธรรมชาติของนกแต่ละชนิด ทั้งนิสัย อาหารที่กิน วิธีการดูแลก่อนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ”

รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : การปล่อยนกกะลิง จำนวน 2 ตัว ที่ได้รับการช่วยเหลือจากการถูกจับและลักลอบเลี้ยงอย่างผิดกฎหมาย โดยปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ณ ทุ่งกิ๊ก อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดลำพูน

 ภาพ : กิจกรรมศึกษาดูงานการดูแลนกป่าเพื่อฟื้นฟูก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ภาพ : การให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการร่วมอนุรักษ์นกป่า

 ภาพ : ให้การต้อนรับประธานสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางในการอนุรักษ์นกป่า

 ภาพ : ให้การต้อนรับผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางในการอนุรักษ์นกป่า

 ภาพ : ให้การต้อนรับอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อร่วมวางแผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปักษีวิทยา

 ภาพ : กิจกรรมการอบรมสตัฟฟ์นก โดยวิทยากรจากพิพิธภัณฑ์กายวิภาคและพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ภาพ : กิจกรรมให้ความรู้และปลูกฝังการอนุรักษ์นกและธรรมชาติในกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

 ภาพ : นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ฝึกจับบังคับนกและทำการเก็บตัวอย่างโลหิตเพื่อทำการศึกษาและการจำแนกเพศนก ด้วยวิธีทางพันธุศาสตร์โมเลกุล และนำไปใช้ในรายวิชาเรียน

 ภาพ : นกเค้าโมงที่ได้รับการช่วยเหลือในฤดูมรสุม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนกในวัยหัดบิน ซึ่งได้รับการอนุบาลก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ

 ภาพ : ลูกนกกาเหว่าที่ได้รับความช่วยเหลือ

 ภาพ : ลูกเป็ดแดงที่ได้รับความช่วยเหลือ

 ภาพ : นกเค้ากู่ (นกฮูก) ที่ได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่วัยลูกนก หลังจากได้รับการฟื้นฟูและปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ พบว่าสามารถใช้ชีวิตอยู่ในธรรมชาติได้

 ภาพ : นกโพระดกธรรมดาที่ได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่วัยลูกนก ได้รับการฟื้นฟูและปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ


ดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ ปี 2565-66

27 มีนาคม 2024

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่วันที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม
1มิถุนายน 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานวิจัยปัญหาพิเศษ หัวข้อการสำรวจปรสิตในนกป่าที่ได้รับการช่วยเหลือ 
215 กรกฎาคม 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาการปรับสภาพนกในกรงเลี้ยงและการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในสัตว์ปีก
328 กรกฎาคม 2566บุคคลทั่วไปและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่Bird walk & Open house เยี่ยมชมกระบวนการฟื้นฟูนกป่าภายในหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ตั้งแต่การรับนกจนถึงการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ
43 สิงหาคม 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาและติดตามอาการนกกลุ่มนกเค้า
5กรกฎาคม - ธันวาคม 2566อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลสัตวแพทย์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

กิจกรรมภาคสนาม-ปฏิบัติการในกระบวนวิชา

  • ทักษะปฏิบัติทางคลินิกช้างและสัตว์ป่า เพื่อฝึกฝนทักษะปฏิบัติการทางคลินิกและการแก้ปัญหาสุขภาพนกป่า
  • ปัญหาคลินิกปฏิบัติช้างและสัตว์ป่า ศึกษาการจัดเลี้ยงนกป่าที่ได้รับการฟื้นฟู การวินิจฉัยและการสังเกตพฤติกรรมนกป่า ขั้นตอนการฟื้นฟูนกป่า และการจัดการนกธรรมชาติในภาคเหนือ
  • พฤติกรรมและการจับบังคับสัตว์สำหรับสัตวแพทย์ ศึกษาพฤติกรรมสัตว์ปีกและงู รวมทั้งการจับบังคับและการตรวจร่างกาย
  • การจับบังคับสัตว์สำหรับพยาบาลสัตว์ ศึกษาการจับบังคับนกป่าเพื่อให้การช่วยเหลือและการทำหัตถการทางคลินิก เช่น การเก็บตัวอย่างเลือด

การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือในปี 2566

ลำดับที่เดือนจำนวนนกที่รับเข้า (ตัว)จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ (ตัว)
1มกราคม181
2กุมภาพันธ์104
3มีนาคม141
4เมษายน281
5พฤษภาคม384
6มิถุนายน344
7กรกฎาคม334
8สิงหาคม1616
9กันยายน112
10ตุลาคม200
11พฤศจิกายน175
12ธันวาคม712
รวม
24654
จำนวนนกที่ได้รับการช่วยเหลือของปี 2565-2566 

สัดส่วนหลังการรักษานกจนสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ของปี 2565-2566 

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม


















แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่ารักษาพยาบาล 12 เดือน 50,000.00
2 ค่ายา 12 เดือน 10,000.00
3 ค่าอาหารนก 12 เดือน 30,000.00
4 ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก 12 เดือน 5,000.00
5 ค่าตอบแทนสัตวแพทย์ รายปี 1 คน 60,000.00
6 ค่าตอบแทนสัตวบาล รายปี 1 คน 180,000.00
7 ค่าตอบแทนผู้จัดการหน่วยฟื้นฟูฯ 1 คน 60,000.00
8 ค่าเดินทาง สำหรับรับนก (ค่าน้ำมัน) 12 เดือน 15,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
410,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
41,000.00

ยอดระดมทุน
451,000.00

บริจาคให้
สนับสนุนกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน