project เด็กและเยาวชน กลุ่มคนเปราะบาง

Free Form School : ห้องเรียนนอกกรอบเพื่อให้เด็กมีทักษะการทำงานและวุฒิการศึกษา

ห้องเรียนนอกกรอบ : การศึกษาทางเลือกที่จะช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการศึกษาและเศรษฐกิจจำนวน 100 คนจนต้องหลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าห้องเรียนที่จะพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะการทำงานและได้รับวุฒิการศึกษาในระดับชั้นมัธยมต้น-ปลาย

ระยะเวลาโครงการ 01 มิ.ย. 2565 ถึง 31 ธ.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: กรุงเทพฯ

ยอดบริจาคขณะนี้

191,990 บาท

เป้าหมาย

2,090,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 9%
จำนวนผู้บริจาค 89

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

เด็กๆ เรียนรู้ทักษะผู้ประกอบการ 4 ฐานอาชีพ

12 กรกฎาคม 2023

ขั้นตอนการรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย

  1. ประสานงานผ่านมูลนิธิในพื้นที่ รวมถึงผู้ปกครอง ประธานและคณะกรรมการชุมชน เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมาย
  2. ประเมินความพร้อม ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายสำหรับกลุ่มเด็กที่เสี่ยงออกจากระบบและเด็กที่ออกจากระบบ
  3. เข้าสู่กระบวนการคัดกรอกเด็ก โดยแบ่งเป็น เขียว-เหลือง-แดง ตามความเร่งด่วนของการช่วยเหลือ
  4. มีกระบวนการแลกเปลี่ยนทำความรู้จัก และเล่าภาพรวมของกิจกรรม
  5. ให้กลุ่มเป้าหมายเลือกโปรแกรม Learn & Earn เรียนรู้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ 4 ฐานอาชีพได้ตามความสนใจ

โปรแกรมเรียน
พัฒนาทักษะวิชาการ โดยเน้นเนื้อหาการเรียนแบบบูรณาการให้เข้ากับชีวิตประจำวันและเหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งในการเรียนแต่ละสัปดาห์ มีจำนวนผู้เข้าร่วมการพัฒนาทักษะวิชาการทั้งหมด 20 คน/ครั้ง ปัจจุบันมีทั้งหมด 2 วิชา ได้แก่

  1. วิชาคณิตศาสตร์ 1 คอร์ส
  2. วิชาภาษาอังกฤษ 1 คอร์ส

การเรียนแบ่งเป็น วิชาคณิตศาสตร์ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ และวิชาภาษาอังกฤษ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

Learn & Earn เรียนรู้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ แยกออกเป็น 4 ฐานอาชีพ ทุกฐานอาชีพมีการ Workshop โดยผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าของกิจการในอาชีพนั้นๆ และทดลองปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นรวมถึงฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

  1. Sound Engineer เรียนทฤษฎี Stage Management Basic Sound System ฯลฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เข้าร่วมให้มีความรู้และเป็นมืออาชีพมากขึ้นจากการทดลองใช้เครื่องมือในการควบคุมระบบของเวที การประสานงาน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจริงในการทำงาน
  2. Canva & Communication เรียนรู้การผลิตสื่อออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโปสเตอร์หรือสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Canva , Adobe Lightroom ฯลฯ มีการเรียนเรื่องของการเขียนแคปชั่น ในการโพสในหัวข้อต่างๆ การออกแบบแผนการสื่อสารและได้ลองปฎิบัติจริง โดยสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook ส่วนตัว , เพจ คลองเตยดีจัง ,เพจ Music Sharing และInstagram คลองเตยดีจัง
  3. การจัดการขยะ เรียนรู้เรื่องกระบวนการการจัดการขยะ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการขยะภายในชุมชน การจัดการขยะในงานอีเว้นท์ต่างๆ รวมถึงการเชื่อมประสานการทำงานของเครือข่ายของแต่ละพื้นที่หรือหน่วยงานเพื่อให้การจัดการขยะเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะแล้วผู้เรียนยังได้ทดลองปฏิบัติจริงในกระบวนการแยกขยะ Recycle ไปจนถึงกระบวนการ Upcycle อีกด้วย
  4. เสื้อผ้ามือสอง เรียนรู้เรื่องการตลาด การทำระบบบัญชี รายรับ-รายจ่าย การทำระบบสต๊อกสินค้า ฯลฯ ช่วงระหว่าง Workshop ผู้เรียนได้ทดลองขายจริงผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่าน Facebook,Instagram หรือการขายผ่านช่องทางออฟไลน์ โดยการเปิดพื้นที่ขายในชุมชนคลองเตย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ได้มีการนำเด็ก เยาวชนกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและได้รับวุฒิการศึกษา โดยแบ่งเป็นระดับชั้น ดังนี้

  • ได้รับวุฒิการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น 9 คน
  • ได้รับวุฒิการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย 5 คน
  • กลับเข้าระบบการศึกษา 8 คน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชน
  • เด็กออกนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ชุมชนคลองเตย,คลองสามวา
  • เด็กเสี่ยงออกนอกระบบในพื้นที่คลองเตย,พระโขนง
20 คนกลุ่มเป้าหมายเห็นภาพการทำงานมากขึ้น สามารถคิดเป็นระบบ วางแผนการทำงาน สามารถสะท้อนการทำงานของตนเองและเพื่อนร่วมงานได้
รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : ตัวอย่างคลาสเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 

 ภาพ : ตัวอย่างคลาสเรียนภาษาอังกฤษ

 ภาพ : Canva & Communication

 ภาพ : Sound Engineer

 ภาพ : เสื้อผ้ามือสอง

 ภาพ : การจัดการขยะ

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ห้องเรียนนอกกรอบ : การศึกษาทางเลือกเที่จะช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการศึกษาและเศรษฐกิจจำนวน 100 คนจนต้องหลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าห้องเรียนที่จะพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะการทำงานและได้รับวุฒิการศึกษาในระดับชั้นมัธยมต้น-ปลาย

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

จากการทำงานด้านเด็กและเยาวชนในชุมชนคลองเตยตลอด 9 ปี พบว่า เด็ก เยาวชนมีแนวโน้มที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสูงขึ้น โดยผลการติดตามเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการของคลองเตยดีจัง จำนวน 50 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 มีเด็ก เยาวชน ที่สามารถศึกษาต่อได้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวนทั้งหมด 12 คน จบการศึกษาและมีแนวโน้มจะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยเพียง 2 คน คิดเป็นเพียง 1% ของจำนวนเด็กในโครงการทั้งหมด

ทางโครงการฯจึงพยายายามพัฒนากลไกสนับสนุนและออกแบบการจัดการศึกษาแนวใหม่ ซึ่งเป็นการศึกษาทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับพื้นที่และผู้เรียน เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ตอบโจทย์ปัญหาชีวิต และความสนใจของกลุ่มเด็กและเยาวชนที่กำลังเผชิญกับวิกฤติทางการศึกษา โดยใช้แนวทางการเรียนแบบ  “On The Job Learning” คือ   การบูรณาการการศึกษาให้สามารถเรียนวิชาการ การพัฒนาทักษะชีวิต  เรียนรู้ผ่านทำโครงงาน พร้อมกับการสร้างรายได้ในขณะที่เรียน  ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะที่สำคัญของกลุ่มเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและเป็นรากฐานในการประกอบอาชีพในอนาคต 

ผลลัพธ์ของโครงการ Free Form School 

    1. ตลอดหลักสูตรเด็ก 100 คน ได้รับการพัฒนาทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และนำไปประกอบอาชีพได้

    2. ทำให้เด็กที่ออกจากระบบการศึกษา กลับเข้ามาสู่การศึกษาที่ออกแบบตามความเหมาะสม และได้วุฒิศึกษาในระดับชั้น ม.ต้น และ ม.ปลาย

    3. ระหว่างที่เรียนมีรายได้ จากการทำงานผ่านกิจกรรม On The Job Learning

โครงสร้างหลักสูตร


กรอบแนวทางการดำเนินงานโครงการ 


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

A : การเตรียมพร้อมของเด็กและเยาวชน


ขั้นตอนที่ 1 : การรับสมัคร คัดกรองเด็กและเยาวชน โดยทีมงานร่วมกันประเมินความพร้อมของเด็ก เยาวชนในการเข้าร่วมโครงการ และออกแบบเครื่องมือ (Pre-Test Post-test) เพื่อใช้ประเมินทักษะและความเปลี่ยนแปลง

ขั้นตอนที่ 2 : ออกแบบ วางแผนการเรียน การทำงานรายสัปดาห์ร่วมกัน ระหว่างเด็ก เยาวชนและพี่เลี้ยง (Case Manager) เพื่อจัดทำแผนพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพเป็นรายคน และนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนพัฒนาทุก ๆ 3 เดือน

B :  การเตรียมความพร้อมของ Case Manager และอาสาสมัคร เพื่อวางกรอบการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานหลักและ Case manager

C : การเตรียมหลักสูตร: พัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองทั้งด้านทักษะ ความรู้ คุณค่า ทัศนคติ พฤติกรรมและคุณสมบัติที่พึงมีในการทำงานและจัดกระบวนการประเมินหลักสูตรทุก 3 เดือน เพื่อสะท้อนการทำงานภาพรวมของการดำเนินโครงการ

D : การเตรียมกลไกเพื่อหนุนเสริม : ค้นหาภาคีหุ้นส่วน (Boundary Partners) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งหน่วยงาน องค์กรภาครัฐเพื่อให้สามารถดำเนินตามกรอบของระบบการศึกษาได้ และยังคงออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการตามกรอบคิดของโครงการได้ ทำให้เด็กและเยาวชนมีทางเลือกการศึกษาที่ตอบโจทย์ปัญหาชีวิตและความสนใจ และ การเชื่อมโยงทรัพยากรจากภาคธุรกิจ เอกชน เพื่อเข้ามาหนุนเสริมการดำเนินกิจกรรมหรือการดำเนินโครงกา

E : สังเคราะห์ความรู้/ถอดบทเรียนการทำงาน เพื่อวางแนวทางการขยายงานไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มมากขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ

Music Sharing เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชุมชนคลองเตยและชุมชนชุมชนแออัดอื่น ๆ

เริ่มจากการเปิดรับบริจาคเครื่องดนตรีและสอนดนตรีให้กับเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาส  ปัจจุบันมีพื้นที่ดำเนินการหลักอยู่ในชุมชนคลองเตย จึงใช้ชื่อโครงการว่า “คลองเตยดีจัง” โดยใช้กระบวนการทางด้านดนตรีและศิลปะในการพัฒนาทักษะต่างๆให้กับเด็กและเยาวชน มาเป็นเวลากว่า 9 ปี เป็นการทำงานกับเด็กและเยาวชนที่หลากหลายวัย มีการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับช่วงวัยและลักษณะเด็กในพื้นที่นั้น ๆ 



เด็กๆ เรียนรู้ทักษะผู้ประกอบการ 4 ฐานอาชีพ

12 กรกฎาคม 2023

ขั้นตอนการรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย

  1. ประสานงานผ่านมูลนิธิในพื้นที่ รวมถึงผู้ปกครอง ประธานและคณะกรรมการชุมชน เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมาย
  2. ประเมินความพร้อม ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายสำหรับกลุ่มเด็กที่เสี่ยงออกจากระบบและเด็กที่ออกจากระบบ
  3. เข้าสู่กระบวนการคัดกรอกเด็ก โดยแบ่งเป็น เขียว-เหลือง-แดง ตามความเร่งด่วนของการช่วยเหลือ
  4. มีกระบวนการแลกเปลี่ยนทำความรู้จัก และเล่าภาพรวมของกิจกรรม
  5. ให้กลุ่มเป้าหมายเลือกโปรแกรม Learn & Earn เรียนรู้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ 4 ฐานอาชีพได้ตามความสนใจ

โปรแกรมเรียน
พัฒนาทักษะวิชาการ โดยเน้นเนื้อหาการเรียนแบบบูรณาการให้เข้ากับชีวิตประจำวันและเหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งในการเรียนแต่ละสัปดาห์ มีจำนวนผู้เข้าร่วมการพัฒนาทักษะวิชาการทั้งหมด 20 คน/ครั้ง ปัจจุบันมีทั้งหมด 2 วิชา ได้แก่

  1. วิชาคณิตศาสตร์ 1 คอร์ส
  2. วิชาภาษาอังกฤษ 1 คอร์ส

การเรียนแบ่งเป็น วิชาคณิตศาสตร์ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ และวิชาภาษาอังกฤษ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

Learn & Earn เรียนรู้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ แยกออกเป็น 4 ฐานอาชีพ ทุกฐานอาชีพมีการ Workshop โดยผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าของกิจการในอาชีพนั้นๆ และทดลองปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นรวมถึงฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

  1. Sound Engineer เรียนทฤษฎี Stage Management Basic Sound System ฯลฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เข้าร่วมให้มีความรู้และเป็นมืออาชีพมากขึ้นจากการทดลองใช้เครื่องมือในการควบคุมระบบของเวที การประสานงาน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจริงในการทำงาน
  2. Canva & Communication เรียนรู้การผลิตสื่อออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโปสเตอร์หรือสื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Canva , Adobe Lightroom ฯลฯ มีการเรียนเรื่องของการเขียนแคปชั่น ในการโพสในหัวข้อต่างๆ การออกแบบแผนการสื่อสารและได้ลองปฎิบัติจริง โดยสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook ส่วนตัว , เพจ คลองเตยดีจัง ,เพจ Music Sharing และInstagram คลองเตยดีจัง
  3. การจัดการขยะ เรียนรู้เรื่องกระบวนการการจัดการขยะ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการขยะภายในชุมชน การจัดการขยะในงานอีเว้นท์ต่างๆ รวมถึงการเชื่อมประสานการทำงานของเครือข่ายของแต่ละพื้นที่หรือหน่วยงานเพื่อให้การจัดการขยะเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะแล้วผู้เรียนยังได้ทดลองปฏิบัติจริงในกระบวนการแยกขยะ Recycle ไปจนถึงกระบวนการ Upcycle อีกด้วย
  4. เสื้อผ้ามือสอง เรียนรู้เรื่องการตลาด การทำระบบบัญชี รายรับ-รายจ่าย การทำระบบสต๊อกสินค้า ฯลฯ ช่วงระหว่าง Workshop ผู้เรียนได้ทดลองขายจริงผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่าน Facebook,Instagram หรือการขายผ่านช่องทางออฟไลน์ โดยการเปิดพื้นที่ขายในชุมชนคลองเตย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ได้มีการนำเด็ก เยาวชนกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและได้รับวุฒิการศึกษา โดยแบ่งเป็นระดับชั้น ดังนี้

  • ได้รับวุฒิการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น 9 คน
  • ได้รับวุฒิการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย 5 คน
  • กลับเข้าระบบการศึกษา 8 คน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชน
  • เด็กออกนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ชุมชนคลองเตย,คลองสามวา
  • เด็กเสี่ยงออกนอกระบบในพื้นที่คลองเตย,พระโขนง
20 คนกลุ่มเป้าหมายเห็นภาพการทำงานมากขึ้น สามารถคิดเป็นระบบ วางแผนการทำงาน สามารถสะท้อนการทำงานของตนเองและเพื่อนร่วมงานได้
รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : ตัวอย่างคลาสเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 

 ภาพ : ตัวอย่างคลาสเรียนภาษาอังกฤษ

 ภาพ : Canva & Communication

 ภาพ : Sound Engineer

 ภาพ : เสื้อผ้ามือสอง

 ภาพ : การจัดการขยะ

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1

ทุนการศึกษาห้องเรียนนอกกรอบ คนละ 19,000 บาท เด็กจะได้เข้าเรียนตามหลักสูตรที่ประกอบด้วย

  • การพัฒนา Life skill 1 คอร์ส
  • การพัฒนา Working Skill 1 คอร์ส
  • การฝึกอาชีพและรายได้ระหว่างเรียน (On the job learning) 
  • ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (Individual Support) จำนวน 4,000 บาท ตลอดโครงการ
  • เรียนรู้ทักษะวิชาการ ทั้งหมดเพื่อให้สามารถสอบเทียบเข้าจนได้วุฒิการศึกษา ม.ต้น หรือ ม.ปลาย
100 คน 1,900,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
1,900,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
190,000.00

ยอดระดมทุน
2,090,000.00