project กลุ่มคนเปราะบาง

ช่วยเหลือแม่และเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลกโดยไม่เลือกเชื้อชาติ สัญชาติ ความเชื่อ การศึกษาหรือฐานะทางสังคม ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้ส่งผลก่อให้เกิดความเจ็บปวดสูญเสียทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และทรัพย์สินแก่ผู้ถูกกระทำ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกระทำและต่อสังคมส่วนรวม แรงงานข้ามชาติที่อยู่ในอ.แม่สอดได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวไม่แตกต่างจากผู้หญิงชาติอื่นๆทั่วโลก โครงการปัจจัยพื้นฐานสำหรับแม่และเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เป็นการสนับสนุนเรื่องค่าอาหารและค่าอุปโภคบริโภคอื่นๆที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในขณะที่อาศัยอยู่ในบ้านพักชั่วคราวของ Freedom Restoration Project จนกว่าสถาพร่างกาย จิตใจได้รับการเยียวยารักษา ได้รับการเสริมพลังและพร้อมที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง

ระยะเวลาโครงการ 15 ส.ค. 2565 ถึง 15 ส.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ แม่สอด จ.ตาก

ยอดบริจาคขณะนี้

149,660 บาท

เป้าหมาย

396,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 38%
จำนวนผู้บริจาค 193

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

บ้าน FRP ช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ถูกความรุนแรงในครอบครัว เดือนธันวาคม 65 - กุมภาพันธ์ 66

9 กุมภาพันธ์ 2023

ทีมงาน FRP ได้เปิดระดมทุนผ่านทางเทใจตั้งวันที่ 15 สิงหาคม 2565 เป็นต้นมา โดยทาง FRP ได้เบิกเงินรอบแรก ในเดือนธันวาคม 2565 ไปจำนวนทั้งหมด 76,142 บาท โดยเงินที่เบิกไปเราได้นำไปซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคและของใช้จำเป็นส่วนตัวอื่นๆ เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอก สบู่ ผ้าอนามัย เสื้อชั้นใน กางเกงใน ผ้าอ้อมเด็กและนม เป็นต้น ทำให้บ้าน FRP ได้รับการสนับสนุนดูแลผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 21 คน แบ่งเป็นแม่ๆทั้งหมด 7 คนลูกๆ 14 คน ของเดือนธันวาคม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์

นอกจากนี้ บ้านพัก FRP ได้ฝึกให้แม่ๆได้ทำกิจกรรมต่างๆที่ทาง FRP จัดไว้ เช่น การพูดคุยเป็นรายบุคคลรายสัปดาห์ การประเมินความเครียด การทำ care paln เพื่อตั้งเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับแต่ละคน การทำกิจกรรมpeer support group ที่ละคนได้มีโอกาสเสริมพลังซึ่งกันและกัน มีโอกาสได้ระบายและรับฟังเพื่อนสมาชิกคนอื่นที่ประสบกับเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว มีโอกาสปลูกผักกินเอง เลี้ยงไก่ไข่ ไก่บ้าน นอกจากนั้นแม่ๆก็ได้เรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับการสร้างวินัยเชิงบวกในการเลี้ยงลูกเพื่อให้แม่ๆนำไปปรับใช้ เป็นต้น

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกตและจากการสอบถามแม่ๆ ทุกคนจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้รับประทานอาหารครบทั้งสามมื้อ อยู่บ้านพักFRP ไม่ต้องอดมื้อกินมื้อเหมือนตอนที่อยู่กับสามี ได้กินอาหารที่ตนเองชอบ มีประโยชน์และหลากหลาย มีของใช้ที่จำเป็น เวลาเจ็บป่วยมียารับประทานและได้ไปหาหมอ นอกจากกาารดูแลทางร่างกายแล้ว การดูแลทำให้แม่ๆและลูกๆมีความรู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกายและอารมณ์ สภาพจิตใจที่ย่ำแย่ ค่อยๆเริ่มดีขึ้น ความวิตกกังวลเริ่มน้อยลง ความมั่นใจและการเห็นคุณค่าในตัวเองเริ่มมีมากขึ้น

ภาพประกอบ


ภาพ: เจ้าหน้าที่ซื้ออาหารที่ตลาดสด


ภาพ: อาหาร และของใช้จำเป็น ที่จัดซื้อ


ภาพ: แบ่งปันอาหาร และของใช้ส่วนตัวให้แม่ๆและลูก ในบ้านพัก

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กที่ติดตามมาพร้อมกับคุณแม่ที่มาพักที่ shelter ของ FRP อายุ 7 เดือนถึง 12 ปี14 คน - เด็กๆมีอาหารครบห้าหมู่
- เด็กที่ถึงเกณฑ์เข้าโรงเรียนได้ไปโรงเรียนทั้งหมด 4 คน
- เข้าถึงการรักษาพยาบาลต่างๆ
- เด็กๆได้ทำกิจกรรมประจำวันที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูประบายสี การเล่นบำบัด หรือการพาไปทำกิจกรรมข้างนอกเช่น การไปว่ายน้ำ เป็นต้น
ผู้หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงที่ต้องการที่พักที่ปลอดภัยในอำเภอแม่สอด มาใช้บริการบ้านพักของ FRP 7 คน

- มีอาหารทาน
- มีของใช้ส่วนตัว
- ได้รับค่าประกันสุขภาพรายเดือนของแม่ๆแต่ละคน
- ทำกิจกรรม peer support group รายสัปดาห์ พูดคุยกับนักสังคมสงเคราะห์ ตัวต่อตัว สภาพจิตใจของแม่ๆดีขึ้น รู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ การเห็นคุณค่าและความเชื่อมั่นในตัวเองมีเพิ่มมากขึ้น จากตอนแรกที่เชื่อว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของผู้ถูกกระทำ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องความรุนแรงในครอบครัวมีเพิ่มมากขึ้น เรียนรู้ความรู้และทักษะการเลี้ยงลูกเชิงบวก เรียนรู้ทักษะการจัดการอารมณ์ของตนเองก่อนที่จะไปคุยกับลูก ทักษะการจัดการกับปัญหา (problem solving skills) เป็นต้น
- คุณแม่ 2 ท่านได้ออกจากบ้านพัก มีความมั่นใจ และสามารถดูแลตัวเอง

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลกโดยไม่เลือกเชื้อชาติ สัญชาติ ความเชื่อ การศึกษาหรือฐานะทางสังคม ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้ส่งผลก่อให้เกิดความเจ็บปวดสูญเสียทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และทรัพย์สินแก่ผู้ถูกกระทำ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกระทำและต่อสังคมส่วนรวม แรงงานข้ามชาติที่อยู่ในอ.แม่สอดได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวไม่แตกต่างจากผู้หญิงชาติอื่นๆทั่วโลก โครงการปัจจัยพื้นฐานสำหรับแม่และเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เป็นการสนับสนุนเรื่องค่าอาหารและค่าอุปโภคบริโภคอื่นๆที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในขณะที่อาศัยอยู่ในบ้านพักชั่วคราวของ Freedom Restoration Project จนกว่าสถาพร่างกาย จิตใจได้รับการเยียวยารักษา ได้รับการเสริมพลังและพร้อมที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

จากรายงานของ UN women (UN women, Global estimates 2020) ระบุว่า ในปี 2020 มีผู้หญิงและเด็กประมาณ 47,000 คนทั่วโลกถูกฆ่าโดยคู่ของตนหรือสมาชิกคนอื่นในครอบครัว และโดยเฉลี่ยแล้วจะมีผู้หญิงหรือเด็ก 1 คนถูกฆ่าโดยสมาชิกในครอบครัวของตนทุก ๆ 11 นาที UN     women ยังระบุอีกว่า เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนผู้หญิงและเด็กที่ถูกฆ่าโดยคู่ของตนหรือสมาชิกคนอื่นในครอบครัวมากที่สุด ในปี 2020 มี ผู้หญิงและเด็กในเอเชียถูกฆ่าโดยคู่ของตนเองหรือสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ทั้งหมด 18,000 คน

บริบทในพื้นที่ของอำเภอแม่สอด จังหวัดตากที่มีชายแดนติดกับประเทศเมียร์มาร์ ทำให้อำเภอแม่สอดมีประชากรแรงงานข้ามชาติค่อนข้างหนาแน่น จากสถิติสถานการณ์แรงงานจังหวัดตาก ไตรมาส 1 ปี 2565 ระบุว่ามีแรงงานข้ามชาติที่ได้รับใบอนุญาตทำงานทั้งหมด 54,047 (สำนักงานแรงงานจังหวัดตาก ไตรมาส 1, 2565) แล้วตัวเลขของแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีใบอนุญาตที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในอำเภอแม่สอดอีกกี่พันคน กี่หมื่นคน? ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post (BOHWONGPRASERT, 2020) กล่าวว่า อาจจะมีแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในแม่สอดประมาณ 30,000 คน

จากประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ของคุณเซี๊ยะ วัชราภรณ์ กู่แก้วเกษม ตลอดระยะเวลาสิบห้าปีที่ผ่านมา ผู้หญิงแรงงานข้ามชาติที่ถูกสามีทำร้ายจะมีข้อจำกัดหลายๆอย่างในการจะขอความช่วยเหลือหรือหนีออกมาจากความสัมพันธ์ที่รุนแรง เช่น ข้อจำกัดในเรื่องภาษา ข้อจำกัดความรู้กฎหมายพื้นฐาน ข้อจำกัดเรื่องข้อมูลว่าจะต้องไปขอความช่วยเหลือที่ไหนอย่างไร การไม่มีสถานะทางกฎหมายหากจะไปแจ้งความก็กลัวว่าจะถูกดำเนินคดีฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย หากจะไปพักที่บ้านพักเด็กและครอบครัวของภาครัฐก็มีความกังวลเรื่องการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ในบ้านพักเพราะผู้หญิงแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในสื่อสารภาษาไทยและเจ้าหน้าที่บ้านพักไม่สามารถสื่อสารภาษาพม่าได้ ไม่มีญาติหรือเพื่อนที่คอยให้ความช่วยเหลือ ผู้หญิงข้ามชาติที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ หากจะหนีออกมาจากความสัมพันธ์ที่รุนแรงก็กังวลว่าจะดูแลตัวเองและลูกๆอย่างไร ฉะนั้นผู้หญิงแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่จึงต้องอยู่ภาวะจำทนในความสัมพันธ์ที่รุนแรง

FRP ยังเชื่ออีกว่าการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความสูญสียและผลกระทบได้ดีที่สุด แต่ FRP ได้ประสบเห็นความสำคัญด้วยว่าการทำงานยุติความรุนแรงต้องทำควบคู่ไปกับการความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ช่วงโควิค 19 ที่ผ่านมาเราเห็นว่าความต้องการที่พักที่ปลอดภัยของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บ้านพักเด็กและครอบครัวของทั้งเอกชนหรือของภาครัฐในพื้นที่ ประสบข้อท้าทายในการรองรับความต้องการที่เกิดขึ้น ทาง FRP จึงได้จัดตั้งบ้านพักชั่วคราวสำหรับผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวขึ้นในเดือนเมษายน ปี 2020 ขึ้น หนึ่งเพื่อตอบสนองการขาดแคลนบ้านพักสำหรับผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว และสองเพื่อให้บ้านพักเป็นที่ที่ผู้หญิงและเด็กจะได้รับจการเยียวยาทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ได้รับการเสริมพลังใจ และฝึกทักษะอาชีพต่างๆเพื่อให้แม่และลูกๆสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง จากบทความของ (Davis & Srinivasan, 1995) การที่ผู้หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงมาอาศัยที่บ้านพักชั่วคราว นอกจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เล่าเรื่องราวของตนเองแล้วแต่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้รับการรับฟัง การยอมรับและได้รับการเชื่อในเรื่องที่เขาประสบมา shelter เป็นเหมือนพื้นที่ปลอดภัยที่เขาสามารถระบายความรู้สึกต่างๆและได้รับการปลอบประโลมใจ และทำให้ผู้หญิงหลายๆคนรู้สึกว่าเขาไม่ได้เผชิญปัญหาความรุนแรงเพียงผู้เดียว

FRP เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธารายบุคคล จากคนที่เชื่อในสิ่งที่ FRP ทำว่าจะเป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ไม่มากก็น้อย แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในบ้านพัก ในบางเดือนทาง FRP ต้องปฏิเสธแม่และลูกที่ต้องการที่พักที่ปลอดภัย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2022 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2022 เราได้ปฏิเสธผู้หญิงที่ถูกสามีทำร้ายไปทั้งหมด 16 คนด้วยกัน

FRP เชื่อว่าการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นหน้าที่ของทุกคน ของทุกภาคส่วนที่จะต้องร่วมมือกันไม่ยอมทน ไม่อนุญาตและยุติปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เราแต่ละคนทำในส่วนที่ตัวเองทำได้เพื่อสร้างวัฒนธรรม และทัศนคติที่ไม่ยอมรับความรุนแรงในทุกรูปแบบ


แหล่งอ้างอิง:

https://www.unodc.org/documents/data-and-analysis/statistics/crime/UN_BriefFem_251121.pdf

https://www.unwomen.org/en/what-we-do/ending-violence-against-women/facts-and-figures#notes

https://tak.mol.go.th/labor_statistics

Davis, L. V., & Srinivasan, M. (1995). Listening to the Voices of Battered Women: What Helps Them Escape Violence. Affilia, 10(1), 49–69.


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.จัดสรรเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนค่าอาหาร และปัจจัยพื้นฐานอื่นๆสำหรับแม่ๆและเด็กๆที่มาใช้บริการบ้านพักชั่วคราวของ FRP

เช่น ค่าข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำมัน ยารักษาโรค ค่าเล่าเรียนลูกๆ เครื่องนุ่มห่ม ผ้าอ้อมเด็ก และของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นอื่นๆ โดยค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนเหล่านี้จะตกอยู่ประมาณ 6,000-7,000 บาทต่อคุณแม่หนึ่งท่านกับลูกๆ2-4 คน

2.ผู้หญิงและเด็ก 15-20 คน (แม่ 5 คน เด็กๆประมาณ 10-15 คน) ที่จะได้รับผลประโยชน์จากเงินบริจาคนี้ทุกเดือน

3.ทำสรุปบัญชีค่าใช้จ่ายตามจริงเป็นรายเดือน รวมถึงจะมีรายงานผลการทำงานและผลกระทบทางสังคมเมื่อครบ 1 ปี 


ผู้รับผิดชอบโครงการ

Watcharapon (Sia) Kukaewkasem - Director of FRP

Anna Marie Smith - Outreach


บ้าน FRP ช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ถูกความรุนแรงในครอบครัว เดือนธันวาคม 65 - กุมภาพันธ์ 66

9 กุมภาพันธ์ 2023

ทีมงาน FRP ได้เปิดระดมทุนผ่านทางเทใจตั้งวันที่ 15 สิงหาคม 2565 เป็นต้นมา โดยทาง FRP ได้เบิกเงินรอบแรก ในเดือนธันวาคม 2565 ไปจำนวนทั้งหมด 76,142 บาท โดยเงินที่เบิกไปเราได้นำไปซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคและของใช้จำเป็นส่วนตัวอื่นๆ เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอก สบู่ ผ้าอนามัย เสื้อชั้นใน กางเกงใน ผ้าอ้อมเด็กและนม เป็นต้น ทำให้บ้าน FRP ได้รับการสนับสนุนดูแลผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 21 คน แบ่งเป็นแม่ๆทั้งหมด 7 คนลูกๆ 14 คน ของเดือนธันวาคม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์

นอกจากนี้ บ้านพัก FRP ได้ฝึกให้แม่ๆได้ทำกิจกรรมต่างๆที่ทาง FRP จัดไว้ เช่น การพูดคุยเป็นรายบุคคลรายสัปดาห์ การประเมินความเครียด การทำ care paln เพื่อตั้งเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับแต่ละคน การทำกิจกรรมpeer support group ที่ละคนได้มีโอกาสเสริมพลังซึ่งกันและกัน มีโอกาสได้ระบายและรับฟังเพื่อนสมาชิกคนอื่นที่ประสบกับเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว มีโอกาสปลูกผักกินเอง เลี้ยงไก่ไข่ ไก่บ้าน นอกจากนั้นแม่ๆก็ได้เรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับการสร้างวินัยเชิงบวกในการเลี้ยงลูกเพื่อให้แม่ๆนำไปปรับใช้ เป็นต้น

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกตและจากการสอบถามแม่ๆ ทุกคนจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้รับประทานอาหารครบทั้งสามมื้อ อยู่บ้านพักFRP ไม่ต้องอดมื้อกินมื้อเหมือนตอนที่อยู่กับสามี ได้กินอาหารที่ตนเองชอบ มีประโยชน์และหลากหลาย มีของใช้ที่จำเป็น เวลาเจ็บป่วยมียารับประทานและได้ไปหาหมอ นอกจากกาารดูแลทางร่างกายแล้ว การดูแลทำให้แม่ๆและลูกๆมีความรู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกายและอารมณ์ สภาพจิตใจที่ย่ำแย่ ค่อยๆเริ่มดีขึ้น ความวิตกกังวลเริ่มน้อยลง ความมั่นใจและการเห็นคุณค่าในตัวเองเริ่มมีมากขึ้น

ภาพประกอบ


ภาพ: เจ้าหน้าที่ซื้ออาหารที่ตลาดสด


ภาพ: อาหาร และของใช้จำเป็น ที่จัดซื้อ


ภาพ: แบ่งปันอาหาร และของใช้ส่วนตัวให้แม่ๆและลูก ในบ้านพัก

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กที่ติดตามมาพร้อมกับคุณแม่ที่มาพักที่ shelter ของ FRP อายุ 7 เดือนถึง 12 ปี14 คน - เด็กๆมีอาหารครบห้าหมู่
- เด็กที่ถึงเกณฑ์เข้าโรงเรียนได้ไปโรงเรียนทั้งหมด 4 คน
- เข้าถึงการรักษาพยาบาลต่างๆ
- เด็กๆได้ทำกิจกรรมประจำวันที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูประบายสี การเล่นบำบัด หรือการพาไปทำกิจกรรมข้างนอกเช่น การไปว่ายน้ำ เป็นต้น
ผู้หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงที่ต้องการที่พักที่ปลอดภัยในอำเภอแม่สอด มาใช้บริการบ้านพักของ FRP 7 คน

- มีอาหารทาน
- มีของใช้ส่วนตัว
- ได้รับค่าประกันสุขภาพรายเดือนของแม่ๆแต่ละคน
- ทำกิจกรรม peer support group รายสัปดาห์ พูดคุยกับนักสังคมสงเคราะห์ ตัวต่อตัว สภาพจิตใจของแม่ๆดีขึ้น รู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ การเห็นคุณค่าและความเชื่อมั่นในตัวเองมีเพิ่มมากขึ้น จากตอนแรกที่เชื่อว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของผู้ถูกกระทำ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องความรุนแรงในครอบครัวมีเพิ่มมากขึ้น เรียนรู้ความรู้และทักษะการเลี้ยงลูกเชิงบวก เรียนรู้ทักษะการจัดการอารมณ์ของตนเองก่อนที่จะไปคุยกับลูก ทักษะการจัดการกับปัญหา (problem solving skills) เป็นต้น
- คุณแม่ 2 ท่านได้ออกจากบ้านพัก มีความมั่นใจ และสามารถดูแลตัวเอง

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าอุปโภคบริโภคและความจำเป็นพื้นฐานอื่นๆสำหรับผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในบ้านพักชั่วคราวของ FRP (5 ครอบครัว x 6,000 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 12 เดือน = 360,000 บาท 5 ครอบครัว 360,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
360,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
36,000.00

ยอดระดมทุน
396,000.00