cover_1
รายเดือน

บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก

เด็กและเยาวชน
ผู้ป่วย ผู้พิการ

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการที่พักชั่วคราวให้กับครอบครัวผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤต500ครอบครัว

ระยะเวลาระดมทุน

30 มิ.ย. 2564 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) จ.กรุงเทพมหานครรพ.นพรัตนราชธานี จ.กรุงเทพมหานครรพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จ.กรุงเทพมหานครรพ.ศิริราช จ.กรุงเทพมหานคร

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ครอบครัวผู้ป่วยเด็ก
500ครอบครัว

ร่วมสนับสนุนพ่อแม่ 500 ครอบครัว ให้ได้อยู่ใกล้ชิดลูกที่ป่วยขั้นวิกฤตขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

เพื่อลดปัญหาการแอบหลับนอนตามพื้นที่สาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้ป่วยผู้ยากไร้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและไม่มีที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้น

ครอบครัวผู้ป่วยเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้านพักพิงฯ จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตลอดการเข้าพัก ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการเงินและค่าเดินทาง สามารถอยู่ใกล้ชิดกับลูกได้ในช่วงเวลาสำคัญ ลดความกังวลทั้งผู้ป่วยเด็กและครอบครัว

ปัญหาสังคม

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่า ไวรัส ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ยังคงดำเนินอยู่ คนไทยต้องใช้ชีวิตตามแบบฉบับวิถีใหม่ เว้นระยะห่างทางสังคม งดเดินทางข้ามจังหวัดโดยไม่จำเป็น

แต่อย่างไรก็ดี การเดินทางมารักษาอาการป่วยของผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง จากสถิติผู้เข้าพักตลอดปีพ.ศ. 2563 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 มีเข้ามาพักที่บ้านพักพิง มีครอบครัวผู้ป่วยเด็กมาเข้าพัก 4,468 คน

โดยเป็นผู้ปกครองเด็กที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด 4,113 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 92 จากผู้เข้าพักทั้งหมด (ค่าเฉลี่ย 1 คนพัก 7 คืน) แสดงให้เห็นว่าแม้ในสถานการณ์โควิด ก็ยังคงมีครอบครัวผู้ป่วยเด็กที่มาจากต่างจังหวัดเพื่อพาบุตรหลานมารักษาอยู่เป็นจำนวนมาก และยังประสบปัญหาในการหาที่พักในกรุงเทพฯ

ครอบครัวผู้ป่วยเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้านพักพิงฯ จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตลอดการเข้าพัก ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการเงินและค่าเดินทาง สามารถอยู่ใกล้ชิดกับลูกได้ในช่วงเวลาสำคัญ และยังช่วยให้กระบวนการรักษาครบวงจร

แพทย์เจ้าของไข้ผู้ป่วยเด็กสามารถทำการรักษาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง ลดความกังวลทั้งผู้ป่วยเด็กและครอบครัว อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการที่ครอบครัวผู้ป่วยเด็กต้องหาที่นอนในพื้นที่สาธารณะ (ริมทางเดินหรือเก้าอี้) ในโรงพยาบาล

การดำเนินงานบริการบ้านพักพิง

  1. บ้านพักพิงฯ จัดเตรียมสถานที่พักให้มีความพร้อม เพื่อรองรับครอบครัวผู้ป่วยเด็ก
  2. ครอบครัวที่มีผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤต (อายุไม่เกิน 18 ปี) มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
  3. แพทย์เจ้าของไข้ หรือ พยาบาล พิจารณาอนุมัติการเข้าพักตามคุณสมบัติของผู้เข้าพักที่ได้กำหนดไว้ และทำใบส่งตัวเพื่อลงทะเบียนเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ
  4. ผู้เข้าพักนำใบส่งตัวไปลงทะเบียนเพื่อเช็คอินเข้าพัก ณ เคาน์เตอร์ลงทะเบียนบ้านพักพิงฯ
  5. ผู้จัดการบ้านพักพิงฯ ทำการปฐมนิเทศผู้เข้าพัก พร้อมทั้งแจ้งกฎระเบียบการเข้าพักให้ผู้เข้าพักทราบ
  6. ผู้จัดการพาชมบ้านและแนะนำวิธีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน และพาผู้เข้าพักไปส่งที่ห้องพัก
  7. ผู้เข้าพักปฏิบัติตามระเบียบในการเข้าพักอย่างเคร่งครัด
  8. เมื่อบุตรหลานได้รับการรักษาและแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ผู้เข้าพักลงทะเบียนแจ้งออกจากบ้านพักพิงฯ

ภาคี

  1. ศูนย์ประสานงาน โรงพยาบาลที่เป็นมิตรกับเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
  2. กลุ่มงานพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  3. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  4. ฝ่ายกุมารบริรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช

วิธีการแก้ปัญหา

  1. บ้านพักพิงโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก เปิดให้บริการที่พักชั่วคราวโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แก่ครอบครัวผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤตตลอด 24 ชั่วโมง ในพื้นที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลศิริราช

  2. ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ได้รับการสนับสนุนจากการบริจาคขององค์กรต่าง ๆ และผู้มีจิตเมตตาในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กและครอบครัวให้ได้อยู่ใกล้ชิดกัน

แผนการดำเนินงาน

  1. คัดเลือกครอบครัวผู้ป่วยที่จะเข้าพักบ้านพักพิงฯ โดยจะพิจารณาให้ครอบครัวผู้ยากไร้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและไม่มีที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ

  2. หากเป็นครอบครัวของผู้ป่วยเด็กที่กำลังอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ก็จะได้รับพิจารณาเป็นลำดับแรก รองลงมาคือกลุ่มผู้ป่วยเด็กโรคร้ายแรงและโรคเรื้อรัง

  3. แพทย์เจ้าของไข้และพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติเข้าพัก

  4. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ เพื่อให้บริการครอบครัวผู้ป่วยเด็กในลำดับถัดไป

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายคืนละ 300 บาท (ช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วยเด็กได้ 1,000 คน พักเฉลี่ยคนละ 7 คืน) 2,100 บาท

- ค่าเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยของบ้าน รวมถึงประสานงานกับโรงพยาบาลตลอด 24ชม. ทุกวันไม่เว้นวันหยุด - ค่าอาหารสำหรับผู้เข้าพัก - ค่าเจ้าหน้าที่ทำความสะอาด - ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้าของครอบครัวผู้ป่วยเด็กบ้านพักพิงทั้ง 4 แห่ง ตลอดระยะเวลา 1 ปี(2566)

1,000คน2,100,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด2,100,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)210,000.00
ยอดระดมทุน
2,310,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ประเทศไทย ดำเนินกิจกรรม 3 โครงการหลัก ได้แก่ 1. สร้างและปรับปรุงห้องสันทนาการ (Ronald McDonald Playroom) เพื่อให้เด็กที่เจ็บป่วยหรือเด็กด้อยโอกาสในสถานดูแลเด็ก ได้ใช้ผ่อนคลายหรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ระหว่างเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ปัจจุบันมีห้องดังกล่าว ณ โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 40 ห้อง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 2. หน่วยรถทันตกรรมเคลื่อนที่โรนัลด์ แมคโดนัลด์ (Ronald McDonald Dental Care Unit) ภายใต้โครงการ “สุขภาพดีใต้ร่มพระบารมี” 3. บ้านพักพิงโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็กและครอบครัว (Ronald McDonald House) ปัจจุบันมีบ้านพักพิงฯ 4 แห่งในประเทศไทย ได้แก่ 1) บ้านพักพิงฯ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) 2) บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 3) บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 4) บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลศิริราช

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon