Donations for the project will มื้ออาหาร to ชุมชนเปราะบางทั่วประเทศ1,000,000มื้อ
โครงการ Food Rescue Program มีเป้าหมายเพื่อลดปัญหาอาหารส่วนเกินและความไม่มั่นคงทางอาหารในสังคมไทย โดยการนำอาหารส่วนเกินจากซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และโรงแรม ที่ยังรับประทานได้ มาแจกจ่ายให้กับชุมชนที่ขาดแคลน ผ่านเครือข่ายองค์กรการกุศลและธนาคารอาหาร วิธีการนี้ช่วยลดขยะอาหาร ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้กับผู้ที่ต้องการ กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ เด็ก นักเรียน ผู้สูงอายุ และครอบครัวที่มีรายได้น้อย โดยในเชิงปริมาณ โครงการนี้สามารถช่วยกระจายอาหารได้หลายล้านมื้อต่อปี และในเชิงคุณภาพสามารถช่วยพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้รับ พื้นที่ดำเนินการครอบคลุมทั่วประเทศไทย โดยเน้นในเขตเมืองที่มีปัญหาอาหารส่วนเกินสูงและชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด
ปัญหาหลักที่ Food Rescue Program ต้องการแก้ไข คือ ปัญหาอาหารส่วนเกินและความไม่มั่นคงทางอาหารซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ
โครงการนี้จึงมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาโดยเชื่อมต่อแหล่งอาหารส่วนเกินกับชุมชนที่ต้องการผ่านระบบกระจายอาหารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดขยะอาหารและช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้มากขึ้น ✅🌱
1. กู้ภัยอาหาร (Food Rescue) จากแหล่งที่มีอาหารส่วนเกิน เรารวบรวมอาหารที่ยังบริโภคได้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงงานผลิตอาหาร และร้านค้าปลีก เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับชุมชนที่ต้องการ แทนที่จะปล่อยให้อาหารเหล่านี้กลายเป็นขยะ
2.คัดแยกและตรวจสอบคุณภาพอาหาร อาหารที่ได้รับบริจาคจะถูกตรวจสอบคุณภาพโดยทีมงานและอาสาสมัคร เพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับการบริโภค
3.การกระจายอาหารสู่ชุมชนที่ต้องการ เราทำงานร่วมกับชุมชน ศูนย์พักพิง โรงเรียน วัด และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อกระจายอาหารไปยังผู้ที่ต้องการ เช่น เด็กยากไร้ ผู้สูงอายุ คนไร้บ้าน และครอบครัวที่มีรายได้น้อย
4.ให้ความรู้เรื่องโภชนาการและลดขยะอาหาร นอกจากการแจกจ่ายอาหาร เราจัดอบรมและเวิร์กชอปให้กับชุมชนและพันธมิตรเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอย่างมีคุณค่า และแนวทางลดขยะอาหารในชีวิตประจำวัน
แผนการดำเนินงานโครงการกู้ภัยอาหารและการกระจายอาหาร (มกราคม 2568 - ธันวาคม 2572) หลังจากได้รับเงินบริจาค โครงการกู้ภัยอาหารจะดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน โดยมีแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2568 ถึง 2572 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและกระจายอาหารไปยังชุมชนที่ขาดแคลน ดังนี้ ปีที่ 1 (2568): การปรับโครงสร้างและขยายเครือข่าย - ขยายความร่วมมือกับโรงแรม ห้างสรรพสินค้า และผู้ผลิตอาหาร - พัฒนาระบบโลจิสติกส์และคลังจัดเก็บอาหารเพื่อลดการสูญเสียระหว่างการขนส่ง ปีที่ 2-3 (2569-2570): การเพิ่มขีดความสามารถและการกระจายอาหาร - เพิ่มจำนวนจุดรับอาหารบริจาคและสร้างศูนย์กระจายอาหารในพื้นที่สำคัญ - ขยายการเข้าถึงชุมชนที่ขาดแคลนอาหารอย่างเป็นระบบ ปีที่ 4-5 (2571-2572): การสร้างความยั่งยืนและขยายผลกระทบ - พัฒนากลยุทธ์เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ผ่านโครงการของมูลนิธิ - ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการและการลดขยะอาหารในโรงเรียนและองค์กรต่าง ๆ - ประเมินผลโครงการและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อขยายผลในอนาคต ตลอดระยะเวลา 5 ปีนี้ โครงการจะสามารถช่วยลดปริมาณอาหารที่ถูกทิ้งอย่างสูญเปล่าและส่งมอบอาหารที่มีคุณค่าให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสังคมที่มีความมั่นคงทางอาหารและยั่งยืนในระยะยาว 🍲💙♻️
Item | Quantity | Amount (THB) |
---|---|---|
ค่าดำเนินการส่งต่ออาหาร (5 บาทต่อมื้อ) | 1,000,000มื้อ | 5,000,000.00 |
Total Amount | 5,000,000.00 | |
Taejai support fee (10%) | 500,000.00 |
มูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขยะอาหารและสร้างความเทียมในการเข้าถึงอาหารภายในประเทศไทย โดยการใช้ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเข้าไปรับอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) อาหารไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้แล้ว เช่นอาหารหน้าตาไม่สวย หรือใกล้ถึงวันควรบริโภค จากซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร หรือโรงงานผลิตอาหาร เพื่อนำไปส่งต่อให้กับชุมชนรายได้น้อยซึ่ง ซึ่งมีข้อจำกัดในการได้รับอาหารที่ดีและเพียงพอในแต่ละวันตั้งแต่ปี 2017 ถึงปัจจุบัน เราส่งต่อมื้ออาหารมากกว่า 34.9 ล้านมื้อ (เทียบเท่ากับอาหารส่วนเกินที่ได้รับการช่วยเหลือ 8.31 ล้านกิโลกรัม) ช่วยเหลือชุมชนมากกว่า 3,600 แห่ง และมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 21 ล้านกิโกกรับคาร์บอน
View ProfileCollaborate to fundraise in support of this project
Create a fundraising page