cover_1

Food Rescue Program: Deliver Happiness, End Hunger, Reduce Food Waste

Donations for the project will Delivering high-quality and nutritionally balanced meals. to Vulnerable communities in need of urgent assistance in four provinces of Thailan3,200community

project succeeded
Successfully
Jan 27, 2025

Project Updateส่งต่อความสุข สู้ความหิว ลดอาหารส่วนเกิน ปี 2567

Activity time

Jan 1, 2024 - Dec 15, 2024

โครงการ "ส่งต่อความสุข สู้ความหิว ลดอาหารส่วนเกิน" หรือ Food Rescue Program เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการลดปัญหาอาหารส่วนเกินและการจัดการกับปัญหาความหิวโหยในสังคม โดยดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งต่ออาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้กับกลุ่มเปราะบางและผู้ที่ต้องการในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ประจวบคีรีขันธ์, ภูเก็ต และเชียงใหม่

โครงการนี้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ดังนี้

  • เด็กและเยาวชนจากสถานศึกษาและสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ จำนวน 830 คน
  • ผู้พิการและผู้ป่วยจากศูนย์บริการและโรงพยาบาลจำนวน 2,014 คน
  • กลุ่มคนเปราะบาง เช่น คนไร้บ้านและชุมชนต่าง ๆ รวมถึงสถานพินิจ จำนวน 62,317 คน
  • ประชาชนทั่วไปจำนวน 5,674 คน 
  • ประชากรในพื้นที่ห่างไกล เช่น โรงเรียนในชนบทและมูลนิธิต่าง ๆ จำนวน 149 คน
  • โรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 2,018 คน
  • องค์กรหรือกลุ่มเฉพาะอื่น ๆ จำนวน 7,945 คน

กิจกรรมของโครงการประกอบด้วยการจัดการอาหารส่วนเกินอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งมอบอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละกลุ่ม และการสนับสนุนโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดี สิ่งที่ได้รับจากการดำเนินโครงการนี้คือการลดปริมาณอาหารส่วนเกินที่สูญเสียไปและการช่วยเหลือกลุ่มคนที่ขาดแคลนอาหารในสังคม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ในชุมชนเกี่ยวกับปัญหาอาหารส่วนเกิน

โครงการยังดำเนินต่อไปและมีแผนที่จะขยายกลุ่มผู้รับอาหารให้ครอบคลุมมากขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างผลกระทบที่โดยการพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรและเพิ่มจำนวนศูนย์กระจายอาหารในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเพียงพอ รวมถึงการสร้างระบบติดตามผลเพื่อประเมินความสำเร็จของโครงการอย่างต่อเนื่อง

ความประทับใจ


นางนุชจรี พันธ์โสม ประธานชุมชนวังทองหลาง
รู้สึกดีใจที่ได้เห็นองค์กรต่างๆ มองเห็นความสำคัญและให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการแบ่งปันและแสดงความเอื้ออาทรต่อกลุ่มเปราะบางในสังคม การทำจิตอาสาและการแบ่งปันเป็นสิ่งที่ดีงามเสมอ และการช่วยเหลือกันในสิ่งที่ทำได้ยิ่งส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในชุมชนและมูลนิธิ กิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง อีกทั้งยังสร้างความรักและความสามัคคีในทุกช่วงวัย ถือเป็นการทำสิ่งดีเพื่อสังคมที่ดีและยั่งยืน ขอให้ทำความดีต่อไปเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในสังคมต่อไปค่ะ


นางแก่นจันทร์ เมืองจันทร์  ประธานชุมชนบางสีทอง
ชุมชนรู้สึกดีใจและขอบคุณที่องค์กรให้ความสำคัญกับผู้ด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารได้ อีกทั้งยังช่วยให้ชุมชนได้มีอาหารอร่อยและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในแต่ละมื้อ ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ของชุมชนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังรู้สึกภูมิใจที่ได้เห็นองค์กรเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสในชุมชน กิจกรรมที่จัดขึ้นไม่เพียงแต่สร้างความอิ่มท้อง แต่ยังส่งเสริมความมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และเป็นกิจกรรมที่แบ่งปันซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน ชาวบ้านรู้สึกซาบซึ้งในความตั้งใจขององค์กรที่ไม่ทอดทิ้งสังคม และอยากให้องค์กรจัดกิจกรรมดีๆ เช่นนี้บ่อยขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้สัมผัสถึงรสชาติอาหารที่อร่อยและการดูแลที่อบอุ่น ขอบคุณองค์กรที่สร้างความสุขและประโยชน์ให้กับชุมชนอย่างแท้จริงค่ะ

Jan 22, 2024

Project Updateส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค ปี 2566

Activity time

Jan 22, 2024 - Jan 22, 2024

ครัวรักษ์อาหาร เพื่อช่วยเหลือชุมชน ทั้ง 4 ภูมิภาคในประเทศไทย รวมถึงชุมชนในจังหวัดอื่นๆ ที่มูลนิธิฯ มีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 47 จังหวัดอีกด้วย โดยมีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 3,200 ชุมชน ในระยะเวลา 7 เดือน ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2566 จนถึงเดือนธันวาคม 2566 ทั้งนี้ความช่วยเหลือในรูปแบบของการระดมทุนนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ทำให้ทางมูลนิธิฯ สามารถซื้อวัตถุดิบเพิ่มเติมในการประกอบอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการมากยิ่งขึ้น และทำให้กลุ่มผู้เปราะบางในชุมชนสามารถ เข้าถึงแหล่งอาหารที่หลากหลาย

  1. ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 300 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์
  2. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 300 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์
  3. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 150 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์
  4. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดภูเก็ต (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 150 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์

ตารางแสดงจำนวนมื้ออาหารที่ช่วยเหลือชุมชน 4 ภูมิภาคตลอดแคมเปญ

รายชื่อครัวรักษ์อาหาร มื้ออาหารรวม
ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล 43,970
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 10,147
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ 6,764
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดภูเก็ต 6,764
มื้ออาหารรวม 67,645

รวมทั้งสิ้นมูลนิธิฯ ได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค ทั้งหมด 67,645 มื้อ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

โครงการรักษ์อาหารในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
“ ในปัจจุบัน ชุมชนบ้านมั่นคงบางบอน 133 ได้เข้าร่วมเป็นผู้รับโครงการของมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (มูลนิธิเอสโอเอส) มาเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน โดยได้เข้าร่วมโครงการครัวรักษณ์อาหาร (Food Rescue Program) ซึ่งเป็นโครงการที่ทางมูลนิธิเอสโอเอสนำส่งอาหารและวัตถุดิบส่วนเกินที่กอบกู้มาให้แก่ชุมชนโดยตรงในอันดับแรก และเนื่องจากชุมชน บ้านมั่นคงบางบอน 133 มีความพร้อมและพื้นที่ในการทำครัว จึงได้ต่อยอดนำเอาวัตถุดิบดังกว่าวมาเป็นอีกหนึ่งโครงการของมูลนิธิฯ ซึ่งมีชื่อว่าโครงการครัวรักษ์อาหาร (Rescue Kitchen Program) โดยเป็นโครงการที่ทางมูลนิธิเอสโอเอสสนันสนุนวัตถุดิบส่วนเกิน ที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้กับครัวชุมชนได้ประกอบอาหาร หลังจากนั้นทางชุมชนจะทำการส่งต่อมื้ออาหารให้กับกลุ่มผู้เดือดร้อน และผู้ที่มีความต้องการด้านอาหารได้อิ่มท้อง ทีมแม่ครัวอิ่มบุญ อิ่มใจในการส่งต่ออาหาร การเข้าร่วมทั้งสองโครงการของมูลนิธิเอสโอเอส ซึ่งได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่กลุ่มเปราะบางถือเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนบ้านมั่นคงบางบอน 133 ที่ได้ร่วมทำงานกับมูลนิธิฯ ในการส่งต่อเรื่องราวดีๆ อีกทั้งชุมชนยังสามารถพัฒนาศักยภาพในการทำครัวชุมชนได้มากขึ้น ผู้คนในชุมชนต่างมีส่วนร่วมในการรังสรรค์เมนู อาหาร เกิดการพูดคุยร่วมกัน และเอื้ออาทรซึ่งกันและกันอีกด้วย ทั้งนี้ขอขอบคุณทางทีมมูลนิธิเอสโอเอส และผู้ใจบุญที่ร่วมบริจาควัตถุดิบ ให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้คนในชุมชนมีความเอื้ออาทรต่อกัน อยากให้มูลนิธิทำสิ่งนี้ต่อไปเรื่อยๆ และชุมชนจะพยายามสานต่อสิ่งดีๆ เหล่านี้ไว้ จะไม่ปล่อยมือให้คนในชุมชนต้องอดอยาก ” คุณรัชนีกร จันทร์บริบูรณ์ - ชุมชนบ้านมั่นคงบางบอน 133 เขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพฯ

โครงการรักษ์อาหารในประจวบคีรีขันธ์
“ ชุมชนบ้านแพรกตะคร้อได้เข้าร่วมเป็นผู้รับกับมูลนิธิเอสโอเอสสาขาหัวหินเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน ซึ่งเป็นชุมชนในพื้นที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ตั้งอยู่ติดชายแดนประเทศเมียนมาร์ ห่างจากตัวเมืองหัวหินประมาณ 50 กิโลเมตร และมีประชากรรวมทั้งสิ้น 700 คน โดยชุมชนบ้านแพรกตะคร้อมีความหลากหลายทางเชื้อ มีทั้งชาวไทย กระเหรี่ยง เมียนมาร์ และชาวมอญ โดยผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป บางครอบครัวยังมีรายได้ไม่เพียงพอในการบริโภค และเข้าถึงแหล่งอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารที่มีแหล่งโปรตีนแลคุณค่าทางอาหารสูงสำหรับเด็ก เช่น ข้าวสาร เนื้อสัตว์ และนม มูลนิธิเอสโอเอสหัวหินได้สนับสนับสนุนข้าวสาร นม วัตถุดิบสด และอาหารต่างๆ ที่จำเป็นให้แก่ชุมชน ส่งผลให้ผู้คนในชุมชนเข้าถึงอาหารที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทางชุมชนขอขอบคุณทางมูลนิธิเอสโอเอสที่ให้การช่วยเหลือตลอดมา และร่วมกันทำอาหารที่สด สะอาด อร่อย และสารอาหารครบถ้วน ทางชุนชนรู้สึกมีความสุขและอิ่มเอมทั้งทางกายและทางใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ ” คุณจิรวดี ชูยิ้ม - ชุมชนบ้านแพรกตะคร้อ ตำบลบึงนคร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โครงการรักษ์อาหารในเชียงใหม่
“ ทางชุมชนตำบลช้างเผือก ได้เข้าร่วมเป็นผู้รับกับมูลนิธิเอสโอเอสสาขาเชียงใหม่เป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี 2565 - ปัจจุบัน โดยทางชุมชนได้รับทั้งผักสด เบเกอร์รี และอาหารปรุงสุก ให้แก่กลุ่มผู้เปราะบาง ทางกลุ่มผู้เปราะบางได้รับประทานขนมอร่อยๆ และอาหารดีๆ ชาวชุมชนตำบลช้างเผือกขอขอบคุณมูลนิธิเอสโอเอสมากๆ ค่ะ ที่มามอบสิ่งดีๆ ให้กับพวกเรา และทำเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดมาค่ะ ” คุณสุกัญญา เพลาแก้ว - ชุนชนตำบลช้างเผือก ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

โครงการรักษ์อาหารในภูเก็ต
“ ชุมชนแหลมตุ๊กแกทำงานร่วมกับมูลนิธิเอสโอเอสสาขาภูเก็ตมาเป็นระยะเวลานานประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 - ปัจจุบัน โดยชุมชนอยากชอบแนวคิดและพันธกิจของมูลนิธิเอสโอเอสมากๆ อยากให้องค์กรอื่นๆ หันมาสนใจปัญหาเรื่องขยะอาหาร สิ่งแวดล้อม และความหิวโหยกันมากยิ่งขึ้น ชุมชนแหลมตุ๊กแกเป็นชุมชนรายได้น้อยที่บางครอบครัวไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ครบ 3 มื้อ และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารที่หลากหลายได้ การที่มูลนิธิเอสโอเอสได้ส่งต่ออาหารปรุงสุก วัตถุดิบ และแหล่งอาหารใหม่ๆ ทำให้กลุ่มเปราะบางในชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารที่หลากหลาย รวมถึงอาหารที่ไม่เคยรับประทานมากยิ่งขึ้น ทางชุมชนขอขอบคุณ ทางมูลนิธิเอสโอเอสที่ส่งมอบโอกาสดีๆ และหวังว่าจะพัฒนาโครงการดีๆ ให้สืบต่อไปนานๆ ค่ะ ” คุณจันทร์แรม ธรรมประเสริฐ - ชุมชนแหลมตุ๊กแก ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ อธิบาย จำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้น้อยที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดภูเก็ต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเชียงใหม่ และรวมไปถึงจังหวัดต่างๆ ที่ทางมูลนิธิฯ มีเครือข่ายความช่วยเหลือเป็นจำนวนมากกว่า 47 จังหวัดทั่วประเทศอีกด้วย               3,200 ชุมชน ช่วยเหลือชุมชนที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่าเส้นความยากจน ชุมชนแออัด ชุมชนที่ตกงานหรือชุมชนที่สูญเสียงานประจำ โดยเป็นส่วนหนึ่งในการลด รายจ่ายค่าอาหาร และช่วยเหลือชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารสดที่มีคุณภาพดีได้ ซึ่งการส่งอาหารปรุงสุกใหม่ผ่านโครงการของครัวรักษ์อาหารในช่วงเศรษฐกิจซบเซาในขณะนี้ และการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ยังสามารถเปิดโอกาสให้ชุมชนนำรายจ่ายค่าอาหารไปเป็นทุนในการต่อยอดหรือใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ได้อีกด้วย