Donations for the project will นำไปจัดหาอาหาร รักษาพยาบาล เสริมอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต คนไร้บ้าน คืนสู่สังคม to ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คนไร้บ้าน500คน
คนไร้บ้านที่ถูกหลงลืม... พวกเขาไม่เคยได้กินอาหารที่สดใหม่ ไม่เคยได้อาบน้ำให้ร่างกายสะอาด เข้าไม่ถึงบริการที่จะรักษาทั้งกายและใจ มูลนิธิอิสรชนตั้งเป้าช่วยเหลือคนไร้บ้านกว่า 500 คนให้กินอิ่ม มีสุขอนามัยทางร่างกาย ด้านจิตใจ พร้อม กลับคืนสู่สังคม ร่วมสร้างคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านดีขึ้นไปรับเรา
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
"สุขภาพเป็นเรื่องของชีวิต" ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับภาวะด้านต่างๆ 4 ด้าน คือ กาย จิต สังคม และจิตจากการนโยบายทำงานของมูลนิธิอิสรชนที่ดำเนินกิจกรรมกับคนไร้บ้าน หรือ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในพื้นที่รอบเขตสนามหลวง ตรอกสาเก ราชดำเนิน ทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูสภาพจิตใจและฟื้นฟูสภาพครอบครัว ชุมชน สังคมรอบข้าง ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลคนไร้บ้านร่วมกับ พม. และ สสส. พบว่า จำนวนคนบ้านในประเทศไทยที่นับได้ เมื่อเดือนพ.ค. 2023 มีจำนวนทั้งหมด 2,499 คน ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร 1,271 คน คิดเป็น 50.86% สัดส่วนอายุที่พบมากที่สุดเป็นวัยกลางคนอายุ 40-59 ปี 56.8% รองลงมาเป็นวัยสูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป 22.1% วัยแรงงาน อายุ 19-39 ปี 20% ทั้งยังพบคนไร้บ้านหน้าใหม่ถึง 39 % นอกจากนี้ยังพบคนไร้บ้านมีปัญหาติดสุรา 18.1% ปัญหาสุขภาพจิต 17.9% อีกทั้งมีผู้สูงอายุไร้บ้านเพิ่มสูงขึ้น 22% ผลการสำรวจสะท้อนถึงสัดส่วนคนไร้บ้านสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งมีคนไร้บ้านหน้าใหม่เพิ่ม จากการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลครั้งนี้ ทำให้ทางมูลนิธิฯ ออกแบบการทำงาน กิจกรรมและส่งเสริมนโยบายด้านคนไร้บ้านสูงอายุ สุขภาพกายและจิตใจ สร้างพื้นที่ชุมชนการดูแลกันในกลุ่มคนไร้บ้าน เพื่อช่วยเหลือกัน และส่งเสริมให้คนไร้บ้านดูแลตนเองได้ ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ทำงานได้ กลับคืนสู่สังคมหรือเข้าถึงสิทธิสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ เป็นการลงลึกการทำงานเดิมและขยายเนื้อหาการทำงานใหม่ ให้คุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านดีขึ้น
ด้านโภชนาการ
พัฒนากิจกรรมปันอิ่ม ซึ่งใน 1 เดือนแจกอาหารให้คนไร้บ้าน จำนวนประมาณ 2,500 ชุด ประกอบด้วย ข้าว น้ำดื่ม ขนม โดยดำเนินการแจกอาหารทุกวันอังคารเวลา 17.00 น. บริเวณตรอกสาเก ราชดำเนิน เขตพระนคร โดยกำหนดอาหารที่ให้ เป็นอาหารผ่านการปรุงสุก สะอาด ถูกหลักอนามัย นอกจากนี้ เรายังพัฒนาโครงการให้จัดทำอาหารที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 5 หมู่ ถูกหลักโภชนาการ อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน พร้อมทั้งสร้างอาสาสมัครคนไร้บ้าน ในการประกอบอาหารปรุงสุกสะอาดตรงนั้น
ด้านสุขอนามัยทางร่างกาย
ทางมูลนิธิเห็นความสำคัญในการทำความสะอาดร่างกายของคนไร้บ้าน บางคนไม่สามารถเข้าถึงห้องน้ำ การใช้น้ำสะอาดในการชำระร่างกายได้ ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากการใช้น้ำไม่สะอาด และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลความสะอาดร่างกายตนเองและพื้นที่สาธารณะร่วมกัน จึงพัฒนากิจกรรม “1 บัตร 1 สะอาดเพื่อสุขภาวะที่ดีทางร่างกายและพื้นที่สาธารณะ” ให้คนไร้บ้าน จำนวน 50 ใบ/สัปดาห์
ด้านจิตใจ
คัดกรองคนไร้บ้านที่มีอาการจิตเวชเบื้องต้น หาอาสาสมัครดูแลเคสและส่งต่อการรักษาเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข ประสานงานให้คนไร้บ้านที่มีอาการจิตเวชเข้าถึงสิทธิสวัสดิการการรักษาของรัฐ จนสามารถคืนสู่สังคมได้ โดยระหว่างทางมีการเก็บข้อมูล จัดการความรู้ เพื่อใช้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ด้านสังคม
การดูแลกันและกัน ลงพื้นที่พูดคุย สร้างความสัมพันธ์ ทำกิจกรรมกับคนไร้บ้าน โดยเฉพาะคนไร้บ้านสูงอายุและผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ วัยปลายการทำงานที่มาเป็นคนไร้บ้าน เพื่อดูแลสุขภาวะทางกายและจิตใจ หรือชวนคิดวางแผนสุขภาพล่วงหน้า รู้จักสิทธิสวัสดิการที่ควรจะได้รับ โดยลงพื้นที่พูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายทุกอังคารที่ 2 และ 4 ของเดือน ครั้งละ 2 ชั่วโมง จำนวน 10 คน
ระดมทุนเป็นค่าอาหารและค่าจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับคนไร้บ้าน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูสภาพจิตใจ ทำงานได้ กลับคืนสู่สังคม หรือเข้าถึงสิทธิสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ
กิจกรรมปันอิ่ม (food for friends) : ด้านโภชนาการ ทุกวันอังคารเวลา 17.00 น เราแบ่งปัน ประมาณ 300 ชุด (ข้าว น้ำดื่ม ขนม) เฉลี่ยชุดละ 50 บาท เพื่อมอบอาหาร ที่ปรุงสุก สะอาด ถูกหลักอนามัย พร้อมทำจุดสวัสดิการในการเชื่อมเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมจัดสวัสดิการ เช่น รักษาพยาบาล จัดหางาน เป็นต้น และบางครั้ง นอกจากนี้มีการรับบริจาคในส่วน นมกล่อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ณ จุดนี้ด้วย ครั้งละประมาณ 500 ชิ้น พื้นที่ดำเนินการ บริเวณตรอกสาเก ราชดำเนิน เขตพระนคร
กิจกรรมปันคูปอง 1 บัตร 1 สะอาด เพื่อสุขภาวะที่ดี : ด้านสุขอนามัยทางร่างกาย เราทำโครงการคูปองอาบน้ำเพื่อคนไร้บ้าน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการใช้น้ำที่ไม่สะอาด และมีสุขภาวะที่ดี คูปองใบละ 20 บาทนี้เพื่อออกค่าห้องอาบน้ำให้คนไร้บ้าน
กิจกรรมปันบำบัดสุขภาวะกายและจิต ผู้สูงอายุไร้บ้าน : ด้านจิตใจ และ ด้านสังคม การดูแลกันและกัน ลงพื้นที่พูดคุย สร้างความสัมพันธ์ ทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุและผู้เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หรือวัยปลายการทำงาน ที่ตกมาเป็นคนไร้บ้านคือ อายุ 40 ปีขึ้นไป และกิจกรรมบำบัดผู้ป่วยทางจิต (การพูดคุยทีละเคส) เพื่อดูแลสุขภาวะทางกายและจิตใจ หรือฝึกคิดวางแผนสุขภาพล่วงหน้า รู้จักสิทธิสวัสดิการการรักษาที่ควรจะได้รับ โดยกิจกรรมกับผู้สูงอายุ จะจัดขึ้นทุกอังคารที่ 2 และ 4 ของเดือน ครั้งละ 2 ชั่วโมง จำนวน 10 คน (อาจจะขยายไปเรื่อย ๆ ถ้ามีคนไร้บ้านสนใจ)
กิจกรรมปันอาชีพ : ด้านสวัสดิการรส่งเสริมอาชีพ โดยการจ้างคนไร้บ้าน ที่เริ่มการพัฒนาทำความสะอาดบริเวณจุดสวีสดิการและรอบริมคลองหลอด ที่มีคนนอนจำนวนมาก เพื่อลดความสกปรก กลิ่นไม่พึ่งประสงค์ และสร้างความรับผิดชอบให้ดูแลพื้นที่สาธารณะร่วมกัน และเขาก็จะมีรายได้เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและส่งต่อ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 5 คน ขึ้นไป หรือ ใครสนใจอยากมาสอนอาชีพ ก็จะให้คำปรึกษาและแนะนำ อาจมีทุนด้านอาชีพช่วยเหลือเบื้องต้น ซึ่งหลาย ๆ หน่วยงานเข้ามาเป็นเครือข่ายมีส่วนร่วม เช่น บ้านมิตรไมตรี อาชีพที่เริ่มพัฒนาตนเอง เช่น ยาม ขายของเก่า เก็บขยะ ขายอาหาร รับจ้างทั่วไป เป็นต้น
การฟื้นฟูผู้ป่วยทางจิตคนไร้บ้าน และการสร้างอาสาสมัครคนไร้บ้านในการดูแลพื้นที่ และเพื่อนคนไร้บ้านที่เจ็บป่วย
Item | Quantity | Amount (THB) |
---|---|---|
ค่าอาหาร - 300 ชุดต่อครั้ง (ข้าว น้ำดื่ม ขนม) - 1 ชุด ราคา 50 บาท | 50สัปดาห์ | 750,000.00 |
ค่าชุดยังชีพ - 200 ชุดต่อเดือน (นมกล่อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) - 1 ชุด ราคา 99 บาท | 50สัปดาห์ | 990,000.00 |
กิจกรรมปันคูปอง 1 บัตร 1 สะอาด เพื่อสุขภาวะที่ดี ค่าห้องน้ำ (อาบน้ำ) 20 บาท x 100 คูปอง (ต่อเดือน) | 12เดือน | 24,000.00 |
กิจกรรมดำเนินการ ค่าประสานงานและค่ารถ ส่งต่อ พารักษาพยาบาล ทำบัตรประชาชน ทำเบี้ยต่าง ๆ เดือนละ 10,000 บาท | 12เดือน | 120,000.00 |
กิจกรรมปันบำบัดสุขภาวะกายและจิต ผู้สูงอายุไร้บ้าน ค่าทำกิจกรรมกระบวนการ ฟื้นฟูคนไร้บ้านที่ป่วยทางจิตและสูงอายุ 20 ครั้ง ครั้งละ 5,000 | 20ครั้ง | 100,000.00 |
Total Amount | 1,984,000.00 | |
Taejai support fee (10%) | 198,400.00 |
The Issarachon Foundation is an organization that works with the less fortunate, living in the public or ‘homeless’ individuals in the society. The group started in the form of volunteer work since 1996 and in the year 2005 became registered as the VACA and then later renamed at Issarachon Foundation in 18 October 2012. The organization has over a decade experience and commitment to improving the quality of life of those living in the public. The foundation focuses on the individual affected and aims to rehabilitate the feelings of families, communities and surrounding environment. Members of the foundation visit affected ‘homeless’ individuals and families, encourage them to discuss and talk their feelings and work to find reasons for leaving home, to find ways to improve their quality of life and also the work of the organization. The main initiatives under this area are: support to the social sector; support to academic support services; and support of organization development.
View ProfileCollaborate to fundraise in support of this project
Create a fundraising page