Donations for the project will นำไปสร้างศาลาเล็ก ๆ ในสวน ไว้พักแดด หลบฝน เก็บอุปกรณ์ และทำกิจกรรมอื่น ๆ to สวนของโครงการปลูกปันอิ่ม1หลัง
“เปิดสวนว่าง สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง” โดยการใช้กิจกรรมการปลูกผักทำสวนเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ทักษะชีวิต พร้อมผลิตวัตถุดิบในการทำอาหารเพื่อมาแบ่งปันให้เพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ
เปิดสวนว่าง สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง
โควิดส่งผลให้คนตกงานเพิ่มขึ้น คนออกมาอยู่ถนนมากขึ้น ระบบการจ้างงานมีเงื่อนไข เช่น ต้องมีบัตรฉีดวัคซีน ต้องตรวจ ATK แต่คนไร้บ้านส่วนใหญ่ไม่มีบัตรประชาชน สูญหาย ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะตรวจ ATK ได้ทุกสัปดาห์
โครงการปลูกปันอิ่ม จึงกลับมาทำอีกครั้ง เพื่อมีพื้นที่ให้คนเร่ร่อน ไร้บ้านได้พัฒนาตัวเอง มีคุณค่า และได้รู้สึกแบ่งปันสู่ผู้อื่น เป็นแหล่งเรียนรู้ มีรายได้เล็กๆ เมื่อเขามาทำสวน เป็นแหล่งอาหารส่งต่อ
ตลอดเวลาคนเหล่านี้ถูกลดทอนคุณค่า แล้วมากดทับตนเอง วันหนึ่งมีพื้นที่ให้เขาได้เรียนรู้ได้พัฒนา ได้แสดงความสามารถ ความภูมิใจเขาได้เกิดขึ้น ซึ่งการฟื้นฟูต้องใช้เวลา
ซึ่งพื้นที่ปลูกตอนนี้เป็นสวนโล่งเลย ไม่มีที่พักแดด หลบฝน และเก็บอุปกรณ์ โครงการจึงอยากทำเพิงเล็กๆ ที่เขาสามารถนั่งพัก เป็นเหมือนศาลาเล็กๆ ไว้ทำกิจกรรมทุกอย่างตรงนั้น จึงมาเปิดระดมทุนเพื่อทำส่วนนี้เพิ่ม
จากปลูกปันอิ่มครั้งแรก คนไร้บ้านหลายคนให้ความสนใจ บางคนตั้งตารอจะมาสวน
สนุกดีแต่เหนื่อยมาก ได้ลองทำ เพราะไม่เคยได้ทำมาก่อน ได้ออกกำลังกาย สนุกดีนะ
เท่ห์ คนเร่ร่อนไร้บ้าน มีอาชีพนวดในถนน ช่วงโควิดระบาดได้มาทำสวนกับเรา เพราะไม่มีรายได้ รู้สึกว่าได้ใช้แรงมาก แต่ทำได้ไม่มาก เพราะแขนไม่ค่อยดี เขาแรงไม่เยอะเพราะแขนมีเหล็ก แต่ภูมิใจที่ตัวเองได้ทำประโยชน์
ประเด็นที่มูลนิธิอิสรชนสนใจคือการสร้างกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ไร้บ้าน ซึ่งหากมองโดยผิวเผินแล้วคนกลุ่มนี้อาจไม่ได้เป็นปัญหากับสังคมโดยชัดเจน หากในทางกลับกันพวกเขาคือกลุ่มคนที่ถูกกระทำ ทั้งการดูถูก การถูกรังเกียจ กระทั่งถึงการที่พวกเขาเข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการในหลายๆด้านทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาเองที่ย่ำแย่ แต่หากมองในเชิงโครงสร้างของสังคมโดยรวมอาจพบว่า ปัญหาคนเร่ร่อน ไร้บ้าน คือผลสะท้อนของปัญหาที่หลากหลาย เช่น การเข้าไม่ถึงการศึกษา ความยากจน การไม่มีงานทำ ฯลฯ ซึ่งแม้มีการพยายามจัดการเรื่องต่างๆเหล่านนี้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างครอบคลุมและเข้มแข็งเพียงพอให้คนทุกคนในสังคมสามารถอยู่ได้อย่างเท่าเทียม มีคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงพอ
ในขณะเดียวกันในการที่คนหนึ่งคนจะต้องออกมาเป็นคนเร่ร่อน สังคมก็ต้องสูญเสีย “ผลิตภาพ” หมายถึงกำลังการผลิตที่จะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกลุ่มเล็กๆไปด้วย ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนเร่ร่อน นอกจากจะเป็นการทำงานในเชิงสิทธิมนุษยชน ผ่านการสร้างช่วยเหลือดูแลคนแต่ละคนเพื่อให้เขาสามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการพร้อมทั้งเพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะเคารพตัวเองพร้อมที่จะพัฒนาตนเองในฐานะมนุษย์แล้ว ยังเป็นการสร้างผลิตภาพที่สำคัญแม้จะเป็นส่วนเล็กๆให้กับสังคมอีกทางหนึ่งด้วยเช้ากัน
ประเภท | จำนวน | รายละเอียด | เปลี่ยนแปลง |
กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน | 5-8 คน | อยู่ในช่วงพัฒนาตัวเองในถนน รู้สึกไม่มีคุณค่าในตัวเอง | มีรายได้ รู้สึกมีคุณคต่าในตัวเอง ได้ทำเพื่อผู้อื่น |
กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน | 300-500 คน | กินอาหารในถังขยะ ต่อแถวรอรับอาหาร เป็นที่รังเกียจของสังคม หรือถูกมองในด้านลบ | มีอาหารที่ 1 มื้อ 1 สะอาด ได้เริ่มต้นการฟื้นฟู พัฒนาตนเองจากการมารับอาหารและได้พูดคุยกับอาสาสมัคร |
ระดมทุนเพื่อสร้างศาลาเล็ก ๆ ในสวน ไว้พักแดด หลบฝน เก็บอุปกรณ์ และทำกิจกรรมอื่น ๆ
ชักชวนเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ซึ่งได้รับการพูดคุยพัฒนาโดยมูลนิอิสรชนในเบื้องต้นแล้วจนสมารถเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิฯ ให้เข้าร่วมโครงการฯ
ศึกษาธรรมชาติของพืชผักชนิดต่างๆเพื่อคัดเลือกพืชผักที่สามารถนำมาใช้ทำอาหารเลี้ยงเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่จะปลูก โดยเน้นคัดเลือกผักระยะเวลาสั้นและเก็บเกี่ยวได้เร็วในช่วงประมาณ 45 วัน พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม
พัฒนาพื้นที่เหลือว่างในสวนมะพร้าวให้เป็นพื้นที่ปลูกพืชผักแบบผสมผสาน ตามแผนที่ออกแบบไว้
แบ่งทีมอาสาสมัครเพื่อจัดการดูแลพื้นที่สวน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
เก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้รับ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสนับสนุนกิจกรรมเลี้ยงอาหารผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ซึ่งมูลนิธิอิสรชนมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ทุกวันอังคารในพื้นที่สนามหลวง
ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน ที่เข้ามารับแจกอาหารได้ทราบว่าเป็นผลผลิตจากการทำงานของเพื่อนของเขาเอง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ เป็นกำลังใจในการพัฒนาตนเองและการแบ่งปันแก่กัน
จัดการผลผลิตบางส่วนที่เหลือออกจำหน่ายเพื่อจัดสรรเป็นรายได้เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ที่เข้าร่วมโครงการฯ และใช้เป็นทุนจัดซื้ออุปกรณ์ของใช้จำเป็นเพื่อแจกจ่ายเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะหรือเป็นทุนในการทำกิจกรรมอื่นๆของมูลนิธิฯต่อไป
Item | Quantity | Amount (THB) |
---|---|---|
เทปูนคอนกรีต ประมาณ 1 คันรถ หรือ 5 คิว | 5คิว | 10,000.00 |
ทำหลังคา โรงเรือนขนาด 6x3 เมตร | 1หลัง | 50,000.00 |
ลงหินคลุก | 5คันรถ | 15,000.00 |
ลงพันธุ์พืช ต้นอ่อน ต้นกล้า พืชผักสวนครัว | 1,000ต้น | 10,000.00 |
สนับสนุนรายได้คนเร่ร่อน 5 คน ที่มาร่วมโครงการ 300 บาท x 5 คน | 20ครั้ง | 30,000.00 |
Total Amount | 115,000.00 | |
Taejai support fee (10%) | 11,500.00 |
The Issarachon Foundation is an organization that works with the less fortunate, living in the public or ‘homeless’ individuals in the society. The group started in the form of volunteer work since 1996 and in the year 2005 became registered as the VACA and then later renamed at Issarachon Foundation in 18 October 2012. The organization has over a decade experience and commitment to improving the quality of life of those living in the public. The foundation focuses on the individual affected and aims to rehabilitate the feelings of families, communities and surrounding environment. Members of the foundation visit affected ‘homeless’ individuals and families, encourage them to discuss and talk their feelings and work to find reasons for leaving home, to find ways to improve their quality of life and also the work of the organization. The main initiatives under this area are: support to the social sector; support to academic support services; and support of organization development.
View ProfileCollaborate to fundraise in support of this project
Create a fundraising page