cover_1

ปีนเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต

เด็กและเยาวชน
ผู้ป่วย ผู้พิการ

เงินบริจาคของคุณจะจัดกิจกรรมปีนเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้กับเด็กพิการ8คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
8 มิ.ย. 2566

อัปเดตโครงการดำเนินกิจกรรมปีนเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

8 มิ.ย. 2566 - 8 มิ.ย. 2566

กิจกรรมจัดขึ้นวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบ่งเป็น

  • เด็ก จำนวน 7 คน
  • ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 7 คน
  • อาสาสมัครพาน้องปีนเขา จำนวน 23 คน
  • อาสาสมัครอื่นๆ จำนวน 15 คน

รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 52 คน

ก่อนปีนขึ้นจะเห็นถึงความกังวลและความกลัวทั้งของเด็กๆ อาสาสมัครและครอบครัวทุกคนอย่างเห็นได้ชัด แต่ดวงตาที่มุ่งมั่นและความตั้งใจของเด็กๆ กลับเป็นแรงผลักดันให้อาสา และครอบครัวตั้งใจผลักดันให้ความมุ่งหวังของน้องๆ เป็นจริง โดยไม่ยอมแพ้กลางทาง
 หลังจบกิจกรรมจะเห็นได้ชัดถึงรอยยิ้มของทุกคน เกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จที่เราพยายามไขว่คว้ามา แม้ในตอนแรกจะคิดว่าไม่สามารถเป็นไปได้ ให้สำเร็จด้วยความร่วมมือจากทุกคน เด็กๆ รู้สึกว่าเขาสามารถทำได้มากกว่าที่เขาคิด ก้าวข้ามข้อจำกัดภายในใจ และมั่นใจที่จะเข้าสู่โลกกว้างมากขึ้น

ผลจากการจัดกิจกรรม

กลุ่มผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม ก่อนจัดกิจกรรม หลังจัดกิจกรรม
เด็ก  เด็กมีความกระตือรือร้นอยากจะเข้าร่วมกิจกรรม ขณะเดียวกันก็มีความกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมว่าอาจจะทำไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน มีการเตรียมตัวด้วยการฝึกเดิน เคลื่อนไหวมากขึ้น เด็กมีความภาคภูมิใจในตัวเอง ได้รับรู้ถึงศักยภาพในตัวเอง และสังคมรอบข้างที่เป็นแรงผลักดันให้แก่พวกเขาอย่างสูง ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคมมากขึ้น และมีความมั่นใจที่จะออกไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น
ครอบครัว มีความกังวลว่าเด็กจะทำภารกิจไม่สำเร็จ และกังวลจะเกิดปัญหาอื่นๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กระหว่างการทำกิจกรรม ผู้ปกครองใช้เวลาในการร่วมทำกิจกรรม และมีความเข้าใจในความต้องการ และความพยายามของเด็กมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เด็กสามารถทำภารกิจต่างๆ ได้ด้วยตัวเองให้สำเร็จลุล่วง โดยตนเองและอาสาสมัครคอยช่วยเหลือเฉพาะในยามที่เด็กร้องขอเท่านั้น ลดความกังวลหลายๆ อย่างที่อยู่ในใจ
อาสาสมัคร กังวลว่าจะไม่สามารถช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างเต็มที่ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ไม่เห็นความสำคัญมากนักว่าทำไมต้องเป็นกิจกรรมปีนเขา ว่าแตกต่างจากกิจกรรมอื่นๆ อย่างไร มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเด็กๆ ที่มีความแตกต่างมากขึ้น ได้รับฟังความคิด และเห็นถึงความพยายามขณะทำกิจกรรมมากขึ้น เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการปีนเขาที่ไม่เหมือนกิจกรรมอื่นๆ เนื่องจากต้องใช้ความพยายามและความอดทน รวมไปถึงพลังกาย พลังใจที่จะช่วยผลักดันให้เด็กๆ ทำภาระกิจให้ลุล่วงได้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ อธิบาย จำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชน 7 คน (น้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการจากจังหวัดนครศรีธรรมราช) 7 คน เนื่องจากเป็นการจัดกิจกรรมปีนเขาครั้งแรกที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ นอกจากน้องๆ ที่เข้าร่วมแล้วยังมีน้องๆ ในพื้นที่สนใจที่จะเข้าร่วมในครั้งต่อๆ เพราะได้รับการบอกเล่าจากผู้ที่ผ่านกิจกรรมมาแล้ว เด็กๆ กระตือรือร้นที่อยากจะทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น
ผู้พิการและผู้ป่วย 6 คน (ตัวแทนสมาคมผู้พิการมาให้กำลังใจน้อง) 6 คน ผู้พิการสามารถเห็นถึงความพยายามของเด็กๆ และสามารถช่วยเหลือน้องๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้ถูกวิธี มีการรวมกลุ่มกันระหว่างผู้ใหญ่ เพื่อส่งต่อสิ่งดีๆ ไปยังเด็กรุ่นใหม่
ประชาชนทั่วไป 23 คน (อาสาสมัครในพื้นที่) 50 คน ทั้งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และให้ความสนใจที่จะพัฒนากิจกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน และมีผู้ติดต่อเข้ามาเพื่อขอร่วมกิจกรรมในครั้งถัดไปจำนวนกว่า 30 คน
โรงเรียน นักเรียนในโรงเรียน มากกว่า 300 คน 3 โรงเรียน เด็กๆ และคุณครูที่อยู่ในโรงเรียนเพื่อเด็กพิการ และโรงเรียนที่น้องๆ ศึกษาได้มีส่วนในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรม และเกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาเด็กพิการในสังคมมากขึ้น ทำให้การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

 " รู้สึกว่าเป็นการมอบประสบการณ์ดีๆ ที่เปิดโอกาสที่ให้เด็กๆ ได้เข้าสู่โลกกว้างมากขึ้น รู้สึกว่าได้รับประสบการณ์ดีๆ ทำให้เข้าใจเด็กๆ เพราะไม่เหมือนกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เหนื่อยมาก ทำให้รู้สึกประทับใจมากกว่าการเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบอื่น และอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีกบ่อยๆ " คุณพิธา แสงมณี (อาสาพาน้องปีน)

 " รู้สึกสนุก และมีความสุขที่ช่วยให้ความมุ่งหวังของน้องเป็นจริง แม้จะเหนื่อยแต่ก็รู้สึกชื่นใจที่สามารถผ่านกิจกรรมไปได้ด้วยดี สิ่งที่ได้คือได้ท้าทายตัวเอง และได้เห็นรอยยิ้มของน้องอย่างมีความสุข ทำให้ตัวเองมี่ความสุขได้ " คุณเสน- สัญชัย บุญพริก (อาสาพาน้องปีน)

 " คุณแม่รู้สึกภูมิใจในตัวลูก และเชื่อมั่นมากขึ้นว่าลูกสามารถเอาชนะความกลัวได้หากเขามีความมุ่งมั่น ประกอบกับการทำกิจกรรมนี้มีบุคคลรอบข้างให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี และได้เห็นความสำเร็จของลูกอีกขั้นในวันนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น จึงรู้สึกมีความสุขมากเป็นพิเศษที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม " คุณเขมณิช วิโรฒน์ทยากร (ผู้ปกครองเด็ก)