cover_1

ยุ๊มมาฉ่า-บ่อแช่ไม้ไผ่และสถาปัตยกรรมต้นแบบ เพื่อสร้างบ้านไม้ไผ่แก่ชาวอาข่า

นายศุภชัย บำรุงนายศุภชัย บำรุง
เด็กและเยาวชน
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปสร้างบ่อแช่น้ำยาเพื่อรักษาเนื้อไม้ไผ่และจัดกิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการให้กับเด็กเยาวชนและประชาชนในหมู่บ้านป่าซางนาเงิน300คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

7 ก.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

หมู่บ้านป่าซางนาเงิน ดำเนินการที่โรงเรียนบ้านป่าซางนาเงิน ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 57240

เป้าหมาย SDGs

SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIESRESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTIONLIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
14คน
ชุมชน/หมู่บ้าน
1แห่ง
สถานศึกษา
1แห่ง
ประชาชนในหมู่บ้านป่าซางนาเงิน
300คน

"ยุ๊มมาฉ่า" ภาษาอาข่าแปลว่า "บ้านไม้ไผ่"

การสร้างบ่อแช่น้ำยาไม้ไผ่ โดยใช้เกลือบอแรกซ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะยืดอายุไม้ไผ่ได้เป็น 10 เท่า จากบ้าน 5 ปี เป็น 50 ปี และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 50,000 บาท/ครัวเรือน นอกจากนี้จะมีการเรียนรู้การออกแบบสถาปัตยกรรมไม้ไผ่โดยผู้เชี่ยวชาญ ผ่านการสร้างสิ่งปลูกสร้างตัวอย่างจริงให้แก่เด็กและคนในชุมชน ส่งเสริมการสร้างอาชีพช่างไม้ไผ่ สถาปนิก การออกแบบ หรืออาชีพอื่นๆได้ในอนาคต

ซึ่งโครงการนี้จะแก้ปัญหาใหญ่ของชาวอาข่าคือเรื่องการเงิน ชาวอาข่ารายได้ต่ำแต่ต้องหาเงินมาสร้างบ้านเพราะชุมชนขยายตัว ปัจจุบันชาวอาข่านิยมสร้างบ้านคอนกรีตแม้แพงกว่าบ้านไม้ไผ่มากแต่บ้านไม้ไผ่มีจุดอ่อนคือความไม่คงทน

ปัญหาสังคม

ยุ๊มมาฉ่า (jum - ma - tsa) มีความหมายในภาษาอาข่าว่า “บ้านไม้ไผ่” 

วิถีชีวิตชุมชนชาวอาข่าที่มีความผูกพันกับไม้ไผ่มาช้านาน ด้วยบริบทพื้นที่ตั้งชุมชนท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าไผ่ บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในครัวเรือน หรือแม้แต่อุปกรณ์การละเล่น และพิธีกรรมทางความเชื่อก็ผลิตจากไม้ไผ่เป็นวัสดุหลัก ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปี ที่ ผู้จัดทำโครงการได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนบ้านป่าซางนาเงินด้วยบทบาทครูและได้มีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชน ทำให้ได้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาชุมชนจากจุดแข็งด้านทรัพยากรไม้ไผ่ องค์ความรู้ความชำนาญ ทักษะงานหัตถศิลป์ งานช่างไม้ไผ่ และ เยาวชนผู้ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาชุมชน ผู้จัดทำโครงการมองเห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาชุมชนแห่งนี้จากจุดแข็ง และโอกาสที่มีอยู่

โครงการพัฒนาคุณภาพไม้ไผ่จึงได้ริเริ่มขึ้นครั้งแรกจากจากกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : PBL) ในรายวิชางานอาชีพเกษตร โรงเรียนบ้านป่าซางนาเงิน ปีการศึกษา 2564 โดยมีกระบวนการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาไม้ไผ่ชุมชนจากปราชญ์ชุมชน วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะองค์ความรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้และถ่ายทอดได้ ตลอดจนผู้เรียนได้มีบทบาทร่วมมือกับชุมชนในการสร้างสรรค์พัฒนาผลิตผลท้องถิ่น ซึ่งโครงการดังกล่าวก็ประสบผลเป็นรูปธรรมผ่านนวัตกรรมกระถางไม้ไผ่ไม้ประดับที่มีการออกจำหน่ายนอกพื้นที่ชุมชน และภายหลังการดำเนินโครงการ PBL ภายในโรงเรียน ทำให้ผู้จัดทำโครงการมองเห็นโอกาส และแผนในการพัฒนาจากปัญหา เพื่อต่อยอด ขยายผลลัพธ์สู่ชุมชนอย่างยั่งยืนขึ้น ผ่านโครงการ ยุ๊มมาฉ่า ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอาข่าและการพัฒนาบ้านไม้ไผ่ชุมชนบ้านป่าซางนาเงิน

***หากบริจาคตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป จะได้รับริสแบนด์ ทำมือจากชาวอาข่า(ส่งสลิปที่เพจFacebook "โรงเรียนบ้านป่าซางนาเงิน")

ยุ๊มมาฉ่า-ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอาข่าและการพัฒนาบ้านไม้ไผ่ชุมชนบ้านป่าซางนาเงิน จะเป็นพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างบ้านไม้ไผ่ให้กับชุมชน ซึ่งจะทำให้คนในชุมชนสามารถนำตัวอย่างและองค์ความรู้ไปใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างจากไม้ไผ่ ได้อย่างยั่งยืน รายละเอียดในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจเริ่มจาก เดิมวิถีชีวิตชุมชนอาข่าสร้างที่อยู่อาศัยโดยการใช้วัสดุจากธรรมชาติ อาทิ ไม้ไผ่และหญ้าคา ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา

แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเเละด้วยจุดอ่อนของไม้ไผ่ ในเรื่องอายุการใช้งานของไม้ไผ่จากศัตรูทำลายเนื้อไม้ เเละรูปแบบที่อยู่อาศัยที่คงทนถาวร ชุมชนจึงเปลี่ยนจากไม้ไผ่มาใช้วัสดุสมัยใหม่นำเข้าจากนอกพื้นที่ การสร้างบ้านด้วยวัสดุสมัยใหม่ จึงต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากค่าวัสดุก่อสร้างแล้ว ค่าขนส่งที่สูงเนื่องจากที่ตั้งพื้นที่ทำให้ชุมชนต้องหารายได้มากขึ้น เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัยด้วยวัสดุสมัยใหม่ 

ถึงแม้จะมีที่อยู่อาศัยจากไม้ไผ่ลดลง แต่ชุมชนบ้านป่าซางนาเงินยังคงใช้ไม้ไผ่ในการดำเนินชีวิตทุกหลังคาเรือน เช่น ส่วนต่อเติมและส่วนประกอบที่อยู่อาศัย อาทิ รั้ว โรงครัว โรงรถ กระท่อมที่ต้องสร้างใหม่ทุกๆ 2 - 5 ปี ตามอายุการใช้งานของไม้ไผ่ที่ไม่ได้ผ่านการการถนอมรักษาเนื้อไม้ (treatment) อย่างเหมาะสม เห็นได้ว่าสาเหตุหลักของการใช้ไม้ไผ่ลดลง คือ ปัญหาเรื่องศัตรูทำลายเนื้อไม้ เเละเทคนิคการก่อสร้างที่มั่นคง ปัจจุบัน ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่มีความยั่งยืน (Sustainable materials) ทดเเทนได้รวดเร็ว ประกอบกับในพื้นที่มีจำนวนมาก จึงมีต้นทุนสำหรับการใช้งานที่ค่อนข้างต่ำ จนเกิดงานวิจัยเเละนวัตกรรม ทั้งด้าน การถนอมรักษาเนื้อไม้ โดยวิธีการที่นิยมมากที่สุด คือ การใช้สารประกอบโบรอน(บอเเรกซ์ - บอริก) เป็นเกลือธรรมชาติรูปแบบหนึ่งนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อนำมาใช้ในงานไม้ ไม่มีพิษ (Non-toxic) ส่งกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมน้อยที่สุด เเละให้ประสิทธิภาพคุ้มค่ากับต้นทุนที่ใช้ ด้านการก่อสร้างเเละสถาปัตยกรรม ปัจจุบันงานไม้ไผ่เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น จึงมีการพัฒนาการออกแบบเเละเทคนิคแบบใหม่ รวมทั้งเทคนิคจากภูมิปัญญาเดิม อาทิ การเข้าไม้ด้วยลิ่ม การมัด การผ่าฟาก รวมทั้งการออกแบบร่วมกับวัสดุสมัยใหม่

นอกจากความรู้เรื่องไม้ไผ่แล้ว ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้สามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับเด็กและชุมชนได้ทุกเรื่อง มีอาทิ ทำให้เป็นสถานที่แสดงผลงานของเด็ก และชุมชน ให้แก่บุคคลทั้งภายในและภายนอกชุมชน สามารถจัดแสดงได้ในรูปแบบที่เป็นชิ้นงาน เช่น สิ่งประดิษฐ์จากการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ภาพวาดจากการเรียนรู้เรื่องศิลปะ ชุดประจำเผ่าอาข่า หรือรูปแบบการแสดง เช่น เป็นเวทีในการแสดงการเต้นแนวร่วมสมัยหรือการแสดงประจำเผ่าอาข่า แสดงความสามารถในการร้องเพลง เล่นดนตรี การทำอาหาร ฯลฯ 

 วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้นักเรียนและคนในชุมชน ได้เรียนรู้หลักการยืดอายุและสถาปัตยกรรมไม้ไผ่รูปแบบใหม่ พร้อมทั้งต่อยอดจากความรู้ไม้ไผ่ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านการทดลองทำผลงานจริง
  2. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างนักเรียน ผู้ปกครองและคนในชุมชน ในการเรียนรู้ความรู้ใหม่และร่วมกันพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่ายและเพิ่มบทบาทให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้น
  3. เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและต้นแบบ ในการเรียนรู้ ทดลองทำ เกี่ยวกับความรู้ด้านไม้ไผ่ อาทิ บ่อแช่น้ำยายืดอายุไม้ไผ่ ต้นแบบสถาปัยกรรมไม้ไผ่
  4. เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวอาข่า รวมถึงส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

 

เป้าหมายของโครงการ/ผลผลิตของโครงการ

  1. นักเรียนระดับชั้น ม.1 จำนวน 14 คน จากวิชา PBL และแกนนำชุมชน 17 คน ได้รับความรู้โดยตรงในเรื่องการพัฒนาไม้ไผ่ จากการเรียนการสอนในวิชา PBL และการลงมือทำผลงานจริง ทั้งในด้านการพัฒนาอายุการใช้งาน และการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม
  2. มีการส่งต่อความรู้เรื่องไม้ไผ่ โดยคนในชุมชนให้เก่ผู้อื่นอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมโดยการเก็บเป็นข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร และการอบรมเชิงปฏิบัติการ
  3. บ่อแช่น้ำยาไม้ไผ่เพื่อยืดอายุการใช้งาน ขนาด ยาว 7 เมตร กว้าง 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร
  4. ศาลาสำหรับรอรถหน้าโรงเรียนบ้านป่าซางนาเงิน
  5. ศาลาในชุมชนสำหรับใช้งานทั่วไป
  6. ศาลาในโรงเรียนบ้านป่าซางนาเงินสำหรับใช้งานทั่วไป
  7. โรงรถในโรงเรียนบ้านป่าซางนาเงิน
  8. งานฝ้าเพดานไม้ไผ่ บ้านของคนในชุมชน
  9. โรงรถของคนในชุมชน

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เด็ก ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์ความรู้ต่างๆ และมีการเผยแพร่แนวคิดให้แก่คนภายนอกชุมชน
  2. แกนนำชาวบ้านจะมีองค์ความรู้ในการดูแลรักษาไม้ไผ่ การยืดอายุ และความรู้ในก่อสร้างบ้าน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตามแบบที่ต้องการได้ เเละถ่ายทอดไปสู่ชุมชน
  3. คนในชุมชนได้รับมุมมองใหม่ในการพัฒนาคุณภาพและการใช้งานไม้ไผ่
  4. คนในชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายในการสร้างใหม่หรือต่อเติมสิ่งปลูกสร้าง ด้วยการริเริ่มการใช้ไม้ไผ่ที่ผ่านการยืดอายุด้วยกระบวนการแช่น้ำยาบอแร็กซ์
  5. เด็กและคนในชุมชน มีแนวคิดที่จะสร้างรายได้จากความรู้ในการใช้ไม้ไผ่ เช่น ประกอบอาชีพช่างไม้ไผ่ หรือทำสินค้าจากไม้ไผ่

 

 

 

Targets

ประเภท จำนวน รายละเอียด เปลี่ยนแปลง
เด็กและเยาวชน 14 กลุ่มเด็กและเยาวชนเคยเรียนวิชา PBL จากครูในโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และได้ทำโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรในชุมชน โดยมีชื่อแบรนด์ว่า AKHAYA ซึ่งจะขายต้นไม้ที่มีในชุมชนสู่ภายนอก และผลิตกระถางต้นไม้จากไม้ไผ่ในชุมชน

1. นักเรียนจากรายวิชา PBL มีองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพไม้ไผ่ผ่านกระบวนการยืดอายุไม้ไผ่

2. นักเรียนจากรายวิชา PBL มีองค์ความรู้ในกระบวนการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอาข่าและการพัฒนาคุณภาพไม้ไผ่ชุมชนบ้านป่าซางนาเงิน

แกนนำชุมชน 17 แกนนำชุมชนมีความรู้และภูมิปัญญาในการสร้างสิ่งปลูกสร้างด้วยไม้ไผ่ เพียงแต่ขาดแนวทางการพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆ และขาดผู้ดำเนินงานโครงการหลัก

1. แกนนำชาวบ้านและนักเรียนจากรายวิชา PBL มีองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพไม้ไผ่ผ่านกระบวนการยืดอายุไม้ไผ่

2. แกนนำชาวบ้านและนักเรียนจากรายวิชา PBL มีองค์ความรู้ในกระบวนการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอาข่าและการพัฒนาคุณภาพไม้ไผ่ชุมชนบ้านป่าซางนาเงิน

คนในชุมชน 400 คนในชุมชนมีทักษะในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างด้วยไม้ไผ่ แต่เนื่องจากไม่เป็นที่นิยมและไม่คงทนถาวร จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างบ้านไม้ไผ่เท่าบ้านปูนซีเมนต์

1. คนในชุมชนร้อยละ 50 ที่เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ ได้รับมุมมองแบบใหม่เกี่ยวกับการนำไม้ไผ่มาใช้ในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง

2. คนในชุมชนมาใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างจากไม้ไผ่

คนในชุมชนใกล้เคียง 300 คนในชุมชนมีความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิมในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่

1. คนในชุมชนได้รับการพัฒนาความรู้ ภูมิปัญญาด้านการสร้างบ้านไม้ไผ่ที่ใช้งานได้นานขึ้นพร้อมกับได้เรียนรู้การออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่ทันสมัยขึ้น

2. คนในชุมชนมาใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างจากไม้ไผ่

วิธีการแก้ปัญหา

  1. สร้างบ่อแช่น้ำยาเพื่อรักษาเนื้อไม้ไผ่ ถนอมรักษาเนื้อไม้โดยวิธีการที่นิยมมากที่สุด คือ การใช้สารประกอบโบรอน(บอเเรกซ์ - บอริก) เป็นเกลือธรรมชาติรูปแบบหนึ่งนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อนำมาใช้ในงานไม้ ไม่มีพิษ (Non-toxic) ส่งกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมน้อยที่สุด เเละให้ประสิทธิภาพคุ้มค่ากับต้นทุนที่ใช้

  2. จัดกิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ(Workshop) ทำให้เป็นสถานที่แสดงผลงานของเด็ก และชุมชน ให้แก่บุคคลทั้งภายในและภายนอกชุมชน

แผนการดำเนินงาน

  1. ขั้นเตรียมโครงการ สำรวจข้อมูลชุมชน จัดตั้งทีมงานประชาสัมพันธ์รับความคิดเห็น

  2. ขั้นดำเนินโครงการ • ติดต่อที่ปรึกษาด้านสถ่ปัตยกรรม • จัดหางบประมาณ • สอนวิชา PBL • ที่ปรึกษาออกแบบกิจกรรม ออกแบบ/ขออนุญาตสร้าง • จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ • ก่อสร้างบ่อทรีตเมนต์ • อบรมเชิงปฎิบัติการด้านงานสถาปัตกรรม

  3. ขั้นสรุปโครงการ • ทำสรุปความสำเร็จโครงการ • รวมรวมองค์ความรู้เป็นรูปธรรม และหลักการส่งต่อความรู้อย่างยั่งยืน

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ส่วนที่ 1 งบประมาณในส่วนการสร้างบ่อทรีทเมนต์ ขนาดกว้าง 1.5 ม. ยาว 7 ม. ลึก 1.5 ม. อยู่ใต้ดิน 1 ม. บนดิน 0.5 ม. หนา 0.15 ม. ปูนโครงสร้าง(ปูนแดง)

49กระสอบ7,056.00
ทรายหยาบ

5คิว2,500.00
หิน

10คิว8,000.00
เหล็กเส้น DB12

40เส้น10,480.00
เหล็กเส้น RB9

20เส้น3,000.00
ค่าขนส่ง 6 ล้อ 5 คิว

4เที่ยว10,000.00
ส่วนที่ 2 งบประมาณด้านการทรีทเมนต์ สำหรับน้ำก่อนผสม 8 ลบ.ม. Borax+Boric acid (คำนวณจากราคา Celbor SP)

24กระสอบ33,600.00
Hydrometer (วัดความเข้มข้น)

1อัน500.00
ค่าขนส่ง

1เที่ยว8,200.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด83,336.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)8,333.60
ยอดระดมทุน
91,669.60

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายศุภชัย บำรุง

นายศุภชัย บำรุง

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon