cover_1
รายเดือน

มอบ "ถ้วยอนามัย" เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัยและปัญหาขยะในประเทศไทย

เด็กและเยาวชน
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนการผลิตและส่งมอบถัวยอนามัยให้กับผู้หญิงที่ขาดแคลนผ้าอนามัย กับ "ยังฝัน" Social Enterprise10,000คน

บริจาคให้โครงการนี้

บริจาค

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนการผลิตและส่งมอบถัวยอนามัยให้กับผู้หญิงที่ขาดแคลนผ้าอนามัย กับ "ยังฝัน" Social Enterprise10,000คน

บริจาค

เทใจรองรับ e-Donation ลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า

14 มิ.ย. 2567

อัปเดตโครงการยังฝันได้เข้าช่วยเหลือผู้หญิงไทยกว่า 940 คน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานกักกันเด็กและเยาวชนหญิง กลุ่มเด็กชาวดอย

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

14 มิ.ย. 2567 - 14 มิ.ย. 2567

สินค้าจำเป็นที่สร้างภาระรายจ่ายแก่ผู้หญิงคือ 'ผ้าอนามัย' แม้ประเทศไทยยังไม่มีการเก็บสถิติจำนวนผู้หญิงที่เผชิญปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัยอย่างเป็นทางการ แต่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีผู้หญิงในประเทศไทยจำนวนมากกำลังเผชิญปัญหานี้ การเข้าถึงผ้าอนามัยนั้นพบว่าจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึง 2,520 บาทต่อปี ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปี พ.ศ. 2565 ระบุว่า ร้อยละ 88 ของบัญชีเงินฝากทั้งหมด 117.55 ล้านบัญชีที่มีเงินจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท หรือ 103.11 ล้านบัญชีนั้น มีเงินฝากเฉลี่ยต่อบัญชีอยู่ที่ 4,240 บาท เทียบเคียงกับค่าใช่จ่ายผ้าอนามัยตลอดชีวิตที่สูงถึง 98,280 บาทตลอดวัยประจำเดือนเฉลี่ย 39 ปี

ปัจจุบัน โครงการยังฝันได้เข้าช่วยเหลือผู้หญิงไทยกว่า 940 คน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, ในสถานกักกันเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปราณี, ในเรือนจําอําเภอธัญบุรี, ในสถานกักขังกลางปทุมธานี, ในกลุ่มเด็กชาวดอยชนเผ่าลาหู่ ไทยใหญ่จังหวัดเชียงราย, ในชุมชนและในโรงเรียนภายใต้เขตดุสิตและเขตราชเทวี ฯลฯ ซึ่งโครงการได้ลงพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยของผู้หญิงและได้มอบถ้วยอนามัยฟรีให้แก่ผู้หญิงตามชุมชนต่างๆ

 

โครงการยังฝัน ได้รับรางวัล “องค์กรตัวอย่างด้านการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ปี 2023” จาก UN Women และ กระทรวง พม., รางวัล “Finalist Best Social Change Maker” ในงาน Thailand Influencer Awards 2022, และ รางวัล “Finalist Influencer for Change Award” ในงาน Influencer for Change 2022 จัดโดย Tellscore, มูลนิธิเพื่อคนไทย, Good Society Network 

 

“ประจำเดือนทำให้เด็กผู้หญิง 8 ใน 10 คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องขาดเรียน เพราะเขามีความกังวลมาก ไม่มีความมั่นใจ เนื่องจากเข้าไม่ถึงผ้าอนามัย…ถ้าเดือนไหนซื้อผ้าอนามัย 2-3 ห่อ เท่ากับเดือนนั้นเขาจะมีเงินสำหรับซื้อข้าวหรือสำหรับเรียนน้อยลง”
คุณวรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ ผู้ก่อตั้งสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) กล่าว

สำหรับการทำงานร่วมกับกลุ่มลูกเหรียงที่ผ่านมานั้น ทางโครงการได้อบรมความรู้เรื่องการมีประจำเดือน ระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง และการใช้งานถ้วยอนามัยยังฝันให้แก่เด็กผู้หญิงและตัวแทนชุมชนในจังหวัดยะลา นอกจากนี้ยังร่วมกับมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง(สคส.) เข้าไปมอบความรู้และมอบถ้วยอนามัยให้แก่กลุ่มคุณแม่วัยใสใน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชัยนาท และร่วมมือกับสำนักงานเขตดุสิตเพื่อให้ความรู้และนำร่องถ้วยอนามัยในชุมชนแออัดต่างๆ รวมทั้งร่วมมือกับโรงเรียนมีชัยพัฒนา

 

สานฝัน จิตต์มิตรภาพ ผู้ก่อตั้งโครงการยังฝันกล่าวว่า
“ถ้วยอนามัย 1 ถ้วย สามารถรองรับประจำเดือนได้นาน 6 ชั่วโมง ใช้ซ้ำได้ในแต่ละวันและมีอายุการใช้งาน 3-5 ปี ซึ่งนอกจากจะประหยัดยังช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกจากการใช้ผ้าอนามัย เพราะผ้าอนามัย 1 แผ่นสร้างขยะเท่ากับถุงพลาสติก 4 ถุง และอาจต้องใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 800 ปี ขณะที่ถ้วยอนามัยที่ทำจากซิลิโคนทางการแพทย์และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม”

 

นอกเหนือจากการรับบริจาคเงิน โครงการยังฝัน ยังมีการจัดจำหน่าย 'ถ้วยอนามัย' (Menstrual Cup) ที่ราคาเท่าทุน และ 1 ถ้วยอนามัยที่จำหน่ายได้โครงการจะบริจาคอีก 1 ถ้วยให้แก่กลุ่มผู้หญิงที่ขาดแคลนอีกด้วย เพื่อจะช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขอนามัยผู้หญิงและมอบสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้หญิงไทยทุกคนที่ผ่านมาโครงการยังฝันได้สร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมจนได้รับรางวัล “Finalist Best Social Change Maker” ในงาน Thailand Influencer Awards 2022 ตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 18 ท่านจากภาคธุรกิจและภาครัฐ โดยพิจารณาจาก:

  • Creativity รูปแบบความคิดสร้างสรรค์
  • Strategy กลยุทธ์แคมเปญ
  • Result ผลลัพธ์ด้านการเข้าถึงและการสร้างคุณค่า
  • Social Conscience สำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

โครงการยังฝัน เชื่อว่า สุขอนามัยที่ดีคือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ (Basic Human Right) ในปัจจุบันยังมีผู้หญิงจำนวนมากที่ถูกลิดรอนสิทธินี้ หากเราช่วยให้ผู้หญิงรอดพ้นจากการถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานได้ เราก็จะช่วยเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) ในสังคมมากยิ่งขึ้น ผู้หญิงต้องมีทางเลือก ปัจจุบันผลิตภัณฑ์รองรับประจำเดือนในตลาดกว่า 90% คือผ้าอนามัย และตลาดนี้ก็ถือครองโดยแบรนด์เท่านั้น ทำให้ผ้าอนามัยมีราคาแพง (ผู้หญิงจ่ายเฉลี่ย 210 บาทต่อเดือนเพื่อซื้อผ้าอนามัย) ยังฝัน เชื่อว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้หญิงเรามีทางเลือก นั่นคือการเพิ่มพลังอำนาจให้เรา เพราะเรามีสิทธิที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ตัวเราเองได้