cover_1

ส่งน้ำใจดับไฟป่า สนับสนุนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่าให้รอดจากเปลวเพลิง

นางวัลยา  ไชยภักดีนางวัลยา ไชยภักดี
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนอุปกรณ์การดับไฟและช่วยเหลือสัตว์ป่าให้กับผู้พิทักษ์ป่าทั่วประเทศ10จังหวัด

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

5 ก.พ. 2564 - 31 พ.ค. 2564

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGCLIMATE ACTIONPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

พื้นที่สวน/ป่า
10ไร่

สนับสนุนอุปกรณ์การดับไฟและช่วยเหลือสัตว์ป่าให้กับผู้พิทักษ์ป่าทั่วประเทศ

 ร่วมช่วยกันแสดงพลังว่าคนในสังคมเห็นความสำคัญและอยู่เคียงข้างผู้พิทักษ์ป่า
ในการปฏิบัติภารกิจรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อคนไทยและประทศไทยของเรา

ปัญหาสังคม

โครงการส่งน้ำใจดับไฟป่า สนับสนุนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่าให้รอดจากเปลวเพลิง จัดทำขึ้นเพื่อเป็นช่องทางหนึ่ง ที่ให้คนสังคมได้สนับสนุน ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า ที่ต้องกระทำหน้าที่อันยากลำบาก ผจญเพลิงดับไฟป่าในระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ของทุกปี สถานการณ์ไฟป่าของประเทศไทยก่อให้เกิดความเสียหายแก่ป่าไม้ และสัตว์ป่า รวมทั้งสุขภาพพลานามัย
ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติหมอกควันอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้การเกิดไฟป่าแต่ละครั้ง มีสัตว์ป่าโดยเฉพาะลูกสัตว์ป่าหลายชนิด จำนวนมากต้องถูกไฟป่าครอกตาย หรือ
บาดเจ็บ พลัดหลงจากแม่จากการหนีไฟ เจ้าหน้าที่ต้องทำงานหนักทั้งกลางวัน กลางคืน สับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังเพื่อเร่งดับไฟป่าและช่วยเหลือสัตว์ป่า การส่งกำลังใจในรูปแบบของอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน เป็นกำลังใจที่มีคุณค่ายิ่ง อย่างน้อยก็แสดงถึงว่าคนในสังคมเห็นความสำคัญและอยู่เคียงข้างผู้พิทักษ์ป่า
ในการปฏิบัติภารกิจรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อคนไทยและประทศไทยของเรา ในรอบหลายปีที่ผ่านมา สถานการณ์ไฟป่าของประเทศไทยก่อให้เกิดความเสียหายแก่ป่าไม้ และสัตว์ป่า รวมทั้งสุขภาพพลานามัยของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติหมอกควันอย่างต่อเนื่อง
และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยในปี 2563 ประเทศไทยมีจุดความร้อนสะสม จำนวนทั้งสิ้น 205,288 จุด 
(ข้อมูลจากดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS) ซึ่งมีค่าสูงสุดในเดือน มีนาคม หากแบ่งพื้นที่
ตามความรับผิดชอบการดูแลป้องกันไฟป่า จะพบว่าจุดความร้อนสะสมสูงสุดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 83,048 จุด รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 53,353 จุด พื้นที่เกษตร จำนวน 36,557 จุด 
พื้นที่สปก. จำนวน 17,414 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ จำนวน 13,253 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 50 เมตร จำนวน 1,663 จุด ตามลำดับ 10 จังหวัดที่มีจำนวนจุดความร้อนสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ลำปาง น่าน เชียงราย อุทัยธานี เพชรบูรณ์และกำแพงเพชร (Gistda,2020) ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 61.90 ล้านไร่ ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2563 พบว่า
เกิดจุดความร้อนสะสมสูงสุดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 83,048 จุด หากประมาณการณ์ง่าย ๆ ว่า ระยะเวลา 150 วันที่เกิดไฟป่า เฉลี่ยจะมีจุดความร้อนวันละ 554 จุด หากแต่ละจุดความร้อนที่เกิดขึ้นนั้น 
ต้องระดมเจ้าหน้าที่ในการดับไฟป่า เฉลี่ยจุดละ 30 คน ดังนั้นวันๆ หนึ่งต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการดับไฟป่า 
ไม่น้อยกว่า 16,620 คน ในความเป็นจริงไม่มีใครทำงานดับไฟป่าได้ต่อเนื่องตลอด 150 วัน จึงต้อง
มีชุดเจ้าหน้าที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนเรื่องเสบียงและอุปกรณ์
ดังนั้นอัตรากำลังในการดับไฟป่าอย่างน้อยที่สุด จึงมีเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า 25,000 คน ในแต่ละปี ทั้งทำแนวกันไฟ เก็บใบไม้และเชื้อเพลิง ลาดตระเวนดูไฟ ดับไฟป่า สำหรับในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า อันได้แก่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ที่เป็นแหล่งอาศัยสำคัญของสัตว์ป่า เจ้าหน้าที่นอกจากจะต้องดับไฟป่าแล้ว ยังมีภารกิจและช่วยเหลือสัตว์ป่าให้รอดจากไฟป่าด้วย ในส่วนนี้มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติภารกิจ
ใน 95 พื้นที่ ประมาณ 2,230 คน

วิธีการแก้ปัญหา

  1. สนับสนุนอุปกรณ์การดับไฟและช่วยเหลือสัตว์ป่าให้กับผู้พิทักษ์ป่าทั่วประเทศ ร่วมช่วยกันแสดงพลังว่าคนในสังคมเห็นความสำคัญและอยู่เคียงข้างผู้พิทักษ์ป่า
ในการปฏิบัติภารกิจรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อคนไทยและประทศไทยของเรา

แผนการดำเนินงาน

  1. ติดตามประสานงานกับพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อติดตามสถานการณ์ไฟป่า

  2. จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าทีพิทักษ์ป่าที่ทำหน้าที่ดับไฟป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่า โดยจัดหาให้กับพื้นที่ที่ไฟป่าลุกลามเข้าพื้นที่ก่อนเป็นอันดับแรก

  3. สนับสนุนภารกิจป้องกัน เฝ้าระวัง และดับไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 
ด้านอุปกรณ์ดับไฟป่า ได้แก่ เครื่องเป่าลม ถังขนน้ำ IBC 1,000 ลิตร ถังน้ำสะพายหลัง
ด้านอุปกรณ์ทำแนวกันไฟ ได้แก่ คราดอ่อน เครื่องอัดใบไม้เป็นก้อน 
ด้านอุปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ ได้แก่ หมวกโม่ง ผ้าบัฟ รองเท้า เป้ใส่น้ำ ไฟฉายคาดหัว ผงเกลือแร่ ยา ฯลฯ
ด้านช่วยเหลือสัตว์ป่าจากไฟป่า ได้แก่ กรงขนย้ายสัตว์ป่า กรงดูแลสัตว์ป่า ยาและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ นมเลี้ยงลูกสัตว์ป่า อาหารสัตว์ป่า ผ้าขนหนู ถังออกซิเจน ฯลฯ

  4. รายงานสถานการณ์และผลการดับไฟป่า ความเสียหาย และการช่วยเหลือสัตว์ป่าในพื้นที่

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
รองเท้าเดินป่า

600คู่150,000.00
ผ้าบัฟ

600ผืน24,000.00
เครื่องเป่าลม

60เครื่อง291,000.00
ผงเกลือแร่ ยาแก้ปวดเมื่อย เจลว่านหางจระเข้

60ชุด120,000.00
ถังน้ำสะพายหลัง

60ใบ45,000.00
ไฟฉายคาดหัว

180อัน36,000.00
เป้ใส่น้ำ

180ใบ54,000.00
อุปกรณ์ช่วยเหลือสัตว์ป่า นมลูกสัตว์ อาหาร ยา

20ชุด100,000.00
เครื่องอัดใบไม้เป็นก้อน

20เครื่อง90,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด910,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)91,000.00
ยอดระดมทุน
1,001,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางวัลยา  ไชยภักดี

นางวัลยา ไชยภักดี

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon