เงินบริจาคของคุณจะพื้นที่นำร่องของโครงการ we!park ที่พยายามสร้างพื้นให้กับเด็กและเยาวชน และคนในชุมชนวัดหัวลำโพง1พื้นที่สีเขียว
หลังจากสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ ได้เปิดใช้บริการและจัดกิจกรรมกระตุ้นการใช้งานในพื้นที่ ภายใต้งาน Bangkok Design Week 2022 เสร็จสิ้นแล้ว
ทางโครงการได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูล โดยการสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงข้อคิดเห็นในแง่มุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ เกี่ยวกับการใช้งานพื้นที่ ปัญหา ข้อกังวล ข้อควรปรับปรุง ความต้องการของผู้ใช้งาน และข้อคิดเห็นด้านการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในอนาคตภายในสวน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย ทั้งหมด 3 ครั้ง ในระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
ผลการสำรวจและสังเกตการณ์พื้นที่สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์
ปัญหาและข้อกังวล
ข้อเสนอแนะ
จากการระดมทุนผ่านมูลนิธิเทใจ ผ่านกิจกรรมร่วมออกแบบป้ายข้อมูลสวนในรูปแบบของ กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในการระดมความคิดมีรายละเอียด เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ ดังนี้
ป้ายที่ 1 สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์
สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ ออกแบบด้วยแนวคิด “สวนข้างบ้าน” ซึ่งเป็นการออกแบบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน นักเรียน เอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
แนวคิด “สวนข้างบ้าน” นำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่กิจกรรมแบบต่าง ๆ สำหรับคนหลากหลายกลุ่ม การออกแบบพื้นที่จึงแบ่งพื้นที่การใช้งานรูปแบบต่าง ๆ แทรกอยู่ระหว่างต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ ที่ให้ร่มเงา ให้กลิ่นหอมอ่อน ๆ จากสมุนไพร และยังเป็นที่อาศัยหากินของสัตว์เล็ก ๆ ในเมืองใหญ่
ป้ายที่ 2 สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ : พื้นที่แรกของการทดลองกระบวนการมีส่วนร่วมหลากหลายวิธีการกับทุกภาคส่วนของเมือง
แนวทางการออกแบบพื้นที่ ได้มีการทดลองสร้างพื้นที่ต้นแบบ เพื่อเป็นตัวอย่างของการพัฒนาที่ให้ทุกคนเห็นภาพและความสำคัญร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการทดลองการมีส่วนร่วมในขั้นก่อนการก่อสร้างสู่สาธารณะโดยการเปิดระดมทุนออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มเทใจ สนับสนุนเครื่องเล่นในสวน และเพื่อให้พื้นที่มีการใช้งานได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
สวนข้างบ้านแห่งนี้ จึงเป็นพื้นที่แรกภายใต้โครงการ we!park ที่ได้รับการพัฒนาจนเกิดเป็นพื้นที่รูปธรรม
ป้ายที่ 3 ข้อตกลงในการใช้งาน “สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์”
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
คุณกก ตัวแทนพนักงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงแรมเลอ เมอริเดียน สุรวงศ์ (วันที่ 6 ม.ค. 2566)
โดยปกติแล้ว คุณกกเดินทางผ่านสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์อยู่เสมอ และได้ทดลองใช้งานสวน เพื่อให้ข้อมูลกับผู้เข้าพักที่โรงแรม โดยการเข้าไปออกกำลังกายในบางเวลา เห็นว่า คนรู้จักสวนนี้น้อย สังเกตเห็นว่าส่วนใหญ่ ผู้ใช้งานเป็นคนในชุมชน และคนในละแวก มีเด็กๆเข้ามาวิ่งเล่น แต่ไม่เยอะมาก หากเพิ่มป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนที่สัญจรผ่านได้ทราบ จะเพิ่มศักยภาพของสวนได้เป็นอย่างดี รวมถึง พื้นที่สวนนี้อาจเป็นพื้นที่กิจกรรมพิเศษใหม่ สำหรับย่านนี้
คุณส้ม และคุณเอ็ม ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (วันที่ 18 ม.ค. 2566)
ทั้งคู่ ได้เดินทางผ่านสวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์เป็นประจำ เนื่องจากเป็นทางผ่านไปที่ทำงาน และได้เข้าไปใช้งานภายในสวนเป็นครั้งคราว เช่น นั่งพักผ่อน ซื้อก๋วยเตี๋ยวเข้าไปนั่งทาน เห็นว่า สวนเหมาะกับการใช้งานของชุมชน เห็นว่าในช่วงเช้า ระหว่างเวลา 07.00 – 08.00 น. มีผู้คนหลายช่วงอายุ เข้าไปใช้งานภายในสวน แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าสวนเปิดหรือไม่ เพราะประตูปิดอยู่ แล้วไม่ได้มีป้ายแจ้งเวลาเปิดปิด และอยากทราบว่า หากโรงแรม หรือหน่วยงานอื่นมาขออนุญาตใช้พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม มีความยุ่งยากหรือไม่ เพราะเห็นศักยภาพพื้นที่เหมาะสมจะจัดกิจกรรมพิเศษ ภายนอกอาคาร เป็นครั้งคราว
คุณใหม่ ประธานชุมชนหัวลำโพง (วันที่ 20 ก.พ. 2566)
หลังจากสวนเปิดการใช้งาน เห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการใช้งานสำหรับคนในชุมชนและคนในละแวกเป็นอย่างมาก เด็กๆได้มีพื้นที่นั่งเล่นหลังเลิกเรียน ผู้สูงอายุมีพื้นที่เดินเล่นระหว่างวัน มีกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น มีวัยรุ่นนัดกันมาตีแบดมินตันภายในสวน แต่เนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอกับกิจกรรมเดิม อยากให้มีการติดตั้งป้ายข้อตกลงการใช้สวน ระเบียบการใช้งาน ข้อจำกัดต่างๆอย่างชัดเจน เพราะยังพบปัญหาที่มีการใช้งานไม่เหมาะสมในพื้นที่บ้าง เช่น มีการนำอุปกรกีฬาบางอย่างเข้ามาใช้ในพื้นที่ รบกวนการใช้งานอื่นๆ หรืออาจเป็นอันตรายต่อเด็กๆที่เล่นอยู่บริเวณเครื่องเล่น ปัจจุบันมีการเข้าไปตักเตือน หากมีใครนำจักรยานเข้าไปใช้ภายในสวน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเป็นข้อตกลงการใช้สวนอย่างชัดเจน ก็เกรงว่าจะเป็นประเด็นให้ไม่พอใจกันได้
อีกทั้ง คุณใหม่ยังมีความเห็นว่า พื้นที่สวนสามารถเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมสำหรับชุมชนได้ เป็นพื้นที่แสดงความสามารถของเด็กๆในชุมชน และเพิ่มบรรยากาศให้ย่านได้เปลี่ยนแปลงบ้างเป็นครั้งคราว
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
เด็กและเยาวชน | ชุมชนหลังวัดหัวลำโพงและพื้นที่โดยรอบ | 30 คน | มีความปลอดภัยในการใช้งานภายในสวน เนื่องจากลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายภายในสวนได้บางส่วน |
ประชาชนทั่วไป | พนักงานเอกชน และชุมชนโดยรอบพื้นที่ | 50 คน | ได้รับการประชาสัมพันธ์สวน ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน |
ผู้สูงอายุ | ชุมชนหลังวัดหัวลำโพงและพื้นที่โดยรอบ | 30 คน | มีความปลอดภัยในการใช้งานภายในสวน เนื่องจากลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายภายในสวนได้บางส่วน |
ผู้ป่วย | ชุมชนหลังวัดหัวลำโพงและพื้นที่โดยรอบ | 10 คน | ได้รับการประชาสัมพันธ์สวน ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน |
กลุ่มคนเปราะบาง | พื้นที่โดยรอบวัดหัวลำโพง | 10 คน | ได้รับการประชาสัมพันธ์สวน ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน |
โรงเรียน | โรงเรียนพุทธจักรวิทยา | 1 แห่ง | เป็นพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์สวน เพื่อทุกคนได้ทราบข้อกำหนดในการใช้สวนให้ตรงกัน |
จากกการระดมทุนในโครงการ Pocket Park - พัฒนาพื้นที่ว่างในเมืองให้เป็นพื้นที่สีเขียว โดย we!park ในการจัดทำเครื่องเล่นและป้ายข้อมูลในพื้นที่สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์นั้น ในส่วนของเครื่องเล่นได้จัดทำให้แล้วเสร็จและติดตั้งในพื้นที่สวนเรียบร้อยแล้ว และได้ปรับเปลี่ยนแผนกิจกรรมใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจากการระดมทุนในการนำมาใช้สำหรับการจัดกิจกรรมร่วมออกแบบป้ายข้อมูลสวน และป้ายให้ความรู้ในสวน โดยทีมสนใจที่เป็นกระบวนกรที่ดำเนินการในพื้นที่อยู่แล้วร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรอบ
กิจกรรมร่วมออกแบบป้ายข้อมูลสวนและป้ายความรู้นั้นจะเป็นการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในการระดมความคิดในการออกแบบและให้ข้อมูลว่าจำเป็นต้องมีรายละเอียดของข้อมูลอย่างไรบ้าง เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ และชี้แจงรายละเอียดต่อผู้ที่เข้ามาใช้งานสวนได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้กิจกรรมร่วมออกแบบป้ายข้อมูลนี้จะจัดขึ้นพร้อมกับกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานและการบริหารจัดการพื้นที่สวน ครั้งที่ 1 เนื่องจากการจัดทำพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กโดย we!park เล็งเห็นความสำคัญของกระบวนการที่ทำให้เกิดพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กตั้งแต่กระบวนการริเริ่มจัดตั้งโครงการ การสำรวจพื้นที่ การเก็บข้อมูลภาคสนาม การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม การรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย การสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในพื้นที่ จนถึงกระบวนการดูแลรักษาและบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกันของชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นกิจกรรมที่ชุมชนจะได้ร่วมกันคิดและให้ความคิดเห็นในการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งป้ายข้อมูลสวนและป้ายความรู้ต่าง ๆ จะมีรายละเอียดส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดในการใช้พื้นที่ การดูแลรักษา และเงื่อนไขในการใช้งานพื้นที่สวน
ดังนั้น การจัดทำจะเป็นการออกแบบแบบทางเลือกโดยนักออกแบบเบื้องต้นเพื่อให้เป็นรูปแบบและลักษณะของป้ายเพื่อการก่อสร้างจัดทำ โดยนำมาใช้ในกิจกรรมร่วมออกแบบเพื่อให้ได้รายละเอียดของข้อมูลภายในป้าย เนื้อหาที่ต้องการ ข้อกำหนดและเงื่อนไขของการใช้งานสวน รวมถึงรับฟังความคิดเห็นว่ารูปแบบและลักษณะของป้ายทางเลือกที่นักออกแบบได้ออกแบบมาเบื้องต้นนั้นเป็นอย่างไร รวมถึงการพิจารณาตำแหน่งที่จะติดตั้งป้ายเหล่านั้นด้วย
แผนงบประมาณใหม่
แผนการดำเนินงาน
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการทำโครงการ