cover_1

พาพญาแร้งที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติกลับคืนป่าเมืองไทย

เงินบริจาคของคุณจะช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูและวางแผนเพาะพันธุ์ให้กับประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย6ตัว

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
17 เม.ย. 2567

อัปเดตโครงการกิจกรรมโครงการพญาแร้งคืนถิ่น

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

17 เม.ย. 2567 - 17 เม.ย. 2567

กิจกรรมที่ 1 ค่าอาหาร/ค่าขนส่งอาหาร
โครงการพญาแร้งคืนถิ่น จัดการการขนส่งอาหารสำหรับพญาแร้งสำหรับเจ้าหน้าที่โครงการฯ เพื่อใช้ในการขนส่งอาหารไปยังกรงพญาแร้งที่ตั้งอยู่หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จำนวน 12 เดือน ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะขยายพันธุ์พญาแร้งในสภาพกรงฟื้นฟู ในเรื่องอาหารให้เหมาะสมและเก็บข้อมูลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับคู่สร้างรังวางไข่ ในการดำเนินงานที่ผ่านมา พญาแร้งมีสุขภาพสมบูรณ์และสามารถวางไข่ในธรรมชาติได้สำเร็จ และเป็นไข่ใบแรกที่เกิดในถิ่นอาศัยเดิมตามธรรมชาติ

กิจกรรมที่ 2 ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก
วันที่ 17 ธันวาคม 2566 ป๊อก-มิ่ง พญาแร้งที่กรงฟื้นฟู หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า ขสป.ห้วยขาแข้ง ได้วางไข่พญาแร้งใบแรก ทั้งนี้ทีมผู้ดูแลได้เตรียมความพร้อมสำหรับไข่พญาแร้ง โดยการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับฟักขาพญาแร้งจำนวน 1 ชุด ประจำที่กรงฟื้นฟู หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า ขสป.ห้วยขาแข้ง หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินกรณีพ่อแม่นกไม่ยอมฟักไข่ต่อ

กิจกรรมที่ 3 ค่าประอุบัติเหตุผู้ดูแลพญาแร้ง
จัดทำประกันชีสิตให้กับผู้ดูแลพญาแร้ง เนื่องจากพญาแร้งเป็นนกขนาดใหญ่และมีกรงเล็ก รวมถึงปากที่แข็งแรงอีกทั้งเป็นการฟื้นฟูในธรรมชาติ จึงมีความจำเป็นในการทำประกันชีวิตเพื่อความปลอดภัยของผู้ดูแลพญาแร้ง

กิจกรรมที่ 4 ค่ายเยาวชนร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายรอบห้วยขาแข้ง
มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมเนื่องจากงบประมาณไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยสื่อสารเรื่องราวพญาแร้งผ่านการออกบูธจัดกิจกรรมในงานต่างๆ เช่น
วันที่ 29 เมษายน 2566 ร่วมกิจกรรมปฎิบัติการสำรวจธรรมชาติในเมือง 2566 กับองค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม พาเหรดมาเสิร์ฟความรู้ และกิจกรรมสนุกๆ มากมาย ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน หลังทำกิจกรรมผู้เข้าร่วมได้เห็นพัฒนาการของลูกพญาแร้งในแต่ละช่วงวัย
วันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2566 ร่วมกิจกรรมงาน 18th Thailand Bird Fair 202 เทศกาลนกเมืองไทยครั้งที่ 18 ภายใต้หัวข้อ “Living in harmony : Birds and Human Co-Existence” คนกับนกอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ กรุงเทพมหานคร

กิจกรรมที่ 5 เคลียร์แนวกันไฟรอบพื้นที่กรงฟื้นฟูพญาแร้ง
สนับสนุนค่าน้ำมันให้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งในการใช้รถไถและเครื่องเป่าลม เพื่อกำจัดเชื้อเพลิงบริเวณรอบกรงฟื้นฟูพญาแร้ง

กิจกรรมที่ 6 ซ่อมแซมกรงพญาแร้ง
หลังจากสร้างกรงฟื้นฟูพญาแร้งที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเสร็จสิ้นเมื่อปี 2565 และได้นำพญาแร้งจำนวน 1 คู่ ไปฟื้นฟูในกรงดังกล่าว ช่วงเดือนกันยายนกรงฟื้นฟูพญาแร้งมีส่วนชำรุดเสียหายจากสัตว์ป่าที่เข้ามากินซากสัตว์ที่เหลือจากอาหารแร้ง และจากอายุการใช้งาน จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการซ่อมแซมและปรับปรุงกรงฟื้นฟูพญาแร้งอย่างเร่งด่วน เมื่อวันที่ 25-30 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 40,635 บาท ปัจจุบันไม่มีสัตว์เข้าไปรบกวนพญาแร้งในกรงฟื้นฟู

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ อธิบาย จำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
สัตว์ พญาแร้งในกรงเลี้ยงที่สวนสัตว์โคราชและกรงฟื้นฟูเขขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 8 ตัว พญาแร้ง จำนวน 2 คู่ มีความพร้อมในการจับคู่ผสมพันธุ์ โดยทั้ง 2 คู่ ให้ไข่คู่ละ 1 ฟอง และฟักเป็นตัวในธรรมชาติ 1 ตัว อีก 1 ฟองอยู่ระหว่างการฟักในตู้กกไข่