เงินบริจาคของคุณจะเก็บกู้ซากปะการังที่ยังมีชีวิตมาดูแลจนแข็งแรง แล้วนำไปปลูกตามแนวปะการังให้กับทะเลที่เกาะเต่า1แห่ง
อยากรับอุปการะต้นปะการังน้อยๆ สักต้นไหมครับ? โครงการอนุรักษ์ปะการังฯ นิวเฮเว่น ที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี เราเก็บกู้ซากปะการังที่ยังมีชีวิตมาดูแลจนแข็งแรง แล้วนำไปปลูกตามแนวปะการัง เราเปิดให้ผู้สนใจรับอุปการะปะการังรายปี หรือจะลงมาช่วยพวกเราที่เกาะเต่าเลยก็ได้
ปัญหาโลกร้อนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล โดยเฉพาะปะการังซึ่งเป็นบ้านของสัตว์น้ำ แต่นอกเหนือจากภัยธรรมชาติแล้ว การท่องเที่ยวกระแสหลักและการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งกลับซ้ำเติมสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลร้ายแรงยิ่งกว่า การที่ปะการังถูกกัดกร่อนและล้มตายก็ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อย่างใหญ่หลวง ทีมนิวเฮเว่น ซึ่งได้ตั้งโรงเรียนสอนดำน้ำที่เกาะเต่า และมีคอร์สสอนดำน้ำเพื่อการอนุรักษ์ท้องทะเล มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกและให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว/นักศึกษาที่สนใจ และรายได้ก็นำมาอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ทางทะเลและแนวปะการังบนเกาะเต่า
New Heaven Reef Conservation Program (NHRCP) ได้เริ่มอย่างจริงจังนับแต่ปี 2550 อย่างไรก็ดี งานอนุรักษ์ท้องทะเล ดูจะเป็นงานที่ใหญ่เกินกำลังคนเพียงไม่กี่คน ตัวอย่างเช่น โครงการอุปการะปะการัง ก็ใช่เพียงสร้างบ้านให้ปะการัง แต่ต้องคอยดูแล วิจัย เช็คคุณภาพน้ำ เก็บขยะใต้ทะเล และงานอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันจะอยู่รอดและเติบโตได้จริงๆ การประคับประคองไปจนตลอดรอดฝั่งเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งต้องการทั้งความรู้ เทคโนโลยี กำลังคน กำลังทรัพย์ เวลา และใจ หากคุณสนใจอยากจะช่วยฟื้นฟูแนวปะการังทะเลไทย สามารถบริจาคเงินผ่านเว็บเทใจ เพื่อรับอุปการะต้นปะการังได้
อุปการะปะการัง | บาท/ปี |
---|---|
1/4 ต้น | 1,000 |
1/2 ต้น | 2,000 |
3/4 ต้น | 3,000 |
1 ต้น | 4,000 |
*เป็นค่าใช้จ่ายการดูแลรายปี รวมค่าบุคลากร นักวิจัย นักประดาน้ำ อุปกรณ์ต่างๆ อาทิ ค่าเรือและเชื้อเพลิง อุปกรณ์ดำน้ำ ออกซิเจน โครงสร้างบ้านพักปะการัง ฯลฯ
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากกิจกรรมอุปการะปะการัง
ชิน เดฟ และ แช็ด ชาวไทย ซิพริอัต (ประเทศไซปรัส) และอเมริกัน ชายจาก 3 ทวีป มาตกหลุมรักท้องทะเลแห่งเกาะเต่า ที่ๆ พวกเขารู้สึกว่า ทีนี่แหละคือ “บ้าน” ความหลงไหลในการดำน้ำชมปะกะรังได้พัฒนาจนกลายเป็นความรู้สึกอยากปกป้องความสวยงามใต้ทะเลเหล่านั้น และได้เปิดโรงเรียนสอนดำน้ำ New Heaven เพื่อนำรายได้มาอนุรักษ์ท้องทะเลเกาะเต่า เห็นได้ชัดว่างานอนุรักษ์ธรรมชาตินั้นไร้ข้อจำกัดทางเชื้อชาติและพรมแดน
เดฟ (Devrim Zahir) แต่งงานและอยู่เมืองไทยมากว่า 20 ปีแล้ว ได้บอกว่า “เกาะเต่านี้เล็กมาก จนผมรู้สึกว่าทั้งเกาะนี้คือบ้าน และผมอยากจะปกป้องบ้านของผม”
ชิน (ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย) บัณฑิตวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จากมหิดลอินเตอร์ ผู้หลงใหลและเชี่ยวชาญเรื่องปลาฉลาม จากที่แต่เดิมศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์ การไปเกาะเต่าทำให้เขาเปลี่ยนความคิดมาเป็นนักอนุรักษ์และใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่สัตว์ทะเล เช่น การวิจัยเรื่องไบโอร็อค*
แช็ด (Chad Scott) หนุ่มอเมริกันที่จบสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้มีโอกาสไปฝึกงานกับกลุ่ม CPAD (Coastal Preservation and Development foundation) ที่เกาะเต่า อันเป็นแหล่งดำน้ำชมปะการังที่งดงามของเอเชีย ทำให้เขาอยากมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อย่างเต็มตัว เขาคิดว่า การให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกแก่นักท่องเที่ยวนั้นสำคัญไม่น้อยกว่าการลงมือทำ เช่น การอนุรักษ์ปะการัง และยังหวังว่าในอนาคต โรงเรียนสอนดำน้ำทั้งหมดบนเกาะเต่า (และที่อื่นๆ) จะหันมาช่วยกันอนุรักษ์ทะเลอย่างจริงจัง
*biorock คือโครงสร้างโลหะที่มีไฟฟ้าไหลผ่านนำไปวางไว้ใต้ทะเลเพื่อช่วยให้เกิดการแยกโมเลกุลระหว่างออกซิเจนออกจากไฮโดรเจน ผลที่ได้คือการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ สัตว์ทะเลจะสร้างแคลเซียมได้ดีขึ้น จึงเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แข็งแรง
วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU), Personal Overseas Development (POD), KAYA Responsible Travel, Frontier
เปิดให้มีการรับอุปการะต้นปะการังเป็นรายปี เพื่อระดมทุนในการดูแลฟื้นฟูแนวปะการัง ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพใต้ทะเล และเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำ
จัดทำโครงการอุปการะปะการัง โดยกู้กิ่งปะการังที่เสียหายมาอนุบาล *เน้นว่าไม่ไปหักปะการังมาจากต้นแม่เพื่อหารายได้ เราช่วยปะการังที่เสียหายตามธรรมชาติ และจากมนุษย์ (การท่องเที่ยวกระแสหลัก, การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง)
สร้างบ้านอนุบาลปะการังใต้ทะเล *เน้นว่ากระบวนการทุกอย่างทำใต้น้ำทั้งหมด เพราะเป็นสภาวะที่ดีที่สุดต่อปะการัง จะไม่มีการนำปะการังขึ้นมาโชว์เหนือน้ำ
วิจัยและดูแล คอยดูแล ซ่อมแซมบ้านพัก เก็บข้อมูลการเติบโตของปะการัง วิจัยสภาพน้ำทะเล ฯลฯ อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ติดตามผลงานของพวกเราได้เสมอผ่าน www.newheavendiveschool.com www.facebook.com/NHRCP
ย้ายต้นที่แข็งแรงไปสร้างแนวปะการัง
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าใช้จ่ายการดูแล รวมค่าบุคลากร นักวิจัย นักประดาน้ำ อุปกรณ์ต่างๆ อาทิ ค่าเรือและเชื้อเพลิง อุปกรณ์ดำน้ำ ออกซิเจน โครงสร้างบ้านพักปะการัง ฯลฯ | 1ปี | 32,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 32,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 3,200.00 |
เทใจดอทคอม เริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดีๆ เพื่อสังคม เทใจเป็นโครงการภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีมูลนิธิเพื่อ “คนไทย” และ สถาบัน ChangeFusion ร่วมกันสร้างพื้นที่กลางนี้ขึ้นมา เราอยากให้เทใจเป็นพื้นที่สำหรับคนที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม และให้สมาชิกของเทใจสามารถมีส่วนร่วมติดตามผลการดำเนินโครงการที่ตนบริจาคได้
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้