cover_1

ตู้ไอติมแห่งฟาร์มสุข

Farm sook ice creamFarm sook ice cream
เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะนำไปซื้อตู้ไอศกรีมให้กับเด็กๆ ในสถานแรกรับได้ทำไอศกรีมไปขาย1ตู้

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

20 ธ.ค. 2555 - 30 มี.ค. 2556

พื้นที่ดำเนินโครงการ

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จ.กรุงเทพมหานคร

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYZERO HUNGERDECENT WORK AND ECONOMIC GROWTHREDUCED INEQUALITIESPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กๆ ในสถานแรกรับ
1กลุ่ม

เราสอนเด็กในสถานแรกรับให้ทำไอศกรีมพรีเพี่ยมโฮมเมดแสนอร่อยแล้วนำไปขาย แบ่งรายได้ให้เด็ก ใช้เป็นต้นทุนผลิตต่อ และเก็บไว้สอนเด็กกลุ่มต่อไปด้วย ตอนนี้เราต้องการ “ตู้ไอศกรีม” สำหรับเพิ่มพื้นที่ในการกระจายความสุขให้มากขึ้น

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

หลายคนอาจจะเคยเหมาไอศกรีมเป็นถังๆ ไปเลี้ยงเด็กตามสถานสงเคราะห์ แต่ ชัยฤทธิ์ อิ่มเจริญ ลงมือทำไอศกรีมนมโฮมเมดด้วยตนเอง เพราะตั้งใจให้เด็กได้ทานไอศกรีมคุณภาพดี มีประโยชน์จากนม สะอาด และหวานน้อย อย่างที่ตัวเองได้ทาน

หลังจากทำไอศกรีมเปี่ยมคุณภาพเพื่อนำไปเลี้ยงเด็กได้ 3 ปี เขาพบว่าสิ่งที่ทำยังไม่ยั่งยืนจึงเปลี่ยนมาสอนเด็กๆ จากสถานแรกรับให้สามารถทำไอศกรีมได้ด้วย หลังจากได้เข้าร่วมโครงการกิจการเพื่อสังคมของสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ก็ได้รับคำแนะนำว่าควรทำให้เกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น จากที่เคยทำไอศกรีมไปเลี้ยงเด็กจึงเปลี่ยนมาเป็นเข้าไปสอนเด็กทำไอศกรีมแทน ส่งผลให้เด็กๆ ได้รับทั้งรายได้ ทักษะ และการพัฒนาจิตใจจนได้รับรางวัลด้านกิจการเพื่อสังคมด้านอาหารเพื่อสุขภาพ และวางขายภายใต้แบรนด์ “ฟาร์มสุข” โดยรายได้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

  1. ให้เด็กเป็นค่าผลิต
  2. นำไปซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตต่อ
  3. เก็บไว้สอนเด็กกลุ่มต่อไป

จากการที่ได้เข้าไปสอนเด็กทำไอศกรีมพรีเมี่ยมโฮมเมดในสถานที่ต่างๆ จำนวนเด็กที่ทำไอศกรีมเป็นจึงมีมากขึ้น และเมื่อเร็วๆ นี้ฟาร์มสุขได้รับพื้นที่ตั้งตู้ไอศกรีมสำหรับวางขายในร้านชูใจ ชั้น 3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แต่เรายังไม่มีตู้ไอศกรีมจึงต้องการระดมทุนเพื่อซื้อตู้ไอศกรีมสำหรับนำไอศกรีมฝีมือน้องๆ ไปวางขาย เป็นการเพิ่มช่องทางการขาย ทำให้เด็กๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น มีวิชาชีพในการเลี้ยงตนเอง 

ประโยชน์ของโครงการ :

  1. สถานแรกรับสามารถมีส่วนแบ่งรายได้จากยอดขายเพื่อช่วยให้การดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือและเยียวยาเด็กในความคุ้มครองเป็นไปได้สะดวกมากขึ้น
  2. เด็กๆ ในสถานแรกรับจะได้รับการฝึกอาชีพ มีรายได้ มีความภูมิใจ มีทัศนะที่ดีต่อการกลับออกไปใช้ชีวิตในสังคม และตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง
  3. เพิ่มทางเลือกและเตรียมความพร้อมให้กับเด็กในการกลับเข้าสู่สังคม
  4. เชื่อมโยงช่องว่างระหว่างสังคมและเด็กในบ้านแรกรับให้มีส่วนร่วมและจิตสำนึกร่วมกัน
  5. เปลี่ยนพฤติกรรมเด็กๆ จากผู้บริโภคเป็นผู้ผลิต สร้างความทัดเทียมในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
  6. สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ และสังคม
  7. เพิ่มทางเลือกในการบริโภคไอศกรีมให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการทานไอศกรีมที่หวานแต่พอดี

หมายเหตุ ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ สกส. เป็นจำนวน 50,000 บาทในการตั้งต้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่

http://www.facebook.com/farmsookicecream

สมาชิกภายในทีม :

ชัยฤทธิ์ อิ่มเจริญ

ทำงานด้านออกแบบ เริ่มต้นทำไอศกรีมเลี้ยงเด็กตั้งแต่ 3 ปีที่แล้วโดยใช้ชื่อว่า scoop the love ปัจจุบันเป็นคนควบคุมดูแลด้านการผลิต งานบัญชี และงานประชาสัมพันธ์ การตลาด สรุปว่าทำทุกอย่างในกิจการไอศกรีมเพื่อสังคม FarmSookIcecream

ติดต่อ

https://www.facebook.com/whoisbom

ภาคี :

สกส. และ บ้านเด็กหญิงธัญญพร รังสิต คลอง 5

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนเพื่อซื้อตู้ไอศกรีมสำหรับนำไอศกรีมฝีมือเด็กๆ ไปวางขาย เป็นการเพิ่มช่องทางการขาย ทำให้เด็กๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น มีวิชาชีพในการเลี้ยงตนเอง

แผนการดำเนินงาน

  1. สอนเด็กบ้านแรกทำไอศครีมเพื่อสร้างรายได้และวิชาชีพ

  2. ซื้อตู้ไอศกรีมจำนวน 1 ตู้ ราคา 13,900 บาท สำหรับไปตั้งวางขายในร้านชูใจ ชั้น 3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าตู้ไอศครีม

1ตู้13,900.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด13,900.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)1,390.00
ยอดระดมทุน
15,290.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

Farm sook ice cream

Farm sook ice cream

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon