cover_1
ใกล้ถึงเป้าหมาย
+1

ต้นไม้ของเรา

RECOFTCRECOFTC
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำให้มีต้นไม้เพิ่ม 20,000 ต้น และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกรกว่า100คน

ระยะเวลาระดมทุน

14 มี.ค. 2565 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ชุมชน อ.สันติสุข จ.น่าน

เป้าหมาย SDGs

LIFE ON LAND

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เกษตรกร
100คน
พื้นที่สวน/ป่า
10,000ต้น

ร่วมอุปถัมภ์ต้นไม้ ต้นละ 100 บาท เพื่อฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำจังหวัดน่าน ด้วยการปรับลดการปลูกพืชไร่ระยะสั้น สู่การปลูกต้นไม้หลากหลาย โดยร่วมมือกับเกษตรในพื้นที่สูงเป็นระยะเวลา 3 ปี ตลอดโครงการผู้อุปถัมภ์จะสามารถติดตามผลต้นไม้ที่ปลูกได้

โครงการต้นไม้ของเรา หรือ Trees4All นั้นถูกคิดขึ้นมาเพื่อระดมทุนและแรงหนุนจากคนปลายน้ำและภาคส่วนต่างๆ เพื่อช่วยทำให้เกษตรกรในพื้นที่สูงเช่นในจังหวัดน่าน สามารถมีแรงใจและมีความพร้อมที่จะปรับลดการปลูกพืชไร่ระยะสั้นมาสู่การปลูกต้นไม้ที่หลากหลาย เพื่อฟื้นฟูให้ระบบนิเวศของแหล่งต้นน้ำสำคัญของประเทศนั้นได้กลับคืนมา

โดยการเปิดให้มีการอุปถัมภ์ต้นไม้ ต้นละ 100 บาท เพื่อให้เกษตรกรสามารถได้รับการชดเชยและมีเงินทุนในการปลูกและดูแลต้นไม้ในเวลา 3 ปี พร้อมกับการสร้างระบบเกษตรและการทำธุรกิจเกษตรที่เกื้อกูลกับระบบนิเวศต่อไปได้ และเพื่อที่จะได้ติดตาม “ต้นไม้ของเรา” ไปอย่างต่อเนื่อง การปลูกต้นไม้ของเราในครั้งนี้จะมีระบบในการแสดงตำแหน่งต้นไม้ที่เราปลูกขึ้นเพื่อการติดตามการเติบโตของต้นไม้ พร้อมกับรายงานผลดีที่เกิดขึ้นในทั้งทางด้านระบบนิเวศ ความเป็นอยู่

ปัญหาสังคม

จังหวัดน่านเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ โดยที่แม่น้ำน่านมีสัดส่วนของน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยามากถึง 40% แต่จากภาพที่เราพบเห็นในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาคือภาพของภูเขาหัวโล้นและการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว ซึ่งการสูญเสียพื้นที่ป่าที่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลาหลายปีนี้กำลังส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่และคนปลายน้ำ

ความท้าทายประการสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้เป็นเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดน่านคือภูเขาที่มีความลาดชัน ขาดแคลนแหล่งน้ำ และความมั่นคงของสิทธิในที่ดิน ทางเลือกในการทำเกษตรที่ยั่งยืนนั้นเต็มไปด้วยข้อจำกัด เกษตรกรในจังหวัดภาคเหนือ เช่นจังหวัดน่าน จึงต้องจมอยู่กับวงจรของการปลูกพืชไร่ระยะสั้น เช่น ข้าวโพด ที่มาพร้อมกับป่าที่ลดลง และผลกระทบทางลบอย่างอื่นมากมายทั้งปัญหาสุขภาพและหนี้สิน จากตัวเลขที่รีคอฟได้ทำการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ในบางปีเกษตรกรได้กำไรจากการขายข้าวโพดเพียง 900-1,000 บาทต่อไร่ต่อปี แม้กระนั้นเกษตรกรไม่สามารถออกจากวงจรของความไม่ยั่งยืนนี้ได้ ในขณะที่ต้องเผชิญกับความเสื่อมถอยของระบบนิเวศ ทั้งเรื่องภัยพิบัติ หมอกควันพิษ และการปนเปื้อนของสารเคมี ที่กระทบมาถึงพวกเราเช่นกัน

ชาวชุมชน ณ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่านต้องการหยุดวงจรที่ก่อปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำนี้

 

 

พวกเรามีเวลาช่วยกันลดอุณหภูมิของโลกเหลือไม่ถึงสิบปีหลังจากนี้แล้ว โดยหนึ่งวิธีการบรรเทาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการยืนยันจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกแล้ว คือ การปลูกต้นไม้และจัดการป่า ซึ่งการปลูกต้นไม้เป็นเรื่องง่ายและเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ แต่การทำให้ต้นไม้อยู่รอดและฟื้นฟูระบบนิเวศได้จริงอย่างยั่งยืนนั้น กลับพบว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและขยายวงกว้าง กุญแจที่สำคัญคือคนในท้องถิ่น ซึ่งการปลูกและดูแลต้นไม้ให้อยู่รอดจะต้องทำให้คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์และเป็นเจ้าของกระบวนการอย่างแท้จริง พร้อมไปกับการได้รับการสนับสนุนเพื่อแบ่งเบาภาระต้นทุนการดูแลต้นไม้และป่าโดยคนทุกส่วนในสังคม เพราะการปลูกต้นไม้ครั้งนี้ คือ การปลูกต้นไม้เพื่อพวกเราทุกคน

เป้าหมาย การปลูกต้นไม้เพื่อลดพื้นที่การปลูกพืชเชิงเดี่ยว 100 ไร่ เพื่อให้มีต้นไม้เพิ่ม 20,000 ต้น และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกร 100 คน 

โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการต้นไม้ของเรา

  1. เกษตรกรที่มีที่ดินทำกินอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำและมีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม
  2. มีความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนจากรูปแบบการใช้ที่ดินจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และวางแผนการใช้ที่ดินที่มีความหลากหลายและยั่งยืนในระยะยาว
  3. ยินดีเข้าร่วมโครงการต้นไม้ของเราและจะปลูกและดูแลต้นไม้อย่างน้อย 100 ต้นต่อไร่ ในระยะเวลา 3 ปี โดยมีการดูแลรักษาและจัดทำข้อมูลรายงานผลการเติบโต เพื่อการติดตามการรอดตาย และตรวจสอบข้อมูลได้


วิธีการดำเนินงานนั้นประกอบด้วย 5 กลุ่มงาน

  • กลุ่มงานแรก: การประเมินสภาพพื้นที่และการใช้ที่ดินปัจจุบันของแปลงที่ดินที่จะเข้าร่วมโครงการ
  • กลุ่มงานที่สอง: เตรียมความพร้อมให้เกษตรกรและจัดทำข้อตกลงร่วมกับเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ
  • กลุ่มงานที่สาม: การจัดทำระบบบัญชีต้นไม้และระบบการจ่ายเงิน รวมถึงการติดตามผล
  • กลุ่มงานที่สี่: การเตรียมการเพาะกล้าและการเพาะปลูกต้นไม้
  • กลุ่มงานที่ห้า: การรวมกลุ่มเกษตรกรและการค้นหาผู้ประกอบการ

ผู้อุปถัมภ์สามารถติดตามตำแหน่งการปลูกต้นไม้ และข้อมูลการเติบโตของต้นไม้ที่ได้อุปถัมภ์ จากรายงานภาพรวมของเกษตรกรผู้ปลูกทั้งหมดในโครงการต้นไม้ของเรา และนำเสนอแบบบันทึกข้อมูลการสำรวจการติดตามการรอดตายของกล้าไม้ปลูกใหม่รายต้น โดยสามารถระบุพิกัดตำแหน่งของต้นไม้และนำเสนอรูปแบบการปลูกเป็นแผนที่รายแปลง พร้อมภาพถ่ายต้นไม้ในแปลงจริง เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อุปถัมภ์ได้ว่า การสนับสนุนของท่านได้ก่อให้เกิดต้นไม้ขึ้นจริง ที่จะได้รับการดูแลจากชุมชนท้องถิ่น

ปีที่ 1

  • ผลลัพธ์: ประเมินพื้นที่ การเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรและองค์กรสถาบันการเงินชุมชน (กลุ่มรักษ์สันติสุข)
  • ผลลัพธ์ 2: การเตรียมกล้าไม้และการเพาะปลูกในแปลงเกษตร
  • ผลลัพธ์ 3: การทำข้อตกลงกับเกษตรกรและสร้างระบบในการติดตาม
  • ผลลัพธ์ 4: สร้างระบบทะเบียนต้นไม้และระบบการจ่ายเงินให้แก่เกษตร

ปีที่ 2 - ปีที่ 3

  • ผลลัพธ์ 1: สนับสนุนการดูแลต้นไม้ที่ปลูกในปีที่ 1 การเพิ่มการปลูกในปีที่ 2 และการติดตามความเติบโตของต้นไม้
  • ผลลัพธ์ 2: แผนการทำธุรกิจจากต้นไม้ที่ปลูก และประสานกับผู้ประกอบการ
  • ผลลัพธ์ 3: ดำเนินการระบบทะเบียนต้นไม้และการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกร
  • ผลลัพธ์ 4: ระบบการติดตามและประเมินผลของการปลูกต้นไม้ และการรายงานผลให้แก่ผู้บริจาค

RECOFTC (ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า)

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ประเมินสภาพพื้นที่และการใช้ที่ดินปัจจุบันของแปลงที่ดินที่จะเข้าร่วมโครงการ

  2. เตรียมความพร้อมให้เกษตรกรและจัดทำข้อตกลงร่วมกับเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ

  3. จัดทำระบบบัญชีต้นไม้และระบบการจ่ายเงิน รวมถึงการติดตามผล

  4. เตรียมการเพาะกล้าและการเพาะปลูกต้นไม้

  5. รวมกลุ่มเกษตรกรและการค้นหาผู้ประกอบการ

แผนการดำเนินงาน

  1. ก.พ. 2565 - ก.พ. 2566

    ในปีที่ 1 ของโครงการจะมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ - ประเมินสภาพพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการฟื้นฟูระบบนิเวศในอำเภอสันติสุข - ค้นหาเกษตรกรที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ และจัดทำข้อมูลการใช้ที่ดินและการถือครองในปัจจุบัน - ประชาสัมพันธ์โครงการ แนะนำเงื่อนไขการจ่ายเงินและกาปลูกต้นไม้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงการทำสัญญาข้อตกลงในการรับเงิน - เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการแจ้งจำนวนต้นไม้ที่จะทำการปลูก และนำข้อมูลลงบันทึกในสมุดฝากต้นไม้ของสถานบันการเงินชุมชน - จัดเตรียมกล้าไม้และสนับสนุนการเตรียมแปลงปลูก และการปลูกต้นไม้ - จัดเตรียมระบบการจ่ายเงินและระบบการติดตามข้อมูล ซึ่งจะเริ่มดำเนินการ

  2. ก.พ. 2566 - ก.พ. 2567

    ปีที่ 2 - สนับสนุนการดูแลต้นไม้ที่ปลูกในปีที่ 1 การเพิ่มการปลูกในปีที่ 2 และการติดตามความเติบโตของต้นไม้ - แผนการทำธุรกิจจากต้นไม้ที่ปลูก และประสานกับผู้ประกอบการ - ดำเนินการระบบทะเบียนต้นไม้และการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกร - ระบบการติดตามและประเมินผลของการปลูกต้นไม้ และการรายงานผลให้แก่ผู้บริจาค

  3. ก.พ. - ธ.ค. 2567

    ปีที่ 3 - สนับสนุนการดูแลต้นไม้ที่ปลูกในปีที่ 2 การเพิ่มการปลูกในปีที่ 3 และการติดตามความเติบโตของต้นไม้ - แผนการทำธุรกิจจากต้นไม้ที่ปลูก และประสานกับผู้ประกอบการ - ดำเนินการระบบทะเบียนต้นไม้และการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกร - ระบบการติดตามและประเมินผลของการปลูกต้นไม้ และการรายงานผลให้แก่ผู้บริจาค

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าอุปถัมภ์ต้นไม้ของเรา ระยะเวลา  3 ปี

(ต้นละ 100 บาท)

20,000ต้น2,000,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด2,000,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)200,000.00
ยอดระดมทุน
2,200,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

RECOFTC

RECOFTC

กรุงเทพมหานคร

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon