cover_1

ส้วมโรงเรียน โดยมูลนิธิกระจกเงา

เด็กและเยาวชน
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะสร้างห้องส้วม / ซ่อมบำรุงห้องส้วมที่ชำรุดให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนและห่างไกลในจังหวัดเชียงราย10โรงเรียน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

16 พ.ย. 2564 - 21 พ.ย. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

โรงเรียนที่ขาดแคลนและห่างไกล จ.เชียงราย

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGCLEAN WATER AND SANITATION

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

สถานศึกษา
10แห่ง

ห้องส้วมถือเป็นหนึ่งในอาคารสถานที่ภายในโรงเรียนที่ต้องมีความสะอาด ปลอดภัย และเพียงพอต่อการใช้สอยของเด็กนักเรียน

ด้วยข้อจำกัดและการขาดแคลนงบประมาณในการสร้างและซ่อมบำรุง ทำให้โรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกลจำนวนไม่น้อยมีห้องส้วมที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน เด็กชาย/หญิงต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน หลายห้องมีสภาพทรุดโทรม ผุพัง แตกหัก สามารถสร้างอันตรายต่อเด็กได้ สุขภัณฑ์และระบบต่าง ๆ เสื่อมสภาพ กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

ดังนั้นเราจึงต้องการสร้างและซ่อมบำรุงห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะให้มีความปลอดภัยและเพียงพอต่อการใช้งานของเด็ก รวมถึงส่งเสริมสุขนิสัยในการใช้และดูแลรักษาห้องส้วมสาธารณะที่ถูกวิธีให้กับเด็กในโรงเรียนที่ห่างไกลและขาดแคลน ในจังหวัดเชียงราย

โดยมีเป้าคือสร้างห้องส้วม 40 ห้อง / ซ่อมบำรุงห้องส้วมที่ชำรุด 10 โรงเรียน

ปัญหาสังคม

 

    “การเข้าห้องส้วมที่ปลอดภัย ล้วนมีผลต่อสุขภาพ ความเป็นส่วนตัว และศักดิ์ศรีของคน” วันที่ 19 พ.ย. ของทุกปี องค์การสหประชาชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้เป็นวัน วันส้วมโลก (World Toilet Day; WTD) ด้วยตระหนักถึงปัญหาด้านสุขาภิบาลของคนทั่วโลก ซึ่งพบว่ามีเกือบ 5,000 ล้านคนที่มีส้วมไม่ได้มาตรฐาน

    ห้องสุขาหรือห้องส้วมสาธารณะไม่ว่าจะเป็นห้องสุขาหรือห้องส้วมในห้างสรรพสินค้า ในตลาด ในปั๊มน้ำมัน หรือแม้แต่ห้องส้วมในโรงเรียน ในแต่ละวันก็มีคนใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าห้องส้วมนั้นไม่ได้รับการดูแลให้มีความสะอาดและความปลอดภัย ผู้ใช้ก็จะมีความเสี่ยงต่อการที่จะได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้นปัญหาเรื่องห้องสุขาหรือห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยต่าง ๆ ทั้งจากเชื้อโรค สัตว์ และมนุษย์เองอีกด้วย

ห้องสุขาหรือห้องส้วมของโรงเรียน ในท้องถิ่นห่างไกล

    ห้องสุขาหรือห้องส้วมถือเป็นหนึ่งในด้านอาคารสถานที่ภายในโรงเรียนที่ต้องมีความสะอาด ปลอดภัย และเพียงพอต่อการใช้สอยของเด็กนักเรียน ในขณะที่ปี พ.ศ.2550 ประเทศไทย โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับห้องน้ำในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษา เทศบาล และกรมสามัญศึกษาทั่วประเทศ กว่า 10,000 โรงเรียน พบว่า มีห้องน้ำเพียง 15 % ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ในเรื่องของความสะอาด (Heathy) ความเพียงพอ (Accessibility) และความปลอดภัย (Safety)

    จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดชายแดนที่มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงสลับกับภูเขา ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศดังกล่าวโรงเรียนและนักเรียนจำนวนไม่น้อยกระจายอยู่ตามโรงเรียนในอำเภอซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกล และจากการทำการศึกษาด้วยการสุ่มสำรวจข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับห้องน้ำในโรงเรียนจำนวน 20 โรงเรียน ในเขตอ.แม่จัน และ กลุ่มโรงเรียนตำบลแม่ยาว/ดอยฮางอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยนำเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ในเรื่องของความสะอาด (Heathy) ความเพียงพอ (Accessibility) และความปลอดภัย (Safety) ของห้องสุขาในโรงเรียนมาพิจารณา จะพบว่า

    • ด้านความเพียงพอ : หลายโรงเรียนมีห้องสุขาที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน จึงไม่สามารถแบ่งแยกการใช้งานได้ ทำให้เด็กชายและหญิงต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน และบางโรงเรียนเด็กเล็กระดับอนุบาลไม่มีห้องน้ำเฉพาะที่เหมาะสมกับวัย ต้องใช้ร่วมกับเด็กโต

    • ด้านความปลอดภัย : หลายโรงเรียนสภาพของห้องสุขามีสภาพที่ทรุดโทรม ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ทั้งในเรื่องของโครงสร้างที่ผุพัง แตกหัก เสียหาย สามารถสร้างอันตรายต่อเด็กได้ สุขภัณฑ์และระบบต่าง ๆ เริ่มเสื่อมสภาพ ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ส่งผลต่อการดูแลรักษาความสะอาด ทำให้กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอายุการใช้งานที่ยาวนานของห้องสุขาและไม่ได้รับการซ่อมบำรุงอย่างเหมาะสม ส่วนที่มักพบปัญหาคือหลังคาที่ผุพัง ผนังแตกร้าว และประตูเสียหาย

    • ด้านความสะอาด : ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากอายุการใช้งานของห้องสุขา ซึ่งนอกจากอายุการใช้งานและความเสื่อมโทรมทำให้ยากต่อการดูแลและรักษาความสะอาดแล้ว บางโรงเรียนมีปัญหาเรื่องของระบบน้ำใช้ในจุดห้องสุขา ไม่มีระบบเก็บน้ำสำรองเป็นการเฉพาะส่วน เมื่อเจอปัญหาขาดแคลนน้ำก็นำไปสู่ปัญหาเรื่องของความสะอาด และอีกประเด็นที่สำคัญคือพฤติกรรมการใช้และดูแลห้องสุขาสาธารณะที่ถูกวิธี

    โดยสาเหตุหลักของปัญหาห้องสุขาในโรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกล คือ

    1) ขาดแคลนงบประมาณ เพราะโอกาสที่โรงเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดกลางและเล็กในท้องถิ่นห่างไกล จะได้รับงบประมาณในการซ่อมบำรุงอาคารสถานที่น้อยมาก ในแต่ละปีที่มีการเสนอเรื่องไปก็จะมีไม่กี่โรงเรียนที่ได้รับอนุมัติ และแม้นว่าจะได้รับอนุมัติงบประมาณแล้วกว่างบจะมาก็จะมีความล่าช้าข้ามปี และถึงแม้นว่าจะได้งบประมาณมาแต่ก็มีอาคารสถานที่หลายส่วนในโรงเรียนที่ต้องการการซ่อมบำรุงเช่นกัน ดังนั้นแต่ละโรงเรียนจึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญในการซ่อมบำรุง และห้องสุขามักจะเป็นลำดับท้าย ๆ ในการปรับปรุง/ซ่อมบำรุงหรือจัดสร้างให้เพียงพอ

    2) พฤติกรรมการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ นักเรียนจำนวนไม่น้อยในท้องถิ่นห่างไกลยังมีพฤติกรรมการใช้ห้องสุขาโดยเฉพาะห้องสุขาสาธารณะที่ยังไม่ถูกวิธี ขาดความเข้าใจ ใส่ใจ และยังไม่เห็นความสำคัญของสุขอนามัยจากการใช้และร่วมกันดูแลรักษาห้องสุขารวม

    ดังนั้นเพื่อสุขอนามัยที่ดีของเด็กนักเรียนในพื้นที่ชนบทห่างไกล และเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขนิสัยที่ดีด้านสุขาภิบาลให้กับเด็กในท้องถิ่นห่างไกล มูลนิธิกระจกเงาจึงได้จัดทำโครงการ “ส้วมโรงเรียน" ขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนในท้องถิ่นห่างไกลมีห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะใช้อย่างเพียงพอ ปลอดภัย และสะอาด  มีสุขอนามัยที่ดีขึ้น มีความเข้าใจและตระหนักในเรื่องของสุขภาวะที่ดี จากการใช้ห้องสุขาที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ  อีกทั้งยังมุ่งหวังว่าสังคมจะเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขาภิบาลของเด็ก และมีส่วนร่วมในการดูแลและแบ่งปันเพื่อเด็ก ๆ ในท้องถิ่นห่างไกลร่วมกัน

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. มูลนิธิกระจกเงาจัดทำโครงการ “ส้วมโรงเรียน" เพื่อให้เด็กนักเรียนในท้องถิ่นห่างไกลมีห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะใช้อย่างเพียงพอ ปลอดภัย และสะอาด  มีสุขอนามัยที่ดีขึ้น มีความเข้าใจและตระหนักในเรื่องของสุขภาวะที่ดี จากการใช้ห้องสุขาที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ  อีกทั้งยังมุ่งหวังว่าสังคมจะเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขาภิบาลของเด็ก และมีส่วนร่วมในการดูแลและแบ่งปันเพื่อเด็ก ๆ ในท้องถิ่นห่างไกลร่วมกัน

  2. สำรวจข้อมูลห้องสุขาในโรงเรียน คัดเลือก ประสานงาน/ประสานความร่วมมือ

  3. เปิดระดมทุนและระดมอาสาสมัครเข้าร่วมปฏิบัติการซ่อม/สร้างห้องสุขาหรือห้องส้วมให้กับโรงเรียนในโครงการ โดยแบ่งเป็น • งานปรับปรุง/ซ่อมบำรุง : ปรับปรุง/ซ่อมแซมห้องน้ำ จำนวน 20 โรงเรียน • งานสร้าง : จัดสร้างห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะเพิ่ม จำนวน 50 ห้อง • จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างและปลูกฝังสุขอนามัยพื้นฐาน ให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียน 50 โรงเรียน

แผนการดำเนินงาน

  1. งานปรับปรุง/ซ่อมบำรุง ทำการปรับปรุง/ซ่อมแซมห้องน้ำห้องสุขาให้กับโรงเรียนที่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีมาตรฐาน มีความปลอดภัยและง่ายต่อการดูแลรักษาความสะอาด พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณห้องสุขา จำนวน 20 โรงเรียน

  2. งานสร้าง จัดสร้างห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะเพิ่มเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานของเด็กนักเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลนห้องสุขา หรือมีห้องสุขาที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ พร้อมทั้งจัดให้มีภูมิทัศน์ที่ดีในบริเวณห้องสุขา จำนวน 50 ห้อง

  3. จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างและปลูกฝังสุขอนามัยพื้นฐาน สร้างสุขนิสัยที่ดีในการใช้และดูแลรักษาห้องสุขา สร้างจิตสำนึกในการใช้ห้องน้ำที่ดี เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น เพื่อสุขอนามัยที่ดีร่วมกันให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียน 50 โรงเรียน

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
สำรวจข้อมูล คัดเลือก ประสานงาน/ประสานความร่วมมือ

(ค่าเดินทาง/ประสานงาน ค่าอาหาร/น้ำดื่ม)

1งาน30,000.00
ปฏิบัติการซ่อมห้องสุขา: โรงเรียนละ 30,000 บาท

ค่าเดินทาง ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ค่าอาหาร/น้ำดื่ม ค่าช่าง เบ็ดเตล็ด

10โรงเรียน300,000.00
สร้างห้องสุขาใหม่: โรงเรียนละ 45,000 บาท

ค่าเดินทาง ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ค่าอาหาร/น้ำดื่ม ค่าช่าง เบ็ดเตล็ด

40ห้อง1,800,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด2,130,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)213,000.00
ยอดระดมทุน
2,343,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิกระจกเงา คือ องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม หลายด้านได้แก่ งานด้านสิทธิมนุษยชน งานด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาอาสาสมัครและการแบ่งปันทรัพยากร เพื่อเพิ่มศักยภาพใน การเรียนรู้และการใช้ชีวิต โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งบนสังคมออนไลน์ (internet) สังคมเมืองและสังคมชนบท โดยทำหน้าที่เป็นกระจกเงา ที่สะท้อนเรื่องราว ความเป็นจริงของสังคมและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผล กระทบจาก การเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้วยวิธีคิด คือ การสร้างคนและสร้างนวัตกรรม สร้างความมเปลี่ยนแปลงแก่สังคม มีวิสัยทัศน์ "สร้างคน สร้างนวัตกรรม สร้างการเปลี่ยนแปลง"

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon