cover_1

ป่าจิ๋วในเมือง “ฟื้นธรรมชาติ สู้ฝุ่นพิษ ดูดคาร์บอน เมืองเย็นลง”

Change FusionChange Fusion
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะเพิ่มพื้นที่ป่าในเมืองเป็นป่าจิ๋วในสวน 15 นาทีของ กทม.ให้กับพื้นที่ที่รกร้างหรือไม่ได้รับการปรับปรุง1ไร่

ระยะเวลาระดมทุน

26 ธ.ค. 2566 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

พื้นที่ใต้ทางด่วน พระราม 9 ตัดถนนประดิษฐ์มนูณธรรม แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง จ.กรุงเทพมหานคร 10310

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATIONCLIMATE ACTIONLIFE ON LAND

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

พื้นที่สวน/ป่า
1ไร่
เด็กและเยาวชน
30คน

มาช่วยกันทำให้กรุงเทพมีป่าจิ๋วๆ ในสวนใกล้บ้านและโรงเรียน ป่าจิ๋วจะตอบปัญหาชีวิตขาดธรรมชาติของคนเมือง ลดความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากวิกฤตภูมิอากาศ แถมยังกรองฝุ่นพิษทั้ง PM2.5 -ควันไอเสีย

นอกจากนั้นยังเป็นการฟื้นฟูให้ธรรมชาติกลับเข้ามาในเมือง ทำให้เกิดการเชื่อมพื้นที่ให้สัตว์น้อยใหญ่ทั้งนก หนอน ผีเสื้อ ผึ้ง กระรอก แมลงปอ ฯลฯ มีที่พักและที่อยู่ในเมืองดุจเป็นโอเอซิสของเหล่าสิ่งมีชีวิต ช่วยสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ไปพร้อมกับเป็นพื้นที่เรียนรู้ธรรมชาติของเด็ก เยาวชน และชาว กทม.

ปัญหาสังคม

ป่าจิ๋วเกิดจากการปลูกต้นไม้ตามแนวทางฟื้นป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (framework species method) เป็นต้นไม้ท้องถิ่น 500 ต้นต่อไร่ซึ่งจากการวิจัยพบว่าเหมาะสมกับการตั้งต้นให้กับพื้นที่ที่ต้องการฟื้นฟูให้มีลักษณะใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ โดยมีต้นไม้ประมาณ 20-30 ชนิด ผสมกันทั้งพรรณไม้ที่เลี้ยง (pioneer species) ที่สร้างเรือนยอดปกคลุมพื้นที่ได้เร็ว และพรรณไม้เสถียร (climax species) ซึ่งมีอายุขัยเฉลี่ยยาวนาน ทนทาน เป็นอาหารให้สัตว์ตามธรรมชาติได้ เน้นพันธ์ุดึงดูดสัตว์ผู้ช่วยกระจายเมล็ดเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งเพียง 3 ปีก็จะสูงเลยหัวคน ให้ร่มเงา พอเรือนยอดชิดกันก็ปิดไม่ให้แสงแดดลงถึงพื้น เมืองเองก็ไม่ต้องเสียค่าตัดหญ้าในพื้นที่ป่าจิ๋วอีก  

โดยมีเป้าหมายจะสร้างต้นแบบป่าจิ๋วและพื้นที่รับน้ำด้วยธรรมชาติที่แรกในเขตห้วยขวาง พื้นที่ใต้ทางด่วน พระราม 9 ตัดถนนประดิษฐ์มนูณธรรม ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการสวน 15 นาทีของ กทม.​  ซึ่งวิเคราะห์แล้วว่าเป็นพื้นที่สำคัญทั้งในการสร้างความเขียวขจี ลดอุณหภูมิพื้นผิว และกรองฝุ่น PM2.5  

กระแสเรื่องป่าจิ๋ว (tiny forest / urban forestry) เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ อินเดีย ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ ซึ่งมักจะเป็นการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมือง ควบคู่ไปกับการจับคู่กับโรงเรียนที่ให้นักเรียนมาร่วมเรียนรู้ดูแลธรรมชาติใกล้พื้นที่ตัวเอง รวมถึงการติดตามความหลากหลายทางชีวภาพแบบนักวิทยาศาสตร์พลเมือง (citizen scientists) ซึ่งสำคัญต่อการสร้างให้เด็กและคนรุ่นใหม่เติบโตที่เติบโตในเมืองสามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับธรรมชาติได้อย่างมีความหมายและจับต้องได้ และมีการวัดผลถึงประสิทธิภาพในการลดความร้อนในเมือง กรองฝุ่น PM2.5 และรองรับน้ำตามธรรมชาติได้อย่างดี 

นอกจากนี้โครงการจะพัฒนาพื้นที่รับน้ำด้วยธรรมชาติ (natural drainage) ในพื้นที่สวนเป้าหมายร่วมไปกับป่าจิ๋ว เพื่อปรับพื้นที่ให้มีความสามารถในการช่วยรับน้ำฝนในพื้นที่ตนเอง หรือช่วยรับน้ำฝนจากพื้นสาธารณะโดยใช้วิธีการตามธรรมชาติ นอกจากเป็นการฟื้นธรรมชาติแล้วยังเป็นการเพิ่มความสามารถของพื้นที่ในการรับมือมรสุมที่รุนแรงให้กับเมือง ลดความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วมพื้นที่ลง 

ซึ่งเมื่อพัฒนาพื้นที่ได้สำเร็จก็จะเป็นต้นแบบต่อการขยายผลให้เกิดป่าจิ๋วและพื้นที่รับน้ำด้วยธรรมชาติให้กระจายไปยังพื้นที่สวน 15 นาทีต่างๆใน กทม. ในอนาคตอันใกล้

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ปลูกต้นไม้ตามแนวทางฟื้นป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง (framework species method) เป็นต้นไม้ท้องถิ่น 500 ต้นต่อไร่

  2. มีเป้าหมายจะสร้างต้นแบบป่าจิ๋วและพื้นที่รับน้ำด้วยธรรมชาติที่แรกในเขตห้วยขวาง พื้นที่ใต้ทางด่วน พระราม 9 ตัดถนนประดิษฐ์มนูณธรรม ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการสวน 15 นาทีของ กทม.​  ซึ่งวิเคราะห์แล้วว่าเป็นพื้นที่สำคัญทั้งในการสร้างความเขียวขจี ลดอุณหภูมิพื้นผิว และกรองฝุ่น PM2.5

  3. จับคู่กับโรงเรียนที่ให้นักเรียนมาร่วมเรียนรู้ดูแลธรรมชาติใกล้พื้นที่ตัวเอง รวมถึงการติดตามความหลากหลายทางชีวภาพแบบนักวิทยาศาสตร์พลเมือง (citizen scientists)

  4. พัฒนาพื้นที่รับน้ำด้วยธรรมชาติ (natural drainage) ในพื้นที่สวนเป้าหมายร่วมไปกับป่าจิ๋ว เพื่อปรับพื้นที่ให้มีความสามารถในการช่วยรับน้ำฝนในพื้นที่ตนเอง

แผนการดำเนินงาน

  1. ระดมทุนและความร่วมมือจากภาคีต่าง ๆ

  2. สรุปแบบร่วมกับทางเขตและภาคีสำคัญเกี่ยวกับการวางแผน landscape โดยรวม พื้นที่ป่าจิ๋ว และพื้นที่รองรับน้ำด้วยวิธีธรรมชาติ ตรวจสอบกับสำนักโยธาฯถึงความเหมาะสมของพื้นที่และโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง

  3. ปรับพื้นที่ เตรียมการปลูกร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง เตรียมต้นกล้า และอุปกรณ์ต่างๆ

  4. ดำเนินการปลูกร่วมกับนักเรียน ผู้สนับสนุน และผู้สนใจ เป็นกิจกรรมปลูกต้นไม้ร่วมกัน

  5. ดำเนินการจัดการพื้นที่รองรับน้ำด้วยธรรมชาติรอบๆ สวน

  6. ติดตามและร่วมดูแล โดยทาง กทม. และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

  7. จัดกิจกรรมสำรวจธรรมชาติในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับนักเรียนและผู้สนใจ ผ่าน app iNaturalist

  8. วัดผลความอยู่รอดของต้นไม้ ปลูกซ่อมและดูแลต่อเนื่อง

  9. จัดทำรายงานประจำปีถึงผลลัพธ์สำคัญ เช่น จำนวนต้นไม้ที่เติบโต ความสูง ความหลากหลายทางชีวภาพ ประเมินการกักเก็บคาร์บอนเบื้องต้น

  10. สรุปบทเรียนสำคัญ เพื่อพัฒนาแนวทางการขยายผลป่าจิ๋วและพื้นที่รับน้ำด้วยธรรมชาติไปยังพื้นที่อื่นๆ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าจัดกระบวนการวางแผนทำแผน วางผัง และการออกแบบ

1รายการ100,000.00
ค่าปรับพื้นที่และวางโครงสร้าง รวมถึงจัดการพื้นที่รับน้ำ

1รายการ200,000.00
ทำสวนป่า

(เตรียมต้นไม้ ปลูก และกิจกรรมร่วมปลูกกับนักเรียนและผู้สนใจ ติดตามทำข้อมูลรายงาน)

1รายการ300,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด600,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)60,000.00
ยอดระดมทุน
660,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

Change Fusion

Change Fusion

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon