cover_1

ส่งน้องเข้าห้องเรียนธรรมชาติ

นางกันตินันท์ ผิวสอาดนางกันตินันท์ ผิวสอาด
เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับเด็ก ๆ ที่ขาดโอกาสเรียนรู้กิจกรรมเสริมหลักสูตรในห้องเรียนธรรมชาติ500คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

1 ก.ย. 2565 - 30 มิ.ย. 2566

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

QUALITY EDUCATIONCLIMATE ACTIONLIFE ON LAND

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
500คน
สถานศึกษา
5แห่ง

มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) ชวนให้ทุนส่งน้อง 500 คนจาก 5 โรงเรียน เข้าเรียนห้องเรียนธรรมชาติ นักเรียนได้เรียนรู้จากการกระทำและประสบการณ์ตรงที่จะได้รับจาการเรียนรู้ในห้องเรียนธรรมชาติ

ปัญหาสังคม

 

มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ Foundation for Environmental Education for Sustainable Development (Thailand) : FEED

เป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีภารกิจในการให้ความรู้ สร้างความตระหนักกับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและสร้างเครือข่ายพันธมิตรสิ่งแวดล้อมศึกษา ในการบูรณาการความรู้ด้านการอนุรักษ์ในแต่ละศาสตร์ ให้เกิดองค์ความรู้อย่างเป็นรูปธรรมและสามารถชี้วัดได้

 

มูลนิธิเป็นหน่วยงานบริหารจัดการศูนย์ศึกษาธรรมชาติและศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

   -  ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จ.สมุทรปราการ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2547)

   - ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” จ.ฉะเชิงเทรา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2558)

   - ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้าเมืองสีเขียว จ.พระนครศรีอยุธยา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563)

ดำเนินการให้ความรู้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปโดยเชื่อมโยงกับทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด กระตุ้นการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสนุกและสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้โดยไม่ต้องท่องจำ โดยอ้างอิงหลักสูตร STEAM และหลักสูตรพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแกนกลางในออกแบบโปรแกรมและกิจกรรม

ในแต่ละปี ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) ได้รับการติดต่อจากโรงเรียนเพื่อขอเข้ารับบริการกิจกรรมธรรมชาติศึกษา เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากงบประมาณในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านธรรมชาติศึกษามีอย่างจำกัด จึงส่งผลให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมธรรมชาติศึกษาให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนงบประมาณได้อย่างพอเพียง

มูลนิธิได้ตระหนักถึงความเท่าเทียมในการเข้าถึงกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเรียนรู้ในห้องเรียนธรรมชาติ และเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะของนักเรียนตามนโยบายการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยการพัฒนา 4H คือ

Head (กิจกรรมพัฒนาสมอง)

Heart (กิจกรรมพัฒนาจิตใจ)

Hand (กิจกรรมพัฒนาทักษะการปฏิบัติ)

Health (กิจกรรมพัฒนาสุขภาพ)

 

เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการกระทำและประสบการณ์ตรงที่จะได้รับจากการเรียนรู้ในห้องเรียนธรรมชาติ จึงจัดทำโครงการ “ส่งน้องเข้าห้องเรียนธรรมชาติ” เพื่อแสวงหาผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดกิจกรรมธรรมชาติศึกษาให้แก่นักเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลนงบประมาณ ทุกช่วงชั้น จำนวน 500 คน ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) โอกาสนี้จึงขอชวนทุกคนร่วมสนับสนุนทุนให้เยาวชน 500 คนได้เข้าสู่ห้องเรียนธรรมชาติไปด้วย

 

Targets

ประเภท จำนวน รายละเอียด เปลี่ยนแปลง
เด็กและเยาวชน 500 คน นักเรียนขาดโอกาสเรียนรู้กิจกรรมเสริมหลักสูตรในห้องเรียนธรรมชาติ ตามกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา นักเรียนได้รับความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีความสุข สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้โดยไม่ต้องท่องจำ และเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โรงเรียน ไม่เกิน 5 โรงเรียน ขาดแคลนงบประมาณในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรธรรมชาติให้แก่นักเรียน ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของกิจกรรมเสริมหลักสูตรธรรมชาติศึกษา ในการเชื่อมโยงกับหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดกิจกรรมธรรมชาติศึกษาให้แก่นักเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลนงบประมาณ

แผนการดำเนินงาน

  1. ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครโรงเรียนที่มีความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการ โดยมูลนิธิจะดำเนินการคัดเลือกตามความเหมาะสม

  2. กำหนดตารางการจัดกิจกรรมธรรมชาติศึกษา โดยใช้โปรแกรมการเรียนรู้ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง (ครึ่งวัน) ให้แก่นักเรียนทุกช่วงชั้น จำนวน 100 คนต่อครั้ง จำนวน 5 ครั้ง

  3. จัดหา อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน ของรางวัล/ของที่ระลึก สำหรับนักเรียนและโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้ง อาหารว่าง อาหารกลางวัน และเครื่องดื่ม

  4. บันทึกภาพกิจกรรม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ใน facebook page ของศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบางปู และของมูลนิธิฯ รวมทั้งเว็บไซต์ของมูลนิธิ (www.feedthailand.org)

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ทุนน้องเข้าห้องเรียนธรรมชาติคนละ 400 บาท ประกอบด้วย อุปกรณ์สำหรับนักเรียน (สมุด กระดาษสี ปากกา ดินสอ ดินสอสี ถุงผ้า และอื่นๆ) สื่อการสอน อาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม

500คน200,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด200,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)20,000.00
ยอดระดมทุน
220,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางกันตินันท์ ผิวสอาด

นางกันตินันท์ ผิวสอาด

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon