cover_1

กิจกรรมวันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ

บีวิซิเบิลเอเชีย (Be Visible Asia)บีวิซิเบิลเอเชีย (Be Visible Asia)
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะจัดกิจกรรมรณรงค์วันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ (TDOV)ให้กับคนข้ามเพศ1ครั้ง

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

11 มี.ค. 2562 - 31 มี.ค. 2562

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGGENDER EQUALITYREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

LGBTQ
1,000คน

ร่วมสนับสนุนกิจกรรมรณรงค์วันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ (TDOV) จัดพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี

เพื่อร่วมเรียนรู้และส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ #TDOV2019Thailand

ปัญหาสังคม

รายงานเฉพาะเจาะจงประเด็นคนข้ามเพศในเอเชีย แปซิฟิก ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (Lost in Transition, UNDP, 2012) ระบุว่ามีประชากรคนข้ามเพศประมาณ 9 - 9.5 ล้านคน ทว่าประเทศไทยยังไม่มีการสำรวจจำนวนประชากรคนข้ามเพศอย่างเป็นระบบ มีเพียงข้อมูลเริ่มต้นจากบางแหล่งเช่น การเกณฑ์ทหารปี 2561 มีหญิงข้ามเพศต้องเข้าร่วมเกณฑ์ทหารตามกฎหมายกำหนดเป็นจำนวนประมาณ 1% ของชายที่มาเกณฑ์ทหารทั้งหมด 520,672 คน อย่างไรก็ตามยังมีชายข้ามเพศ (ถูกกำหนดเพศกำเนิดเป็นหญิง) และ คนข้ามเพศในช่วงวัยต่างๆ อีก ซึ่งจากการเสนอภาพผ่านสื่อเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปในระดับนานาชาติว่าประเทศไทยเป็นชุมชนขนาดใหญ่อันดับต้น ที่มีการรวมกลุ่มของคนข้ามเพศ ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนข้ามเพศที่มีตัวตนเห็นเด่นชัด ทว่าคนทั่วไปในสังคมไทยยังไม่เข้าใจคนกลุ่มนี้เท่าที่ควรเพราะติดภาพตายตัวว่ามีภาพลักษณ์ร่วมกันพื้นฐานเกี่ยวกับความตลก คนข้ามเพศในประเทศไทยยังต้องทำงานรณรงค์ต่อเนื่องในเรื่องความเท่าเทียมในโอกาสการจ้างงาน, ความเป็นมืออาชีพในสาขาวิชาชีพต่างๆ, เด็กและเยาวชนข้ามเพศต้องไม่ถูกรังแกในโรงเรียน และเป็นที่น่าสนใจว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งใหญ่อันดับต้นของโลกที่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับการผ่าตัดยืนยันตัวตนทางเพศและการแปลงเพศ แต่ประเทศไทยไม่มีกฎหมายรับรองสถานะบุคคลให้คนข้ามเพศแม้จะผ่านการแปลงเพศไปแล้ว ซึ่งสร้างปัญหาอุปสรรค และความไม่เท่าเทียมในการดำเนินชีวิตให้กับคนกลุ่มนี้อย่างมาก ทั้งในเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงิน, การติดต่อราชการ, การเดินทางต่างประเทศ, หรือแม้แต่การสมัครงานดังที่กล่าวไปข้างต้น

วิธีการแก้ปัญหา

  1. กิจกรรมที่จะนำสู่การทำความเข้าใจสมาชิกกลุ่มต่างๆ ในสังคมจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารเรื่องความหลากหลายและเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งกิจกรรมวันสากลตระหนักถึงตัวตนคนข้ามเพศ (Trans Day of Visibility #TDOV2019Thailand) จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในประเทศไทย วันที่ 31 มีนาคม พร้อมกับเครือข่ายการทำงานเรื่องคนข้ามเพศทั่วโลก โดยเสมือนว่าเป็นประเพณีแล้วที่จะรวมตัวศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักแสดง รวมทั้งเพื่อนๆ มาร่วมชม ร่วมฟัง ร่วมพูดคุย เพื่อเฉลิมฉลองการมีตัวตนและไฮไลท์งานที่ผ่านมาที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนให้สังคมตระหนักถึงคนข้ามเพศในทิศทางที่เหมาะสม #TDOV2019Thailand วางแผนจัดขึ้นโดย “บีวิซิเบิลเอเชีย” (Be Visible Asia) องค์กรไม่แสวงผลกำไร ด้านความหลากหลายทางเพศ ร่วมกับ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย; องค์กรแรกที่จดทะเบียนในประเทศไทยเพื่อทำงานด้านความหลากหลายทางเพศ และ องค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ อีกมากในเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ คณะทำงานได้ผ่านการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมและสิทธิทางเพศมาแล้วมากมาย เช่น วันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ คนรักสองเพศ (IDAHOT Thaiand, 17 May) ซึ่งตามที่กล่าวไป TDOV ถูกจัดโดยกลุ่มคนเหล่านี้มาแล้วถึง 2 ปีต่อเนื่องกัน โดยปีนี้จะจัดขึ้นที่ มณเฑียรมอลล์ อาคารลายไทย ชั้น 2, สุรวงศ์ กรุงเทพฯ

แผนการดำเนินงาน

  1. ระดมทุน งบประมาณ แสวงหาทรัพยากร การสนับสนุน

  2. ประสานงานกับภาคีเครือข่ายให้เกิดความร่วมมือ พร้อมจัดตั้งคณะทำงาน

  3. ระบุประเด็นหลักหรือธีมการรณรงค์ประจำปี

  4. ประสานงานหาสถานที่จัดงาน ศิลปินนักแสดง และอุปกรณ์ เครื่องเสียง การจัดแต่งสถานที่

  5. สื่อสารต่อเนื่องบนพื้นที่ออนไลน์

  6. สรุปและประเมินผล

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าจ้างเหมาประสานงานภาคีความร่วมมือ (รวมสื่อสารภาษาอังกฤษกับองค์กรระหว่างประเทศ)

1คน10,000.00
ค่าเช่าพื้นที่จัดงาน

1แห่ง10,000.00
ค่าเช่าอุปกรณ์เครื่องเสียง/อุปกรณ์ไฟ

1ชุด12,000.00
ค่าจัดกิจกรรมย่อยในวันรณรงค์ 4 กิจกรรม และค่าพาหนะสนับสนุนภาคีร่วมออกบูธ 3 บูธ

1วัน13,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด45,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)4,500.00
ยอดระดมทุน
49,500.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

บีวิซิเบิลเอเชีย (Be Visible Asia)

บีวิซิเบิลเอเชีย (Be Visible Asia)

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon