เงินบริจาคของคุณจะจัดการสัมมนาเรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกและเสริมสร้างความมั่นใจจากภายในให้กับผู้พิการทางสายตา200คน
จัดกิจกรรมการสัมมนาเกี่ยวกับการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้พิการทางสายตาทั้งหมด 4 ครั้ง ดังนี้
จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 1 ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เรื่อง “พูดถึงจุดอ่อนยังไงให้ไม่ดูเป็น Loser” โดย นายอนุรักษ์ ปฐมลิขิตกาญจน์ ในวันที่ 22 มกราคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น.
จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 2 ให้แก่ผู้พิการผู้พิการทางสายตา เรื่อง “เหตุผลของการไม่มั่นใจ ไม่กล้าออกนอกคอมฟอร์ตโซน” โดย นางสาวณุชนาฎ โต๊ะดี นักวิชาการศึกษา (ผู้ชำนาญการพิเศษ) ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00-12.00 น.
จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 3 ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เรื่อง “จิตวิทยากับการสร้างความมั่นใจ” โดย ผศ.ดร.อาดัม นีละไพจิตร ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00-12.00 น.
จัดกิจกรรมสัมมนาครั้งที่ 4 ให้แก่ผู้พิการทางสายตา เรื่อง “ทักษะการเข้าสังคม และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี” โดย นางสาวกมลชนก บุญเกตุวัฒนากุล ในวันที่ 5 มีนาคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น.
โดยการจัดกิจกรรมสัมมนาทั้ง 4 ครั้งจะเป็นการจัดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างโปรแกรม Zoom meeting ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะเป็นผู้พิการทางสายตาทั้งเพศหญิงและเพศชาย อายุ 25-35 ปี จำนวน 30 คน สิ่งที่ได้รับหรือการเกิดความเปลี่ยนแปลงคือผู้พิการทางสายตามีความเข้าใจเรื่องของความหลากหลายในสังคม และนำไปสู่ความมั่นใจทางด้านบุคลิกภาพ ทั้งความมั่นใจที่มาจากภายในและความมั่นใจด้วยรูปลักษณ์ภายนอกและผู้พิการทางสายตาสามารถที่จะเรียนรู้และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
โดยยอดบริจาคที่ได้รับสนับสนุนจากการระดมทุนผ่านทางเว็บไซต์เทใจ ช่วยส่งผลให้ผู้พิการทางสายตาทั้งเพศหญิงและเพศชาย ช่วงอายุ 25-35 ปี จำนวน 30 คน มีความเข้าใจในเรื่องของการเสริมสร้างความมั่นใจที่มากขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ มีการเรียนรู้ถึงเทคนิค วิธีการ รวมถึงจิตวิทยาที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้พิการทางสายตา ผ่านการจัดกิจกรรมการสัมมนาออนไลน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ และร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากการใช้ชีวิตของผู้พิการทางสายตาต้องมีการต่อรองกับภาพเหมารวมเชิงลบที่สังคมสร้างขึ้นอยู่เสมอ จึงมักทำให้ผู้พิการทางสายตาเกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินชีวิตไม่มากก็น้อย นอกจากนี้การจัดโครงการดังกล่าวไม่ใช่เพียงแค่สร้างความมั่นใจทั้งจากภายในและภายนอกให้กับผู้พิการทางสายตาเท่านั้นแต่ยังทำให้คนปกติทั่วไปมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของผู้พิการทางสายตาว่าแท้จริงแล้วผู้พิการทางสายตาก็สามารถที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนกับคนทั่วไปเพียงแต่อาจจะมีวิธีการใช้ชีวิตที่ต่างจากคนปกติทั่วไป