cover_1

UNDP เพื่อขยายโอกาสการสร้างรายได้ ให้ชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เด็กและเยาวชน
ผู้สูงอายุ
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปช่วยเหลือและสร้างสันติให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบในสามในจังหวัดชายแดนใต้1กลุ่ม

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

25 มิ.ย. 2560 - 31 มี.ค. 2561

พื้นที่ดำเนินโครงการ

จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYREDUCED INEQUALITIESPEACE, JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้ที่ได้รับผลกระทบในสามในจังหวัดชายแดนใต้
1กลุ่ม

ร่วมกันแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยการอบรมทักษะอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้กับผู้หญิงที่ต้องสูญเสียผู้นําครอบครัว สร้างอาชีพให้ผู้พิการ

ปัญหาสังคม

#ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง

ฟื้นอาชีพ คืนสันติ แก่ชาวใต้

เงินบริจาคของคุณสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ ร่วมกับ UNDP ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ และสร้างสันติในจังหวัดชายแดนใต้

ปัญหาภาคใต้เรื้อรังมาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี

หญิงหม้ายกว่า 3,000 คน รวมทั้งเด็กกำพร้าอีกกว่า 5,000 คนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ทำงานโดยตรงในพื้นที่ร่วมกับทุกฝ่าย ไม่ว่าชาวบ้านในพื้นที่ นักวิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะเด็ก สตรี และผู้พิการ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งแต่ปี 2554

โดยมุ่งเน้นการสร้างความสมานฉันท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ การส่งเสริมอาชีพเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ขณะเดียวกัน ก็เพื่อให้ผู้คนในชุมชนที่มีความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม ได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกัน มีโอกาสพบปะพูดคุยกัน จากความร่วมมือส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ นำไปสู่การลดความหวาดระแวงและความร่วมมือด้านอื่นๆเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาในชุมชน

“นับแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา UNDP ได้ร่วมแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยการส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มสตรีที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ มีผู้คนหลายพันได้รับประโยชน์”

"น้ำตาลโตนด" เชื่อมชุมชนสองวัฒนธรรม เสริมรายได้และสร้างสันติ

สองหมู่บ้าน บ้านทุ่ง และบ้านหัวคลอง ใน ต.ท่าข้าม อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี เป็นชุมชนพุทธและมุสลิมอยู่ร่วมกัน UNDP ได้สนับสนุนชุมชนทั้งสองชุมชนให้มีการพัฒนาน้ำตาลโตนดในชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน UNDP ได้เชิญนักวิชาการมาอบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดที่เคยผลิตในรูปแบบน้ำเชี่อมเป็นน้ำตาลก้อนและน้ำตาลทรายซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานกว่ารสชาติดีกว่า และจำหน่ายได้ราคาสูงกว่า นับเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่ประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ พื้นที่ชุมชนที่ใช้ร่วมกันในการผลิตยังเป็นประโยชน์ในการเป็นพื้นที่พบปะระหว่างสมาชิกกลุ่ม รวมถึงคนอื่นๆในชุมชน ทำให้ความหวาดระแวงระหว่างกันลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการในชุมชนร่วมกับ UNDP

เปลี่ยนน้ำมันทอดเหลือทิ้ง เป็นรอยยิ้มของผู้พิการ

อ.รามัน จ.ยะลา คือ หนึ่งในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบอยู่บ่อยครั้ง ความไม่สงบส่งผลให้การประกอบอาชีพดำเนินไปอย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการ UNDP ได้ลงพื้นที่และพบว่าในพื้นที่มีน้ำมันทอดเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาสร้างมูลค่าได้ และยังมีผู้ประกอบการที่พร้อมรับซื้ออยู่แล้ว

UNDP สนับสนุนกลุ่มผู้พิการ โดยร่วมกับวิสาหกิจชุมชน ไบโอ ดีเซล จ.ยะลา รับซื้อน้ำมันทอดอาหารใช้แล้วเพื่อนำไปผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ได้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการรับซื้อน้ำมันใช้แล้ว และจัดตั้งจุดรับซื้อในชุมชนต่างๆ โดยผู้พิการจะได้รายได้จากการจำหน่ายน้ำมันใช้แล้วให้แก่โรงงาน

โครงการไบโอดีเซลเพื่อผู้พิการ ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้พิการให้มีรายได้ ยังช่วยให้ผู้พิการได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งน้ำมันทอดอาหารลงบนถนนหนทางและแม่น้ำลำคลอง และการอนุรักษ์พลังงานด้วยการผลิตน้ำมันไปโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว

กูจิงลือปะ เปลี่ยนพื้นที่ขัดแย้ง เป็นแหล่งผลิตสินค้า

กูจิงลือเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ใน ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส หมู่บ้านแห่งนี้ไม่เป็นที่รู้จักของคนภายนอกมากนัก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งทำให้ชุมชนเหมือนถูกปิดตาย ไม่มีพ่อค้าคนกลางที่ไหนกล้าเข้าไปรับซื้อผลไม้ ชาวบ้านต่างก็ไม่กล้าออกไปทำสวนและกรีดยาง สวนผลไม้หลายสิบไร่บนเขาก็ถูกปล่อยให้รกเป็นป่าไป

ความหวาดกลัว ความหวาดระแวงระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ส่งผลให้ การให้ความช่วยเหลือต่างๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก UNDP จึงร่วมมือกับนักวิชาการของมหาวิทยาลัยและเครือข่ายผู้หญิงในพื้นที่ จัดอบรมการฝึกอาชีพต่างๆ จนในที่สุดกลุ่ม กูจิงลือปะ ตัดสินใจจะผลิตข้าวเกรียบ ซึ่งสามารถผลิตข้าวเกรียบส่งขาย และยังพัฒนาสูตรข้าวเกรียบอย่างหลากหลายและเป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะ ข้าวเกรียบสมุนไพร ที่ส่งวางจำหน่ายตามร้านค้าชุมชนหลายแห่ง และส่งขายไปยังประเทศมาเลเซียปัจจุบัน

มะพร้าวคั่ว สร้างอาชีพในชุมชน ไม่ต้องเดินทางออกนอกพื้นที่ไปทำงาน

UNDP ได้สนับสนุนกลุ่มสตรีในหมู่บ้านเฑียรยา อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานีที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ซึ่งเห็นพ้องกันในการสร้างอาชีพในชุมชน ไม่จำเป็นต้องเดินทางออกนอกพื้นที่ไปทำงานและยังสามารถดูแลครอบครัวได้อีกด้วย โดยเลือกที่จะผลิตมะพร้าวคั่ว ด้วยเห็นว่ามะพร้าวคั่วนิยมใช้ประกอบอาหารอย่างแพร่หลายในภาคใต้และยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งมะพร้าวยังเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วไปในชุมชน ปัจจุบันการผลิตมะพร้าวคั่วของกลุ่มสตรีบ้านเฑียรยาได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นพร้อมกับสมาชิกที่เพิ่มขึ้น

สถานที่ผลิตมะพร้าวคั่วของกลุ่มสตรีหมู่บ้านเฑียรยาไม่ใช่เป็นแค่เพียงสถานที่ประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ของกลุ่มเท่านั้น ยังเป็นสถานที่พบปะ ให้กำลังใจระหว่างสมาชิก และชาวบ้านในชุมชน และที่สำคัญ เป็นสถานที่วิ่งเล่นของเด็กๆ ที่แม่ๆ คั่วมะพร้าวไป ดูลูกๆนั่งเล่นวิ่งเล่น กันไป

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนช่วยเหลืออย่างยั่งยืนและสร้างสันติให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามในจังหวัดชายแดนใต้

แผนการดำเนินงาน

  1. อบรมทักษะอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้กับผู้หญิงที่ต้องสูญเสียผู้นําครอบครัว สร้างอาชีพให้ผู้พิการ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
กองทุนฟื้นอาชีพ คืนสันติ แก่ชาวใต้

1กองทุน1,200,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด1,200,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)120,000.00
ยอดระดมทุน
1,320,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เทใจ - TaejaiDotCom

เทใจ - TaejaiDotCom

กรุงเทพมหานคร

เทใจดอทคอม เริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดีๆ เพื่อสังคม เทใจเป็นโครงการภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีมูลนิธิเพื่อ “คนไทย” และ สถาบัน ChangeFusion ร่วมกันสร้างพื้นที่กลางนี้ขึ้นมา เราอยากให้เทใจเป็นพื้นที่สำหรับคนที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม และให้สมาชิกของเทใจสามารถมีส่วนร่วมติดตามผลการดำเนินโครงการที่ตนบริจาคได้

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon