cover_1

สอนคนตาบอด ปลูกผักสร้างอาชีพ

ผู้ป่วย ผู้พิการ

เงินบริจาคของคุณจะนำมาจัดอบรมปลูกผักสวนครัวให้กับคนตาบอด20คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
18 เม.ย. 2557

อัปเดตโครงการภาพกิจกรรม โครงการสอนคนตาบอด ปลูกผักสร้างอาชีพ

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

18 เม.ย. 2557 - 18 เม.ย. 2557
โครงการสอนคนตาบอดปลูกผัก สร้างอาชีพ โดยคุณมนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช และคุณวิลาสินี ทองศรีเป็นเจ้าของโครงการ ได้ประสานงานกับทางสมาคมคนสายตาเลือนรางในการจัดกิจกรรม โดยใช้พื้นที่ของทางสมาคมที่ใช้ชื่อว่า จอย เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กที่สายตาเลือนราง และสำหรับคนสายตาเลือนรางในการทำกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย โดยหวังว่าทางสมาคมจะใช้พื้นที่ในการลองปลูกผักเพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกอีกในอนาคต
 
กำหนดการของกิจกรรมในวันที่ 19 มีนาคม 2557
08.30 – 09.30 น. ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง
09.30 – 10.00 น. แนะนำเรื่องการปลูกผักในเมืองและรูปแบบต่างๆ
10.00 – 11.30 น. การเพาะงอก
11.30 – 12.00 น. การร่อนดินสำหรับเพาะกล้า
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. การเพาะกล้าและการย้ายกล้า
14.30 – 16.00 น. การปรุงดิน
16.00 – 17.00 น. กิจกรรมศิลปะ
 
วิทยากรที่เข้าร่วมกิจกรรมมีดังนี้
  1. คุณศิริกุล ซื่อต่อชาติ
  2. คุณคำหอม ศรีนอก
  3. คุณวิลาสินี ทองศรี
  4. คุณเอก โอตรวรรณะ
  5. คุณวิโรจน์ ปลอดสันเทียะ
  6. คุณมนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช
รูปแบบกิจกรรมประเมินจากความง่ายในการนำไปปลูกได้จริงในชีวิตประจำวัน รวมถึงผักที่สามารถปลูกและจำหน่ายได้เร็วไม่ต้องใช้เวลามากนัก แต่ให้ผลตอบแทนที่สูง รูปแบบกิจกรรมสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น ประเด็นหลักคงจะมีเพียงการปลูกผักสลัดที่มีความละเอียดในการนำต้นอ่อนลงปลูกในกระถางเพาะชำ ซึ่งต้องใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ การจับต้นอ่อนที่คนตาบอดหรือคนสายตาเลือนรางมองไม่เห็น ทางวิทยากรได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้สัมผัสอุปกรณ์ทุกชนิดเพื่อให้รับรู้สัมผัสที่แตกต่างกันออกไป เป็นกระบวนการครบสูตรในการนำเอาไปใช้ได้จริง เช่น การเตรียมดินสำหรับเพาะต้นอ่อน การปรุงดินสำหรับการลงแปลงปลูก การเพาะต้นอ่อนทางตะวัน ถั่วงอก หรือแม้แต่ผักสลัด จะช่วยสร้างประสบการณ์ในการเลือกนำเอาไปใช้ได้จริง ท้ายสุดเป็นการทบทวนกิจกรรมผ่านความรู้สึกด้วยการทำกิจกรรมศิลปะเป็นการทำงานกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนผ่านชิ้นงานโดยไม่ต้องใส่ใจกับผลงานและสีที่เลือกใช้ ซึ่งเป็นรูปแบบในการสะท้อนความรู้สึกของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้อีกด้วย

 
คุณมุกดา วัฒนามระ อายุ 59 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพ
“เป็นโครงการที่ดีที่จะทำให้ผู้พิการมีอาชีพ ประทับใจในวิทยากรทุกคน จะลองนำความรู้ที่ได้ ไปลองปลูก และแนะนำพี่สาวให้ปลูก เนื่องจากมีพื้นที่เยอะ”
 
คุณอำนวยโชค กัยภัย อายุ 53 ปี ประกอบอาชีพอิสระ 
“วิทยากรเป็นกันเอง ให้ความรู้ที่เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้จริง ระยะเวลาการเรียนโอเค จัดลำดับการเรียนได้ดี อยากนำไปทำต่อ แต่มีปัญหาเรื่องการตลาด ถ้าเข้ามาช่วยเรื่องการประชาสัมพันธ์ จะได้นำไปขยายให้อีกหลายๆ คนได้ทำ”
 
คุณจินตนา หงษ์มี อายุ 35 ปี นักวิชาการ
“เป็นเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน แต่อยากทำมานานแล้ว นึกว่าเป็นเรื่องที่ง่ายแต่ไม่เคยรู้ คิดว่าการปลูกผักจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกครั้ง”
 
คุณมนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช
เจ้าของโครงการ
26 มี.ค. 2557

อัปเดตโครงการระดมทุนเพื่อสังคม กับโครงการสอนคนตาบอดปลูกผักสร้างอาชีพ

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

26 มี.ค. 2557 - 26 มี.ค. 2557

“การปลูกผัก มันเป็นสัญชาตญาณของคนไทย มันเป็นสิ่งที่คนไทยทำมาตั้งแต่รุ่นดึกดำบรรพ์ เราจึงเชื่อว่า การให้คนตาบอดและคนสายตาเลือนลางมาปลูกผัก เค้าทำได้แน่นอน”  คุณป้อม ศิริกุล ซื่อต่อชาติ เจ้าของหนังสือ ปลูกผักกันเถอะ ที่มาร่วมเป็นวิทยากรในโครงการสอนคนตาบอด ปลูกผักสร้างอาชีพกล่าวไว้

 
ดังนั้นสิ่งที่คุณหล่ง มนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช และคุณน้อย วิลาสินี ทองศรี ผู้ที่ริเริ่มโครงการนี้ใน www.taejai.com จึงยิ่งมีความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่คิดทำได้แน่นอน 
 
คุณหล่ง เล่าถึงแรงบันดาลใจการริเริ่มโครงการว่า ผมมีประสบการณ์จากการสอนคนตาบอดและหูหนวกในการทำหนังสั้น ซึ่งเค้าก็ทำได้ดี อย่างหนังสั้นของคนหูหนวกกลุ่มนี้ได้ไปฉายที่ประเทศอังกฤษ ผมจึงเชื่อว่า นอกจากอาชีพขายล๊อตตอรี่ อาชีพอินเตอร์เน็ต มีอาชีพอื่นอีกหรือไม่
 
“ผมได้เจอหลายเคสมาก เช่นคุณป้าตาบอดลงทุนเปิดร้านขายของชำ แต่ลูกค้าขโมยทุกวัน คุณป้าคิดจะกระโดดน้ำตาย ผมจึงอยากให้เค้ามีอาชีพอื่นๆ บ้าง ผมจึงเริ่มคุยกับสวนผักคนเมือง และส่งโครงการนี้ไปที่เว็บไซต์เทใจดอทคอม เพื่อขอรับการะดมทุนจากประชาชนทั่วไปมาสนับสนุนโครงการนี้”
 
เทใจดอทคอมใช้ระยะเวลาการระดม 3 เดือนในการะดมทุน 30,000 บาท โดยผู้บริจาคต่างให้ความสนใจที่พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนกลุ่มพิเศษเหล่านี้ให้มีอาชีพที่ยั่งยืน
 
 
คุณคำหอม ศรีนอก กล่าวถึงการจัดคอร์สนี้ว่า การสอนการปลูกผักสำหรับคนพิเศษ เราจะพยายามออกแบบให้ง่ายมากขึ้น เช่น ช่วงเช้า เราสอนให้เค้าปลูกถั่วงอก ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน ตอนบ่ายสอนการปรุงดิน ปลูกผักสลัด โดยสิ่งที่เราสอนในวันนี้ เราเน้นเลยว่าต้องปลูกง่าย ใช้พื้นที่ไม่เยอะ ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยกลับไปปลูกผักทานที่บ้าน เพื่อเป็นการลดรายจ่ายได้ และหลังจากพัฒนาฝีมือก็สามารถปลูกขายได้แน่นอน
 
การปลูกถั่วงอก หรือต้นอ่อนทานตะวันใช้เวลาไม่นาน แถมผักที่เราสอนยังเป็นการปลูกแบบอินทรีย์ ซึ่งเป็นผักที่มีมูลค่าในท้องตลาด เช่น ต้นอ่อนทานตะวัน ใช้เวลาปลูก 7 วัน สามารถขายได้ขีดละ 30 บาท ถ้าเค้าทำได้ก็จะเป็นค่าขนม ค่าอาหารของเค้าแล้วต่อไป
 
ด้านคุณแมว ผู้พิการสายตาเลือนรางเล่าว่า แต่ก่อนแมวทำอาชีพขายของ แต่เมื่อเริ่มเกิดวิกฤติต่างๆ ทำให้ต้องมาอยู่ดูแลบ้านจนทุกวันนี้ และที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นเพราะอยากรู้วิธิการเริ่มต้นปลูกผักว่าเป็นอย่างไร จะสามารถทำได้บ้างรึเปล่า แต่เมื่อมาร่วมกิจกรรมนี้ทำให้เห็นว่ากาารปลูกผักไม่ใช่เรื่องยาก แค่เรารู้ว่าการซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เมล็ดพันธุ์ในการปลูกผักเป็นอย่างไร เราก็สามารถปลูกเองได้ หลังจากนี้จะเริ่มปลูกผักกินเองที่บ้านก่อน ถ้าอนาคตมีโอกาสก็จะอยากจะปลูกผักขายได้
 
ขณะที่คุณจินตนา ผู้พิการสายตาเลือนรางอีกท่าน มีอาชีพนักวิชาการการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร บอกว่า ดิฉันสนใจการเกษตรอยู่ และมีที่ดินอยู่ต่างจังหวัด ที่ผ่านมายังไม่เคยลองปลูกผัก เมื่อเธอทราบว่าทางสมาคมฯ ได้ร่วมมือกับโครงการสอนคนตาบอด ปลูกผักสร้างอาชีพ จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาจึงเข้าร่วมโดยทันที เพื่ออยากนำความรู้วิธีการปลูกผักออแกนิคนำมาใช้ และคาดหวังว่าเมื่อเกษียณจะทำอาชีพปลูกผักออแกนิคขายอีกด้วย
 
สังคมที่ดีสร้างได้จากแรงสนับสนุนของทุกคน www.taejai.com
21 มี.ค. 2557

อัปเดตโครงการจัดกิจกรรมแล้ว คนตาบอดและสายตาเลือนรางกว่า 20 คน เตรียมกลับไปทดลองปลูกกิน-ขาย

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

21 มี.ค. 2557 - 21 มี.ค. 2557

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2557 ที่ Joy Center  โครงการสอนคนตาบอด ปลูกผักสร้างอาชีพ ให้กับคนบอดและสายตาเลือนลางกว่า 20 ชีวิต

คุณป้อม ศิริกุล ซื่อต่อชาติ เจ้าของหนังสือ ปลูกผักกันเถอะ ได้เริ่มกิจกรรมในช่วงเช้าจาก สอนให้เค้าปลูกถั่วงอก ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน เพราะเป็นพืชที่ง่ายต่อการปลูก และเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ถั่วงอกปลูกในถั่งน้ำ ไม่กี่วันก็กินได้ ขายได้ ส่วนต้นอ่อนทานตะวันก็ใช้เวลาแค่7 วันก็สามารถตัดมารับประทานได้แล้ว 
 
ส่วนช่วงบ่าย คุณคำหอม ศรีนอก ได้สอนการปรุงดิน ปลูกผักสลัด เช่นผักสลัดเมล์ดจะค่อนข้างเล็ก เราก็พยายามหาวิธีให้คนพิเศษเหล่านี้ปลูกได้ โดยการใช้นิ้วสัมผัสและรอให้เมล็ดนี้มีรากสักหน่อยถึงนำไปปลูกลงดินเป็นต้น
 
จากกิจกรรมวันนี้ทั้งสองวิทยากรของเล่ายืนยันว่า คนที่เรากิจกรรมสามารถกลับไปปลูกได้แน่นอนเพราะสิ่งที่เราสอนในวันนี้ เราเน้นเลยว่าต้องปลูกง่าย ใช้พื้นที่ไม่เยอะ ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยกลับไปปลูกผักทานที่บ้าน เพื่อเป็นการลดรายจ่ายได้ และหลังจากพัฒนาฝีมือก็สามารถปลูกขายได้แน่นอน
 
ด้านคุณแมว ผู้พิการสายตาเลือนรางก็มายืนยันอีกครั้งว่า  หลังจากนี้จะเริ่มปลูกผักกินเองที่บ้านก่อน ถ้าอนาคตมีโอกาสก็จะอยากจะปลูกผักขายได้ และการที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นเพราะอยากรู้วิธิการเริ่มต้นปลูกผักว่าเป็นอย่างไร จะสามารถทำได้บ้างรึเปล่า แต่เมื่อมาร่วมกิจกรรมนี้ทำให้เห็นว่ากาารปลูกผักไม่ใช่เรื่องยาก แค่เรารู้ว่าการซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เมล็ดพันธุ์ในการปลูกผักเป็นอย่างไร เราก็สามารถปลูกเองได้
 
ขณะที่คุณจินตนา ผู้พิการสายตาเลือนรางอีกท่าน มีอาชีพนักวิชาการการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร บอกว่า ดิฉันสนใจการเกษตรอยู่ และมีที่ดินอยู่ต่างจังหวัด ที่ผ่านมายังไม่เคยลองปลูกผัก เมื่อเธอทราบว่าทางสมาคมฯ ได้ร่วมมือกับโครงการสอนคนตาบอด ปลูกผักสร้างอาชีพ จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาจึงเข้าร่วมโดยทันที เพื่ออยากนำความรู้วิธีการปลูกผักออแกนิคนำมาใช้ และคาดหวังว่าเมื่อเกษียณจะทำอาชีพปลูกผักออแกนิคขายอีกด้วย
 
สังคมที่ดีสร้างได้จากแรงสนับสนุนของทุกคน www.taejai.com
18 มี.ค. 2557

อัปเดตโครงการ19 มีนาคมนี้ จัดกิจกรรมโครงการสอนคนตาบอด ปลูกผักสร้างอาชีพ

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

18 มี.ค. 2557 - 18 มี.ค. 2557

หลังจากการระดมเงินบริจาคจากชาวเทใจ ตามเป้าหมาย 30,000 บาท  ทางเจ้าของโครงการสอนคนตาบอด ปลูกผักสร้างอาชีพ นำโดย คุณหล่ง มนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดชพร้อมทีมงาน ร่วมกับโครงการสวนผักคนเมืองและสมาคมสายตาเลือนราง ประสงค์ที่จะจัดกิจกรรมขึ้นภายในวันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557 โดยมีกำหนดการดังนี้

ช่วงเวลา การจัดกิจกรรม
08.30-09.30 น. ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง
09.30-10.00 น. แนะนำเรื่องการปลูกผักในเมืองและการปลูกผักรูปแบบต่างๆ
10.00-11.30 น. การเพาะงอก
11.30-12.00 น. การร่อนดินสำหรับเพาะกล้า
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00-14.30 น. การเพาะกล้าและการย้ายกล้า
14.30-16.00 น. การปรุงดิน
16.00-17.00 น. กิจกรรมศิลปะ

กิจกรรมจะเกิดขึ้นภายในวันพรุ่งนี้แล้ว ใครสนใจไปร่วมให้กำลังใจพวกเขาได้เลยค่ะ :-)