cover_1

สมุนไพรกันโรคจากยุง โดยแม่บ้านใต้

สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ในการผลิตสมุนไพรป้องกันยุงให้กับกลุ่มผลิตนวัตกรรมสมุนไพรบ้านวังวน1กลุ่ม

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

6 ม.ค. 2558 - 29 มี.ค. 2558

พื้นที่ดำเนินโครงการ

กลุ่มผลิตนวัตกรรมสมุนไพรบ้านวังวน จ.ตรัง

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGDECENT WORK AND ECONOMIC GROWTHINDUSTRY, INNOVATION AND INFRASTRUCTUREPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

กลุ่มผลิตนวัตกรรมสมุนไพรบ้านวังวน
1กลุ่ม

ลดใช้ยากันยุงเคมีด้วยสมุนไพรไล่ยุงร้าย พร้อมสร้างอาชีพเสริมให้แม่บ้าน อ.กันตัง จ.ตรัง มีรายได้เพิ่ม

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

ไข้เลือดออก เท้าช้าง ชิคุนกุนยา มาลาเรีย เป็นโรคที่ชุมชนบ้านห้วยลึกประสบปัญหาทางสุขภาพจากยุง อาจเพราะสภาพแวดล้อมที่ล้อมรอบด้วยป่ายาง ป่าชายเลน ทะเล และบ่อกุ้ง ทำให้เกิดลูกน้ำ และยุงลายจำนวนมาก แต่ละวันชาวบ้านบางคนต้องเอายากันยุงจากสารเคมีที่ขายตามท้องตลาดพันที่เอวเวลาเข้าสวนผัก สวนยาง เพื่อไล่ยุงที่มากวนตลอดเวลา เพราะไม่เช่นนั้นชาวบ้านจะไม่สามารถทำงานได้ แต่สิ่งที่ส่งผลกระทบตามมาก็คือ ชาวบ้านมีอาการเจ็บแสบจมูก หน้าอก ปวดหัว

ปัญหาเรื่องยุง ทำให้เกิดการระดมความคิดเห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยชาวบ้านได้ข้อสรุปว่า น่าจะมีการทำสมุนไพรที่สามารถป้องกันยุงมาใช้แทน ซึ่งอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น และได้ตั้งกลุ่ม กลุ่มผลิตนวัตกรรมสมุนไพรบ้านวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดย ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล อาจารย์แผนกเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ มาเป็นที่ปรึกษาโครงการ และได้มีบัณฑิตอาสามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้ประสานงานด้านวิชาการและหน่วยงานที่คอยให้คำปรึกษา

ยากันยุงที่จะผลิตออกมา มีทั้งแบบธูป โดยผลิตจาก ขี้เลื่อย สะเดา ตะไคร้หอม และจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการจะนำสมุนไพรที่อยู่ในหมู่บ้านที่สามารถป้องกันยุงได้มาผสมเข้าด้วยกัน ส่วนแบบเจล จะเป็นการทำจากการกลั่น และ กรอง ขมิ้นแล้วผสม แอลกอฮอล์ เพื่อมาทาผิวไม่ให้ยุงกัด (แต่ต้องทดลองใช้กันเองก่อนจะจำหน่าย)

ทางกลุ่มหวังว่าสมุนไพรดังกล่าวจะช่วยชาวบ้านให้ปลอดจากโรคร้ายได้และหากทดลองแล้วใช้ได้ผลจะมีการเปิดตลาดในชุมชนเพื่อสร้างรายได้ ทั้งยังสามารถประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านที่สนใจในการผลิตนวัตกรรมป้องกันยุงเข้ามาสมัครสมาชิกในกลุ่มได้ รวมถึงการเปิดขายที่ ตลาดเกษตรหน้าจวน จ.ตรัง และขายผ่านออนไลน์ในอนาคต

ประโยชน์ของโครงการ :

  1. สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโรคต่างๆ ที่เกิดจากยุง
  2. สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านได้
  3. สามารถลดผลข้างเคียงที่ใช้ยากันยุงที่ส่วนผสมของสารเคมี

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

  1. สร้างมาตรการของชุมชนเพื่อช่วยกันป้องกัน และเฝ้าระวังลูกน้ำ ยุงลาย
  2. กิจกรรมธนาคารปลาสวยงาม เพื่อกำจัดลูกน้ำในชุมชน
  3. อบรมการพัฒนานวัตกรรมสมุนไพรจากยากันยุงโดย ใช้พืชสมุนไพรในชุมชน โดย ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ดำเนินการผ่านมาแล้ว)
  4. จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการผลิตสมุนไพรป้องกันยุง
  5. พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากพืชในชุมชนโดยคนในชุมชนเอง 
  6. แจกจ่ายแก่สมาชิกเพื่อทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ 
  7. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์และช่องทางการจำหน่าย เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น
  8. เผยแพร่องค์ความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ และเผยแพร่ไปยังชุมชนใกล้เคียง

สมาชิกภายในทีม :

สมาชิกในทีมทั้งสิ้น 6 คน ดังนี้

1. นายล่ำ ผลิผล

  • ประธานกลุ่ม เศรษฐกิจพอเพียงบ้านห้วยลึก ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 
  • ปราชญ์ชุมชนบ้านห้วยลึก ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
  • ประธานกลุ่มนวัตกรรมสมุนไพรบ้านวังวน 
2. นางอิสรี อุดมวรวัฒน์ โทร. 091-8600884
  • รองประธานกลุ่ม นวัตกรรมสมุนไพรบ้านวังวน
3. นางสุจินต์ ไข่ริน โทร.089-9722465
  • ประธานกลุ่มจักสานก้านจาก กระดาษทางจาก ตำบลวังวน
  • ได้รับรางวัล สตรีดีเด่น 
  • อสม.ดีเด่น ระดับ อำเภอปี 2555
  • ผู้ประสานงานกลุ่มนวัตกรรมสมุนไพรบ้านวังวน
4.  นางประยงค์ คงสิน โทร.087-276672
  • อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านห้วยลึก
  • เหรัญญิกกลุ่มนวัตกรรมสมุนไพรบ้านวังวน
  • สมาชิกกลุ่มจักรสานก้านจาก กระดาษทางจากตำบลวังวน
5. นาง ธัญวรรณ คงชู โทร. 087-8961205
  • เลขานุการกลุ่ม นวัตกรรมสมุนไพรบ้านวังวน
  • อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านห้วยลึก 
  • ผู้ประสานงาน กลุ่ม ทูบีนับเบิลวัน
6. นางสาวรอฮีมะห์ เหะหมัด โทร.087-2994969
  • นักสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ภาคี :

  • โครงการบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มูลนิธิหยาดฝน จ.ตรัง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนซื้อวัสดุและอุปกรณ์ในการผลิตสมุนไพรป้องกันยุง เพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากโรคต่างๆ ที่เกิดจากยุง สามารถลดผลข้างเคียงที่ใช้ยากันยุงที่ส่วนผสมของสารเคมี และยังเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน

แผนการดำเนินงาน

  1. จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการผลิตสมุนไพรป้องกันยุง

  2. พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากพืชในชุมชนโดยคนในชุมชนเอง

  3. แจกจ่ายแก่สมาชิกเพื่อทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์

  4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์และช่องทางการจำหน่าย เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น

  5. เผยแพร่องค์ความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ และเผยแพร่ไปยังชุมชนใกล้เคียง

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
เครื่องบดสมุนไพร

ขนาด 1,000 กรัม

1ชุด13,500.00
แม่พิมพ์ยากันยุงแบบขด

1ชุด2,000.00
ซื้อวัตถุดิบการใช้ผลิตนวัตกรรมป้องกันยุง แบบธูป ขด และแบบเจล

1ชุด2,000.00
อุปกรณ์เตรียมงาน ตลาดเพื่อสุขภาพในชุมชน

1ชุด2,500.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด20,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)2,000.00
ยอดระดมทุน
22,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เทใจ - TaejaiDotCom

เทใจ - TaejaiDotCom

กรุงเทพมหานคร

เทใจดอทคอม เริ่มต้นจากความต้องการช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดีๆ เพื่อสังคม เทใจเป็นโครงการภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีมูลนิธิเพื่อ “คนไทย” และ สถาบัน ChangeFusion ร่วมกันสร้างพื้นที่กลางนี้ขึ้นมา เราอยากให้เทใจเป็นพื้นที่สำหรับคนที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม และให้สมาชิกของเทใจสามารถมีส่วนร่วมติดตามผลการดำเนินโครงการที่ตนบริจาคได-

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon