cover_1

สร้างโอกาสในชีวิตและการศึกษาเพื่อเยาวชนกลุ่มเปราะบาง

ธนภณ เศรษฐบุตรธนภณ เศรษฐบุตร
เด็กและเยาวชน
คนชายขอบ/คนไร้สัญชาติ

เงินบริจาคของคุณจะเป็นทุนการศึกษาให้กับเยาวชนกลุ่มชาติพันธ์ / ไร้สัญชาติ ในจังหวัดเชียงใหม่และประจวบคีรีขันธ์ จำนวน5คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

13 ก.ค. 2565 - 20 พ.ย. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

จ.เชียงใหม่ จ.ประจวบคีรีขันธ์

เป้าหมาย SDGs

QUALITY EDUCATIONREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

คนไร้สัญชาติ
5คน

ความยากจนเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เยาวชนจำนวนมากหลุดหรือเสี่ยงหลุดจากการศึกษา ซึ่งนอกจากสาเหตุที่ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอมหรือค่าอุปกรณ์การเรียน ภาคีที่ทำงานกับเด็กกลุ่มนี้พบว่า หลายกรณีเด็กต้องมาเป็นกำลังหลักในการหารายได้เลี้ยงคนในครอบครัว ด้วยเหตุนี้เพื่อให้เป็นที่มั่นใจว่าเยาวชนคนหนึ่งจะสามารถอยู่ในการศึกษาต่อไปได้หรือกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ งโครงการ “สร้างโอกาสในชีวิตและการศึกษาเพื่อเด็กเปราะบางที่เสี่ยงหลุดหรือหลุดออกจากระบบการศึกษา” จึงครอบคลุมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ฯลฯ นอกจากนี้โครงการฯ ยังทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงที่สามารถให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ ให้กับเยาวชนในความดูแลอีกด้วย

ปัญหาสังคม

จากข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่าปัจจุบันเด็กไทยกว่า 8 แสนคน (กลุ่มนักเรียนยากจนพิเศษ) กำลังประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการหลุดจากระบบการศึกษา ยิ่งไปกว่านั้นจากการเก็บข้อมูลโดยภาคีในพื้นที่พบว่ายังมีเด็กอีกจำนวนมากที่ขาดโอกาสทางการศึกษาเนื่องจากยังไม่ได้รับสัญชาติไทย (ถึงแม้เยาวชนเหล่านี้แม้จะเกิดและเติบโตในประเทศไทย) เช่น เยาวชนกลุ่มชาติพันธ์และเยาวชนกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น การไม่มีสัญชาติไทยทำให้เยาวชนเหล่านี้เข้าไม่ถึงสวัสดิการทางด้านการศึกษาต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการหางาน สุดท้ายจึงนำไปสู่การที่ทำให้หลายคนต้องหลุดจากระบบการศึกษา

จากการศึกษาและเก็บข้อมูลของโครงการ smart-refer ในระยะที่ 1 พบว่าการมีทุนการศึกษาระยะยาวให้กับเด็กและเยาวชนเปราะบางเป็นหนทางหนึ่งในการที่จะช่วยให้เยาวชนหลายคนสามารถอยู่ในระบบการศึกษาต่อไป นอกเหนือไปจากการได้ทุนการศึกษาแล้ว การมีภาคีในพื้นที่ช่วยติดตามอย่างใกล้ชิดและเป็นที่ปรึกษาในชีวิตให้กับเด็กเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการช่วยให้เด็กยังอยู่ในระบบการศึกษาต่อได้ โดยจากการสุ่มเช็คข้อมูลกับมูลนิธิที่เป็นภาคีในพื้นที่ของโครงการในระยะที่ ๆ พบว่าจากเด็ก 67 คนที่ได้รับทุนของโครงการ มีเพียง 2 คน เท่านั้นที่หลุดจากการศึกษาในเทอมถัดไปหลังการได้รับทุน

 

ตัวอย่างเคส


นางสาวบี (นามสมมุติ)

นางสาวบี เป็นเด็กที่ศึกษาอยู่ชั้นระดับปริญญาตรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเยาวชนคนไทยพลัดถิ่นในครอบครัวเกษตร ทำไร่สับประรดและมีฐานะยากจน ด้วยการที่นางสาวบีและครอบครัวไม่มีสัญชาติไทย ทำให้ขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ถึงแม้นางสาวบีจะผลักดันตัวเองเรียนจนถึงระดับปริญญาตรี แต่เนื่องด้วยการไม่มีสัญชาติไทยทำให้นางสาวบีไม่สามารถใช้สิทธิในการเข้าถึงเงินกู้เพื่อการศึกษาของ กยศ. หรือทุนการศึกษาอื่น ๆ ถึงแม้นาวสาวบีจะทำงานพิเศษไปด้วยระหว่างเรียน แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะเอื้ออำนวยให้นางสาวบีเรียนระดับปริญญาตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาจเป็นเหตุให้เรียนไม่จบได้

หากทางโครงการสามารถระดมทุนการศึกษาให้นางสาวบีได้ เงินทุนนอกจากจะใช้เพื่อเป็นค่าเทอมและอุปกรณ์การเรียนต่าง ๆ แล้ว เงินทุนเหล่านั้นจะยังนำมาใช้เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันบางส่วนและช่วยให้นางสาวบีสามารถเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

น้องนี  (นามสมมุติ) ปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ณ โรงเรียนประจำแห่งหนึ่งในของภาคใต้ ครอบครัวมีฐานะยากจน ผู้เป็นพ่อทำอาชีพประมงและแม่ทำอาชีพรับจ้างทั่วไป ซึ่งต้องเลี้ยงดูน้องซีและพี่น้องอีก 3 คนที่ยังไม่มีรายได้ประจำ ปัจจุบันสมาชิกทุกคนในบ้านไม่มีใครได้สัญชาติไทยเลย เพราะพ่อกับแม่ยังถือบัตรเลข 0 หรือ บัตรประจําตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนอยู่ เป็นคนไทยพลัดถิ่นที่อยู่ระหว่างการยื่นพิสูจน์สัญชาติ การที่ครอบครัวมีฐานะยากจน รวมถึงขาดการเข้าถึงสิทธิด้านต่าง ๆ ที่จะสามารถมาจุนเจือครอบครัวได้ ทำให้ครอบครัวของน้องซีมีปัญหาด้านการเงินมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาต้องจ่ายค่าเทอม และค่าอุปกรณ์เมื่อเปิดเทอมใหม่ ทำให้น้องซีได้เงินไปโรงเรียน เฉลี่ยเพียงเดือนละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมากและไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตให้มีคุณภาพ และเพื่อการพัฒนาตัวเอง เช่น เสื้อผ้า อาหาร การเดินทาง อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เป็นต้น

นาย เอก (นามสมมติ) นายเอเป็นเยาวชนที่มาจากครอบครัวคนไทยพลัดถิ่น ถึงแม้ปัจจุบันนายเอและน้อง ๆ อีก 2 คนจะยื่นเรื่องจนได้สัญชาติไทยแล้ว แต่ด้วยการที่พ่อแม่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย ทำให้ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถกู้ กยศ. หรือเข้าถึงสวัสดิการด้านการศึกษาอื่น ๆ ได้ ส่วนพี่ชายที่จบปริญญาตรีไปก่อนหน้านี้ก็ยังไม่ได้รับสัญชาติไทยเช่นกัน ปัจจุบันครอบครัวของนายเอมีอาชีพตั้งแผงขายของตามแหล่งโรงงาน ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน ประกอบกับทั้งน้อง ๆ ที่เริ่มโตขึ้น ทำให้ทางบ้านเองก็มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูและการศึกษาเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ทุนการศึกษาระยะยาวให้กับเด็กและเยาวชนเปราะบางเป็นหนทางหนึ่งในการที่จะช่วยให้เยาวชนหลายคนสามารถอยู่ในระบบการศึกษาต่อไป

  2. ภาคีในพื้นที่ช่วยติดตามอย่างใกล้ชิดและเป็นที่ปรึกษาในชีวิตให้กับเด็กเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการช่วยให้เด็กยังอยู่ในระบบการศึกษาต่อได้

แผนการดำเนินงาน

  1. ภาคีในพื้นที่ของโครงการลงพื้นที่เก็บข้อมูลรายบุคคลโดยละเอียดของเด็กในแต่ละเคส รวมถึงสรุปแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ

  2. ทำการระดมทุนโดยประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายของโครงการและการซื้อโฆษณาบน social media

  3. ทำการโอนเงินให้กับแต่ละภาคีในพื้นที่ตามจำนวนเคสที่เสนอมา และภาคีทำการให้ความช่วยเหลือแต่ละเคส

  4. ภาคีในพื้นที่ติดตามและรายงานผล

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าเทอมระยะเวลา 3 ปี สำหรับเยาวชนกลุ่มชาติพันธ์ / ไร้สัญชาติ ในจังหวัดเชียงใหม่ เฉลี่ยปีละ 24,000 บาท ต่อคน

3คน216,000.00
ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตขณะเรียน ระยะเวลา 3 ปี เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก สำหรับเยาวชนกลุ่มชาติพันธ์ / ไร้สัญชาติ ในจังหวัดเชียงใหม่ เฉลี่ยปีละ 30,000 บาท / เดือนละ 2,500 บาท

3คน270,000.00
ค่าเทอมระยะเวลา 3 ปี สำหรับเยาวชนคนไทยพลัดถิ่น ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เฉลี่ยปีละ 24,000 บาท ต่อคน

2คน144,000.00
ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตขณะเรียน ระยะเวลา 3 ปี เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก สำหรับเยาวชนคนไทยพลัดถิ่น ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เฉลี่ยปีละ 30,000 บาท / เดือนละ 2,500 บาท

2คน180,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด810,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)81,000.00
ยอดระดมทุน
891,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ธนภณ เศรษฐบุตร

ธนภณ เศรษฐบุตร

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon