เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนทีมทนายความและอาสาสมัครสหวิชาชีพเพื่อช่วยเหลือด้านกฎหมายและจิตใจให้กับผู้เสียหายจากความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศมีอุปสรรคในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม265คน
ตลอดเวลาที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอุปสรรคเหล่านี้จะทวีคูณทับซ้อนมากขึ้น กองทุนนี้จึงจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนทีมทนายความและอาสาสมัครสหวิชาชีพ SHero เพื่อช่วยเหลือด้านกฎหมายและจิตใจ
ข้อมูลจากรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวสำหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำปี 2564 ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ผู้เข้ารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ จำนวน 16,672 ราย เฉลี่ยจำนวน 46 ราย/วัน ในจำนวนเหล่านี้เป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงที่เป็นเพศหญิงมากที่สุดมีจำนวน 15,056 ราย ในขณะที่ผู้ชายมีจำนวน 1,605 ราย และอีก 11 รายเป็นสมาชิกชุมชนหลากหลายทางเพศ ส่วนในปี 2565-2566 นั้น จำนวนผู้เสียหายยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น
ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่ไม่ได้สะท้อนความยิ่งใหญ่ของปัญหาทั้งหมด
SHero ริเริ่มในปี 2559 โดยผู้ผ่านพ้นจากความรุนแรงในคู่รักและพบข้อท้าทายมากมายในการขอความช่วยเหลือจากรัฐและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ข้อท้าทายเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการริเริ่มโครงการ
ด้วยการสนับสนุนผ่านการระดมทุนในครั้งนี้ ภาคีเพื่อความยุติธรรมทางเพศ ของ SHero ไม่เพียงแต่จะสามารถให้การสนับสนุนทางกฎหมายแก่ผู้เสียหายได้เพิ่มขึ้น แต่พวกเรายังทำงานพัฒนาฐานข้อมูลและองค์ความรู้ที่จะมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงวิชาการและนโยบายเพื่ออุดช่องว่างในระบบยุติธรรมอีกด้วย
ให้คำปรึกษากฎหมายผ่านช่องทางออนไลน์Line Official Account ของ SHero Thailand แก่ผู้เสียหายจากความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ อย่างต่ำ 200 กรณีต่อปี เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพและการเยียวยา ตามสิทธิทางกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีทีมจิตสังคมที่ช่วยรับฟังด้วยใจและดูแลบาดแผลทางจิตใจเบื้องต้น
ช่วยเหลือทางกฎหมายโดยการดำเนินการทางคดีอย่างต่ำ 15 คดีต่อปี รวมถึงคดีที่มีข้อท้าทายเช่นกรณีผู้เสียหายถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเป็นเวลานาน ผู้เสียหายยากจนและมีอุปสรรคอย่างยิ่งในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนคดีการล่วงละเมิดทางเพศที่กระทำโดยผู้มีอำนาจ
พัฒนาระบบให้ความช่วยเหลือโดยเครือข่ายอาสาสมัครที่มีความเชี่ยวชาญให้เข้มแข็งขึ้นและยั่งยืน โดยมีการเก็บข้อมูลข้อท้าทายแต่ละคดี เพื่อการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและกระบวนการยุติธรรม
จัดหาทีมประจำการ อาทิ ผู้ประสานงานรายคดี สหวิชาชีพ และ ทนายความอาสา เพื่อการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ประสานงานร่วมกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้เสียหายแต่ละราย โดยคำนึงถึงหลักผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง (Survivor-Centred Approach)
ดำเนินการทางกฎหมาย ช่วยเหลือในการดำเนินการทางกฎหมายตั้งแต่การแจ้งความร้องทุกข์ จนถึงกระบวนการในชั้นศาล
จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเพื่อการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและกระบวนการยุติธรรม
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าวิชาชีพทนายความอาสาที่มีความเชี่ยวชาญด้านความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ในการลงพื้นที่ดำเนินการทางศาล 3,000 บาท/วัน | 200คน | 600,000.00 |
ค่าตอบแทนผู้ประสานงานรายคดี ที่สามารถพูดเขียนได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ประสานงานทั้งทางออนไลน์และลงพื้นที่เมื่อจำเป็นกับผู้ประสบเหตุและทีมสหวิชาชีพอาสา ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูล 27,000 บาท/เดือน | 12เดือน | 324,000.00 |
กองทุนเพื่อสนับสนุนการทำงานเช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาลและค่าเดินทาง | 1กองทุน | 150,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 1,074,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 107,400.00 |
บุษยาภา ศรีสมพงษ์ (เบสท์) ทนายความด้านความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศและผู้ก่อตั้งขององค์กรชีโร่ (SHero Thailand) เพื่อการขจัดความรุนแรงด้วยเหตุแพ่งเพศในประเทศไทย เบสท์เป็นผู้นำภาคีเพื่อความยุติธรรมทางเพศ (Gender Justice Network) ซึ่งประกอบด้วยทนายความอาสาและผู้จัดการกรณีที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายให้กับผู้เสียหายจากความรุนแรงด้วยเหตุแพ่งเพศ (Survivors of Gender-Based Violence) นอกจากนี้ยังมีโครงการเสริมองค์ความรู้และศักยภาพให้กับกลุ่มเยาวชนและนักปฏิบัติงานด้านความรุนแรง ฯ งานให้ความช่วยเหลือกฎหมายของ SHero นำไปสู่การผลักด้านเชิงนโยบายเพื่อลดข้อท้าทายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของผู้เสียหาย ตลอดจนทำให้เกิดนโยบาย กระบวนการและวิธีการทำงานที่ให้ผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลางที่คำนึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของผู้เสียหาย (Survivor-Centred Approach) นถึงปัจจุบัน SHero ได้สร้างความตระหนักรู้ให้กับเยาวชนกว่า 3000 คน สร้างสมาชิกภาคีกว่า 40 คนเพื่อสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศและช่วยเหลือปกป้องสิทธิผู้เสียหายจากความรุนแรง ฯ โดย SHero ได้ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายไปแล้วกว่า 300 คนนับแต่ได้มีการริเริ่มเมื่อปี 2016 ปัจจุบัน องค์กรมีพื้นที่ยุทธศาสตร์ ณ ชายแดนไทย-พม่า ทำงานกับกลุ่มประชากรชายขอบและเข้าใจลึกซึ้งข้อท้าทายเชิงโครงที่กดทับผู้เสียหายอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้บุษยาภายังทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานคุ้มครองเด็ก องค์กรSave the Children Thailand เน้นการคุ้มครองเด็กเด็กในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น สถานการณ์สู้รบ ลี้ภัยและการเคลื่อนย้ายถิ่น และเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์การสหประชาชาติ บุษยาภาจบปริญญาโทด้านสิทธิมนุษยชนและการเมืองระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ในฐานะนักศึกษาทุน Chevening ก่อนหน้านั้นบุษยาภาเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่น (IOM UN Migration Unit) และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ในปี 2021 เบสท์ได้รับรางวัล Women of the Future Awards Southeast Asia (Professional Category) ซึ่งเป็นผู้ชนะคนแรกจากประเทศไทยในรางวัลดังกล่าว เนื่องจากข้อท้าทายด้านงบประมาณ SHero ยังคงขับเคลื่อนด้วยอาสาสมัครสหวิชาชีพและปัจจุบันยังคงต้องปิดรับเคสเพิ่มจนกว่าเราจะระดมทุนได้สำเร็จ เพื่อการสนับสนุนผู้เสียหายอย่างมีคุณภาพและยังยืน
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้